เท่าที่ประสบมากับตนเองและที่ได้เล่าเรียนมานั้น
รูปแบบการใช้ไฟฟ้าของอุปกรณ์นั้นอาจมีลักษณะเป็น
รูปแบบที่
๑ ใช้ไฟฟ้าต่อเนื่องเต็มที่ตลอดเวลาที่ทำงาน
จนกว่าจะปิดสวิตช์ เช่น
หลอดไฟฟ้า พัดลม โทรทัศน์
วิทยุ คอมพิวเตอร์ เครื่องเป่าผม
รูปแบบที่
๒ ใช้ไฟฟ้าต่อเนื่องเต็มที่ตลอดเวลาที่ทำงาน
จนกว่าสวิตช์อัตโนมัติจะตัดไฟ
(ไม่มีการใช้ไฟฟ้าอีก)
เช่น
หม้อหุงข้าว (ชนิดไม่มีการอุ่น)
กาต้มน้ำไฟฟ้า
(ชนิดไม่มีการอุ่นให้ร้อนตลอดเวลา)
รูปแบบที่
๓ ใช้ไฟฟ้าต่อเนื่องเต็มที่ตลอดเวลาที่ทำงาน
จนถึงระดับที่ต้องการ
สวิตช์อัตโนมัติก็จะลด
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าลง (ยังมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ แต่ในระดับที่ลดต่ำลง) เช่น หม้อหุงข้าว (ชนิดที่มีการอุ่นให้ร้อนหลังข้าวสุก)
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าลง (ยังมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ แต่ในระดับที่ลดต่ำลง) เช่น หม้อหุงข้าว (ชนิดที่มีการอุ่นให้ร้อนหลังข้าวสุก)
รูปแบบที่
๔ ใช้ไฟฟ้าต่อเนื่องเต็มที่จนได้ระดับการทำงาน
จากนั้นจะตัดไฟด้วยสวิตช์อัตโนมัติ
และสวิตช์อัตโนมัติจะจ่ายไฟใหม่เมื่อสภาพการทำงานลดต่ำลง
เช่น กาต้มน้ำไฟฟ้า
(ที่มีการอุ่นให้ร้อน)
เตารีด
กระทะไฟฟ้า ตู้เย็น
คอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ
(ชนิดที่ไม่ใช่แบบอินเวอร์เตอร์)
ปั๊มน้ำอัตโนมัติที่ใช้กันตามบ้าน
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้าตามรูปแบบที่
๑ ที่มีโอกาสทำให้เกิดไฟไหม้ได้มากคือพัดลม
เพราะมักจะมีการเปิดทิ้งไว้เป็นเวลานานโดยไม่มีการดูแล
(เช่นเพื่อระบายอากาศหรือตอนนอนหลับ)
ความร้อนจะสะสมที่ตัวมอเตอร์
ถ้าตัวพัดลมทำจากพลาสติกที่ไม่ดีและมอเตอร์ไม่มีคุณภาพ
ความร้อนที่สะสมนั้นก็อาจทำให้พลาสติกของพัดลมลุกไหม้ได้
หรือถ้ามอเตอร์หมุนไม่สะดวกหรือใช้สายพ่วงที่เป็นขดม้วนแล้วไม่คลี่ออกหมด
กระแสที่ดึงเข้ามาจะทำให้สายไฟร้อนจนฉนวนละลาย
ลวดทองแดงสัมผัสกันและเกิดไฟลัดวงจรได้
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้าตามรูปแบบที่
๒-๔
นั้น ที่เห็นกันในบ้านเรือนมักจะเป็นพวกที่กินกระแสไฟสูง
(กำลังวัตต์สูงในระดับหลายร้อยวัตต์หรือมากกว่าพันวัตต์)
