เบนซีน
(benzene
C6H6) เป็นสารที่ค่อนข้างเฉื่อยตัวหนึ่ง
เว้นแต่จะมี electrophile
(สารที่ชอบอิเล็กตรอน)
ที่มีความแรงมากพอที่สามารถดึงเอา
pi
electron ของวงแหวนเบนซีนไปสร้างพันธะ
ทำให้เกิดการแทนที่อะตอม
H
ของวงแหนได้
ปฏิกิริยานี้เราเรียกว่า
electrophilic
substitution
ในกรณีที่อะตอม
H
หนึ่งอะตอมของวงแหวนถูกแทนที่ด้วยหมู่อื่น
พบว่าเมื่อนำสารนั้นมาทำปฏิกิริยา
electrophilic
substitution การเกิดปฏิกิริยาอาจเกิดได้ง่ายขึ้นหรือยากขึ้น
(เมื่อเทียบกับกรณีของเบนซีน)
โดยหมู่ที่สามารถจ่ายอิเล็กตรอนให้กับวงแหวนนั้นจะทำให้การเกิดปฏิกิริยา
electrophilic
substitution เกิดได้ง่ายขึ้น
สารกลุ่มนี้เรียกว่า ring
activating group
และหมู่ที่ดึงอิเล็กตรอนออกจากวงแหวนนั้นจะทำให้ปฏิกิริยา
electrophilic
substitution เกิดได้ยากขึ้น
สารกลุ่มนี้เรียกว่า ring
deactivation group
รูปที่
๑ หมู่ NO2
ของไนโตรเบนซีน
(nitrobenzene
C6H5NO2) สามารถถูกรีดิวซ์ได้
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีดิวซ์ขึ้นอยู่กับความแรงของตัวรีดิวซ์และปริมาณสารรีดิวซ์ที่ใช้
รายละเอียดตรงนี้อ่านเพิ่มเติมได้จาก
https://chem.libretexts.org/
ในหัวข้อ
24.6
Nitro compounds
ปฏิกิริยา
nitration
เป็นปฏิกิริยาหนึ่งที่สามารถใช้ในการแทนที่อะตอม
H
ของวงแหวนเบนซีน
โดยนำเอาเบนซีนมาทำปฏิกิริยากับสารละลายผสมกรดเข้มข้น
HNO3
+ H2SO4
(กรดกำมะถันทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา)
ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือไนโตรเบนซีน
(nitrobenzene
C6H5NO2) และเนื่องจากหมู่
-NO2
เป็นหมู่ที่ดึงอิเล็กตรอนออกจากวงแหวน
ดังนั้นจึงมีโอกาสน้อยที่โมเลกุลเบนซีนจะถูกแทนที่ด้วยหมู่
-NO2
มากกว่า
1
หมู่
(เว้นแต่จะใช้สภาวะการทำปฏิกิริยาที่แรงพอ)
ปฏิกิริยานี้ดูธรรมดาก็จริง
แต่อยากจะฝากให้พิจารณาเอาเองเล่น
ๆ ว่าเบนซีนเป็นของเหลวไม่มีขั้ว
ละลายได้น้อยในตัวทำละลายมีขั้ว
จะทำอย่างไรจึงจะผสมเข้ากับสารละลายกรดเข้มข้นที่เป็นของเหลวมีขั้วได้เพื่อให้เกิดปฏิกิริยา
และเมื่อเกิดปฏิกิริยาแล้วจะแยกเอาผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นนั้นออกมาได้อย่างไร
รูปที่
๒ สิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกาเลขที่
2,486,358
เรื่อง
"Reduction
of nitrobenzene to hydrazobenzene"
ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ไฮดราโซเบนซีน
(hydrazobenzene)
หมู่
-NO2
สามารถถูกรีดิวซ์ให้กลายเป็น
amine
ได้
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการรีดิวซ์ขึ้นอยู่กับความแรงของสารรีดิวซ์และปริมาณของสารรีดิวซ์ที่ใช้
(รูปที่
๑)
ถ้าใช้ตัวรีดิวซ์ที่แรง
หมู่ -NO2
จะกลายเป็น
-NH2
คือเปลี่ยนจากเบนซีนเป็น
aniline
แต่ถ้าใช้ตัวรีดิวซ์ที่อ่อนลงมาหน่อย
