ตอนที่
๒ นี้จะขอแนะนำศัพท์ธรรมดา
ๆ ให้รู้จักกันอีก ๔ ตัว
จะเรียกว่าเป็นศัพท์ภาคปฏิบัติการได้
สำหรับคนที่รู้ความหมายกันอยู่แล้วก็ลองดูกันเล่น
ๆ นะครับ
ข้อ
๔.
ถ้าเอาคำว่า
"gas"
ที่บ่งบอกถึงสถานะหนึ่งของสาร
มาบวกกับคำว่า "train"
ที่อาจแปลว่าคือรถไฟหรือการฝึกอบรม
ผลลัพธ์ของคำที่ได้คือคำว่า
"gas
train" ควรหมายถึงอะไรจากตัวเลือกที่ให้มาคือ
(A)
รถไฟที่ใช้แก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง
(B)
รถไฟบรรทุกแก๊ส
(C)
ท่อควบคุมระบบจ่ายแก๊ส
หรือ (D)
การฝึกอบรมการดับเพลิงที่เกิดจากแก๊ส
คำว่า"gas"
นี้มีการออกเสียงภาษาไทยว่า
"แก๊ส"
และ
"ก๊าซ"
ซึ่งจะว่าไปแล้วมันก็ใช้ได้ทั้งคู่
ขึนอยู่กับสำเนียงและการถอดเสียงที่ได้ยินมา
เพียงแต่เวลาเขียนก็เลือกเอาแบบใดแบบหนึ่งให้เหมือนกันทั้งบทความก็แล้วกัน
ถ้าอยากรู้ว่ามันออกเสียงอย่างไรก็ลองค้นทางอินเทอร์เน็ตดูก็ได้
ลองฟังดูหลาย ๆ สำเนียง
(เช่นอังกฤษแบบ
UK
US และฝรั่งเศส)
มาพักหลัง
ๆ เห็นมีบางคนพยายามจะบอกว่ามันไม่เหมือนกัน
โดยพยายามจะกำหนดให้ว่าตัวหนึ่งมีความหมายว่าเป็นแก๊สแบบทั่วไป
และให้อีกตัวหนึ่งนั้นมีความหมายเป็นแก๊สเฉพาะเจาะจง
ซึ่งผมว่าเป็นการพยายามกำหนดที่เกิดจากความเข้าใจไม่ถูกต้อง
ส่วนคำว่า
"train"
นั้นเรามักคุ้นกับความหมายว่า
"รถไฟ"
หรือ
"การฝึกอบรม"
แต่คำนี้ยังมีอีกความหมายหนึ่งที่เราไม่ค่อยใช้กันก็คือหมายถึง
"สิ่งที่ต่อเนื่องกัน"
อย่างเช่นลำดับเหตุการณ์หรืออุปกรณ์ต่าง
ๆ คำว่า "gas
train" นั้นหมายถึงระบบควบคุมการจ่ายแก๊ส
(ข้อ
C)
ให้กับ
burner
หรือหัวเตาเผาต่าง
ๆ เช่นหม้อน้ำ
ถ้าลองค้นดูส่วนประกอบของ
gas
train ทางอินเทอร์เน็ตก็จะพบว่ามันไม่เหมือนกันซะทีเดียว
เพราะมันขึ้นกับปัจจัยหลาย
ๆ อย่างเช่น ชนิด ค่าความร้อน
และความดันของแก๊สเชื้อเพลิง
แต่ส่วนใหญ่ก็จะคล้าย ๆ
กันอยู่ กล่าวคือถ้าเอาจุดป้อนแก๊สเข้าเป็นหลัก
(ดูรูปที่
๑ ข้างล่างประกอบ)
จะเริ่มด้วยตัวกรอง
(1-strainer)
เพื่อดักเอาสิ่งสกปรกออกจากแก๊ส
ในบางรายนั้นจะเสนอแนะให้ท่อแก๊สหลักนั้นป้อนเข้าในแนวดิ่งจากบนลงล่าง
แล้วค่อยต่อท่อแยกในแนวตั้งฉากออกมาในแนวนอนจากท่อแก๊สหลัก
เหตุผลที่ทำดังกล่าวก็คือถ้ามีสิ่งสกปรก
(เช่นของเหลวหรือของแข็ง)
ติดมากับแก๊ส
มันก็จะได้ร่วงหล่นลงไปข้างล่างไปยังส่วนปลายท่อที่เรียกว่าเป็น
dirt
leg หรือ
sediment
trap
ลำดับถัดไปคือ
manual
block valve (2-Manual gas valve) ที่อาจเป็น
