เอทานอล
(ethanol
H3CCH2-OH)
ที่ได้จากกระบวนการหมักผลิตผลทางการเกษตรนั้นมีความเข้มข้นต่ำ
(ราว
ๆ 10-15%)
การทำให้เอทานอลจากกระบวนการหมักให้มีความเข้มข้นสูงพอ
(ไม่ต่ำกว่า
99.5%)
ที่จะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงกับรถยนต์ได้นั้นต้องใช้พลังงานสูงมากในการแยกเอาเอทานอลออกจากน้ำ
เรียกว่าพลังงานที่ใช้ในการแยกเอทานอลจากน้ำนั้น
"สูงกว่า"
พลังงานที่ได้จากเอทานอล
ดังนั้นถ้ามองในแง่ของการประหยัดพลังงานแล้ว
การไม่เอาเอทานอลที่ผลิตจากการหมักมาใช้เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์จะเป็นการดีกว่า
(อาจลดการนำเข้าน้ำมัน
แต่มีการนำเข้าถ่านหินเพื่อนำมาผลิตไอน้ำสำหรับให้ความร้อนในกระบวนการกลั่นเอทานอล)
วิธีการที่น่าจะเหมาะสมกว่าในการนำเอทานอลที่ได้จากกระบวนการหมักไปใช้ประโยชน์ก็คือการหาทางเปลี่ยนเป็นสารเคมีตัวอื่นที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องนำสารละลายเอทานอลดังกล่าวมาผ่านกระบวนการเพื่อทำให้ความเข้มข้นเอทานอลเพิ่มสูงขึ้นมาก
การเปลี่ยนเอทานอลไปเป็นสารตัวอื่นอาศัยการทำปฏิกิริยาของหมู่ไฮดรอกซิล
(hydroxyl
-OH)
ปฏิกิริยาหลักปฏิกิริยาหนึ่งของหมู่ไฮดรอกซิลนี้ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปก็คือปฏิกิริยาการกำจัดน้ำ
(dehydration)
ที่เป็นการดึงเอาหมู่
-OH
ออกในรูปของโมเลกุล
H2O
ผลิตภัณฑ์ที่ได้อาจเป็นไดเอทิลอีเทอร์
(diethyl
ether H3C-CH3) หรือ
เอทิลีน (ethylene
H2C=CH2) ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาวะการทำปฏิกิริยา
และอีกปฏิกิริยาหนึ่งคือปฏิกิริยาการออกซิไดซ์
(oxidation
reaction) ที่นำไปสู่การเกิดสารประกอบอัลดีไฮด์
(aldehyde)
หรือกรดอินทรีย์
(carboxylic
acid) ซึ่งในกรณีของเอทานอลก็จะได้แก่อะเซทัลดีไฮด์
(acetaldehyde
H3C-COH) และกรดอะซีติก
(acetic
acid H3C-COOH)
รูปที่
๑
บทความเกี่ยวกับการเปลี่ยนเอทานอลไปเป็นอะเซทัลดีไฮด์ด้วยปฏิกิริยาการกำจัดไฮโดรเจน
ตีพิมพ์ในวารสาร Industrial
and Engineering Chemistry vol. 43 No. 8 หน้า
1804-1811
กรดอะซีติกนั้นสามารถผลิตได้โดยตรงจากกระบวนการหมัก
จึงไม่จำเป็นต้องมีการนำเอาเอทานอลจากการหมักมาทำให้มีความเข้มข้นสูง
ก่อนที่จะเปลี่ยนให้กลายเป็นกรดอะซีติก
(เว้นแต่ต้องการกรดที่มีความบริสุทธิ์สูง
เพราะในของเหลวที่ได้จากการหมักก็จะมีอะไรต่อมิอะไรปนเปื้อนอยู่หลากหลายชนิด)
ปฏิกิริยาหลักที่ใช้ในการเปลี่ยนเอทานอลไปเป็นอะเซทัลดีไฮด์คือปฏิกิริยาการกำจัดไฮโดรเจน
(dehydrogenation)ปฏิกิริยานี้จะทำการดึงเอาอะตอม
H
หนึ่งตัวออกจากหมู่
-OH
และอะตอม
H
อีกอะตอมหนึ่งออกจากอะตอม
C
ที่หมู่
-OH
เกาะอยู่
(ที่เรียกว่า
alpha
