ในแผนที่แนบท้ายพระราชบัญญัติ
โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ตำบลปทุมวัน อำเภอปทุมวัน
จังหวัดพระนคร ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พุทธศักราช ๒๔๘๒
ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๕๖ หน้า ๑๓๖๔ วันที่ ๓๐
ตุลาคม ๒๔๘๒
มีการโอนที่ดินให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๓ แปลงด้วยกัน
โดยทุกแปลงนั้นด้านทิศเหนือจรดถนนพระรามที่
๑ ด้านทิศใต้จรดถนนพระรามที่
๔
ที่ดินแปลงที่
๑ ด้านทิศตะวันออกจรดคลองอรชร
ทิศตะวันตกจรดถนนพญาไท
ซึ่งตอนนี้คลองอรชรได้กลายเป็นส่วนหนึ่งถนนอังรีดูนังต์ไปแล้ว
(ถนนอังรีดูนังต์หรือถนนสนามม้าเดิมจะเฉพาะฝั่งทางด้านสนามม้า
แต่พอมีการถมคลองอรชรให้กลายเป็นถนน
ถนนก็เลยกว้างขึ้น)
ที่ดินแปลงที่
๒ ทิศตะวันออกจรดถนนพญาไท
ทิศตะวันตกจรดถนน "พระรามที่
๖"
และที่ดินแปลงที่
๓ ทิศตะวันออกจรดถนน "พระรามที่
๖"
ทิศตะวันตกจรด
"คลองสวนหลวง"
"ถนนพระรามที่
๖"
ที่กล่าวถึงในพระราชบัญญัตินั้นคือถนนบรรทัดทองในปัจจุบัน
ส่วน "คลองสวนหลวง"
นั้นไม่เหลือสภาพเป็นคลองแล้ว
กลายเป็นคูระบายน้ำแบบเปิดคูใหญ่คูหนึ่งที่อยู่ทางด้านหลังตึกแถวทางซึกตะวันตกของถนนบรรทัดทอง
โดยร่องรอยของสะพานข้ามคลองนี้ยังเหลืออยู่บ้างตรงจุดที่ถนนเจริญเมืองเข้าบรรจบถนนบรรทัดทอง
รูปที่
๑ แผนที่แนบท้ายพระราชบัญญัติ
โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พุทธศักราช ๒๔๘๒
ตัดมาเฉพาะมุมล่างด้านขวาที่แสดงตำแหน่งสะพานเหลืองที่ข้ามคลองสวนหลวงตรงตำแหน่งที่ออกมาบรรจบกับคลองเตย
และยังปรากฏแนวทางรถไฟสายปากน้ำอยู่ระหว่างถนนพระราม
๔ กับคลองเตย
จากแผนที่ในรูปที่
๑ จะเห็นว่าคลองสวนหลวงบรรจบกับคลองเตยทางด้านถนนพระรามที่
๔ โดยสะพานข้ามคลองสวนหลวงของถนนพระรามที่
๔ ตรงนี้คือ "สะพานเหลือง"
(เข้าใจว่าเดิมตัวสะพานคงมีสีเหลือง"
ทางแยกดังกล่าวจึงมีชื่อเรียกว่าแยกสะพานเหลืองมาจนถึงปัจจุบันแม้ว่าจะไม่มีตัวสะพานเหลือให้เห็นแล้วก็ตาม
บริเวณแยกสะพานเหลืองตรงบริเวณใกล้กับหัวมุมที่ดินของจุฬา
ฯ จะมีตลาดสดอยู่ตลาดหนึ่งชื่อตลาดสะพานเหลือง
ที่อยู่ติดกับตลาดนี้ก็คือโรงเรียนปทุมวันที่เป็นโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร
และที่อยู่ติดกับโรงเรียนก็คือสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน
แต่เดิมนั้นฝั่งตรงข้ามกับสถานีตำรวจก็คือสำนักงานเขตปทุมวันที่ตอนนี้อาคารตรงนั้นถูกทุบทิ้งไปและกลายเป็นลาดจอดรถ
ผมยังเคยได้ไปติดต่อที่สำนักงานเขตนี้ครั้งหนึ่งตอนปลายปี
๒๕๕๔
ตอนไปขอสำเนาเอกสารเพื่อนำไปขอรับเงินช่วยเหลือจากเหตุน้ำท่วมใหญ่