ball
valve ที่สามารถปิดเปิดได้รวดเร็ว
โดยการติดตั้งนั้นควรให้เวลาที่วาล์วอยู่ในตำแหน่งเปิดก็ให้ก้านหมุนวาล์ววางตัวขนานไปกับแนวท่อ
ถัดจาก block
valve นี้ก็จะเป็นตัวปรับความดันแก๊ส
(3-Gas
pressure regulator)
ที่ลดความดันแก๊สจากแหล่งจ่ายให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ใช้งาน
ถัดไปก็อาจมีวาล์วระบายความดัน
(4-Relief
valve) และตามด้วย
Low
gas pressure switch (5)
ที่เป็นวาล์วที่จะปิดถ้าหากความดันแก๊สนั้นต่ำเกิดไป
ถัดจากนั้นจะเป็น
Safety
shutoff valve (6)
ที่เป็นวาล์วสั่งการควบคุมระยะไกลสำหรับปิดวาล์วในกรณีฉุกเฉิน
Safety
shutoff valve นี้บางเอกสารระบุเลยว่าต้องเป็นชนิดที่
"normally
closed" หรือ
"ปรกติปิด"
กล่าวคือต้องมีการจ่ายพลังงานมาทำให้มันเปิด
ถ้าหากไม่มีพลังงานจ่ายมามันก็จะปิดตัวเอง
บางระบบนั้นจะมีวาล์วตัวนี้เพียงตัวเดียว
แต่บางระบบ (ที่คงเป็นระบบที่มีความเสี่ยงสูง)
ก็จะมีการติตตั้งวาล์วสองตัวต่ออนุกรมกัน
ถ้ดไปก็เป็น block
valve อีกตัวก่อนถึงวาล์วควบคุมอัตราการจ่ายแก๊ส
(8-Firing
rate valve) และปิดท้ายด้วย
High
pressure gas switch
ที่จะสั่งปิดการไหลของแก๊สถ้าพบว่าความดันแก๊สก่อนเข้า
burner
นั้นสูงเกินไป
ส่วนเส้นที่แยกไปยัง pilot
(เปลวไฟที่ใข้จุดล่อเพื่อการจุดหัวเตา)
เนื่องจากเป็นท่อขนาดเล็กกว่ามาก
ระบบป้องกันก็เลยมีน้อยกว่า
รูปที่
๑ ตัวอย่างหนึ่งของระบบ
gas
train จาก
https://www.pmengineer.com/articles/91156-the-boiler-gas-train
เส้นบนคือเส้นท่อที่ไปยัง
burner
ตัวหลัก
เส้นล่างคือเส้น pilot
หรือเปลวไฟที่ใช้จุดล่อเพื่อจุดหัวเตาหลัก
รูป
(A)
นั้นเป็นรูปหัวรถจักรที่ใช้แก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง
พึงสังเกตไหมครับว่าแม้ว่าจะมีการนำเอาแก๊สธรรมชาติมาใช้กับรถบรรทุก
แต่กับรถไฟแล้วกลับไม่ได้รับความนิยมเลย
สาเหตุหนึ่งก็เป็นเพราะแก๊สธรรมชาติมันบรรทุกยาก
ต้องใช้ถังความดันสูงขนาดใหญ่จำนวนหลายใบ
(คือต้องมีตู้พ่วงสำหรับแก๊สเพิ่ม
แถมถังยังมีน้ำหนักมากอีก)
หรือต้องลำเลียงไปในรูปแก๊สธรรมชาติเหลว
ทำให้มีปัญหาเรื่องการตั้งสถานีเติมเชื้อเพลิงเพิ่มเติม
ในกรณีเช่นนี้สู้เอาแก๊สธรรมชาติไปผลิตกระแสไฟฟ้าและใช้ไฟฟ้าขับเคลื่อนหัวรถจักรจะสะดวกกว่า
ส่วนตู้รถไฟสำหรับบรรทุกแก๊สหรือของเหลว
(ข้อ
B)
ภาษาอังกฤษเรียกว่า
"tank
car" หรือ
"railroad
tanker"
ข้อ
๕.