carbon atom) ผลิตภัณฑ์ที่ได้คืออะเซทัลดีไฮด์และแก๊สไฮโดรเจน
(รูปที่
๑)
อีกปฏิกิริยาหนึ่งที่สามารถใช้เปลี่ยนเอทานอลเป็นอะเซทัลดีไฮด์
ได้แก่ปฏิกิริยา Oxidative
dehydrogenation
โดยในปฏิกิริยานี้จะทำการออกซิไดซ์เอทานอลเพื่อดึงเอาอะตอมไฮโดรเจนออกในรูปโมเลกุลน้ำ
(H2O)
(รูปที่
๒ และ ๓)
โดยในการทำปฏิกิริยานี้มีข้อควรระวังก็คือ
อะเซทัลดีไฮด์เป็นสารที่ถูกออกซิไดซ์ต่อไปเป็นกรดอะซีติกได้อีก
ดังนั้นต้องออกแบบตัวเร่งปฏิกิริยาให้เหมาะสมโดยต้องไม่ให้มีความสามารถในการออกซิไดซ์ที่แรงเกินไป
รูปที่
๒
ตัวอย่างบทความที่ทำการเปลี่ยนแอลกอฮอล์ไปเป็นอัลดีไฮด์ด้วยปฏิกิริยา
Oxidative
dehydrogenation และกลไกการเกิดปฏิกิริยาที่มีการนำเสนอ
ที่วันนี้เขียนเรื่องนี้ก็เพราะว่าเมื่อวาน
มีนิสิตปริญญาเอกคนหนึ่งที่ทำวิจัยเกี่ยวกับตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้ในการเปลี่ยนเอทานอลไปเป็นอะเซทัลดีไฮด์มาถามผมว่า
จะเขียนกลไกการเกิดปฏิกิริยาอย่างไรดี
โดยเขาเอาบทความฉบับหนึ่งมาให้ผมดูแล้วถามว่าจะเขียนตามบทความฉบับนั้นได้หรือไม่
ผมก็ตอบเขากลับไปว่าตามบทความนั้นเขาก็เขียนกลไกโดยอิงจากพื้นฐานเคมีอินทรีย์ที่อยู่ในตำราระดับปริญญาตรี
เพียงแต่เรามีความเข้าใจในพื้นฐานเพียงพอหรือเปล่าที่จะเอาความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้
คนที่คอยอธิบายสิ่งที่เจอด้วยการไปค้นว่าคนอื่นเขาเคยอธิบายปรากฏการณ์นี้เอาไว้อย่างไร
ก็แสดงว่าไม่ได้มีความรู้พื้นฐาน
หรือมีแต่ไม่รู้วิธีการนำมาใช้
ถ้าเป็นแบบนี้พอไปเจอเอาสิ่งที่ไม่เคยมีใครทำเอาไว้ก่อนก็คงจะหาคำอธิบายใด
ๆ ไม่ได้
โครงสร้างที่แสดงฤทธิ์เป็นกรดกับโครงสร้างที่แสดงฤทธิ์เป็นเบสเป็นของคู่กัน
เพียงแต่ว่าโครงสร้างไหนจะเด่นกว่ากันเท่านั้นเอง
อย่างเช่นกรณีของสารละลาย
HCl
เมื่อละลายน้ำ
H+
จะแสดงฤทธิ์เป็นกรดแก่
ในขณะที่ Cl-
แสดงฤทธิ์เป็นเบสที่อ่อนมาก
หรือในกรณีของ KOH
ที่เมื่อละลายน้ำ
K+
จะแสดงฤทธิ์เป็นกรดที่อ่อนมาก
ในขณะที่ OH-
แสดงฤทธิ์เป็นเบสที่แรง
(ที่เราเรียกว่า
acid-base
conjugate pair)
ในกรณีของสารละลายในน้ำ
ถ้าเราผสมกรดแก่กับเบสแก่เข้าด้วยกัน
มันก็จะทำปฏิกิริยาสะเทินกัน
(เพราะไอออนมีอิสระในการเคลื่อนที่)
แต่ในกรณีของตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นของแข็ง
เราสามารถมีทั้งกรดแก่และเบสแก่อยู่บนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นของแข็งนั้นได้
(เพราะมันไม่สามารถเคลื่อนที่มาเจอกันได้)
ถ้าเราพิจารณาโครงสร้างโมเลกุลของเอทานอล
หมู่ -OH
นั้นแสดงฤทธิ์เป็นได้กรดและเบส
ขึ้นอยู่กับว่ามันเจอกับอะไร
ถ้ามันเจอกับกรดแก่ (จะเป็น
H+
หรือกรดลิวอิวก็ตาม)