พวกนี้ถ้าจะทำให้เกิดเพลิงไหม้ก็มักจะเป็นที่ตัวสายไฟหรือปลั๊กที่เสียบใช้
(ที่เคยเอารูปมาให้ดูในตอนที่
๑ ของเรื่องนี้)
หรือไม่ก็ตัวอุปกรณ์ไฟฟ้าเองถ้าสวิตช์อัตโนมัติไม่ทำการตัดไฟ
(หรือตัวอุปกรณ์ไม่มีสวิตช์อัตโนมัติ)
ทำให้ตัวอุปกรณ์ร้อนจัดจนชิ้นส่วนที่ติดไฟได้
(เช่นพลาสติก)
ลุกไหม้ได้
ตัวอย่างที่แรกที่เคยเจอกับบ้านตัวเองคือเตารีดที่เสียบปลั๊กไม่แน่น
พอเราเปิดเตารีด
ช่วงแรกเตารีดจะดึงไฟเต็มที่เพื่อให้เตารีดร้อนจนได้ระดับที่เราตั้งไว้
จากเทอร์โมสตัต (thermostat)
ก็จะตัดไฟ
เมื่ออุณภูมิเตารีดเย็นลงมันก็จะดึงไฟเข้ามาใหม่
พอร้อนได้ที่ก็จะตัดไฟอีก
เป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ
จนกว่าเราจะรีดผ้าเสร็จ
ในกรณีเช่นนี้ความต่างศักย์ที่จ่ายไฟฟ้าให้นั้นคงที่
และกระแสในช่วงจังหวะที่ดึงเข้ามาก็คงที่
ความร้อนที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลจากความต้านทาน
(P
= I2R)
ความร้อนนี้เกิดขึ้นที่โลหะที่เป็นขาปลั๊กตัวผู้และโลหะที่เป็นตัวนำของปลั๊กตัวเมีย
ถ้ามันสะสมมาก ๆ
ก็ขึ้นอยู่กับว่าพลาสติกตัวไหนทนกว่ากัน
ครั้งหนึ่งที่เคยเจอคือตัวที่มีปัญหาให้เห็นก่อนคือฉนวนสายไฟตรงตำแหน่งที่ต่อกับปลั๊กตัวผู้ของกาต้มน้ำ
เพราะโลหะมันนำความร้อนได้ดี
แถมพลาสติกลำตัวปลั๊กตัวผู้ก็มีความหนา
ฉนวนสายไฟ (สายอ่อน)
ที่บางกว่าก็เลยไหม้ทะลุก่อน
ตัวอย่างที่สองที่เคยเจอคือกระทะไฟฟ้าที่เกิดจากการเปิดกระทะเพื่ออุ่นอาหารจนแห้ง
แล้วเผลอลืมทิ้งไว้จนแห้ง
ทำให้ตัวกระทะร้อนจัด
อันนี้โชคดีที่ตัวกระทำจากโลหะเลยรอดไปหวุดหวิด
ดังนั้นเวลาที่จะสรุปว่าสาเหตุเกิดจากเพลิงไหม้
เราจึงควรต้องดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นมีการใช้ไฟฟ้าในรูปแบบใด
และกินกำลังไฟฟ้ากี่วัตต์
สำหรับคนที่เพิ่งจะมาเห็น
Memoir
ฉบับนี้
ขอแนะนำให้อ่าน Memoir
ที่เกี่ยวข้องก่อนหน้านี้ก่อนคือ
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๖๐๘ วันเสาร์ที่
๒๐ เมษายน ๒๕๕๖ เรื่อง
"บทเรียนจากคืนวันศุกร์ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๖ ตอนที่ ๑ ทางเข้า-ออกฉุกเฉิน"
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๖๑๑ วันพฤหัสบดีที่
๒๕ เมษายน ๒๕๕๖ เรื่อง