นามนั้นสำคัญไฉน
ลองพิจารณาดูเล่น
ๆ นะครับ ใน ๔ รูปข้างล่าง
รูปไหนไม่มีชื่อร่วมกับอีก
๓ รูปที่เหลือ ระหว่าง (A)
ประแจหกเหลี่ยม
(B)
ไขควงหัวแฉก
(C)
หลอดไฟฟ้าแ
และ (D)
ภาพยนต์เรื่องหนึ่งที่เล่นโดย
Tom
Hanks
อุปกรณ์งานช่างแต่ละชนิดต่างก็มีชื่อเรียกของมัน
โดยชื่อเรียกนั้นมันก็มีฃื่อหลักที่บ่งบอกให้รู้ว่ามันมีหน้าที่หลักสำหรับใช้กับงานอะไร
และชื่อที่บ่งบอกคุณลักษณะเฉพาะของตัวอุปกรณ์นั้น
อย่างเช่นอุปกรณ์ที่เราเรียกว่า
"ประแจ"
(wrench ในแบบอเมริกันหรือ
spanner
ในแบบอังกฤษ)
มันก็บ่งบอกให้รู้ว่าใช้สำหรับขันนอต
แต่มันก็ยังแยกเป็น ประแจเลื่อน
(adjustable
spanner) ประแจปากตาย
(opened-end
spanner) ประแจคอม้า
(pipe
wrench ที่ใช้จับท่อในงานท่อประปา)
ประแจแหวน
(ring
spanner หรือ
box
wrench) ฯลฯ
อีก
ในทำนองเดียวกัน
"ไขควง
(screwdriver)"
มันก็ยังมีแยกย่อยไปตามรูปแบบร่องของหัวสกรู
รูปแบบร่องหัวสกรูที่เห็นกันทั่วไปในบ้านเราหลัก
ๆ ก็มีอยู่สองรูปแบบคือ
ร่องที่มีลักษณะเป็นร่องเดียวผ่ากลางหัวสกรู
ที่ต้องใช้ไขควงปากแบนขัน
(Flat
head หรือ
Flat
blade screwdriver)
และร่องที่มีลักษณะเป็นรูปกากบาทที่ต้องใช้ไขควงหัวแฉกขัน
หัวไขควงแบบหลังนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า
"Phillips
head" (รูป
B)
ส่วนประแจหกเหลี่ยมรูปตัวแอลในข้อ
(A)
นั้นภาษาอังกฤษเรียกว่า
"Allen
key" หรือ
"Hex
key"
ข้อ
๖.