จะเกิดการเชื่อมต่อกันระหว่างโมเลกุลกลายเป็นโครงสร้างโมเลกุลที่ประกอบด้วยวงแหวนสองวงที่มีพันธะระหว่างอะตอม
N
เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน
ถ้าพันธะระหว่างอะตอม N
นั้นเป็นพันธะคู่
N=N
ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ
azobenzene
สารประกอบตระกูลนี้อิเล็กตรอนสามารถเคลื่อนย้ายจากวงแหวนวงหนึ่งไปยังวงแหวนอีกวงหนึ่งได้ผ่านทางพันธะ
N=N
ทำให้สารตระกูลนี้มีบทบาทสำคัญในการใช้เตรียมสารอินทรีย์ที่มีสีต่าง
ๆ โดยอาศัยการเปลี่ยนอะตอม
H
ที่เหลืออยู่บนวงแหวนเบนซีนแต่ละวงให้เป็นหมู่อื่น
(ส่วนที่ว่าควรเป็นหมู่ใดถ้าใครอยากรู้ก็คงต้องไปศึกษาเรื่อง
Chromophore
(หมู่ทำให้เกิดสี)
และ
Auxochrome
(หมู่เร่งสี)
เพิ่มเติมเอาเองก็แล้วกัน)
ในกรณีที่สารรีดิวซ์มีปริมาณที่มากพอ
พันธะ N=N
ของ
azobenzeneจะถูกรีดิวซ์ต่อไปเป็นหมู่
-NH-NH-
กลายเป็นสารประกอบที่มีชื่อว่า
hydrazobenzene
และอันที่จริงสารทั้งสองตัวนี้ก็สามารถเปลี่ยนไปเป็นอีกตัวหนึ่งได้ไม่ยาก
กล่าวคือสามารถรีดิวซ์
azobenzene
ให้กลายเป็น
hydrazobenzene
ได้
และสามารถทำปฏิกิริยา
dehydrogenation
(ดึงไฮโดรเจนออก)
เพื่อเปลี่ยน
hydrazobenzene
ให้กลายเป็น
azobenzene
ได้เช่นกัน
รูปที่
๓ สิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกาเลขที่
2,645,636
"Reduction of aromatic nitrogen compounds"
ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ไฮดราโซเบนซีน
(hydrazobenzene)
กรดคลอโรอะซีติก
(chloroacetic
acid) เป็นชื่อกลาง
ๆ ของกรดอะซีติก (CH3COOH)
ที่อะตอม
H
ของหมู่
-CH3
ถูกแทนที่ด้วยอะตอม
Cl
ถ้ามีการแทนที่เพียงอะตอมเดียวก็จะเป็นกรดโมโนอะซีติก
(monochloroacetic
acid)
กรดคลอโรอะซีติกเป็นกรดที่แรงกว่ากรดอะซีติกอันเป็นผลจากการที่อะตอม
Cl
นั้นป้องกันไม่ให้อะตอม
C
ที่มันเกาะอยู่จ่ายอิเล็กตรอนให้กับหมู่คาร์บอนิล
-C(O)-
จึงช่วยในการย้ายประจุลบออกจากอะตอม
O
ของหมู่ไฮดรอกซิล
-OH
เมื่อหมู่นี้จ่าย
H+
ออกไป
กรดโมโนคลอโรอะซีติกมีหมู่ที่สามารถทำปฏิกิริยากับ
nucleophile
อยู่
3
หมู่ด้วยกัน
คือหมู่ -OH
อะตอม
C
ของหมู่คาร์บอนิล
(-C(O)-)
และอะตอม
C
ที่มีอะตอม
Cl
เกาะอยู่
แต่ถ้าเราให้กรดโมโนคลอโรอะซีติกทำปฏิกิริยากับเบสเช่น
NaOH
ก่อน
ความสามารถในการดึงอิเล็กตรอนของอะตอม
O
หรืออะตอม
C
ของหมู่คาร์บอนิลก็จะลดลง
(กลายเป็นหมู่คาร์บอกซิเลต
carboxylate
-COO-) จะเหลือตัวที่เด่นกว่าอยู่ตัวเดียวคืออะตอม
C
ที่มีอะตอม
Cl
เกาะอยู่
จากนั้นถ้าเรานำเอาผลิตภัณฑ์ที่ได้มาทำปฏิกิริยาต่อกับ
NaCN
หมู่ไซยาไนด์
(-CN)
จะเข้าแทนที่อะตอม
Cl
และเมื่อทำการไฮโดรไลซ์หมู่
-CN
นี้
หมู่ -CN
ก็จะกลายเป็นหมู่คาร์บอกซิเลต
สารประกอบที่ได้คือเกลือคาร์บอกซิเลตของกรดมาโลนิก
(malonic
acid)
และเมื่อนำเกลือคาร์บอกซิเลตของกรดมาโลนิกมาทำปฏิกิริยาการเกิดเอสเทอร์
(esterification)
