ในรูปข้างบนนั้น (1) คือวาล์วหัวถังแก๊ส (2) คือช่วงท่อระหว่างด้านขาออกของวาล์วหัวถังแก๊ส (1) กับวาล์วปรับความดันด้านขาออก (pressure regulator) เวลาที่เราเปิดวาล์ว (1) นั้น ความดันในช่วงท่อ (2) นี้จะเท่ากับความดันในถัง ที่แสดงให้เห็นที่เกจวัดความดัน (3) ส่วน (4) เป็นเกจแสดงความดันด้านขาออกที่เราปรับด้วยการหมุนสกรูปรับตั้งความดัน (6) ส่วน (5) คือวาล์วระบายแก๊สทิ้งในท่อด้านขาออกเพื่อเร่งการลดความดันในระบบท่อเมื่อปิดวาล์วหัวถัง (1)
โดยปรกติเมื่อสิ้นสุดการใช้งาน
เราก็ต้องปิดวาล์วหัวถัง
(1)
จากนั้นก็ระบายแก๊สที่ค้างอยู่ด้านขาออกทิ้งให้หมด
ซึ่งในรูปที่นำมาให้ดูนั้นสามารถเร่งการระบายได้ด้วยการเปิดวาล์วระบาย
(5)
สิ่งที่เห็นเมื่อเปิดวาล์วระบาย
(5)
ก็คือเข็มแสดงความดันที่เกจ
(3)
นั้นจะลดต่ำลงก่อนจนมาอยู่ที่ระดับความดันเดียวกับเข็มที่เกจ
(4)
จากนั้นก็จะเห็นเข็มที่ทั้งเกจ
(4)
และ
(5)
ลดต่ำลงจนเป็นศูนย์
ซึ่งแสดงว่าได้ทำการระบายความดันที่ค้างในระบบทิ้งไปหมดแล้ว
จากนั้นก็ทำการคลายสกรูปรับความดันออกเพื่อปิดกั้นการไหล
(เป็นการป้องกันไม่ให้แก๊สไหลกระแทกแผ่นไดอะแฟรมอย่างรุนแรงเมื่อเปิดวาล์วหัวถัง
(1))
แต่ถ้าหากเปิดวาล์วระบายความดัน
(5)
แล้วไม่พบว่าเข็มวัดความดันที่เกจ
(3)
นั้นลดต่ำลง
ก็แสดงว่าวาล์วหัวถัง (1)
นั้นเปิดค้างอยู่
นี่เป็นวิธีการง่าย
ๆ ที่สามารถใช้ตรวจสอบว่า
เวลาที่พยายามหมุนเปิดวาล์วหัวถังแล้วพบว่ามันหมุน
"เปิด"
ไม่ได้นั้น
สาเหตุเกิดจากมันถูกปิดจนแน่นเกินไป
หรือว่ามันถูกเปิดเอาไว้จนสุดแล้วค้างอยู่อย่างนั้น
บางเรื่อง
ถ้ามีข้อมูลไม่มากพอ
ก็คงจะหาทางออกให้ไม่ได้
เช้านี้ก็เลยต้องมาดูด้วยจนเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น