ในวารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๑๓ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๕ เรื่อง "จุดตัดทางรถไฟ" โดยไผทชิต เอกจริยกร ให้คำนิยามของ "ทางลักผ่าน" ว่า
(๔) ทางลักผ่าน คือ ทางตัดผ่านทางรถไฟที่เป็นทางเข้า-ออกประจำของเอกชนหรือผู้อยู่อาศัยบริเวณนั้น ๆ ผู้ทำทางตัดผ่านอาจจะเป็นประชาชนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล แต่ไม่ได้มีการขออนุญาตทำทางตัดผ่านจากการรถไฟแห่งประเทศไทยหรือไม่ได้รับอนุญาตจากการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงเป็นทางตัดผ่านที่ไม่มีการควบคุมด้านความปลอดภัย ซึ่งในปัจจุบันนี้พบว่ามีจำนวนมากและยากต่อการควบคุมให้อยู่ในมาตรฐานความปลอดภัย
สถานีรถไฟคลองอุดมชลจร อยู่ระหว่างสถานีคลองหลวงแพ่งและสถานีเปรง เป็นสถานีที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำแม้ว่าจะมีการก่อสร้างอาคารสถานี แต่ก็ยังมีขบวนรถไฟหยุดรับส่งผู้โดยสาร เป็นข่าวใหญ่ครั้งล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้วที่รถกระบะบรรทุกคนงานวิ่งตัดหน้ารถไฟตรงทางลักผ่านทั้ง ๆ ที่เห็นรถไฟกำลังใกล้เข้ามา
ฉบับนี้ก็ถือได้ว่าเป็นบันทึกสถานที่ธรรมดา ๆ แห่งหนึ่งบนเส้นทางรถไฟอีกเช่นเคย
รูปที่ ๑ รูปจากแผนที่ทหารรหัส L509 จัดทำโดยกองทัพสหรัฐ ฉบับจัดพิมพ์ครั้งแรกที่ใช้ข้อมูลตั้งแต่ปีค.ศ. ๑๙๕๒ (พ.ศ. ๒๔๙๕) และนำมาประมวลผลในปีค.ศ. ๑๙๕๘ (พ.ศ. ๒๕๐๑) (1) คือสถานีคลองหลวงแพ่ง (2) คือสถานีเปรง เส้นประสีเขียวคือแนวคลองอุดมชลจร ในรูปนี้ยังไม่มีสถานีคลองอุดมชลจร
รูปที่ ๒ สุดปลายสถานีด้านทิศตะวันตก
รูปที่ ๓ ตอนไปถึงรถสินค้ากำลังมาพอดี
รูปที่ ๔ ขบวนยาวที่มีแต่ตู้สินค้า
รูปที่ ๕ ทางเดินขึ้นชานชาลาอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ต้องเดินไต่ไปตามเส้นทางลูกศรสีเหลือง
รูปที่ ๖ มีคนกำลังรอรถไฟโดยสารอีกขบวนที่กำลังมา
รูปที่ ๗ กำลังแล่นเข้าเทียบชานชาลา
รูปที่ ๘ หัวขบวนจอดเลยป้ายไปหน่อย เจ้าหน้าที่โผล่หน้ามาดูว่าขึ้นรถกันเรียบร้อยหรือยัง ก่อนเดินทางต่อ
รูปที่ ๙ ขบวนที่มาคือรถไปจุกเสม็ด มีคนนั่งทุกตู้ จำนวนคนใช้ได้เหมือนกัน
รูปที่ ๑๑ ป้ายบอกระยะทางไปยังสถานีข้างเคียง
รูปที่ ๑๒ สภาพตัวอาคารสถานี ทางที่เห็นเป็นทางที่รถสินค้าวิ่ง
รูปที่ ๑๓ ตัวอาคารสถานีเมื่อมองจากอีกฟากหนึ่ง
รูปที่ ๑๔ มองไปยังทิศตะวันตก (ทางไปกรุงเทพ) ทางคู่ฝั่งนี้เป็นทางรถโดยสารวิ่ง
รูปที่ ๑๕ จากชานชาลาด้านทิศตะวันตกมองย้อนไปทางทิศตะวันออก ฝั่งตรงข้ามมีผู้โดยสารรอรถอยู่หนึ่งคน
รูปที่ ๑๖ จุดข้ามทางรถไฟที่เกิดอุบัติเหตุ ทางที่อยู่ด้านหน้าคือทางที่รถสินค้าวิ่ง จะอยู่ต่ำกว่าทางรถไฟโดยสาร
รูปที่ ๑๗ ข่าวรถไฟชนรถกระบะบรรทุกคนงาน ในข่าวบอกว่าคนขับเห็นรถไฟกำลังมา เลยลดความเร็ว แต่คนนั่งข้างหลังบอกให้เร่งเครื่องข้ามไปเลย คนขับก็เลยทำตาม แต่ไม่พ้น จุดนี้เป็นทางลักผ่าน คือทางข้ามที่ทำกันเอง (อาจจะโดยชาวบ้านหรือองค์กรท้องถิ่น) โดยไม่ขออนุญาตการรถไฟ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น