เมื่อแก๊สถูกอัดให้มีปริมาตรเล็กลง
อุณหภูมิของแก๊สนั้นจะสูงขึ้น
ส่วนจะสูงขึ้นเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับว่าถูกอัดให้มีปริมาตรเล็กลงเท่าใดและด้วยอัตราเร็วในการอัดเท่าใด
อัตราเร็วในการอัดส่งผลต่อระยะเวลาที่แก๊สนั้นมีในการระบายความร้อนผ่านภาชนะบรรจุ
ถ้าอัดเร็วก็จะทำให้มีเวลาน้อยในการระบายความร้อน
ทำให้แก๊สที่ถูกอัดตัวมีอุณหภูมิสูง
ถ้าอัดช้า
ความร้อนที่เกิดขึ้นจะมีเวลามากขึ้นในการระบายออกทำให้อุณหภูมิแก๊สเพิ่มขึ้นไม่มาก
ส่วนปริมาตรที่เล็กลงนั้น
ยิ่งเล็กลงก็ยิ่งมีอุณหภูมิสูงขึ้น
เครื่องยนต์ดีเซลก็ทำงานด้วยหลักการเดียวกันนี้
คือทำการอัดอากาศให้มีปริมาตรเล็กลงอย่างรวดเร็ว
ทำให้อากาศที่ถูกอัดนั้นมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นมาก
(อัตราส่วนการอัดของเครื่องยนต์ดีเซลจะอยู่ที่ประมาณ
20:1
ในขณะที่ของเครื่องยนต์เบนซินจะอยู่ที่ประมาณ
10:1)
และเมื่อทำการฉีดเชื้อเพลิงเข้าไปผสมกับอากาศร้อนนั้น
ถ้าอุณหภูมิอากาศร้อนสูงกว่า
"autoignition
temperature" หรืออุณหภูมิลุกติดไฟได้ด้วยตนเองของเชื้อเพลิง
เชื้อเพลิงก็จะเกิดการลุกไหม้ได้ทันที
ด้วยเหตุนี้ถ้าเป็นช่วงหน้าหนาวที่อากาศเย็น
เครื่องยนต์ดีเซลจะติดเครื่องยาก
ต้องมีการ "เผาหัว"
คือใช้ระบบไฟฟ้าทำการอุ่นอากาศให้ร้อนก่อนไหลเข้ากระบอกสูบ
ทำให้ติดครื่องยนต์ได้ง่ายขึ้น
รูปที่
๑
อากาศค้างอยู่ในท่อด้านขาออกของปั๊มหอยโข่งเนื่องจากวาล์วด้านขาออกปิดอยู่
เมื่อปั๊มเดินเครื่องจึงทำให้อากาศในเส้นท่อดังกล่าวถูกอัดตัวให้มีปริมาตรลดลง
ความดันและอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น
จนทำให้ของเหลวในท่อนั้นระเบิดอันเป็นผลจากอุณหภูมิที่สูงถึงระดับ
autoignition
temperature
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ
(induction
motor) เป็นอุปกรณ์ขับเคลื่อนหลักที่ใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรกลต่าง
ๆ ในอุตสาหกรรม
โครงสร้างหลักภายในของมอเตอร์คือขดลวดทองแดงที่นำไฟฟ้าได้ดีและมีความต้านทานต่ำ
ในช่วงแรกที่มอเตอร์เริ่มหมุนจากหยุดนิ่งนั้นจะมีกระแสไหลผ่านขดลวดในปริมาณมาก
แต่เมื่อมอเตอร์เริ่มหมุนแล้วกระแสจะไหลผ่านลดต่ำลง
และเนื่องจากความร้อนที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำไฟฟ้านั้นแปรผันตามปริมาณกระแสยกกำลังสอง
(P
= I2R เมื่อ
P
คือความร้อนที่เกิด
I
คือกระแส
และ R
คือความต้านทาน)
ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้มอเตอร์เกิดความเสียหายจากความร้อนที่เกิดขึ้นในช่วงที่เริ่มหมุน
จึงควรต้องให้มอเตอร์นั้นหมุนจากหยุดนิ่งจนได้ความเร็วรอบการหมุนของมันโดยเร็ว
โดยไม่ควรให้มอเตอร์รับภาระงาน
(ถ้าเป็นไปได้)
หรือให้มีภาระงานที่น้อยที่สุดเพื่อที่จะลดปริมาณกระแสที่ไหลผ่านขดลวดในช่วงที่มอเตอร์เริ่มหมุน
ปั๊มหอยโข่ง
(centrifugal
pump) อาศัยการเปลี่ยนพลังงานจลน์ของของเหลวที่ถูกเหวี่ยงออกจากใบพัด
