un-or-tho-dox
adj.
not in accordance with what is orthodox conventional, traditional
ดิกชันนารี
Oxford
Advanced Learner's Dictionary of Current English
ฉบับจัดพิมพ์เมื่อปีค.ศ.
๑๙๘๘
ให้นิยามของคำว่า unortodox
ไว้ในย่อหน้าข้างต้น
ถ้าแปลเป็นไทยก็คงจะออกมาทำนอง
"ไม่เป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติ"
ในการทำ
isolation
ระบบเพื่อการซ่อมบำรุงนั้นมักจะย้ำกันนักหนาว่าอย่าไว้วางใจใช้เพียงแต่วาล์วตัวเดียวว่าจะปิดได้สนิท
เพราะมันก็เคยมีกรณีที่ใช้วาล์ว
๓ ตัวต่ออนุกรมกัน (Memoi rฉบับวันอาทิตย์ที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๒)
หรือใช้ระบบ
double
block and bleed (Memoir ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๒)
ที่มีการรั่วไหลจากด้าน
process
ย้อนออกมาทางด้าน
equipment
ได้
ยิ่งเป็นกรณีของวาล์วกันการไหลย้อนกลับ
(เรียกแบบอังกฤษก็คือ
non-return
valve หรือแบบอเมริกันก็คือ
check
valve) ที่มักจะมีชื่อเสียงในทางลบด้วยแล้วว่า
"มักจะเปิดเมื่อควรจะปิด
และมักจะปิดเมื่อควรจะเปิด"
ก็ยิ่งอย่าไปคาดหวังอะไร
แต่กรณีที่นำมาเล่าในวันนี้
เป็นกรณีพิเศษที่ใช้เพียงแค่วาล์วกันการไหลย้อนกลับเพียงตัวเดียว
ป้องกันไม่ให้ process
fluid รั่วไหลออกมานอกระบบในขณะที่ทำการเปลี่ยนวาล์วที่อยู่ทางด้าน
upstream
ของวาล์วกันการไหลย้อนกลับ
กรณีแบบนี้เห็นว่าถ้าไม่มีความจำเป็นอย่างยิ่งแล้ว
อย่าเสี่ยงทำแบบนี้ดีกว่า
และคงเหมาะสำหรับกรณีของท่อขนาดเล็กที่ถ้าต้องหยุดเดินเครื่องโรงงานทั้งโรงเพื่อเปลี่ยนวาล์วเพียงตัวเดียวก็ไม่น่าจะคุ้ม
การแก้ปัญหานี้ทาง
Prof.
Kletz เห็นว่าเป็นการใช้วิธีการ
"lateral
thinking" ที่ถ้าแปลตรงตัวก็คงจะได้ว่า
"การคิดทางคู่ขนาน"
แต่ก็มีคนแปลว่า
"คิดนอกกรอบ"
แต่ไม่ว่าจะแปลออกมาอย่างไรก็ตามมันก็นำไปสู่การทำงานแบบที่เรียกว่า
unorthodox
ก็คือ
ถ้ายึดเอาวิธีการเป็นหลักในการพิจารณา
มันเป็นสิ่งที่สอนกันต่อมาว่าไม่ควรทำเพราะมันก็ไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกต้อง
แต่ถ้ายึดเอาหลักการหรือวัตถุประสงค์เป็นหลักในการพิจารณา
มันก็ไม่ผิดอะไร
รูปที่
๑ ระบบที่ต้องการเปลี่ยนวาล์ว
เป็นท่อขนาด 1"
ที่วาล์วตัวหนึ่งติดค้างอยู่ในตำแหน่งเปิดและต้องการเปลี่ยน
ด้าน process
เป็นแก๊สที่ติดไฟได้ที่ความดัน
260
psig (ประมาณ
17.5
bar.g) โดยมีวาล์วกันการไหลย้อนกลับเพียงตัวเดียวขวางกั้นระหว่าง
process
fluid กับวาล์วที่ต้องการเปลี่ยน
(วาดขึ้นใหม่โดยอิงจากรูปใน
ICI
Safety Newsletter ฉบับที่
๔๙ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.
๑๙๗๓
(พ.ศ.
๒๕๑๖)
เรื่องที่
49/2)
ระบบที่เป็นปัญหานั้นแสดงไว้ในรูปที่
๑ ที่เป็นท่อขนาด 1
นิ้ว
โดยวาล์วตัวหนึ่งติดค้างอยู่ในตำแหน่งเปิด
(คือไม่สามารถหมุนปิดได้)
ด้าน
process
เป็นแก๊สที่ติดไฟได้ที่ความดัน
260
psig (ประมาณ
17.5
bar.g) โดยมีวาล์วกันการไหลย้อนกลับเพียงตัวเดียวขวางกั้นระหว่าง
process
fluid กับวาล์วที่ต้องการเปลี่ยน
พูดง่าย ๆ ก็คือถ้าจะเปลี่ยนวาล์วตัวที่มีปัญหา
ก็ต้องพึ่งวาล์วกันการไหลย้อนกลับในการป้องกันไม่ให้แก๊สด้าน
process
fluid รั่วไหลออกมา
รูปที่
๒ การเปลี่ยนวาล์วที่อยู่ทางด้าน
upstream
ของวาล์วกันการไหลย้อนกลับ
โดยใช้เพียงแค่วาล์วกันการไหลย้อนกลับป้องกันไม่ให้
process
fluid รั่วออกมา
นำมาจากบทความที่ ๔๙/๓
ใน ICI
Safety Newsletter ฉบับที่
๔๙ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.