กรดแก่จะเข้าทำปฏิกิริยาที่อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของอะตอม
O
แต่ถ้ามันเจอกับเบสแก่
(เช่นสารละลาย
NaOH
เข้มข้นสูงและมีอุณหภูมิสูง)
หมู่
-OH
จะจ่ายโปรตอนออกไปในรูปของ
H+
แต่อันที่จริงมันยังมีอีกตำแหน่งที่ยังแสดงฤทธิ์เป็นกรดได้
นั่นคือตำแหน่ง alpha
hydrogen atom ของอะตอม
C
ที่หมู่
-OH
เกาะอยู่
(ตำแหน่ง
alpha
carbon) ความแรงของความเป็นกรดของอะตอม
H
ที่ตำแหน่งนี้ขึ้นอยู่กับว่าหมู่ฟังก์ชันที่เกาะอยู่กับมันนั้นดึงอิเล็กตรอนออกจากตัวมันได้มากน้อยเพียงใด
ถ้าสามารถดึงออกได้มาก
ความเป็นกรดของอะตอม H
ที่ตำแหน่งนี้ก็จะเด่นชัดมากขึ้น
ในกรณีของหมู่ -OH
นั้นอะตอม
H
ของหมู่
-OH
จะแสดงฤทธิ์เป็นกรดที่โดดเด่นมากกว่า
แต่ถ้าหากหมู่ -OH
นี้เสีย
H+
ออกไป
และตำแหน่งอะตอม O
ที่มีประจุลบนั้นเข้าไปเกาะกับไอออนบวกที่มีฤทธิ์เป็นกรดลิวอิสที่แรง
ก็จะทำให้ alpha
carbon นั้นถูกดึงอิเล็กตรอนออกมากขึ้นตามไปด้วย
ความเป็นกรดของ alpha
hydrogen atom ก็จะเพิ่มขึ้นตาม
และถ้าบนพื้นผิวของแข็งนั้นมีตำแหน่งเบสที่มีความแรงเพียงพอ
มันก็จะสามารถดึงเอาอะตอม
H
ที่เป็น
alpha
hydrogen atom ออกจากโมเลกุล
ทำให้โมเลกุลเอทานอลเปลี่ยนไปเป็นอะเซทัลดีไฮด์ได้
(รูปที่
กลไกลในบทความที่เขานำมาให้ผมดูนั้นมันไม่ได้มีอะไรซับซ้อนหรือเขียนขึ้นมาจากจินตนาการ
แต่มันมีทฤษฎีพื้นฐานที่ปรากฏอยู่ในตำราอินทรีย์เคมีระดับปริญญาตรีรองรับอยู่แล้ว
รูปที่
๓ ปฏิกิริยากำจัดไฮโดรเจน
(dehydrogenation)
ของเอทานอล
เป็นอะเซทัลดีไฮด์ A
แทนตำแหน่งที่เป็นกรดบนพื้นผิว
ส่วน B
แทนตำแหน่งที่เป็นเบสบนพื้นผิว
เริ่มจากทางซ้ายเป็นการดึงเอาอะตอม
H
ตัวแรกออกด้วยตำแหน่งที่เป็นเบส
ส่วนอะตอม O
ที่มีประจุลบก็จะถูกยึดเอาไว้ด้วยไอออนบวกที่มีฤทธิ์เป็นกรดลิวอิสที่แรง
จากนั้นตำแหน่งเบสที่แรงอีกตำแหน่งหนึ่งก็จะดึงเอา
alpha
hydrogen atom ออกจาก
alpha
carbon ก็เป็นการเสร็จสิ้นการเปลี่ยนเอทานอลไปเป็นอะเซทัลดีไฮด์
ส่วนไฮโดรเจนที่ดึงออกมานั้นก็จะรวมตัวกันกลายเป็นแก๊สไฮโดรเจน
ผมอธิบายเขาเสร็จผมก็ถามกลับไปเล่น
ๆ ว่าแล้วนี่จะมีการกล่าวขอบคุณผมไว้ในกิตติกรรมประกาศไหม
ซึ่งอันที่จริงผมก็ไม่ได้คาดหวังอะไร
เพราะเจอเป็นประจำ
ตอนมีปัญหาที่แม้แต่อาจารย์ที่ปรึกษาก็ไม่รู้ว่าจะอธิบายหรือแก้ไขอย่างไร
พอมาขอความรู้และได้คำตอบกลับไป
ก็กลายเป็นความดีความชอบของนิสิตและอาจารย์ที่ปรึกษาว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ
(ทั้ง
ๆ ที่คนอื่นเป็นคนทำให้)
อย่าว่าแต่จะเป็นกิตติกรรมประกาศในบทความเลย
แม้แต่ในวิทยานิพนธ์ก็ยังไม่ใส่กัน
ปรกติก็เห็นใส่กันแค่คนที่บ้านกับกรรมการสอบเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น