(impeller)
ให้กลายเป็นความดัน
(หรือที่เรียกว่าเปลี่ยน
velocity
head เป็น
pressure
head) ที่อัตราการไหลต่ำสุด
ความดันที่เกิดขึ้นจะมากสุด
และความดันด้านขาออกจะลดลงตามอัตราการไหลที่เพิ่มขึ้น
โดยตัวปั๊มเองนั้นจะใช้พลังงานน้อยสุดเมื่ออัตราการไหลเป็นศูนย์
ซึ่งเป็นช่วงที่ปั๊มทำความดันด้านขาออกได้สูงที่สุด
และด้วยการที่ปั๊มหอยโข่งส่วนใหญ่นั้นใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อน
ดังนั้นการเริ่มเดินเครื่องปั๊มหอยโข่งนั้นจึงมักจะเริ่มเดินเครื่องด้วยการปิดวาล์วด้านขาออกเอาไว้
(เพื่อให้มอเตอร์รับภาระงานต่ำสุด)
และเมื่อมอเตอร์เริ่มหมุนแล้วจึงค่อยเปิดวาล์วด้านขาออก
แต่การปั่นกวนของเหลวในตัวปั๊มโดยที่ไม่มีการไหลเวียนของของเหลวนั้นก็ทำให้ของเหลวนั้นมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นได้
ดังนั้นในกรณีของของเหลวที่มีอุณหภูมิสูงจึงอาจเกิดปัญหาของเหลวนั้นเดือดในปั๊มจนเกิด
cavitation
ได้
ด้วยเหตุนี้ในกรณีมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้
เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวจึงมักจะยอมให้มีของเหลวในปริมาณต่ำไหลผ่านปั๊มในช่วงเริ่มเดินเครื่อง
โดยทำการติดตั้ง minimum
flow line ทางด้านข้าออกของปั๊ม
(คือวนของเหลวด้านขาออกส่วนหนึ่งกลับไปยังด้านขาเข้าหรือแหล่งจ่าย)
หรือเปิดวาล์วด้านขาออกเอาไว้หน่อยก่อนเริ่มเดินเครื่องปั๊ม
(คือไม่ปิดวาล์วสนิท)
และเมื่อมอเตอร์หมุนจนได้ความเร็วรอบแล้วจึงค่อยเปิดวาล์วด้านขาออกให้เต็มที่
รูปที่
๒ บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร
Loss
Prevention Bulletin หน้า
๒๔-๒๕Vol.
13 ปีค.ศ.
๑๙๗๗
(พ.ศ.
๒๕๒๐)
วารสาร
Loss
Prevention Bulletin Vol. 13 ปีค.ศ.
๑๙๗๗
(พ.ศ.
๒๕๒๐)
หน้า
๒๔-๒๕
ตีพิมพ์บทความหนึ่งที่น่าสนใจคือการเกิดการระเบิดขึ้นในท่อด้านขาออกของปั๊มหอยโข่งอันเกิดจากการมีอากาศตกค้างในท่อ
และเดินเครื่องปั๊มโดยที่วาล์วด้านขาออกปิดอยู่
(รูปที่
๑ และ ๒)
ภาพเหตุการณ์โดยรวมคือปั๊มหอยโข่งเริ่มเดินเครื่องโดยที่วาล์วด้านขาออกนั้นปิดอยู่
จนกระทั่งอุณหภูมิของของเหลวในตัวปั๊มเพิ่มสูงขึ้น
ระบบอัตโนมัติจึงหยุดการทำงานของปั๊ม
แต่เมื่ออุณหภูมิของของเหลวในตัวปั๊มลดต่ำลง
ระบบก็สั่งการให้ปั๊มเริ่มเดินเครื่องใหม่ด้วยตนเอง
โดยที่วาล์วด้านขาออกยังปิดอยู่
และในการเริ่มเดินเครื่องใหม่ครั้งนี้ก็ทำให้เกิดการระเบิดขึ้นภายในท่อ
ณ ตำแหน่งบริเวณด้านขาเข้าของวาล์วที่ปิดอยู่
ส่งผลให้ ท่อ วาล์ว
และตัวใบพัดของปั๊มได้รับความเสียหาย
นี่คือข้อมูลของเหตุการณ์ที่บทความได้ให้ไว้
บทความไม่ได้ให้รายละเอียดว่าของเหลวนั้นคือสารอะไร
แต่การที่มันระเบิดได้ก็แสดงว่ามันควรเป็นสารที่ลุกติดไฟได้
และตำแหน่งของวาล์วที่อยู่ห่างจากปั๊มถึง
60
ฟุตหรือประมาณ
18
เมตรนั้น
ทำให้สงสัยว่าวาล์วตัวดังกล่าวคงไม่ใช่
discharge
valve ด้านขาออกของปั๊ม
แต่อาจเป็น control