"ไฟฟ้ากระแสสลับ ตัวประกอบกำลัง ความร้อนที่เกิด"
และก่อนที่จะอ่านเรื่องนี้หรือตีความใด
ๆ ในเรื่องที่จะเล่าต่อไป
ขอแนะนำให้ไปอ่าน Memoir
ข้างล่างนี้ก่อน
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๔๙๑ วันศุกร์ที่
๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๕ เรื่อง
"อ่านระหว่างบรรทัด (Read between the line)"
ผมตั้งใจให้รูปแต่ละรูปมีขนาดเต็มหน้าจะได้ดูเห็นกันชัดเจน
ดังนั้นคำบรรยายใต้รูปจึงไม่มี
มีแต่หมายเลขรูป
ส่วนเรื่องราวเท่าที่ผมไปสืบค้นมาได้
และตามความคิดเห็นของผมเองนั้น
จะมีอะไรบ้าง
เชิญอ่านคำบรรยายไปทีละรูปก็แล้วกัน
รูปที่
๑ เป็นภาพบริเวณที่เกิดเหตุเมื่อมองเฉียงเข้ามาจากทางด้านซ้าย
ที่อยู่มุมล่างซ้ายของรูปคือ
Dehumidifier
cabinet ที่เป็นตู้ควบคุมความชื้น
ไว้สำหรับเก็บสารและเครื่องมือที่ไม่ต้องการให้พบกับความชื้นสูง
ถังกลม ๆ
ที่อยู่หน้ากำแพงบนโต๊ะหน้ารอยไฟไหม้ที่กำแพงคือเครื่องทำน้ำกลั่น
(เข้าใจว่าเป็นส่วนของหม้อต้มน้ำ)
ซึ่งดูเหมือนว่ายังคงอยู่ที่ตำแหน่งเดิมหลังเกิดเหตุ
โครงสร้างเดิมของหม้อต้มน้ำตัวนี้ดูเหมือนจะมีผนังพลาสติกหุ้มเป็นเปลือกนอก
ตัวข้างหน้าเครื่องทำน้ำกลั่น
(สีเขียว)
คือ
peristatic
pump เข้าใจว่ายังคงตั้งอยู่ในตำแหน่งเดิม
ณ ขณะเกิดเหตุ โดยที่ยังไม่มีการเคลื่อนย้าย
รูปที่
๒
เป็นภาพบริเวณที่เกิดเหตุเมื่อมองเฉียงเข้ามาจากทางด้านซ้ายโดยเดินเข้าไปใกล้อีกนิดหน่อย
สายไฟที่เห็นพาดห้อยมาทางด้านหน้าโต๊ะผ่านหน้า
peristatic
pump คือสายไฟของ
perstatic
pump ในระหว่างเกิดเหตุนั้นไม่มีการใช้งาน
peristatic
pump ส่วนถังโลหะกลม
ๆ อยู่ทางข้างหลัง peristatic
pump ทางด้านขวาของรูปเขาบอกว่าเป็นชิ้นส่วนของเครื่องทำน้ำกลั่น
(เข้าใจว่าเป็นตัวถังใส่น้ำหล่อเย็นสำหรับวางอยู่ข้างบนถังที่เป็นหม้อต้มน้ำ
เพื่อไว้ควบแน่นไอน้ำที่ระเหยออกมาจากหม้อต้มและระบายออกไปใส่ถังเก็บ)
โครงสร้างเดิมของถังใส่น้ำหล่อเย็นตัวนี้เข้าใจว่าจะเป็นถังโลหะไม่มีผนังพลาสติกหุ้มเหมือนตัวหม้อต้มน้ำ
แต่ผมเองก็ยังนึกภาพไม่ออกว่าเวลาใช้งานมันเป็นอย่างไร
ดูเหมือนว่าถังใบนี้มีการเคลื่อนย้ายตำแหน่งเกิดขึ้น
(น่าจะเป็นช่วงตอนที่เจ้าหน้าที่เข้ามาระงับเหตุ)
รูปที่
๓ เป็นภาพบริเวณที่เกิดเหตุเมื่อมองเฉียงเข้ามาจากทางด้านขวา
