ดูเหมือนว่าในแนวเส้นทางรถไฟสายใต้จากตลิ่งชันถึงนครชัยศรีคงมีบางช่วงที่มีต้นงิ้วขึ้นเยอะ เพราะเห็นมีสถานีที่มีชื่อเกี่ยวพันกับต้นงิ้วสองสถานี สถานีแรกคือบ้านฉิมพลีที่ตอนนี้กลายเป็นอดีตไปแล้ว เหลือเพียงแค่ขานขลาให้ดูเล่น ส่วนสถานีที่สองคือวัดงิ้วราย ที่เคยเป็นชุมทางการเดินทางที่สำคัญในอดีต และก็ไม่แน่ว่าเมื่อตัวเมืองมีการขยายออกมาทางด้านตะวันตก สถานีนี้อาจกลับมามีบทบาทใหม่ก็ได้ ในฐานะเป็นคลังสินค้าเชื่อมต่อทางรถยนต์กับรถไฟ
ในยุคก่อนที่จะมีรถไฟ การเดินทางระหว่างกรุงเทพ-สุพรรณบุรีก็คงต้องเป็นทางเรือ ถ้าเดินทางจากกรุงเทพก็ต้องล่องขึ้นไปตามลำน้ำเจ้าพระยาจนถึงอยุธยาแล้วค่อยเลี้ยวเข้าคลองไปสุพรรณบุรี แต่การมีเส้นทางรถไฟสายใต้ก็ช่วยย่นระยะเวลาเดินทางด้วยการเปิดเส้นทางใหม่ จากสุพรรณบุรีพอมาถึงตลาดลำพญาก็เลือกเอาได้ว่าจะไปทางไหน จะแยกเข้าคลองนราภิรมณ์แล้วมาโผล่ที่ศาลายา หรือจะล่องตามแม่น้ำต่อมาจนถึงวัดงิ้วรายแล้วมาเปลี่ยนขึ้นรถไฟที่นี่ แต่เมื่อถนนมีการขยายตัวพร้อมกับการเดินทางด้วยรถยนต์ที่มีมากขึ้น ชุมชนที่เคยเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างทางน้ำกับรถไฟที่เคยมีชีวิตชีวา ก็ค่อย ๆ เงียบสงบลง จนบางชุมชนก็เลือนหายไป
เมื่อช่วงกลางเดือนมีนาพอมีเวลาว่าง ก็เลยถือโอกาสไปเก็บภาพสถานีรถไฟสุดท้ายก่อนจะข้ามแม่น้ำท่าจีน แม้ว่าทางรถไฟช่วงนี้จะเป็นทางคู่แล้ว แต่สถานีนี้ก็ยังมีรางหลีกให้จอดพักรถ (รถสินค้าติดเวลาชั่วโมงเร่งด่วนของกรุงเทพ เลยต้องจอดรอพักที่นี่ก่อน ข้อมูลนี้ได้มาจากเจ้าหน้าที่สถานีเพราะถามเขาว่าทำไมมีรถสินค้ามาจอดรอ แล้วเขาบอกว่าอย่างนั้น)
รูปที่ ๑ ภาพจากแผนที่ทหารที่จัดทำในปีพ.ศ. ๒๕๐๑ (คือใช้ข้อมูลเก่ากว่านั้น) สถานีวัดงิ้วรายอยู่มุมขวาบนที่ขีดเส้นใต้สีเขียว
บ้านที่อยู่ริมแม่น้ำก็มีการเปลี่ยนแปลง มีบางหลังทำเป็นร้านอาหารริมแม่น้ำ ใครจะไปต้องจอดรถไว้ที่บริเวณสถานีรถไฟ แล้วก็ต้องเดินเท้าเข้าไป กะว่าพ้นช่วงนี้เมื่อใด คงจะหาโอกาสแวะไปที่นั่นสักครั้ง สำหรับวันนี้ก็เช่นเคย ถือว่าเป็นการเล่าเรื่องด้วยรูปก็แล้วกัน
รูปที่ ๓ ป้ายชื่อสถานีที่ตัวอาคารสถานี
รูปที่ ๔ ตัวอาคารสถานี ขนาดของตัวอาคารก็แสดงให้เห็นว่าเดิมทีในเส้นทางนี้สถานีนี้ก็เป็นสถานีใหญ่แห่งหนึ่งเหมือนกัน
รูปที่ ๕ ภาพใกล้เข้าไปอีกนิด
รูปที่ ๖ ตารางเวลารถไฟที่จอดที่สถานี
รูปที่ ๗ บรรยากาศบริเวณสำหรับนั่งรอรถไฟ
รูปที่ ๘ ตัวสถานีมองไปยังทิศตะวันออก (มาจากสถานีคลองมหาสวัสดิ์)
รูปที่ ๙ เหล็กรางเก่าที่นำเอามาทำเสาโครงหลังคาเส้นนี้มาจาก RODANGE (น่าจะเป็นของลักเซมเบิร์ก) ประทับตามปีค.ศ. ๑๙๓๘ (พ.ศ. ๒๔๘๑)
รูปที่ ๑๐ ส่วนต้นนี้มาจาก YAWATA ประเทศญี่ปุ่น ประทับปีค.ศ ๑๙๓๖ (พ.ศ. ๒๔๗๙)
รูปที่ ๑๑ เดินมาจนเกือบสุดทางด้านตะวันออก
รูปที่ ๑๓ อีกมุมหนึ่งของตัวอาคารสถานี้และบรรยากาศโดยรอบ
รูปที่ ๑๔ ป้ายบอกชื่อสถานีที่อยู่ข้างเคียง
รูปที่ ๑๕ เดินมาจนสุดชานชาลาด้านตะวันตก
รูปที่ ๑๖ รถไฟที่จอดรออยู่
รูปที่ ๑๗ ตัวอาคารสถานีฝั่งด้านถนน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น