"ยิ่งผลการทดลองออกมาดีเท่าใด
ยิ่งต้องตรวจสอบ วิธีการทดลอง
วิธีการเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ตัวอย่าง
และการแปลผล ให้มากขึ้นเท่านั้น"
ข้อความข้างบนคือประโยคสุดท้ายที่ผมเขียนไว้ในบทส่งท้ายของรวมบทความชุดที่
๑๘ ครับ
ตอนสอบปกป้องวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
บทที่ผมโดนกรรมการซักถามมากที่สุดคือ
"วิธีการทดลองและวิธีการคำนวณ"
ครับ
(วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของผมเป็นการทำการทดลองเพื่อหาค่าอัตราการเกิดปฏิกิริยา
แล้วนำมาใช้สร้างแบบจำลองเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง)
ซึ่งก็ผ่านมาได้ด้วยดี
เพราะจะว่าไปแล้วตอนที่เรียนอยู่นั้น
อาจารย์ที่ปรึกษาของผมเขาให้ความสำคัญกับตรงจุดนี้มาก
(ซึ่งก็คงเป็นวัฒนธรรมของการเรียนที่นั่นด้วย)
สิ่งนี้ทำให้ผมได้เรียนรู้ว่า
ถ้า "วิธีการ"
ไม่ถูกต้อง
ผลที่ได้มาก็ไม่มีค่าแก่การนำมาถกเถียงใด
ๆ
ที่ต้องย้ำคำว่า
"วิธีการ"
ก็เพราะต้องการเน้นให้เห็นว่าคำนี้มันครอบคลุมถึง
การออกแบบอุปกรณ์ทดลอง
การออกแบบการทดลอง การเก็บตัวอย่าง
การวิเคราะห์ตัวอย่าง
การแปลผลการวิเคราะห์
การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
และการแก้สมการคณิตศาสตร์
คนโบราณกล่าวว่า
"สิบปากว่า
ไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็น
ไม่เท่ามือคลำ สิบมือคลำ
ไม่เท่าทำเอง"
ถ้าใช้อัตราส่วนตามนี้เราก็พอจะสรุปได้ว่า
"ฟังพันครั้ง
ไม่เท่ากับลงมือทำครั้งเดียว"
เนิ้อหาที่นำมารวบรวมไว้ในที่นี้เป็นเรื่องราวต่าง
ๆ ที่ประสบมาในขณะทำวิจัยร่วมกับนิสิตโท-เอกในที่ปรึกษา
(ที่เราต่างช่วยกันสรรหาเทคนิคในการทำให้เครื่องมีปัญหาและเทคนิคในการแก้ปัญหา)
และบางเรื่องก็เป็นคำถามที่ผู้อ่าน
blog
ถามมาทางอีเมล์
เนื้อหาส่วนนี้เป็นคนละส่วนกับรวมบทความชุดที่
๑๕ (ซึ่งในชุดที่
๑๕ นั้นเป็นกรณีเฉพาะของการปรับตั้งเครื่อง
GC
เพื่อใช้
NH3,
SO2 และ
NO
ที่หมดเวลาไปร่วม
๒ ปีเพื่อทำให้ผลการวิเคราะห์นั้นยอมรับได้)
แม้ว่าตัวอย่างที่ยกมานั้นจะอิงกับเครื่อง
GC
Shimadzu รุ่น
8A
และ
14B
เป็นหลัก
แต่หลากหลายเรื่องราวนั้นก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเครื่อง
GC
ทั่วไปได้โดยไม่ขึ้นกับรุ่นหรือบริษัทผู้ผลิต
ท้ายสุดนี้ก็หวังว่ารวมบทความชุดนี้คงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยแก่ผู้ที่ขาดความรู้และประสบการณ์ในการใช้
GC
แต่จำเป็นต้องมาใช้งานมันหรือต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้งาน
ดาวน์โหลดไฟล์ pdf ได้ที่ Link ข้างล่างนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น