ก่อนอื่นต้องขอบอกว่ารู้สึกดีใจครับที่เห็นศิษย์เก่าของภาควิชารายหนึ่งที่กำลังทำงานอยู่ในภาคอุตสาหกรรม
ได้พยายามที่จะถ่ายทอดความรู้ออกมาในรูปบทความง่าย
ๆ เพื่อให้คนที่กำลังเรียนอยู่นั้นสามารถอ่านเข้าใจได้ไม่ยาก
(บทความของเขาอยู่บน
medium.com
ครับ)
ซึ่งตอนนี้เขากำลังเขียนบทความในชุด
"วิศวกรมือใหม่หัดเขียน
P&ID"
อยู่
(ถ้าอยากรู้ว่าเขาเขียนอะไรไปบ้างแล้ว
ก็เอาข้อความ "วิศวกรมือใหม่หัดเขียน
P&ID"
ไปให้
google
ค้นหาได้เลยครับ)
ตรงนี้ขอแนะนำให้ใครที่กำลังจะไปฝึกงานน่าจะแวะเข้าไปอ่านและติดตามผลงานของเขาหน่อยครับ
เมื่อวานเขาก็ได้เผยแพร่บทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำ
"Isolation"
ระบบ
(คือการตัดขาดการเชื่อมต่ออุปกรณ์จากกระบวนการผลิต
เพื่อไม่ให้มี process
fluid รั่วไหลออกจากระบบ
และรั่วเข้ามาในอุปกรณ์ที่ทำการ
Isolate
นั้นได้)
ซึ่งตัวผมเองก็มีความเห็นในบางประเด็นและได้มีการสนทนากับเขาทางหน้า
facebook
เมื่อช่วงเช้าวันนี้
แต่ด้วยเห็นว่าความเห็นที่คุยกับเขานั้นน่าจะพอมีประโยชน์กับผู้อื่นบ้าง
และไม่อยากให้มันสูญหายไปกับหน้า
facebook
ของผม
ก็เลยขอนำมาบันทึกไว้บนหน้า
blog
เสียหน่อย
เรื่องที่คุยกับเขามีอยู่
๔ เรื่องด้วยกันดังนี้ครับ
เรื่องที่
๑ วาล์วสำหรับการทำ
Isolation
ชนิดของวาล์วที่จะใช้เป็น
block
valve (คือทำหน้าที่ปิด-เปิดเป็นหลัก)
ขึ้นอยู่กับชนิดของ
fluid
สภาพแวดล้อมการทำงาน
ขนาดท่อ และขนาดท่อ
ball
valve เองก็มีข้อเสียหลายอย่างในตัวมัน
ไม่ว่าจะมี fluid
ค้างอยู่ในตัวลูกบอลได้เมื่อปิดวาล์ว
และแม้ว่าจะมีการเจาะรูลูกบอลทางด้านdownstream
เพื่อระบายความดันในลูกบอล
ก็จะทำให้ต้องระวังในการติดตั้ง
เพราะมันจะต้องตั้งให้ถูกต้องกับทิศทางการไหล
(ดูรูปที่
๑ ที่ใส่เพิ่มเติมจากการสนทนาเมื่อเช้า)
การเจาะรูลูกบอลทางด้าน
downstream
แม้ว่าจะระบายความดันเนื่องจากแก๊สได้
แต่ของเหลวยังคงค้างในตัวลูกบอลได้
นอกจากนี้ก้านหมุนลูกบอลยังกินพื้นที่ทำงานโดยรอบที่กว้างด้วย
ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถเปิด-ปิดวาล์วได้
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือประตูน้ำที่การประปาติดไว้ที่ทางเข้าออกมิเตอร์น้ำครับ
เขาจะให้ gate
valve
เพราะว่ามันไม่ต้องกังวลเรื่องไม่มีพื้นที่ว่างสำหรับการหมุนเปิด-เปิดวาล์ว
การที่
ball
valve สามารถเปิดเต็มที่ได้อย่างรวดเร็วนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ข้อดีคือถ้าเป็นการระบายความดันสู่บรรยากาศ
มันจะช่วยลดความดันได้เร็ว
แต่ถ้าเป็นระบบที่ด้าน
upstream
มีความดันสูงกว่าด้าน
downstream
การเปิดวาล์วอย่างรวดเร็วอาจทำให้ของไหลด้าน
upstream
นั้นไหลพุ่งไปอย่างรวดเร็ว
และเมื่อต้องเปลี่ยนทิศทาง
(เช่นตรงข้องอ)
ก็อาจทำให้ระบบท่อเสียหายได้
การระเบิดที่
TPI
ปี
๒๕๓๑ เข้าใจว่าเกิดการจากที่
operator
คิดว่า
ball
valve นั้นปิดได้ง่าย
จึงคิดจะกำจัดสิ่งอุดตันในท่อด้วยการให้ความดันใน
process
นั้นดันให้สิ่งอุดตันหลุดออกผ่าน
ball
valve แล้วก็รีบปิดวาล์ว
แต่เอาเข้าจริง ๆ
พอสิ่งอุดตันหลุดออกมาแล้วก็ไม่สามารถปิดวาล์วได้
(น่าจะเป็นท่อขนาด
8
นิ้ว)
ก็เลยทำให้เฮกเซนรั่วออกมาในปริมาณมากก่อนเกิดการระเบิด
รูปที่
๑ ball
valve
แบบมีการเจาะรูที่ตัวลูกบอลว่าจะให้สารที่อยู่ในตัวลูกบอลระบายออกทางด้าน
downstream
(ซ้าย)
หรือทำการปรับความดันในตัวลูกบอลให้เท่ากับทางด้าน
upstream
(ขวา)
รูปนี้นำมาจากเอกสาร
"Process
Ball Valve Vent Options" ของบริษัท
Swagelok
ในรูปแบบ
downstream
vent (ซ้าย)
นั้น
ถ้า fluid
เป็นแก๊สมันก็ยังมีแก๊สตกค้างอยู่ได้เล็กน้อยในตัวลูกบอล
แต่ถ้าเป็นของเหลว
ของเหลวที่อยู่ที่ระดับต่ำกว่ารูระบายจะยังคงค้างอยู่ในตัวลูกบอลได้
ซึ่งปริมาณที่ค้างก็เพิ่มตามขนาดลูกบอล
ทำให้ต้องใช้ความระมัดระวังให้มากขึ้นถ้าของเหลวนั้นเป็นสารพิษและ/หรือไวไฟ
เรื่องที่
๒ Single
block หรือ
Single
block + Bleed valve
ในข้อเขียนของ
Prof.