๑๙๗๓
(พ.ศ.
๒๕๑๖)
ที่นี้ลองมาดูว่าเขาทำกันอย่างไร
ต้นฉบับภาษาอังกฤษแสดงไว้ในรูปที่
๒
แต่ส่วนนี้ขอแปลเป็นภาษาไทยไปทีละข้อให้กับผู้ที่ไม่ถนัดกับศัพท์ภาษาอังกฤษ
๑.
ก่อนที่จะเริ่มการทำงาน
มีการเขียนข้อควรระวังต่าง
ๆ เป็นลายลักษณ์อักษรโดยละเอียดโดยใช้
line
diagram และวิธีปฏิบัติต่าง
ๆ ได้รับการกลั่นกรองและเห็นชอบจากระดับเบื้องบนเหนือขึ้นไป
(ในที่นี้คือ
technical
safety manager และ
assistant
work manager ที่ไม่ว่าจะเรียกว่าอะไรก็ตาม
ก็ควรต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในงาน)
ประเด็นนี้ในบทความให้ความสำคัญกับเรื่องการเขียนเป็น
"ลายลักษณ์อักษร"
เพราะจะเป็นการย้ำเตือนว่าต้องทำอะไรกันบ้าง
เพราะถ้าไม่มีการบันทึกเอาไว้อย่างชัดเจน
พอถึงเวลาทำงานจริงก็อาจมีการหลงลืมข้ามขั้นตอนกันได้
โดยเฉพาะกับงานที่ต้องทำแข่งกับเวลาเช่นในกรณีนี้
๒.
มีการเอ็กซ์เรย์
(ในที่นี้ใช้คำว่า
radiographed)
วาล์วกันการไหลย้อนกลับ
เพื่อตรวจว่าวาล์วกันการไหลย้อนกลับดังกล่าวอยู่ในสภาพที่ดีและสามารป้องกันการรั่วไหลได้
ประเด็นนี้บทความไม่ได้มีการระบุไว้ชัดเจนว่าทำการเอ็กซ์เรย์เมื่อใด
แต่เดาว่าควรที่จะมีการเอ็กซ์เรย์อย่างน้อยสองครั้ง
คือครั้งแรกกระทำก่อนที่จะวางแผน
คือถ้าพบว่าวาล์วกันการไหลย้อนกลับมันรั่ว
มันก็ทำอะไรต่อไม่ได้
และครั้งที่สองคือก่อนที่จะถอดวาล์ว
เพื่อเป็นการยืนยันว่าตลอดระยะเวลาที่วางแผนการทำงานจนกระทั่งก่อนถึงเวลาลงมือนั้น
วาล์วกันการไหลย้อนกลับยังคงอยู่ในสภาพที่ดีเหมือนเดิม
๓.
ใช้ความระมัดระวังไม่ให้ความดันด้าน
upstream
มีการแกว่งไปมาในระหว่างช่วงเวลาทำการเอ็กซ์เรย์และลงมือปฏิบัติงาน
คำว่า
"upstream"
ในที่นี้เห็นว่าความหมายไม่ชัดเจนเท่าใด
เพราะถ้าพิจารณาการทำงานปรกติ
ด้านวาล์วที่ต้องการเปลี่ยนจะอยู่ทางด้าน
upstream
ของวาล์วกันการไหลย้อนกลับ
แต่ถ้าเป็นการถอดเปลี่ยนวาล์ว
ด้านวาล์วกันการไหลย้อนกลับจะเป็นด้าน
upstream
แต่ดูจากเนื้อหาแล้วเดาว่าควรจะเป็นแบบหลังคือด้านวาล์วกันการไหลย้อนกลับเป็นด้าน
upstream
การที่ต้องระวังไม่ให้ความดันด้าน
upstream
มีการแกว่งไปมาเดาว่าคงเป็นเพราะเพื่อป้องกันไม่ให้ชิ้นส่วนปิดกั้นการไหลของวาล์วกันการไหลย้อนกลับมีการขยับตัว
เพราะถ้ามีการขยับเมื่อใดก็จะเกิดการรั่วไหลเกิดขึ้น
๔.
vent valve ถูกล็อคให้อยู่ในตำแหน่งเปิด
เพื่อเป็นการยืนยันว่าไม่มีการรั่วไหลผ่านวาล์วกันการไหลย้อนกลับ
ในขณะที่วาล์วตัวอื่นนั้นถูกล็อคให้อยู่ในตำแหน่งปิด
ตรงนี้ควรคำนึงด้วยว่าท่อ
vent
นี้ควรที่จะระบายแก๊สออกสู่บริเวณที่ปลอดภัยถ้าหากมีการรั่วไหล
ไม่ใช่ปล่อยให้รั่ว
ไหลออกมาใกล้กับบริเวณที่ทำงาน
๕.
