สัปดาห์ที่แล้วมีข้อความทักเข้ามาจากนิสิตฝึกงาน เรื่องกลิ่นของตัวทำละลายที่ใช้ในกระบวนการผลิต ดังที่แสดงในรูปข้างบน
"กลิ่น"
บอกให้เรารู้ว่ามีสารเคมีบางชนิดปะปนอยู่ในอากาศที่หายใจเข้าไป
กลิ่นมีทั้งกลิ่นที่พึงปราถนาและกลิ่นที่ไม่พึงปราถนา
และเราก็มีการใช้งานกลิ่นทั้งสองแบบ
การใช้สารเคมีที่ให้กลิ่นแบบพึงปราถนาก็เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อผู้ที่ได้รับกลิ่นนั้น
การใช้สารเคมีที่ให้กลิ่นแบบไม่พึงปราถนาก็เพื่อเป็นสัญญาณเตือน
ที่ใกล้ตัวเรามากที่สุดเห็นจะได้แก่กลิ่นของสารประกอบกำมะถันที่ผสมเข้าไปในแก๊สหุงต้ม
สารพวกนี้มีกลิ่นแรง
ที่ระดับความเข้มข้นที่ต่ำมากที่ยังไม่ทำอันตรายต่อร่างกายคน
ก็สามารถทำให้คนรู้สึกรำคาญได้
ดังนั้น
"กลิ่นแรง"
หรือ "กลิ่นไม่แรง"
จึงไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นพิษของสารเคมี
เพราะสารเคมีที่เป็นพิษหลายตัวเช่นแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์
(CO carbon monoxide)
ก็เป็นแก๊สที่ไม่มีกลิ่น
ความเป็นพิษของสารดูได้จากค่า
LC50 หรือ
LD50 (LC
ย่อมาจาก Lethal
Concentration ส่วน LD
ย่อมาจาก Lethal
Dose) ซึ่งเป็นค่าที่บอกปริมาณที่สัตว์ทดลองได้รับต่อน้ำหนักตัว
1 kg
แล้วทำให้สัตว์ทดลองตาย
50%
กล่าวคือถ้าเอาสัตว์ทดลองมา
10 ตัว
แล้วให้ทุกตัวได้รับสารในปริมาณที่เท่ากัน
ปริมาณสารที่ทำให้สัตว์ทดลองตาย
5 ตัวก็คือค่านี้
ดังนั้นค่านี้ยิ่งน้อยก็แสดงว่าสารนั้นมีความเป็นพิษสูง
คือได้รับในปริมาณไม่มากก็ทำให้เสียชีวิตได้
แต่การเปรียบเทียบต้องดูชนิดสัตว์ที่ใช้ทดลองด้วย
ใช้สัตว์ทดลองต่างชนิดกันก็ให้ผลไม่หมือนกัน
(หนูพวก
mouse, rat และ
guinea pig
ก็ให้ผลที่ไม่เหมือนกัน
ส่วนสามชนิดนี้ต่างกันอย่างไรก็ค้นดูเอาเองก็แล้วกัน)
การได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายอาจเป็น
การกิน,
การซึมผ่านผิวหนัง
หรือการสูดดมเข้าไป
สารพิษที่เป็นของแข็งที่ไม่ระเหิดถ้าจะได้รับก็จะผ่านทางการกินเป็นหลัก
สารพิษที่เป็นของเหลวอาจได้รับด้วยการกินและซึมผ่านผิวหนัง
(ถ้าหกรดผิว)
หรือถ้าเป็นพวกที่ระเหยเป็นไอได้ง่าย
ก็มีโอกาสจะได้รับจากการสูดดมเข้าไปอีก
ดังนั้นการพิจารณาโอกาสที่ผู้ปฏิบัติงานจะได้รับสารพิษจึงควรพิจารณาให้รอบด้าน
ของเหลวสองชนิดที่มีค่า
LD50
(ที่วัดจากการกิน)
แตกต่างกัน ตัวที่มีค่า
LD50 สูง
อาจมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดอันตรายมากกว่าถ้าหากมันระเหยกลายเป็นไอได้ง่ายกว่า
และในสถานที่ทำงานนั้นไม่มีการระบายอากาศหรือการป้องกันไอระเหยที่ดีพอ
การเปรียบเทียบอันตรายเนื่องจากไอระเหยของสารจะต้องดูทั้งค่าความเข้มข้นและระยะเวลาที่ได้รับ
ปรกติก็จะมีการรายงานค่าความเข้มข้นที่ทำให้เกิดอันตรายได้ทันที
ค่าความเข้มข้นที่สามารถอยู่ได้ในระยะเวลาสั้น
ๆ และค่าความเข้มข้นที่อยู่ได้ในระยะเวลาต่อเนื่องเป็นเวลานาน
และค่าที่รายงานกันก็แตกต่างกันไปตามแหล่งที่มา
ดังนั้นการเปรียบเทียบความเป็นพิษของสารจึงควรต้องพิจารณาค่าจากแหล่งที่มาหลาย
ๆ แหล่ง ในบางแหล่งที่มีการรวบรวมข้อมูลจากที่ต่าง
ๆ เอาไว้ (เช่นใน
wikipedia)
ก็จะบอกค่าที่ต่ำที่สุดเอาไว้ด้วย
ในกรณีของของเหลวที่ระเหยได้ยังมีปัจจัยเรื่องความไวไฟของสารที่ควรต้องนำพิจารณาด้วย
ค่าความไวไฟของสารตรงนี้ดูได้จากอุณหภูมิจุดวาบไฟ
(flash point),
ค่าอุณหภูมิจุดลุกติดไฟได้ด้วยตนเอง
(autoignition
temperature) และช่วงความเข้มข้นในอากาศที่ทำให้เกิดระเบิดได้
(explosive limit)
จากที่เล่ามาก็คงหวังว่าคงจะพิจารณาเองแล้วได้ว่าระหว่าง
toluene, metyl
ethhyl ketone (MEK), acetone และ ethyl
acetate นั้น สารไหนมีอันตรายมากกว่ากัน
ส่วนที่ว่ามันสามารถนำไปใช้เป็นตัวทำละลายแทนกันได้หรือไม่นั้นมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
เพราะมันมีเรื่องของรูปร่างโมเลกุล,
ความเป็นขั้วของโมเลกุลตัวทำละลายและตัวถูกละลาย,
ความเฉื่อยในการทำปฏิกิริยา
(กับส่วนผสมที่มันต้องละลาย
และพื้นผิวที่มันจะไปสัมผัส),
ความหนืดที่ส่งผลต่อการแทรกซึมเข้าไปในช่องว่าง
เข้ามาเกี่ยวข้องอีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น