นามนั้นสำคัญไฉน
(อีกข้อหนึ่ง)
ยังคงอยู่กับการเรียกชื่ออีกข้อหนึ่ง
ลองพิจารณาดูเล่น ๆ ต่อนะครับว่าใน
๔ รูปถัดไป รูปไหนไม่มีชื่อร่วมกับอีก
๓ รูปที่เหลือระหว่าง (A)
ถังในแนวนอน
(B)
กระสุนปืน
(C)
ปั๊มน้ำ
และ (D)
จุดนำสายตา
กระสุนปืนทั้งนัดเรียกว่า
cartridge
ที่ประกอบด้วยส่วนหัวกระสุน
(bullet
หรือ
projectile)
ปลอกกระสุน
(case)
ฉนวน
(primer)
และดินขับ
(propellent)
แต่ในภาษาพูดก็มีการใช้คำว่า
bullet
ในความหมายของ
cartridge
(คือหมายถึงกระสุนปืนทั้งนัด)
อยู่เหมือนกัน
นอกจากนี้คำว่า bullet
ยังหมายถึงจุดนำสายตาหรือหัวข้อย่อยที่ใช้กันในการเขียนข้อความ
pressure
vessel รูปทรงกระบอก
(ที่มีหัวท้ายเป็นฝาโค้งมน)
มีการจัดวางอยู่
๒ รูปแบบ รูปแบบแรกคือวางตั้งในแนวดิ่ง
(vertical)
เช่นพวกหอกลั่น
fixed-bed
reactor ฯลฯ
รูปแบบที่สองคือการตั้งวางในแนวนอน
(horizontal)
เช่นพวกถังแยก
ถังเก็บ ฯลฯ
ถังที่วางในแนวนอนนี้ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
"Bullet
type"
ข้อ
๗.
นามนั้นสำคัญไฉน
(แถมให้อีกข้อหนึ่ง)
ยังคงอยู่กับการเรียกชื่ออีกข้อหนึ่งเช่นเดิม
ลองพิจารณาดูเล่น ๆ ต่อนะครับว่าใน
๔ รูปถัดไป รูปไหนไม่มีชื่อร่วมกับอีก
๓ รูปที่เหลือระหว่าง (A)
ตะไบ
(B)
กระดาษทราย
(C)
แฟ้มสำหรับเก็บเอกสาร
และ (D)
ทหารที่เดินเรียงเป็นแถว
กระดาษทรายมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษหลายฃื่อเช่น
sand
paper, flint paper, abrasive paper และ
emery
paper แบบที่เอามาให้ดูในข้อ
(B)
ที่เห็นเป็นแผ่นสีน้ำตาลนั้นเป็นกระดาษทรายสำหรับขัดไม้
แต่ถ้าเป็นกระดาษทรายที่เป็นด้านที่ขัดเป็นสีดำ
(เพราะใช้
silicon
carbide เป็นผงชัด)
และมีผิวขัดที่ละเอียดกว่า
บ้านเราเรียกกระดาษทรายน้ำ
(คือมันทนน้ำและควรมีน้ำช่วยหล่อลื่นในระหว่างการขัด)
กระดาษทรายน้ำนี้เหมาะกับการขัดผิวที่ไม่ใช่ไม้ที่ต้องการเก็บงานพื้นผิวให้ราบเรียบ
(เช่นพื้นผิวโลหะ
เรซิน)
ตะไบหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า
file
ก็เป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในการตกแต่งพื้นผิว
โดยจะเน้นไปที่การกำจัดพื้นผิวส่วนเกินเพื่อให้ได้รูปร่างที่ต้องการ
ไม่ใช่การทำให้พื้นผิวเรียบ
(ที่กระดาษทรายทำได้ดีกว่า)
แฟ้มสำหรับเก็บข้อมูลชื่อภาษาอังกฤษของมันก็ตรงไปตรงมาอยู่แล้วก็คือ
"file"
การเคลื่อนที่ของหมู่ทหารที่เคลื่อนที่เรียงเป็นแถวยาวนั้นก็เรียกว่า
"file"
แต่ถ้าเคลื่อนที่เป็นแบบแถวหน้ากระดานจะเรียกว่า
"rank"
ถ้าเรียกคำว่า
"rank
and file" รวมกันก็จะหมายถึงกลุ่มทหารที่ไม่ใช่ทหารชั้นสัญญาบัตร
สำหรับตอนที่สองนี้ก็คงจะจบเพียงแค่นี้
สวัสดีครับ :)
:) :)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น