เมื่อวานตอนบ่ายมีนิสิตปี
๓ ที่กำลังทำการทดลองอยู่มาถามว่า
ทำไมพอเขาเอาบีกเกอร์ขนาด
๑ ลิตร เติมน้ำจนถึงขีด ๗๐๐
มิลลิลิตร แล้วเอาน้ำนั้นเทใส่ลงในปีกเกอร์ขนาด
๑ ลิตรอีกใบหนึ่ง (ยี่ห้อเดียวกัน
รูปทรงแบบเดียวกัน)
ปรากฏว่าปริมาตรน้ำในบีกเกอร์ใบใหม่กลายเป็น
๗๕๐ มิลลิลิตร แล้วตกลงว่าอันไหนถูกอันไหนผิด
อันที่จริงเรื่องอุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวเนี่ยเคยอธิบายไว้เมื่อ
๑๐ ปีที่แล้วใน Memoir
ปีที่
๑ ฉบับที่ ๕ วันเสาร์ที่ ๑๖
สิงหาคม ๒๕๕๑ เรื่อง
"การวัดปริมาตรของเหลว"
ซึ่งก็ยังมีคนเข้าไปอ่านเรื่องนี้เป็นประจำจนทุกวันนี้
บีกเกอร์ที่เขาใช้นั้นมีขนาด
๑ ลิตร
ที่ข้างบีกเกอร์ก็บอกเอาไว้ว่าความถูกต้องนั้นอยู่ที่ระดับ
±5%
นั่นแสดงว่าที่ขีดบอกปริมาตร
๗๐๐ มิลลิลิตรนั้น
ปริมาตรที่ถูกต้องเป็นได้ตั้งแต่
๖๖๕ ถึง ๗๓๕ มิลลิลิตร
ถ้าว่าการตามนี้ก็แสดงว่าเขาเอาน้ำใส่บีกเกอร์ที่ขีดบอกปริมาตรนั้นบอกค่าต่ำกว่าความเป็นจริง
ส่วนบีกเกอร์อีกใบที่เขาเทน้ำลงไปนั้นขีดบอกปริมาตรบอกค่าสูงเกินกว่าความเป็นจริง
ดังนั้นความแตกต่าง ๕๐
มิลลิลิตรที่เขาเห็นก็ยังอยู่ในช่วงที่ผู้ผลิตบีกเกอร์แจ้งเอาไว้
(คือไม่ต่างกันเกินระดับ
๗๐ มิลลิลิตร)
ดังนั้นในกรณีที่ต้องการผลการทดลองที่ถูกต้อง
ก็ควรต้องจัดอุปกรณ์ให้ผู้เรียนให้เหมาะสมกับระดับความถูกต้องที่ต้องการด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น