T.A. Kletz อดีต
safety
office ของ
ICI
ที่มาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยหลังเกษีณจากบริษัท
จะย้ำเป็นประจำครับว่าไม่ให้ไว้ใจ
single
block ในการทำ
isolation
แม้ว่าจะเป็นกรณีของ
process
fluid ที่เราเห็นว่าไม่มีอันตรายใด
ๆ เพราะเอาเข้าจริง ๆ จากcase
study ที่แกนำมาเผยแพร่นั้นแสดงให้เห็นว่าการรั่วไหลของ
process
fluid ที่มีอันตรายเข้าไปปนเปื้อนในระบบ
utility
(เช่นน้ำหล่อเย็น
อากาศ)
มีให้เห็นเสมอ
แม้ว่าจะเป็นกรณีของ
single
block + bleed valve ก็ตาม
เพราะท่อด้าน bleed
valve นั้นมันเล็กกว่าท่อด้าน
downstream
ดังนั้นถ้ามีการรั่วผ่าน
block
valve มาได้
การไหลต่อไปยังด้าน downstream
จึงน่าจะง่ายกว่าการรั่วออกทาง
bleed
valve
ซึ่งกรณีแบบนี้ส่วนตัวเห็นว่าถ้าไม่ได้เป็นการทำที่รีบเข้าไปช่วยชีวิตคนอื่น
ก็อย่างเสียงดีกว่า
เพราะจะว่าไปแล้วแม้ว่าจะเป็น
double
block + bleed valve ก็ยังมีกรณีที่มันไม่
work
ถึงต้องมีการเพิ่ม
slip
plate ไว้ทางด้าน
downstream
ของ
block
valve ตัวที่สองอีก
เรื่องที่
๓ Slip
plate/slip ring กับ
Spectacle
plate
ถ้าท่อมีความยืดหยุ่น
(ซึ่งมักเป็นท่อขนาดเล็ก)
สามารถง้างหน้าแปลนแล้วแทรก
slip
plate ได้
ก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง
slip
ring เอาไว้
แต่ถ้าเป็นระบบที่มีความดันสูง
ซึ่งตัว slip
plate นั้นจะต้องสามารถรับความดันนั้นได้ด้วย
นั่นหมายความว่ามันจะต้องหนาด้วย
ระยะช่องว่างที่สามารถง้างหน้าแปลนได้อาจไม่กว้างพอที่จะสอดมันเข้าไป
(มันต้องมีปะเก็นปะกบด้านหน้า-หลังด้วย)
ก็จำเป็นต้องติดตั้ง
slip
ring เอาไว้
โดยต้องทำตั้งแต่ตอนออกแบบระบบท่อ
ข้อดีของการใช้
slip
plate/slip ring ก็คือมันไม่มีอะไรโผล่ยื่นออกมาให้เกะกะทางเดิน
แต่มันก็มีข้อเสียคือถ้าไม่มีการทำเครื่องหมายไว้ที่ด้ามอย่างชัดเจนเราจะบอกไม่ได้ว่าเราติดตั้งอะไรอยู่
และสำหรับท่อหุ้มฉนวน
มันอาจถูกฉนวนปิดคลุมจนลืมไปว่ามีอะไรติดตั้งอยู่
spectacle
plate แม้ว่าติดตั้งแล้วมันจะดูเกะกะ
แต่ก็ทำให้รู้ว่าขณะนั้นท่อถูกปิดกั้นหรือเปิดอยู่และยังไม่ต้องไปเสียเวลาค้นหาเมื่อต้องการเปลี่ยนจากเปิดเป็นปิดหรือปิดเป็นเปิด
และจะว่าไปน้ำหนักของพวกนี้ก็ไม่ได้ไปเพิ่มอะไรมากนักจากน้ำหนักหน้าแปลนที่มันแทรกอยู่
เรื่องที่
๔ spool
piece
จะเรียกว่าการไม่ให้มี
physical
connection ระหว่าง
upstream
กับ
downstream
เป็นวิธีการ
isolate
ที่ดีที่สุดก็ได้
แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องมี
blind
flange ติดตั้งอยู่ที่ปลายท่อด้าน
process
side โดย
blind
flange นั้นต้องสามารถรับความดันของด้าน
process
side ได้และต้องไม่มีการรั่วไหล
กรณีของการไม่ปิด
blind
flange ให้ดีที่ทำให้เกิดความเสียหายมากที่สุดเห็นจะได้แก่กรณีของ
piper
alpha เมื่อปี
๒๕๓๑ ในทะเลเหนือที่มีการรั่วไหลของเมทานอลออกทาง
blind
flange ที่ปิดไม่แน่น
จนก่อให้เกิดการระเบิดและเพลิงลุกไหม้รุนแรงตามมา
ความเห็นส่วนตัวที่คุยไปกับเขาเมื่อเช้าก็มีเพียงเท่านี้ครับ
:)
:) :)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น