valve ควบคุมการไหลก็ได้
(บทความไม่ได้มีการกล่าวถึงวาล์วกันการไหลย้อนกลับที่มักจะติดตั้งไว้ทางด้านขาออกของปั๊มหอยโข่ง
แสดงว่าความดันจากจุดระเบิดนั้นส่งผ่านมาตามของเหลวมายังตัวใบพัด
โดยที่วาล์วกันการไหลย้อนกลับนั้นยังเปิดอยู่)
โดยการสอบสวนนั้นสัณนิฐานว่าการระเบิดเกิดจากการที่มีอากาศค้างอยู่ในระบบท่อด้านขาออก
และเมื่อเดินเครื่องปั๊มโดยที่วาล์วด้านขาออกปิดอยู่
อากาศตกค้างดังกล่าวจึงถูกอัดให้มีอุณหภูมิสูงมากพอจนทำให้ของเหลวในปั๊มนั้นเกิดการลุกไหม้ได้
บทความยังได้กล่าวถึงการทดสอบสมมุติฐานของการเกิดอุบัติเหตุ
โดยได้ทำการจำลองเหตุการณ์ด้วยการใช้ปั๊มที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
พบว่าในช่วงแรกที่เริ่มเดินเครื่องปั๊มนั้นความดันด้านขาออกของปั๊มจะมีการแกว่งของความดันโดยระดับความดันที่เพิ่มขึ้นไปสูงสุดจะอยู่ที่ประมาณ
8
เท่าของความดันสมดุลของปั๊ม
(ตรงนี้คงเป็นผลมาจากการที่เราต้องการให้มอเตอร์นั้นหมุนจนได้ความเร็วรอบการหมุนของมันโดยเร็วเพื่อลดกระแสที่ไหลเข้ามอเตอร์
จึงทำให้ให้ความดันในระบบท่อด้านขาออกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว)
ดังนั้นในกรณีของปั๊มที่เกิดการระเบิดนี้ที่ความดันด้านขาออกเมื่อวาล์วปิดอยู่ในสภาวะปรกติของปั๊มจะมีค่าประมาณ
30
เมตรน้ำหรือ
3
เท่าของความดันบรรยากาศ
แต่ในช่วงที่ความดันมีการแกว่งนั้นความดันแก๊สที่ถูกอัดจึงมีสิทธิเพิ่มสูงถึง
24
เท่าของความดันบรรยากาศในช่วงเวลาสั้น
ๆ (เรียกว่าอัตราส่วนการอัดอยู่ที่ระดับกว่า
20:1
หรือระดับเดียวกับของเครื่องยนต์ดีเซลก็ได้ถ้าพิจารณาว่าแก๊สเริ่มต้นก่อนการอัดมีความดันที่
1
บรรยากาศ)
และอุณหภูมิสูงสุดที่วัดได้อยู่ที่ระดับประมาณ
257ºC
(autoignition temperature ของน้ำมันดีเซลจะอยู่ในช่วงประมาณ
180-260ºC
และของน้ำมันเตาเองก็อยู่ในช่วงประมาณ
210-260ºC
เช่นกัน)
โดยค่าความดันสูงสุดที่วัดได้ยังขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของปั๊มและการออกแบบระบบท่อ
และยังพบว่าอุณหภูมินี้จะเพิ่มสูงขึ้นถ้าแก๊สที่ค้างอยู่ในระบบท่อนั้นมีความดันต่ำลง
(ความดันเริ่มต้นของแก๊สที่ลดต่ำลง
ทำให้อัตราส่วนการอัดเพิ่มสูงขึ้น)
วารสาร
Loss
prevention (ของ
IChemE)
ในยุคแรก
ๆ
นั้นจะเน้นไปที่การนำเอาประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุมาเล่าแบ่งปันกัน
เพื่อไม่ต้องการให้คนอื่นผิดพลาดอย่างเดียวกันซ้ำอีก
แต่ด้วยข้อจำกัดหลาย ๆ
อย่างของกฎหมายและองค์กร
ทำให้บทความต่าง ๆ
ที่นำมาตีพิมพ์นั้นมักจะไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนหรือหน่วยงานที่เกิดเหตุ
(เว้นแต่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เป็นข่าวรับรู้กันทั่วไป)
แต่สำหรับผู้ที่ทำงานในวงการแล้วก็พอที่จะ
"read
between the line" เพื่ออ่านสิ่งที่บทความไม่ได้กล่าวถึงเอาไว้ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น