ส่วนตลาดสะพานเหลืองนี้เพิ่งจะแวะไปเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา
เพราะเวลามาทำงานมักจะนำรถไปจอดที่อาคารจอดรถที่อยู่ใกล้บริเวณนั้น
และของกินบางอย่างที่ตลาดนั้นก็ถูกว่าที่ตลาดสามย่านที่ถูกย้ายมาอยู่ใกล้
ๆ และของกินสิ่งหนึ่งที่ต้องไปหาซื้อที่ตลาดนั้นเพราะบริเวณรอบ
ๆ
จุฬาไม่มีขายก็คือปาท่องโก๋ที่จะมีการทอดขายเฉพาะตอนเช้าคู่กับน้ำเต้าหู้
และเจ้านี้ก็ทำปาท่องโก๋ได้อร่อยและขายถูกเสียด้วย
กลางสัปดาห์ที่แล้วแวะไปที่ตลาดแห่งนั้นอีกครั้งหนึ่งหลังจากไม่ได้แวะไปหลายเดือน
ก็พบว่าตลาดปิดทำการอย่างถาวรไปแล้ว
ดังนั้นวันนี้ก็เลยขอบันทึกเรื่องราวตรงนี้ไว้สักหน่อยว่าที่ตรงนี้เคยมีอะไรอยู่บ้าง
ก่อนที่มันจะหายสาบสูญไป
รูปที่
๓ ตลาดสวนหลวงที่แวะเข้าไปเมื่อเย็นวันพุธที่
๘ สิงหาคม ที่ผ่านมาหลังจากที่ไม่ได้แวะเข้าไปหลายเดือน
มีป้ายแขวนเอาไว้ว่าเปิดเป็นการถาวรตั้งแต่
๑ เมษายน ๒๕๖๑
ส่วนตึกแถวเก่าด้านซ้ายมือมีป้ายบอกว่าจะสร้างเป็นโรงแรม
รูปที่
๔ ตึกแถวเก่าตรงนี้เริ่มมีการรื้อทิ้งแล้ว
มีป้ายบอกว่าจะมีการปรับปรุงเป็นโรงแรม
หน้าตาคงออกมาเป็นแบบภาพบนผ้าใบที่เขาติดโชว์อยู่
รูปที่
๕ โรงเรียนปทุมวันที่ปิดทำการแล้ว
ตึกสีเหลืองคืออาคารเรียน
รูปที่
๖ ประตูทางเข้าโรงเรียนปทุมวัน
ปีการศึกษาที่แล้วยังเห็นพลุกพล่านไปด้วยนักเรียนในช่วงเช้าและบ่าย
รูปที่
๗ ซอยจุฬาลงกรณ์ ๕
มองออกไปทางด้านถนนพระราม
๔ อาคารข้างขวาคือแฟลตตำรวจ
รูปที่
๘ สถานตำรวจนครบาลปทุมวัน
อาคารแบบเดิมที่อยู่คู่มากับย่านการค้าที่เป็นตึกแถวเก่า
และยังคงเป็นเพียงแค่ไม่กี่อาคาร
(สถานีดับเพลิงและศาลเจ้าแม่ทับทิม)
ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในบริเวณนี้
บันทึกเพิ่มเติม
สมัยเรียนหนังสือ (ก็เมื่อกว่าสามสิบปีที่แล้ว) พื้นที่บริเวณนี้เคยแวะไปเพียงแค่ครั้งเดียวก็ตอนบัตรนิสิตหาย ต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ เพื่อเอาใบแจ้งความมาขอทำบัตรนิสิตใหม่
ตอนนั้นคณะบัญชีน่าจะอุดมสมบูรณ์ที่สุด เพราะแค่เดินออกประตูบัญชีก็เป็นตลาดสามย่าน จำได้แต่ร้านหมงร้านใบ้ เมนูขึ้นชื่อก็ข้าวไข่ระเบิด เวลารุ่นพี่เลี้ยงรุ่นน้องก็ไปหาร้านกินกันแถวนี้ การขายเหล้าก็ไม่จำกัดเวลา หลายกลุ่มไปนั่งกินเหล้ากันตอนเย็นกันเป็นเรื่องปรกติ
กลับมาทำงานบริเวณนี้ถูกทุบทิ้งแล้ว กำลังสร้างคอนโด ที่ท้ายสุดแล้วต้องปล่อยทิ้งร้างราว ๆ สิบปี ผลพวงจากฟองสบู่แตกปี ๒๕๔๐ ส่วนตลาดสามย่านถูกย้ายไปฝั่งตรงข้าม (ที่กำลังก่อสร้างอาคารมิตรผลอยู่ในปัจจุบัน) ช่วงนั้นแวะไปแถวนั้นบ่อย เพราะต้องไปซื้ัอฟิล์มถ่ายรูปและเอาฟิล์มไปล้าง ใช้ FUJI เป็นหลัก (ชอบโทนสีของมันมากกว่า KODAK และ KONIKA หรือ AGFA) ได้ของแถมมาเพียบ ทั้งถุงผ้าและแก้วน้ำเป็นสิบใบ (เรียกว่าครบทุกลาย) ป้ายรถเมล์ตรงน้ันคนจะพลุกพล่าน มีทั้งร้านเซเว่น จีฉ่อย สเต็ก ร้านขายยา ขายและซ่อมนาฬิกา ฯลฯ หลังตึกแถวก็เป็นตลาดสามย่าน แวะเข้าไปกินบะหมี่แห้งที่ร้านหนึ่งในนั้นก็บ่อยครั้ง จนในที่สุดพื้นที่นี้ก็ถูกเรียกคืน ตึกถูกทุบทิ้งและปล่อยร้างไว้ช่วงหนึ่ง แต่ช่วงหนึ่งก็มีคนมาเปิดเป็นสวนสนุกด้วย ตึกแถวที่อยู่ลึกเข้ามาข้างในไม่ถูกทุบ แต่ได้รับการปรับปรุงให้กลายเป็นหอพักแทน
ตลาดสามย่านถูกย้ายลึกเข้าไปข้างใน พื้นที่ว่างฝั่งตรงข้ามโรงเรียนสาธิตมัธยมที่แสนจะรกและถุกใช้เป็นลานจอดรถ และพื้นที่ที่เป็นสนามเทนนิสที่อยู่บริเวณนั้น ถูกนำมาสร้างเป็นอาคารจามจุรี ๙ ส่วนปั๊มน้ำมันก็กลายเป็นที่จอดรถป๊อปไป รั้วรอบสนามจุ๊บด้านทิศตะวันออกถูกรื้อออกเพื่อเปิดห้องใต้อัฒจันทร์ให้เป็นห้องสำหรับชมรมต่าง ๆ สนามยิงปืนเดิมที่อยู่กลางแจ้งมีช่องยิง ๑๐ เมตรที่หันไปทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ขนานกับสนามจุ๊บ ก็ถูกย้่ายเข้าไปเป็นสนามติดแอร์ที่เล็กลงเหลือพื้นที่เพียงครึ่งเดียวที่อยู่ใต้อัฒจันทร์ รอบตลาดสามย่านยังมีร้านค้าตึกแถวอยู่ ผมเองก็เคยเอารถไฟซ่อมแอร์ที่ร้านแถวนั้นอยู่หลายครั้ง ถนนเส้นที่ตรงออกไปทางสนามกีฬาแห่งชาติและพระราม ๑ ก็ยังมีร้านขายของกิน ที่ตอนเย็น ๆ จะมีนิสิตมากินกันเต็มไปหมด ในขณะที่หลากหลายซอยนั้นจะเต็มไปด้วยร้านขายอะไหล่รถยนต์เก่า เครื่องยนต์เก่า ๆ กองเต็มถนนไปหมด คราบน้ำมันเครื่องก็เลอะทั่วไป ซอยจุฬา ๒๒ ที่อยู่ตรงประตูธรรมสถานก็ยังเปิดให้รถวิ่งสวนทางกันได้ เป็นทางตรงที่เชื่อมถนนเจริญเมืองจากแยกบรรทัดทอง (ที่เดิมเป็นสี่แยก แต่ตอนนี้กลายเป็นสามแยก) กับมหาวิทยาลัยโดยตรง
พื้นที่ตั้งโรงเรียนสวนหลวงและสถานบริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครตรงจุฬาซอย ๙ ก็ถูกเรียกคือ เพื่อนำพื่นที่มาสร้างเป็นอาคารสูงให้เช่าระยะยาวและหอพักอินเตอร์
ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และขณะนี้อีกบริเวณหนึ่งก็กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป เลยต้องขอบันทึกเอาไว้หน่อยกันลืม
บันทึกเพิ่มเติม
สมัยเรียนหนังสือ (ก็เมื่อกว่าสามสิบปีที่แล้ว) พื้นที่บริเวณนี้เคยแวะไปเพียงแค่ครั้งเดียวก็ตอนบัตรนิสิตหาย ต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ เพื่อเอาใบแจ้งความมาขอทำบัตรนิสิตใหม่
ตอนนั้นคณะบัญชีน่าจะอุดมสมบูรณ์ที่สุด เพราะแค่เดินออกประตูบัญชีก็เป็นตลาดสามย่าน จำได้แต่ร้านหมงร้านใบ้ เมนูขึ้นชื่อก็ข้าวไข่ระเบิด เวลารุ่นพี่เลี้ยงรุ่นน้องก็ไปหาร้านกินกันแถวนี้ การขายเหล้าก็ไม่จำกัดเวลา หลายกลุ่มไปนั่งกินเหล้ากันตอนเย็นกันเป็นเรื่องปรกติ