สังเกตบนพื้นโต๊ที่อยู่ทางด้านขวาของถังใส่น้ำหล่อเย็นมีลักษณะเป็นพื้นที่สะอาดเป็นวงสีโทนขาวสีเดียวกับพื้นโต๊ะ
ในขณะที่รอบ ๆ
วงดังกล่าวมีคราบสกปรกอยู่เต็มไปหมด
ตรงนี้ทำให้เดาว่าในขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้คงมีสิ่งของตั้งวางอยู่
และถูกเคลื่อนย้ายออกไป
(เดาว่าคงเป็นเพราะเพื่อการระงับเหตุ)
ตัวของหม้อต้นน้ำกลั่นเมื่อมองจากทางด้านนี้จะเห็นว่าถูกเผาซะจนเหล็กขึ้นสนิม
(เทียบกับรูปที่
๒ และ ๖
จะเห็นได้ว่าผิวโลหะด้านนี้แตกต่างจากเมื่อมองจากอีกด้านหนึ่งมาก
นั่นแสดงว่าด้านนี้ของหม้อต้มน้ำเป็นด้านที่
"ได้รับความร้อนต่อเนื่อง"
เป็นเวลานาน
ก้อนดำที่แขวนห้อยอยู่ทางด้านขวาของหม้อต้มน้ำคือปลั๊กไฟตัวผู้ของเครื่อง
Dehumidifier
cabinet และปลั๊กไฟตัวเมีย
หม้อต้มน้ำไม่ได้ดึงไฟฟ้าจากตำแหน่งนี้
ในวันเกิดเหตุนั้น
Dehumidifier
cabinet มีการใช้งาน
โดยอุปกรณ์ตัวนี้มีการกินกระแสไฟเป็นระยะ
(ขนาดวัตต์ไม่น่าจะมากเท่าไรนั้น
เท่าที่ค้นได้สำหรับตู้ขนาดที่เห็นในภาพไม่น่าจะเกิน
40
วัตต์)
ถ้าความชื้นในตู้สูงเกินค่าที่ตั้งไว้ก็จะเปิดทำงาน
พอได้ระดับก็จะปิดทำงาน
ส่วนหม้อต้มน้ำมีการใช้งาน
รูปแบบการทำงานเป็นแบบต้มน้ำให้ระเหยจนหมด
พอน้ำแห้งสวิตช์อัตโนมัติก็จะทำการตัดไฟ
เครื่องนี้เป็นอุปกรณ์ที่กินกระแสสูงต่อเนื่องจนกว่าสวิตช์อัตโนมัติจะทำการตัดไฟ
รูปที่
๔ เป็นภาพมุมเดียวกับรูปที่
๓ แต่ขยายเข้าไปยังบริเวณที่สงสัยว่าจะเป็นต้นเพลิง
จะเห็นว่าด้านล่างส่วนฐานของหม้อต้มน้ำนั้นได้รับความเสียหายมาก
ส่วนด้านล่างส่วนฐานของถังใส่น้ำหล่อเย็นก็ได้รับความเสียหายเช่นเดียวกัน
แต่น้อยกว่า
จะเห็นว่าบริเวณพื้นโต๊ะไม่ได้รับความเสียหายเท่าไรนัก
อาจเป็นเพราะว่าเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่ทนความร้อนมากกว่าไม้
และเป็นชนิดที่ไม่ลุกติดไฟด้วยตนเอง
(คือไหม้ได้
แต่ต้องมีเปลวไฟจากแหล่งอื่นมาเผา)
และอีกอย่างคือเปลวไฟและแก๊สร้อนจะลอยขึ้นสู่ด้านบน
สิ่งที่อยู่เหนือระดับเปลวไฟจะลุกไหมได้ง่ายกว่า
(แต่ถ้าเป็นการแผ่รังสีความร้อนมันจะไปได้ทุกทิศ
ไม่ขึ้นกับแรงดึงดูดของโลก
แต่ผลกระทบจะขึ้นอยู่กับว่ามีอะไรมาบังทิศทางแผ่รังสีหรือไม่)
รูปที่
๕ เป็นรูปขยายของเต้ารับตัวเมียและปลั๊กตัวผู้
