วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ศุกร์ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๑ MO Memoir : Friday 28 May 2553


เคยมีอาจารย์คนหนึ่งเสนอว่านิสิตที่ยังไม่ผ่านการอบรมเรื่องความปลอดภัยจะไม่อนุญาตให้เข้ามาทำการทดลองในแลป ผมก็เลยถามขึ้นมากลางที่ประชุมว่า ที่ผ่านมาก็เห็นมีการเรียกให้ผู้ที่พึ่งจะผ่านการสอบคัดเลือก และยังไม่ได้เริ่มเปิดเรียนเลย ให้เข้ามาทำการทดลองก่อนลงทะเบียนเป็นนิสิต เพื่อให้ (ว่าที่) อาจารย์ที่ปรึกษานั้นมีผลการทดลองที่ต้องการ แล้วเรื่องนี้จะจัดการอย่างไร

รูปที่แสดงนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงบ่ายของวันที่ระบุไว้ในหัวข้อบทความ ผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์มีทั้งนิสิตป.โทที่พึ่งเข้ามาใหม่ ไปจนถึงนิสิตป.เอกที่เรียนมาหลายปีแล้ว เหตุการณ์เป็นอย่างไรเคยเล่าไว้แล้ว ถ้าอยากรู้ก็ลองไปค้นดูฉบับเก่า ๆ

ที่เอามาเล่าใหม่ครั้งนี้เพราะครั้งที่แล้วไม่ได้ลงรูปถ่ายเอาไว้ และคนที่อยู่ร่วมเหตุการณ์ครั้งนั้นก็กำลังจะจากไปกันจนหมดแล้ว


รูปที่ 1 สภาพโดยรวมของความเสียหาย


รูปที่ 2 บริเวณที่เกิดเหตุ ขณะนั้นพอจะเรียกได้ว่าเพลิงไหม้อยู่ภายใต้การควบคุม คือสารเคมีหยุดลุกติดไฟแล้ว แต่ยังต้องทำการเคลื่อนย้ายและกำจัดสารเคมีที่หก ซึ่งถ้าทำไม่ดีก็จะลุกติดไฟขึ้นมาใหม่อีก โชคดีที่ส่วนที่อยู่เหนือเปลวไฟเป็นวงจรไฟฟ้ากำลัง (ซึ่งซ่อมได้ง่ายและหาชิ้นส่วนในประเทศได้) ส่วนผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ติดตั้งอยู่อีกทางด้านหนึ่ง เลยไม่ได้รับความเสียหาย (ถ้าเสียหายทีคงต้องรอชิ้นส่วนจากต่างประเทศ)


รูปที่ 3 อีกมุมมองหนึ่ง


รูปที่ 4 มอเตอร์ที่ได้รับความเสียหายจากเปลวไฟที่เกิดจากการใช้ฉีด "เมทานอล" เข้าไปดับไฟ จะว่าไปแล้วตำแหน่งบริเวณนี้ไม่ควรมี "ลังกระดาษ" ซึ่งเป็นวัสดุเชื้อเพลิงวางอยู่ด้วย แต่บังเอิญไฟลุกไหม้ขึ้นด้านบน ลังกระดาษก็เลยรอดพ้นจากการลุกติดไฟ ไม่เช่นนั้นความเสียหายอาจจะเพิ่มขึ้นอีก


รูปที่ 5 อีกมุมมองหนึ่งของความเสียหาย


รูปที่ 6 ความร้อนของเปลวไฟทำให้แผงหน้าปัดของเกจวัดความดันเสียหายไปด้วย


รูปที่ 7 ความเสียหายของเกจวัดความดันอีกตัวหนึ่ง


รูปที่ 8 ถาดอะลูมิเนียมที่ใส่ perlite ที่ใช้กลบสารเคมี ตอนที่เกลี่ย perlite ให้สัมผัสกับอากาศจะเห็นเปลวไฟสีฟ้าอ่อนที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างสารเคมีกับอากาศลุกติดขึ้นมา (แต่ถ่ายภาพไม่ติด) ในขณะนี้สามารถทำลายสารเคมีโดยการค่อย ๆ เติมน้ำลงไปในถาด สังเกตดูการเกิดปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับสารเคมีด้วย ถ้าเกิดไม่รุนแรงก็สามารถเติมได้เร็วขึ้นจนเต็มถาด (ซึ่งจะเป็นการทำลายสารเคมีจนหมดและยังลดความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น