กลับมาทำงานบริเวณนี้ถูกทุบทิ้งแล้ว กำลังสร้างคอนโด ที่ท้ายสุดแล้วต้องปล่อยทิ้งร้างราว ๆ สิบปี ผลพวงจากฟองสบู่แตกปี ๒๕๔๐ ส่วนตลาดสามย่านถูกย้ายไปฝั่งตรงข้าม (ที่กำลังก่อสร้างอาคารมิตรผลอยู่ในปัจจุบัน) ช่วงนั้นแวะไปแถวนั้นบ่อย เพราะต้องไปซื้ัอฟิล์มถ่ายรูปและเอาฟิล์มไปล้าง ใช้ FUJI เป็นหลัก (ชอบโทนสีของมันมากกว่า KODAK และ KONIKA หรือ AGFA) ได้ของแถมมาเพียบ ทั้งถุงผ้าและแก้วน้ำเป็นสิบใบ (เรียกว่าครบทุกลาย) ป้ายรถเมล์ตรงน้ันคนจะพลุกพล่าน มีทั้งร้านเซเว่น จีฉ่อย สเต็ก ร้านขายยา ขายและซ่อมนาฬิกา ฯลฯ หลังตึกแถวก็เป็นตลาดสามย่าน แวะเข้าไปกินบะหมี่แห้งที่ร้านหนึ่งในนั้นก็บ่อยครั้ง จนในที่สุดพื้นที่นี้ก็ถูกเรียกคืน ตึกถูกทุบทิ้งและปล่อยร้างไว้ช่วงหนึ่ง แต่ช่วงหนึ่งก็มีคนมาเปิดเป็นสวนสนุกด้วย ตึกแถวที่อยู่ลึกเข้ามาข้างในไม่ถูกทุบ แต่ได้รับการปรับปรุงให้กลายเป็นหอพักแทน
ตลาดสามย่านถูกย้ายลึกเข้าไปข้างใน พื้นที่ว่างฝั่งตรงข้ามโรงเรียนสาธิตมัธยมที่แสนจะรกและถุกใช้เป็นลานจอดรถ และพื้นที่ที่เป็นสนามเทนนิสที่อยู่บริเวณนั้น ถูกนำมาสร้างเป็นอาคารจามจุรี ๙ ส่วนปั๊มน้ำมันก็กลายเป็นที่จอดรถป๊อปไป รั้วรอบสนามจุ๊บด้านทิศตะวันออกถูกรื้อออกเพื่อเปิดห้องใต้อัฒจันทร์ให้เป็นห้องสำหรับชมรมต่าง ๆ สนามยิงปืนเดิมที่อยู่กลางแจ้งมีช่องยิง ๑๐ เมตรที่หันไปทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ขนานกับสนามจุ๊บ ก็ถูกย้่ายเข้าไปเป็นสนามติดแอร์ที่เล็กลงเหลือพื้นที่เพียงครึ่งเดียวที่อยู่ใต้อัฒจันทร์ รอบตลาดสามย่านยังมีร้านค้าตึกแถวอยู่ ผมเองก็เคยเอารถไฟซ่อมแอร์ที่ร้านแถวนั้นอยู่หลายครั้ง ถนนเส้นที่ตรงออกไปทางสนามกีฬาแห่งชาติและพระราม ๑ ก็ยังมีร้านขายของกิน ที่ตอนเย็น ๆ จะมีนิสิตมากินกันเต็มไปหมด ในขณะที่หลากหลายซอยนั้นจะเต็มไปด้วยร้านขายอะไหล่รถยนต์เก่า เครื่องยนต์เก่า ๆ กองเต็มถนนไปหมด คราบน้ำมันเครื่องก็เลอะทั่วไป ซอยจุฬา ๒๒ ที่อยู่ตรงประตูธรรมสถานก็ยังเปิดให้รถวิ่งสวนทางกันได้ เป็นทางตรงที่เชื่อมถนนเจริญเมืองจากแยกบรรทัดทอง (ที่เดิมเป็นสี่แยก แต่ตอนนี้กลายเป็นสามแยก) กับมหาวิทยาลัยโดยตรง
พื้นที่ตั้งโรงเรียนสวนหลวงและสถานบริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครตรงจุฬาซอย ๙ ก็ถูกเรียกคือ เพื่อนำพื่นที่มาสร้างเป็นอาคารสูงให้เช่าระยะยาวและหอพักอินเตอร์
ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และขณะนี้อีกบริเวณหนึ่งก็กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป เลยต้องขอบันทึกเอาไว้หน่อยกันลืม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น