การถอดข้อต่อต้องค่อย
ๆ ถอดด้วยความระมัดระวัง
เผื่อว่าถ้าเกิดการรั่วไหลจะได้ขันปิดได้ดังเดิม
นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นที่มีการนำมาพิจารณาอีกดังนี้
๖.
จะไม่มีการใส่
slip
plate เนื่องจากเห็นว่าสามารถเปลี่ยนวาล์วได้รวดเร็ว
(วาล์วสำหรับท่อ
1
นิ้ว
ตัวหน้าแปลนก็น่าจะมีนอตยึดเพียงแค่
4
ตัว)
แต่ถ้าเป็นท่อขนาดใหญ่ก็ควรพิจารณาการใส่
slip
plate
ตรงนี้เดาว่าในกรณีของท่อขนาดใหญ่นั้นควรพิจารณาใส่
slip
plate ทางด้านวาล์วกันการไหลย้อนกลับ
(รูปที่
๓)
กล่าวคือทำการถอดนอตวาล์วที่ต้องการเปลี่ยนทางด้านวาล์วกันการไหลย้อนกลับก่อน
แต่ไม่จำเป็นต้องถอดหมด
เอาเพียงแค่สอด slip
plate ได้ก็พอ
จากนั้นจึงค่อยไปถอดนอตฝั่งทางด้าน
vent
ให้เสร็จ
(ซึ่งคงเป็นงานที่ต้องใช้เวลาเพราะวาล์วตัวใหญ่ขึ้นก็มีนอตที่ต้องถอดมากขึ้น
การมี slip
plate
จะช่วยป้องกันการรั่วไหลถ้าหากมีการรั่วไหลผ่านวาล์วกันการไหลย้อนกลับ)
แล้วจึงค่อยมาถอดนอตฝั่ง
slip
plateออกเพื่อนำวาล์วตัวเก่าออกและรีบใส่ตัวใหม่เข้าไปแทน
ผมเองคิดว่าในขณะเดียวกันก็ควรต้องระวังไม่ให้มีการสั่นสะเทือนไปถึงตัววาล์วกันการไหลย้อนกลับด้วย
เพราะอาจทำให้กลไกที่ปิดกั้นการไหลอยู่นั้นเกิดการขยับตัวเนื่องจากการสั่น
ทำให้เกิดการรั่วไหลออกมาได้
(บทความไม่ได้มีการระบุว่าเป็นวาล์วกันการไหลย้อนกลับเป็นแบบ
swing
หรือ
lift)
รูปที่
๓ ตำแหน่งที่คาดว่าเป็นตำแหน่งที่จะใส่
slip
plate ถ้าหากวาล์วมีขนาดใหญ่
๗.
มีการทดลองปฏิบัติกับระบบเสมือนจริง
แต่ใช้ fluid
ที่ไม่มีอันตราย
(ถ้า
process
fluid เป็นแก๊สก็อาจใช้อากาศหรือแก๊สไนโตรเจน
แต่ถ้า process
fluid เป็นของเหลวก็อาจใช้น้ำ)
๘.
มีแผนรองรับในกรณีที่หากมีการรั่วไหลผ่านวาล์วกันการไหลย้อนกลับในขณะทำงาน
(ซึ่งคงเป็นกรณีที่เกิดขึ้นระหว่างการถอดนอตหรือใส่นอต)
ด้วยการใช้น้ำหรือน้ำมันหนัก
(คือพวกที่มีจุดวาบไฟสูง)
อัดสวนทางเข้าไปเพื่อลดการรั่วไหลผ่านวาล์วกันการไหลย้อนกลับ
แต่ทั้งนี้ของเหลวที่อัดสวนทางเข้าไปนั้นควรที่จะมีอุณหภูมิจุดเดือดสูงกว่าอุณหภูมิของ
process
fluid ที่รั่วออกมา
ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ของเหลวที่อัดสวนทางเข้าไปนั้นเดือดกลายเป็นไอเมื่อพบกับ
process
fluid ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเดือดของมัน
เรื่องนี้ยังไม่จบสมบูรณ์
ยังมีตอนต่ออีกเล็กน้อย
เพราะยังมีอีกบางประเด็นที่ควรค่าแก่การพิจารณา
แต่ Prof.
Kletz ไปเขียนรวมอยู่กับเรื่อง
"ลอยเรือสำรวจภายในถังลูกโลก"
ที่วางแผนไว้ว่าจะเขียนเป็นเรื่องต่อไป
สำหรับฉบับนี้ก็คงจะขอจบลงเพียงแค่นี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น