เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้เล่าเรื่องการขาดอากาศจาก
"Chimney
effect" ทั้ง
ๆ ที่ทำงานอยู่ในพื้นที่โล่งเปิด
ซึ่งดู ๆ แล้วเหมือนกับว่าไม่น่าจะเกิดปัญหานี้ได้
(บนยอดหอกลั่นที่สูงจากพื้นราว
ๆ 40
เมตร)
ที่นำมาจากวารสาร
Loss
Prevention Bulletin ฉบับที่
๑๑๐ ปีค.ศ.
๑๙๙๓
อันที่จริงในบทความเดียวกันกับเรื่องดังกล่าวนี้ยังมีการกล่าวถึงกรณีที่คนงานได้รับผลกระทบจากไอระเหยของตัวทำละลายขณะเข้าไปทำงานภายในตัว
vessel
ทั้ง
ๆ ที่การทำงานเช่นเดียวกันนี้ก่อนหน้านี้ไม่เคยเกิดปัญหาดังกล่าว
เครื่องปฏิกรณ์
(chemical
reactor) เครื่องหนึ่งที่ใช้ในกระบวนการอิเล็กโตรไลซิส
(electrolysis
process) ถูกถอดออกมาล้างทำความสะอาด
และไล่แก๊สต่าง ๆ
ออกหมดก่อนแทนที่ด้วยอากาศ
และนำออกจากสายการผลิต
ตัวเครื่องปฏิกรณ์มีความสูง
5
เมตร
ด้านบนเป็นฝาที่เมื่อเปิดแล้วจะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง
1.5
เมตร
ส่วนด้านล่างเป็นจุดต่อท่อ
ที่เมื่อเปิดหน้าแปลนด้านล่างแล้วจะมีช่องว่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
0.6
เมตร
เครื่องปฏิกรณ์ดังกล่าวถูกถอดออกจากระบบมาวางนอนอยู่บนรถลำเลียงเพื่อนำไปซ่อมบำรุง
รูปที่
๑ ภาพร่างของเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้ในปฏิกิริยา
electrolysis
เมื่อนำมาวางนอน
อันที่จริงบทความต้นฉบับไม่ได้ให้รูปอะไรไว้
แต่เดาจากมิติแล้วคาดว่าน่าจะมีรูปร่างประมาณดังในรูปข้างบน
ตัวเครื่องปฏิกรณ์นั้นทำจาก
carbon
steel แต่จากลักษณะการใช้งานจึงมีการบุผนังด้านในด้วยวัสดุยาง
(rubber
material) ก่อน
จากนั้นจึงก่ออิฐปิดทับผิวยางอีกชั้นหนึ่ง
ตรงรอยต่อระหว่างอิฐแต่ละก้อนนั้นจะทำการ
"point"
ด้วยกาวยางที่มีตัวทำละลายเป็นองค์ประกอบร่วม
โดยปรกติแล้วการทำการ "point"
นี้จะทำในที่เปิดโล่งที่สามารถทำให้ตัวทำละลายที่ระเหยออกมาจากกาวยางนั้นกระจายตัวออกไปได้ง่าย
พจนานุกรม
Oxford
Advanced Learner's Dictionary ให้ความหมายของคำว่า
"point"
ในฐานะที่เป็นคำกิริยาความหมายหนึ่งไว้ว่า
"fill
in the spaces between the bricks of (sth) with motar or cement: point
a wall, chemney,
etc."
ดังนั้นในที่นี้ถ้าจะแปลเป็นไทยก็คงจะเทียบเคียงได้กับการ
"ยาแนว"
คือการอัดวัสดุเข้าไปเติมเต็มช่องว่างระหว่างก้อนอิฐ
หิน หรือแผ่นกระเบื้อง
ด้วยขนาดของช่องเปิดที่มีขนาดใหญ่
(1.5
เมตร)
และมีอยู่ที่ปลายทั้งสองด้านของตัวเครื่องปฏิกรณ์
ทำให้ตัวเครื่องปฏิกรณ์ไม่ได้รับพิจารณาว่าเป็นพื้นที่อับอากาศ
(confined
space) และการซ่อมแซมก่อนหน้านั้นก็ไม่เคยเกิดปัญหาใด
ๆ
ในการซ่อมครั้งหนึ่ง
เนื่องจากอากาศภายนอกหนาวจัด
จึงมีการย้ายตัวเครื่องปฏิกรณ์เข้ามาทำการซ่อมแซมภายในตัวอาคาร
และเมื่อทำการยาแนวตามแนวรอยต่อระหว่างก้อนอิฐไปได้สักครู่หนึ่ง
พนักงานที่ทำการซ่อมบำรุงรู้สึกว่าได้รับผลกระทบจากไอระเหยของตัวทำละลายที่สะสมอยู่ในอากาศที่อยู่ภายในตัวเครื่องปฏิกรณ์
แต่เมื่อได้รับการนำตัวออกมาจากเครื่องปฏิกรณ์
ก็สามารถฟื้นคืนได้อย่างรวดเร็ว
จากเดิมที่ทำการซ่อมแซมภายนอกอาคาร
แต่เมื่อย้ายเข้ามาทำงานในอาคาร
ซึ่งคงต้องมีการปิดประตู
หน้าต่าง เพื่อรักษาความอบอุ่นภายในตัวอาคารเอาไว้
คงทำให้การไหลเวียนอากาศนั้นต่ำกว่าการทำงานกลางแจ้งภายนอก
ไอระเหยของตัวทำละลายจึงสามารถสะสมภายในตัวเครื่องปฏิกรณ์จนมีความเข้มสูงพอที่ก่ออันตรายให้กับผู้ปฏิบัติงานได้
แม้ว่าปลายทั้งสองด้านของเครื่องปฏิกรณ์จะถูกเปิดเอาไว้ก็ตาม
กรณีนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของผลกระทบที่เกิดจากการย้ายสถานที่ทำงานจากที่โล่งภายนอกมาเป็นภายในอาคาร
ทำให้งานที่สามารถทำได้อย่างปลอดภัยในพื้นที่โล่งภายนอก
(ไม่มีปัญหาเรื่องการระบายอากาศภายในตัวเครื่องปฏิกรณ์)
กลายเป็นงานอันตรายขึ้นมาได้
(คือการระบายอากาศภายในตัวเครื่องปฏิกรณ์แย่ลง)
ปิดท้ายที่ว่างของหน้านี้ด้วยภาพของสองสาวป.โท
แลปเพื่อบ้าน
ที่เมื่อเทื่ยงวันนี้แวะมาให้ผมช่วยอธิบายกลไกการเกิดปฏิกิริยา
Friedel-Crafts
Acylation ส่วนเรื่องที่อธิบายไปเมื่อวานมีรายละเอียดอย่างไรนั้น
คอยอ่านในฉบับหน้าก็แล้วกัน
ภาพนี้ถ่ายเอาไว้เมื่อวันจันทร์ที่
๕ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่แลป
Unit
Operation ของนิสิตป.ตรี
ระหว่างที่ทั้งสองคนกำลังปรึกษาเรื่องการทำวิจัย
(แต่อันที่จริงคือกำลังนินทาอาจารย์ที่ปรึกษาห่างหาก)
:) :) :)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น