2,2-dimethylbutane
หรือ
neohexane
ตัวนี้แตกต่างจาก
isopentane
ตรงที่อะตอม
H
ของ
tertiary
carbon atom ถูกแทนที่ด้วยหมู่
-CH3
ดังนั้นถ้าจะนำสารตัวนี้ไปทำปฏิกิริยา
ก็คงต้องเล่นที่หมู่ -CH2-
ที่เหลืออยู่เพียงหมู่เดียว
ถ้านำ
2,2-dimethylbutane
ไปออกซิไดซ์
(ที่ภาวะและ/หรือมีตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม)
ปฏิกิริยาก็ควรที่จะเกิดที่หมู่
methylene
-CH2- โดยหมู่นี้น่าจะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นหมู่
carbonyl
C=O ทำให้ได้สารประกอบ
isobutyl
methyl ketone
ที่สามารถใช้เป็นตัวทำละลายและสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมอื่นได้
(รูปที่
๑)(๑)
ถ้านำ 2,2-dimethylbutane ไปทำปฏิกิริยา dehydrogenation จะมีตำแหน่งให้เกิดปฏิกิริยาดังกล่าวเพียงตำแหน่งเดียว คือที่อะตอม C ตัวที่ 3 (หมู่ -CH2-) และ 4 (หมู่ -CH3 ที่อยู่ที่ปลายโซ่) จะได้ 3,3-dimethyl-1-butene จากนั้นถ้านำ 3,3-dimethyl-1-buteneไปทำปฏิกิริยา hydration (เติมน้ำ) จะได้ 3,3-dimethyl-2-butanol หรือ pinacolyl alcohol (ถ้าสงสัยว่าทำไมไม่ได้ 3,3-dimethyl-1-butanol ก็ขอให้ไปอ่านเรื่อง Markovnikov's rule ในหนังสือเคมีอินทรีย์ดูเอาเอง)
รูปที่
๑ ปฏิกิริยาที่น่าจะเป็นไปได้ที่เกี่ยวข้องกับ
2,2-dimethylbutane
หรือ
neohexane
pinacolyl
alcohol สามารถทำปฏิกิริยากับ
methylphosphonyl
difluoride ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ
3,3-dimethylbutan-2-yl
methylphosphonofluoridate หรือซึ่งมีชื่อเรียกสั้น
ๆ ว่า "Soman"
(รูปที่
๒)(๒)
methylphosphonyl
difluoride ทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ได้ง่ายและหลากหลายชนิด
เช่นถ้าเราเปลี่ยนจาก
pinacolyl
alcohol เป็น
isopropanol
ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ
2-(Fluoro-methylphosphonyl)oxypropane
ซึ่งมีชื่อเรียกสั้น
ๆ ว่า "Sarin"
(รูปที่
๓)(๓)
ในทำนองเดียวกัน
ถ้าเราเปลี่ยนมาใช้ cyclohexanol
แทน
ก็จะได้ Cyclohexyl
methylphoshonofluoridate ซึ่งมีชื่อเรียกสั้น
ๆ ว่า "Cyclosarin"
(รูปที่
๔)(๔)
cyclohexanol
ได้จากการเติมไฮโดรเจน
(hydrogenation)
ไปที่วงแหวนเบนซีนจะได้ cyclohexane
จากนั้นจึงทำการออกซิไดซ์
cyclohexane
จะได้
cyclohexanol
และ
cyclohexanone
ที่เป็นสารต้นทางของกระบวนการผลิตเส้นใยไนลอน
(ดู
Memoir
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๐๕ วันเสาร์ที่
๑๕ กันยายน ๒๕๕๕ เรื่อง "เอา
pentane
ไปทำอะไรดี")
ทั้ง
Soman
Sarin และ
Cyclosarin
เป็นอาวุธเคมี
จัดอยู่ในกลุ่มของ nerve
agent (สารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท)
เนื่องจากสารเหล่านี้มีความเป็นพิษสูงมาก
ดังนั้นการผลิตและเก็บรักษาเอาไว้รอการใช้งานจึงยุ่งยากและมีโอกาสเกิดอันตรายสูง
แต่เนื่องจากปฏิกิริยาระหว่างแอลกอฮอล์กับ
methylphosphonyl
difluoride นั้นเกิดได้ง่าย
ในทางปฏิบัติจึงใช้การ
"ผลิตขึ้นมาเมื่อต้องการใช้งาน"
การผลิตขึ้นมาเมื่อต้องการใช้งานนี้ไม่ได้มีรูปแบบว่าเมื่อต้องการใช้งานก็ผลิตสารดังกล่าวขึ้นมา
และนำไปบรรจุในอาวุธต่าง
ๆ ก่อนยิงใส่เป้าหมาย
แต่ใช้การบรรจุสารตั้งต้นลงไปในอาวุธก่อน