(ของเครื่อง
Dehumidifier
cabinet) ที่ได้รับความร้อนจนหลอมรวมติดกัน
สายสีน้ำตาล 3
เส้นที่ทอดไปทางด้านบนคือสายไฟที่จ่ายไฟให้กับเต้ารับ
ฉนวนโดนไฟไหม้จะสลายตัวไปหมด
ส่วนของปลั๊กตัวผู้จะเป็นสายไฟส่วนที่พ้นตัวปลั๊กออกมาที่เห็นเป็นสีน้ำตาลสองเส้น
รูปที่
๖ เป็นรูปขยายเมื่อมองจากทางด้านซ้ายของหม้อต้มน้ำ
(มุมเดียวกับรูปที่
๒)
ที่เห็นเป็นคราบขาวไหลย้อยลงมาจากทางขอบบนเข้าใจว่าเป็นคราบที่เกิดจากโครงสร้างพลาสติกละลายและไหลย้อยลงมา
สำหรับอุปกรณ์ตัวนี้ที่ผมสงสัยมาแต่แรกคือตัวหม้อต้มน้ำนั้นชั้นผนังนอกสุดเป็นพลาสติกหรือเป็นโลหะ
(คือสงสัยว่ามันเป็นพลาสติกหรือโลหะเคลือบสี/ชุบ)
เพราะหลังจากไฟไหม้แล้วดูมันสะอาดเหลือเกิน
แทบไม่มีคราบอะไรเกาะอยู่ที่บอกว่ามันชั้นพลาสติกหุ้มอยู่
จากการสอบถามนอกรอบ
(จากผู้ที่เคยเห็นเครื่องแต่จำไม่ค่อยได้)
เขาบอกว่าดูเหมือนว่าจะเป็นผนังพลาสติก
ซึ่งถ้าเป็นพลาสติกเช่นที่เขาบอกนี้ผมก็แปลกใจมากว่า
ถ้าผู้ผลิตเลือกใช้พลาสติกทำผนังด้านนอก
ทำไมไม่เลือกใช้พลาสติกที่มันทนความร้อนหน่อยและไม่ลุกไหม้ด้วยตนเองได้
รูปที่
๗ เป็นรูปกระบอกตวงพลาสติกใส่น้ำที่วางอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
พลาสติกนำความร้อนได้แย่กว่าโลหะ
ถ้าเป็นโลหะ
ลำตัวที่อยู่ต่ำกว่าระดับของเหลวจะไม่เสียหาย
เพราะความร้อนจะถ่ายเทไปให้ของเหลว
แต่นี่เป็นพลาสติก
เมื่อได้รับความร้อนตัวพลาสติกจะร้อนจนอ่อนตัวลง
ถ้ากระบอกตวงตัวนี้ยังคงอยู่
ณ ตำแหน่งเดิมในวันที่เกิดเหตุ
มันก็จะบอกให้เราทราบได้ว่าทิศทางไฟไหม้มาจากทางด้านไหน
(ด้านที่หลอมละลายหันเข้าหา)
และความสูงของเปลวไฟนั้นอยู่ที่ระดับใด
รูปที่
๘
เป็นถังรองรับน้ำกลั่นที่กลั่นได้จากหม้อต้มน้ำที่ได้รับความร้อนจากทางด้านบนจนด้านบนหลอมละลาย
ที่อยู่ในกรอบสีเหลืองคือรูสำหรับรองรับน้ำกลั่น
จะไม่เห็นว่ามีพลาสติกชนิดอื่นนอกจากตัวถังเอง
แสดงว่าตอนได้รับความร้อนนั้นรูดังกล่าวเปิดอยู่
และไม่มีส่วนฝาถังอยู่ด้านบนของตัวถัง
ฝากสังเกตรูปทรงของถังและลายที่ขอบล่างของถังด้วย
รูปที่
๙
เป็นภาพแสดงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชิ้นส่วนที่เป็นพลาสติกที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุ
ส่วนเดิมมันคืออะไรนั้นผมเองก็ดูไม่ออก
รูปที่
๑๐ เป็นภาพแสดงความเสียหายทางด้านข้างของ
peristatic
pump
รูปที่
๑๑ เป็นรูปเครื่องผลิตน้ำกลั่นที่เห็นมีโฆษณาขายในอินเทอร์เน็ต
เป็นชนิดที่ใช้การต้มน้ำจนแห้งแล้วก็ตัดไฟ
โดยใส่น้ำลงไปในหม้อต้มตัวข้างขวา
แล้วก็ปิดฝาหม้อต้ม (ตัวข้างซ้าย)
ผมหารายละเอียดการทำงานของอุปกรณ์ในรูปไม่ได้
แต่ดูเหมือนว่าตัวฝานั้นจะใช้พัดลมระบายความร้อน
ทำให้ไอน้ำที่ระเหยขึ้นมาจากการต้มนั้นควบแน่นเป็นหยดน้ำ
ไหลออกไปสู่ถังรองรับน้ำกลั่น
(ถังพลาสติกใบที่อยู่ข้างหลัง)
ที่เลือกรูปนี้มาก็เพราะมันเปิดให้เห็นโครงสร้างในถังและรูปร่างของถังพลาสติกรองรับน้ำกลั่นที่มาพร้อมกับตัวเครื่อง
(ดูรูปที่
๘ เปรียบเทียบ)
ผมหาตัวที่มีรูปร่างเหมือนหรือใกล้เคียงกับตัวที่อยู่ในที่เกิดเหตุไฟไหม้ไม่เจอ
เลยเลือกเอาตัวนี้มาให้ดูเป็นตัวอย่างเพราะเห็นว่ามีหลักการทำงานแบบเดียวกัน
ต่างกันที่ระบบทำความเย็นเพื่อควบแน่นไอน้ำ
ที่ตัวที่อยู่ในที่เกิดเหตุใช้น้ำหล่อเย็น
แต่ตัวนี้ดูเหมือนจะใช้พัดลมเป่า
ข้อสรุปอย่างเป็นทางการนั้นจะลงเอ่ยอย่างไรขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง
ในกรณีที่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตก็อาจเป็นไปเพื่อให้เรื่องมันยุติ
เพราะไม่รู้ว่าจะไปตั้งต้นหาผู้กระทำผิดจากที่ไหน
เช่นสมมุติว่าสรุปว่าปลั๊กหลวม
แล้วจะไปโทษคนเสียบปลั๊กได้เหรอ
เพราะปลั๊กบางตัวก็เสียบทิ้งไว้เป็นเวลานาน
ตัวอย่างเช่นปลั๊กตู้เย็นตามบ้านคุณเอง
ถ้าไปถามว่าใครเป็นคนเสียบปลั๊ก
และเสียบเอาไว้ตั้งแต่เมื่อไร
ก็คงไม่มีใครตอบได้
ตอนที่เสียบมันอาจจะแน่นดี
แต่เวลาผ่านไปมันอาจได้รับการกระทบกระเทือน
หรือการขยับตัวเนื่องจากน้ำหนักตัวมันเอง
จนทำให้ปลั๊กหลวมก็ได้
(แล้วจะให้ไปเอาผิดกับใคร
เจ้าของสถานที่ก็รับผิดชอบค่าซ่อมแซมไปเองก็แล้วกัน)
แต่สำหรับผู้ปฏิบัติงานแล้ว
การทราบสาเหตุที่แท้จริงทางเทคนิคเป็นเรื่องสำคัญ
(ที่สำคัญคือในการหาสาเหตุนั้นต้องไม่มุ่งไปที่การหาคนรับผิด)
เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีก
ตอนนี้พวกคุณก็มีข้อมูลเท่า
ๆ กับที่ผมมีแล้ว
ที่เหลือก็ขอให้พิจารณากันเอาเองก็แล้วกัน
รูปที่
๙
รูปที่
๑๑
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น