เมื่อวานตอนเย็น
หลังจากสอนแลปเคมีปี ๒ บนชั้น
๓ เสร็จ ก็มีโอกาสแวะไปดูนิสิตปี
๓ ที่ทำแลปอยู่ชั้น ๑
เห็นนิสิตกลุ่มหนึ่งกำลังทดลองปรับอัตราการไหลของน้ำเพื่อวัดค่าความดันลด
โดยใช้อุปกรณ์ในรูปที่ ๑
ข้างล่าง
รูปที่
๑
ปั๊มน้ำและวาล์วที่ใช้ปรับอัตราการไหลของน้ำที่สามารถอ่านค่าได้จาก
rotameter
ในชุดทดลองนี้
(เป็นอุปกรณ์ประกอบสำเร็จได้จากการจัดซื้อ)
จะมีอุปกรณ์ระบบท่อหลากหลายชนิดและมีจุดวัดค่าความดันลดหรือ
pressure
drop คร่อมตัวอุปกรณ์ระบบท่อเหล่านั้น
ในการทดลองนั้นนิสิตก็จะทำการปรับอัตราการไหลของน้ำให้มีค่าต่าง
ๆ กันโดยการใช้วาล์วที่ติดตั้งอยู่ทางด้านขาออกของปั๊มก่อนเข้า
rotameter
(รูปที่
๒)
และทำการวัดค่าความดันลดคร่อมตัวอุปกรณ์ระบบท่อที่ค่าอัตราการไหลต่าง
ๆ
รูปที่
๒ วาล์วที่ใช้ในการปรับอัตราการไหลของน้ำ
จะเห็นว่าเป็นชนิด gate
valve
ถ้าไม่นับ
needle
valve
ที่เป็นวาล์วขนาดเล็กที่ใช้สำหรับปรับอัตราการไหลได้ละเอียดแต่ปิดไม่สนิท
(ต้องมี
block
valve อีกตัวร่วม)
ถ้าต้องการปรับอัตราการไหลก็ควรใช้วาล์วพวก
globe,
ball และ
butterfly
ที่สามารถทำหน้าที่เป็น
block
valve (วาล์วปิด-เปิด)
ได้ด้วย
gate
valve นั้นเหมาะสำหรับงานปิด-เปิด
คือปิดเต็มที่และเปิดสุด
จะไม่เหมาะสำหรับใช้เป็นวาล์วปรับอัตราการไหลเพราะความสัมพันธ์ระหว่างระยะการเคลื่อนที่ของตัวแผ่น
gate
และอัตราการไหลนั้นมันไม่ดี
และยังอาจเกิดปัญหา erosion
ในกรณีของที่เปิดไว้เพียงเล็กน้อยเป็นเวลานานได้
คือมันก็มีเหมือนกันในบางงาน
เช่นการเปิดใช้ระบบท่อไอน้ำที่ใช้
gate
valve ปิด-เปิด
ที่ช่วงแรกที่ท่อเย็นอยู่นั้นต้องอุ่นท่อให้ร้อนก่อนด้วยการเปิดวาล์วเพียงเล็กน้อยแบบที่เรียกว่า
crack
open แต่เมื่อท่อร้อนได้ที่แล้วก็จะเปิดวาล์วกว้าง
การที่อุปกรณ์ที่ใช้สอนนั้นมันมีความไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมก็เป็นเรื่องหนึ่ง
แต่การที่ผู้สอนควรต้องให้ผู้เรียนที่มาใช้อุปกรณ์ดังกล่าวรู้ว่าอุปกรณ์นั้นมันมีความไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ไม่เช่นนั้นอาจเกิดปัญหาได้ว่าตอนที่เรียนก็เห็นทำกันอย่างนี้
พอตอนจบไปทำงานแล้วไปเจองานคล้าย
ๆ กันก็เลยลอกเอาสิ่งที่เคยเห็นตอนที่เรียนมาใช้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น