และเมื่อยิงอาวุธออกไปก็ให้สารตั้งต้นเหล่านั้นทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นสารพิษต่าง
ๆ ก่อนที่อาวุธนั้นจะเดินทางถึงเป้าหมาย
ตัวอย่างของอาวุธเช่นนี้ได้แก่หัวกระสุนปืนใหญ่
M687
ของกองทัพสหรัฐที่ใช้ยิงจากปืนใหญ่ขนาด
155
mm (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางปากลำกล้อง)
ที่แสดงในรูปที่
๕
ในหัวกระสุนปืนใหญ่ชนิดนี้จะมีกระป๋องบรรจุสารเคมีอยู่
๒ กระป๋องที่แยกจากกันด้วย
bursting
disc (ซึ่งอาจเรียกว่า
burst
disc หรือ
rupture
disc ก็ได้)
แต่ละกระป๋องจะบรรจุสารตั้งต้นเอาไว้ประมาณ
90%
ของปริมาตรกระป๋อง
โดยใบหนึ่งจะบรรจุ methylphosphonyl
difluoride ส่วนอีกใบหนึ่งจะบรรจุแอลกอฮอล์
(จะเป็น
isopropyl,
cyclohexanol หรือ
pinaconyl
ก็ขึ้นกับว่าต้องการผลิตแก๊สอะไร
และมี isopropyl
amine เพื่อไว้สะเทิน
HF
ที่เกิดขึ้นด้วย
(ไม่รู้เหมือนกันว่าจะอยู่ในกระป๋องใบไหน)
รูปที่ ๕ กระสุนปืนใหญ่ M687 ขนาด 155 mm (เส้นผ่านศูนย์กลางปากลำกล้อง) สำหรับยิงอาวุธเคมี ภายในจะมีกระป๋องบรรจุสารเคมี สองกระป๋อง (forward canister และ rear cansiter) ที่แยกจากกั้นด้วย burst disc(๕)
รูปที่ ๕ กระสุนปืนใหญ่ M687 ขนาด 155 mm (เส้นผ่านศูนย์กลางปากลำกล้อง) สำหรับยิงอาวุธเคมี ภายในจะมีกระป๋องบรรจุสารเคมี สองกระป๋อง (forward canister และ rear cansiter) ที่แยกจากกั้นด้วย burst disc(๕)
เมื่อทำการยิงกระสุนนี้
ตัว bursting
disc จะแตกออกเนื่องจากความเร่งของหัวกระสุน
สารเคมีในหัวกระสุนจะผสมรวมกันโดยอาศัยการหมุนรอบตัวเองของหัวกระสุน
และทำปฏิกิริยากันกลายเป็นสารพิษที่จะกระจายออกเมื่อหัวกระสุนระเบิดเมื่อถึงเป้าหมาย
ในบรรดาสารตั้งต้นนั้น
isopropanol
เป็นตัวที่หาได้ง่ายสุด
(แอลกอฮอล์ล้างแผลบางยี่ห้อก็เป็น
isopropanol
ไม่ใช่เอทานอลนะ)
ในขณะที่
methylphosphonyl
difluoride เป็นตัวที่จัดหาได้ยากที่สุด
ดังนั้นถ้าใครก็ตามสามารถจัดหา
methylphosphonyl
difluoride ก็จะไม่ยากที่จะผลิต
Sarin
สาร
Sarin
เองมีการนำมาใช้ในการก่อการร้ายในรถไฟใต้ดินของกรุงโตเกียวในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนของเช้าวันที่
๒๐ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๓๘
(หรือเมื่อ
๑๘ ปีที่แล้ว)
โดยกลุ่มที่เรียกตนเองว่า
Aum
Shinirkyo รถไฟที่ถูกโจมตีมีอยู่ด้วยกัน
๕ ขบวน
ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่าสิบรายและได้รับบาดเจ็บอีกนับพันราย
โดยผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวรายล่าสุดนั้นเพิ่งจะถูกจับกุมไปเมื่อเดือนมิถุนายน
พ.ศ.
๒๕๕๕
ที่ผ่านมานี่เอง
ถ้าต้องการทราบรายละเอียดมากกว่านั้นก็ลองค้นหาโดยใช้คำว่า
Tokyo
gas attack ดูเอาเอง
หมายเหตุ
(๑)
ดูเพิ่มเติมที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Isobutyl_methyl_ketone
(๒)
ดูเพิ่มเติมที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Soman)
(๓)
ดูเพิ่มเติมที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Sarin)
(๔)
ดูเพิ่มเติมที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Cyclosarin)
(๕)
ดูเพิ่มเติมที่
http://www.dtic.mil/dtic/tr/fulltext/u2/a089646.pdf
และ
http://en.wikipedia.org/wiki/M687