กระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรมนั้นไม่ได้มองเพียงแค่ผลิตภัณฑ์ที่จะได้
แต่ยังมองครอบคลุมไปยังผลิตภัณฑ์ข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น
และการจัดการกับผลิตภัณฑ์ข้างเคียงเหล่านั้นด้วย
ดังนั้นสารตั้งต้นบางตัวที่ทำปฏิกิริยาได้ง่ายและเป็นที่นิยมใช้กันในระดับห้องปฏิบัติการ
อาจไม่มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในระดับอุตสาหกรรม
ถ้าหากมันทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ข้างเคียงที่ก่อให้เกิดปัญหาในการจัดการ
(เช่นการทำลายทิ้งหรือการกำจัด)
อะตอม
N
ของ
NH3
มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอยู่
ดังนั้นอะตอมใดก็ตามที่มีความเป็นบวกที่แรงพอก็จะสามารถเข้ามาสร้างพันธะกับอะตอม
N
และแทนที่อะตอม
H
ของ
NH3
ได้
อย่างเช่นในกรณีของการผลิต
ethylamine
ที่ต้องการแทนที่อะตอม
H
ด้วยหมู่เอทิล
-CH2-CH3
ในระดับห้องปฏิบัติการอาจใช้การทำปฏิกิริยาระหว่างเอทิลคลอไรด์
Cl-CH2-CH3
กับ
NH3
โดยมีเบสแก่เช่น
KOH
ช่วย
แต่ก็จะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ข้างเคียงคือ
KCl
ซึ่งในระดับห้องปฏิบัติการก็คงไม่มีปัญหากในการจัดการเพราะเกิดขึ้นไม่มากและมีผู้รับช่วงไปกำจัดต่อ
แต่ถ้าเป็นระดับอุตสาหกรรมที่ต้องจัดการกับผลิตภัณฑ์ข้างเคียงที่เกิดขึ้นเอง
ปริมาณ KCl
ที่เกิดขึ้นก็คงจะไม่น้อย
ทำให้การใช้เอทิลคลอไรด์เป็นสารตั้งต้นคงไม่เหมาะสมเท่าใดนัก
อะตอม
C
ตัวที่มีหมู่
-OH
เกาะอยู่ของเอทานอล
HO-CH2-CH3
ก็มีความเป็นบวกเช่นกัน
แต่ไม่ได้แรงมากเหมือนอะตอม
C
ที่มีอะตอม
Cl
เกาะอยู่ของเอทิลคลอไรด์
ดังนั้นถ้าจะใช้เอทานอลมาเป็นสารตั้งต้นแทนเอทิลคลอไรด์ก็ต้องหาทางทำให้อะตอม
C
ตัวที่มีหมู่
-OH
เกาะนั้นมีความเป็นบวกที่แรงขึ้น
และวิธีการหนึ่งที่ทำได้คือการใช้ไอออนบวกของโลหะ
(เช่น
Al3+
ในสารประกอบ
Al2O3)
ที่มีความเป็นกรดลิวอิสที่แรงพอ
มาดึงอิเล็กตรอนจากอะตอม
O
ของหมู่
-OH
ซึ่งจะทำให้
อะตอม C
ตัวที่มีหมู่
-OH
เกาะนั้นมีความเป็นบวกที่แรงขึ้นไปอีก
หรือกลายเป็น ethyl
carbocation ที่แรงพอที่จะเข้าไปสร้างพันธะแทนที่อะตอม
H
ของ
NH3
ได้
ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือเอทิลเอมีน
(ethylamine)
ถ้ามีการแทนที่เพียงครั้งเดียวก็จะได้ผลิตภัณฑ์
monoethylamine
แทนที่สองครั้งก็จะได้
diethylamine
และถ้าแทนที่สามครั้งก็จะได้
triethylamine
รูปที่
๑ การสังเคราะห์ diethylamine
จากปฏิกิริยาระหว่างเอทานอลกับ
NH3
โดยมี
Al2O3
เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
ซึ่งอันที่จริงจะเกิดปฏิกิริยาการแทนที่ได้ตั้งแต่
1
ครั้งไปจนถึง
3
ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของเอทานอลต่อ
NH3
กล่าวคือถ้าใช้
NH3
มากเมื่อเทียบกับเอทานอล
ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ก็จะเกิดจากการแทนที่เพียงครั้งเดียว
(คือได้
monethylamine
เป็นหลัก)
แต่ถ้าใช้เอทานอลในปริมาณมากเมื่อเทียบกับ
NH3
ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีการแทนที่สองและสามครั้งเป็นหลัก
และถ้านำ diethylamine
นี้ไปทำปฏิกิริยากับ
ethylene
oxide ต่อก็จะได้สารประกอบ
diethylethanolamine
เอทิลีนออกไซด์
(ethylene
oxide C2H4O)