กับเอทานอลก็จะได้สารประกอบที่มีชื่อว่าไดเอทิลมาโลเนต
(diethylmalonate)
(รูปที่
๔)
รูปที่
๔ จากกรดโมโนคลอโรอะซีติก
(monochloroacetic
acid) ไปเป็นไดเอทิลนอร์มัลบิวทิลมาโลเนต
(diethyl
n-butylmalonate)
รูปที่
๕ สิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกาเลขที่
2,337,858
ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ไดเอทิลมาโลเนต
(diethylmalonate)
อะตอม
H
ของหมู่
-CH2-
(สีแดงในรูปที่
๔)
ที่อยู่ระหว่างหมู่คาร์บอนิล
(-C(O)-)
สองหมู่นั้นเป็น
alpha
hydrogen atom ที่มีความเป็นกรดสูง
(ผลจากการที่มันถูกขนาบด้วยหมู่คาร์บอนิลถึงสองหมู่)
ดังนั้นในสภาวะที่เป็นเบส
อะตอม H
ตรงตำแหน่งดังกล่าวจะหลุดออกมาได้
ทำให้อะตอม C
ตรงตำแหน่งดังกล่าวมีความเป็นลบ
และถ้าเราเอาสารประกอบอัลคิลเฮไลด์เช่น
1-chlorobutane
มาทำปฏิกิริยา
อะตอม C
ของ
1-chlorobutane
ตัวที่มีอะตอม
Cl
เกาะอยู่จะสามารถเข้าไปดึงอิเล็กตรอนและสร้างพันธะเข้ากับอะตอม
C
ที่เป็น
alpha
carbon atom นั้นได้
กลายเป็นสารประกอบที่มีชื่อว่าไดเอทิลนอร์มัลบิวทิลมาโลเนต
(diethyl
n-butylmalonate)
รูปที่
๖ สิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกาเลขที่
2,459,144
ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ไดเอทิลมาโลเนต
(diethylmalonate)
ความสำคัญของอะโซเบนซีนและไฮดราโซเบนซีนคือเป็นสารมัธยันต์
(intermediate)
ในการผลิตสารอินทรีย์ที่มีสีต่าง
ๆ
ส่วนความสำคัญของไดเอทิลมาโลเนตคือเป็นสารมัธยันต์ในการผลิตสารตระกูลกรดบาร์บิทูริก
(barbituric
acid) ด้วยการเปลี่ยนหมู่ที่จะเข้ามาแทนอัลฟาไฮโดรเจนอะตอม
ถ้านำไฮดราโซเบนซีนมาทำปฏิกิริยากับไดเอทิลนอร์มัลบิวทิลมาโลเนต
อะตอม N
ที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของไดเอทิลมาโลเนตจะเข้าทำปฏิกิริยากับอะตอม
C
ของหมู่คาร์บอนิลที่มีความเป็นบวก
(รูปที่
๗)
กลายเป็นสารประกอบที่มีชื่อว่าฟีนิลบิวตาโซน
(phenylbutazone)
ฟีนิลบิวตาโซนถูกนำมาใช้เป็นยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
เพิ่งจะมีข่าวปรากฏเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเมื่อมีคำสั่งของกระทรวงสาธารณสุขให้เพิกถอนทะเบียนตำรับยาสำหรับมนุษย์ที่มีฟีนิลบิวทาโซนเป็นส่วนประกอบจำนวน
๗๐ ตำรับยา ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่
๑๔ พฤศจิกายนที่ผ่านมา
รูปที่
๘
คำสั่งกระทรวงสาธารณสุขเรื่องเพิกถอนตำรับยาสูตรผสมฟีนิลบิวตาโซน
ลงวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๔๘
แต่มาประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่
๑๘ มกราคม ๒๕๔๙
รูปที่
๙ คำสั่งกระทรวงสาธารณสุขเรื่องเพิกถอนตำรับยาฟีนิลบิวตาโซนจำนวน
๗๐ ตำรับยา ลงวันที่ ๒๙ กันยายน
๒๕๖๐ แต่มาประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่
๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น