อันที่จริงถ้าจะเรียกให้ถูกก็ควรต้องเรียกว่าป้ายหยุดรถแสนสุข เพราะมันไม่มีตัวอาคารที่เป็นตัวสถานีและมีนายสถานีประจำ ผมเคยเข้าไปถ่ายรูปที่นี่ครั้งแรกก็ปี ๒๕๕๐ ก็ ๑๔ ปีที่แล้ว ตอนนั้นในซอยนี้ยังไม่ค่อยมีอะไรเลย แต่ตอนนี้มีหมู่บ้านจัดสรรขึ้นหลายหมู่บ้านแล้ว
จะว่าไปเส้นทางสายรถไฟสายนี้ก็ไม่ใช่เส้นที่เพิ่งวางแผนกันช่วงที่มีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีภาคตะวันออก แต่มีการวางแผนกันมาตั้งแต่ช่วงสงครามเวียดนามแล้ว ที่ตอนนั้นมีการตัดถนนสายยุทธศาสตร์ บางคล้า-สัตหีบ ที่ปัจจุบันคือทางหลวงสาย ๓๓๑ (รูปที่ ๒) เพื่อขนสิ่งของต่าง ๆ จากทางเรือสัตหีบไปยังฐานทัพสหรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ข้อเสียหลักของเส้นทางรถไฟสายนี้น่าจะเป็นมันไม่ค่อยจะผ่านหรือเฉียดเข้าใกล้ชุมชนที่มีคนอยู่มาก สถานีต่าง ๆ จึงไม่ได้อยู่ใกล้กับแหล่งที่มีผู้คนอาศัยมาก ประกอบกับสร้างขึ้นหลังจากที่มีการตัดถนนและการเดินทางด้วยรถยนต์กันอย่างแพร่หลายแล้ว แถมเส้นทางการเดินทางจากกรุงเทพยังอ้อมกว่าการเดินทางด้วยรถยนต์อีก ทำให้ไม่ค่อยมีผู้คนใช้บริการเดินทางกันเท่าใดนัก จะมีก็แต่รถสินค้าเป็นหลัก แต่สำหรับใครที่มีเวลาว่างทั้งวันและอยากนั่งรถไฟที่ไม่ค่อยมีคนนั่ง คิดว่าเส้นทางสายนี้ช่วงฉะเชิงเทรา-พลูตาหลวง ก็น่าจะเหมาะที่จะเป็นเส้นทางนั่งรถไฟเล่นฆ่าเวลาอยู่เหมือนกัน แต่ต้องนั่งจากฉะเชิงเทรามาพลูตาหลวงนะ แล้วค่อยนั่งขบวนเดิมกลับ เพราะมันมีแค่เที่ยวนี้เที่ยวเดียวเท่านั้น ยกเว้นช่วงวันหยุดอาจมีเที่ยวพิเศษที่เป็นรถท่องเที่ยวเสริมเพิ่มเข้ามา
รูปที่ ๑ สถานที่ตั้งของสถานี อยู่ในซอยโรงเรียนสารพัดช่าง เดี๋ยวนี้ด้านหน้าจะมีตลาดนัดจตุจักรชลบุรีอยู่ก่อนถึงทางเข้า
วันนี้ถือว่าดูรูปสถานที่ธรรมดาแห่งหนึ่งเล่น ๆ ก็แล้วกัน ไม่รู้ว่าต่อไปมันจะหายไปหรือจะได้รับการพัฒนาให้เติบโตขึ้นมา แต่วันนี้ (รวมทั้งก่อนหน้านี้อย่างน้อยก็ ๑๐ กว่าปีแล้ว) มันก็ยังเงียบ ๆ อยู่เหมือนเดิม
รูปที่ ๒ แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีการกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางรถไฟไปสัตหีบ พ.ศ. ๒๕๑๒ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแผนการสร้างทางรถไฟสายนี้มีนานานแล้ว บ้านแสนสุขอยู่ในวงรีสีแดง
รูปที่ ๔ โค้งที่มาจากสถานีชลบุรี
รูปที่ ๖ โค้งที่มุ่งไปยังสถานีบางพระ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น