เป็นสารเคมีตัวหนึ่งที่มีความว่องไวสูงอันเป็นผลจากความเครียดที่สูงของวงอีพอกไซด์ที่มีรูปร่างสามเหลี่ยม
และอะตอม C
ก็ยังมีความเป็นบวกที่สูงด้วย
ดังนั้นถ้าเรานำเอา ethylene
oxide มาทำปฏิกิริยากับ
diethylamine
ก็จะเกิดการแทนที่อะตอม
H
ตัวสุดท้ายที่เกาะอยู่กับอะตอม
N
ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือไดเอทิลเอทานอลเอมีน
(diethylethanolamine)
โทลูอีน
(toluene
C6H5-CH3)) สามารถเกิดปฏิกิริยา
nitration
(โดยมีกรด
H2SO4
เข้มข้นเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา)
กลายเป็นสารประกอบ
2-Nitrotoluene
และ
4-Nitrotoluene
ถ้าเรานำเอา
4-Nitrotoluene
ไปทำการออกซิไดซ์
หมู่ -CH3
ที่เกาะอยู่กับวงแหวน
(ที่ถูกออกซิไดซ์ได้ง่ายกว่าวงแหวน)
ก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นหมู่คาร์บอกซิล
(carboxyl
-COOH) กลายเป็นสารประกอบ
p-nitrobenzoic
acid ซึ่งถ้าให้หมู่
-COOH
ทำปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน
(esterification)
กับเอทานอล
(ซึ่งใช้กรดแก่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา)
ก็จะได้สารประกอบเอทิลเอสเทอร์ของกรด
p-nitrobenzoic
acid
ปฏิกิริยาทรานเอสเทอริฟิเคชัน
(transesterification)
คือการเอาหมู่
-OH
ของแอลกอฮอล์อีกตัวหนึ่ง
(หรือของอีกสารหนึ่ง)
เข้าไปแทนที่แอลกอฮอล์ตัวที่อยู่ในสารประกอบเอสเทอร์
ปฏิกิริยานี้ทำได้โดยสามารถใช้กรดแก่หรือเบสแก่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
ในกรณีของ diethylethanolamine
ที่อะตอม
N
มีฤทธิ์เป็นเบสนั้น
ถ้าใช้กรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาก็คงจะวุ่น
เพราะแทนที่กรดที่ใส่เข้าไปจะไปทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
มันจะถูกสะเทินด้วยอะตอม
N
เสียเอง
ดังนั้นการใช้เบสแก่เช่นโซเดียมอีทอกไซด์
(sodium
ethoxide NaOC2H5)
เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาจึงมีความเหมาะสมมากกว่า
โดยแขนที่มีหมู่ -OH
ของ
diethylethanolamine
จะเข้าไปแทนที่หมู่
-OC2H5
ที่มาจากเอทานอล
พึงสังเกตว่าเราไม่ได้เอา
p-nitrobenzoic
acid ทำปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชันโดยตรงกับ
diethylethanolamine
ทั้งนี้เป็นเพราะการทำปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชันระหว่างหมู่
-COOH
กับหมู่
-OH
นั้นใช้
"กรด"
เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
แต่ diethylethanolamine
มีอะตอม
N
ที่มีฤทธิ์เป็นเบสที่สามารถสะเทินกรดที่ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาได้
ดังนั้นการเปลี่ยนกรด
p-nitrobenzoic
acid ไปเป็นเอสเทอร์ก่อน
แล้วจึงค่อยใช้ปฏิกิริยาทรานเอสเทอริฟิเคชันที่สามารถใช้
"เบส"
เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาได้จึงมีความเหมาะสมมากกว่า
ถ้านำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปฏิกิริยาทรานเอสเทอริฟิเคชันไปทำการรีดิวซ์หมู่ไนโตร
-NO2
ให้กลายเป็นหมู่เอมีน
-NH2
(รูปที่
๒)
ก็จะได้สารประกอบที่มีชื่อ
IUPAC
ว่า
2-(diethylamino)ethyl
4-aminobenzoate หรือที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ
"Procaine"
ที่สังเคราะห์ขึ้นครั้งแรกในปี
ค.ศ.
๑๙๐๕
รูปที่
๒ ตัวอย่างเส้นทางการสังเคราะห์
'Procaine"
จะว่าไปแล้วในขั้นตอนการรีดิวซ์ตอนสุดท้ายนั้น
โครงสร้างที่สามารถถูกรีดิวซ์ได้นั้นมีด้วยกัน
๓ โครงสร้างคือหมู่ไนโตร
-NO2
หมู่คาร์บอนิล
-C(O)-
และส่วนที่เป็นวงแหวนเบนซีน
ด้วยการใช้ตัวรีดิวซ์ที่เหมาะสมและไม่แรงเกินไป
หมู่ที่ถูกรีดิวซ์ง่ายกว่า
(ในที่นี้คือหมู่
-NO2)
ก็จะถูกรีดิวซ์เพียงหมู่เดียว
โดยโครงสร้างส่วนอื่นไม่ถูกรีดิวซ์ตามไปด้วย
รูปที่
๓ ตัวอย่างสิทธิบัตรการสังเคราะห์
Procaine
(CN104341314A CN Application A synthetic method of procaine
hydrochloride)
ใน
wikipedia
กล่าวว่า
Procaine
เคยเป็นยาชาที่นิยมใช้กันในแวดวงทันตกรรม
แต่ปัจจุบันได้รับความนิยมลดลงก็เพราะมียาตัวใหม่ที่มีประสิทธิผลมากกว่าและมีผลข้างเคียงต่ำกว่านั่นก็คือ
Lidocaine
ดังนั้นเราจะมาลองดูกันหน่อยว่าการสังเคราะห์
Lidocaine
นั้นมันพอจะมาจากเส้นทางไหนได้บ้าง
ถ้าเรานำกรดอะซีติก
(acetic
acid CH3COOH) มาทำปฏิกิริยา
chlorination
กับคลอรีน
(Cl2)
อะตอม
Cl
จะเข้าไปแทนที่อะตอม
H
ที่หมู่
-CH3
(ซึ่งมันมีสิทธิเข้าแทนที่ได้ทั้ง
3
อะตอม)
ในกรณีที่มีการแทนที่อะตอม
H
เพียงอะตอมเดียวผลิตภัณฑ์ที่ได้ก็จะเป็นกรดคลอโรอะซีติก
(chloroacetic
acid CH2ClCOOH) และถ้านำเอา
chloroacetic
acid ไปทำปฏิกิริยากับไธโอนิลคลอไรด์
(thionyl
chloride SOCl2) ก็จะได้สารประกอบ
acyl
derivative คือคลอโรอะเซทิลคลอไรด์
(chloroacetyl
chloride CH2ClCOClH) (รูปที่
๔)
อะตอม
C
ทั้งสองอะตอมของ
chloroacetyl
chloride จะมีความเป็นบวกและสามารถทำปฎิกิริยากับ
nucleophile
หรือพวกที่มีความเป็นประจุลบได้
รูปที่
๔ การสังเคราะห์ chloroacetyl
chloride โดยเริ่มจาก
acetic
acid
ที่มาหลักของไซลีน
(xylene
C6H4(CH3)2)
ในภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบันเห็นจะได้แก่การทำปฏิกิริยา
reforming
ของไฮโดรคาร์บอนโซ่ตรง
C6-C8
โดย
C6
จะกลายไปเป็นเบนซีน
C7
จะกลายไปเป็นโทลูอีน
และ C8
จะกลายไปเป็นไซลีน
(สารผสม
3
ไอโซเมอร์รวมกันคือ
ortho-
meta- และ
para-)
โดยอาจมีเอทิลเบนซีน
(ethyl
benzene C6H5-C2H5)
เกิดร่วมด้วยเล็กน้อย
ในบรรดาไอโซเมอร์ทั้ง 3
ของไซลีนอาจกล่าวได้ว่าเมทาไซลีน
(m-xylene
หรือ
1,3-dimethyl
benzene)
เป็นไอโซเมอร์ที่มีความต้องการในการนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารอื่นน้อยที่สุดก็ได้
(หรือจะเรียกว่าทิ้งห่างจากอีกสองไอโซเมอร์เลยก็ได้)
ถ้าเรานำเอา
m-xylene
ไปทำปฏิกิริยา
nitration
กับกรด
HNO3
เข้มข้น
(โดยมีกรด
H2SO4
เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา)
และด้วยการที่หมู่
-CH3
เป็น
ortho-,
para- directing group ดั้งนั้นตำแหน่งที่หมู่
-NO2
จะเข้าไปแทนที่อะตอม
H
จึงอาจเป็นตำแหน่งที่อยู่ระหว่างหมู่
-CH3
ทั้งสอง
ซึ่งเป็นตำแหน่ง ortho
เมื่อเทียบกับหมู่
-CH3
ทั้งสอง
ผลิตภัณฑ์ที่ได้ก็จะเป็น
1,3-dimethyl-2-nitrobenzene
หรือเข้าไปแทนที่อะตอม
H
ในตำแหน่งที่อยู่เคียงข้างหมู่
-CH3
หมู่หนึ่ง
(คือเป็นตำแหน่ง
ortho
เมื่อเทียบกับหมู่นี้)
และอยู่ตรงข้ามกับหมู่
-CH3
อีกหมู่หนึ่ง
(คือเป็นตำแหน่ง
para
เมื่อเทียบกับหมู่นี้)
ผลิตภัณฑ์ที่ได้ก็จะเป็น
1,3-dimethyl-4-nitrobenzene
ในกรณีของหมู่ที่เป็น
ortho-,
para- directing group ถ้าหากหมู่นั้นไม่ได้มีขนาดใหญ่
และหมู่ที่สองที่เข้ามาแทนที่ก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่
สัดส่วนการแทนที่ที่ตำแหน่ง
ortho
จะสูงกว่าที่ตำแหน่ง
para
เพราะจะสามารถสะเทินประจุบวกได้ดีกว่า)
แต่ถ้าหมู่นั้นมีขนาดใหญ่และหมู่ที่สองที่เข้ามามีขนาดใหญ่ด้วย
การแทนที่ครั้งที่สองก็จะอยู่ที่ตำแหน่ง
para
เป็นหลัก
เช่นการทำปฏิกิริยา sulphonation
สาร
linear
alkyl benzene เพื่อผลิต
linear
alkyl sulfonic acid ที่ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตผงซักฟอกนั้น
ด้วยการที่หมู่ linear
alkyl มีขนาดใหญ่และหมู่
HOSO2-
ก็มีขนาดใหญ่ด้วย
การแทนที่ครั้งที่สองจึงเกิดที่ตำแหน่ง
para
ทั้งหมด
ถ้าเรานำเอา
1,3-dimethyl-2-nitrobenzene
มาทำการรีดิวซ์หมู่
-NO2
(อันที่จริงส่วนที่เป็นวงแหวนเบนซีนก็ถูกรีดิวซ์ด้วยการเติมไฮโดรเจนได้
แต่มันทำได้ยากกว่า)
ให้กลายเป็นหมู่
-NH2
ผลิตภัณฑ์ที่ได้ก็จะเป็น
2,6-dimethylaniline
หรืออีกชื่อคือ
2,6-xylidine
(รูปที่
๕)
รูปที่
๕ ตัวอย่างเส้นทางการสังเคราะห์
Lidocaine
โดยเริ่มจาก
m-xylene
จากนั้นถ้าเรานำเอา
2,6-dimethylaniline
มาทำปฏิกิริยากับ
chloroacetyl
chloride ด้วยการที่อะตอม
C
ของหมู่
acetyl
มีความว่องไวสูงกว่า
(คือมีความเป็นบวกมากกว่า)
อะตอม
C
ของหมู่
-CH2Cl
ดังนั้นอะตอม
C
ของหมู่
acetyl
จะเข้าไปสร้างพันธะกับอะตอม
N
(ที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว)
และคาย
HCl
ออกมา
จากนั้นจึงนำผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปทำปฏิกิริยากับ
diethylamine
(ที่มีอะตอม
N
ที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเช่นกัน)
โดยคราวนี้อะตอม
C
ของหมู่
-CH2Cl
จะเป็นตัวเข้าไปสร้างพันธะกับอะตอม
N
พร้อมกับการคาย
HCl
ออกมา
ผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่ได้ก็คือสารเคมีที่รู้จักกันในชื่อ
"Lidocaine"
ที่ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการทันตกรรมแทน
Procaine
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น