ขอทบทวนพื้นฐานไฟฟ้ากำลังกัน
ก่อนที่จะต่อไปยังเหตุการณ์คืนวันศุกร์ที่
๑๒ เมษายน ๒๕๕๖
สิ่งหนึ่งที่ไฟฟ้ากระแสสลับต่างจากไฟฟ้ากระแสตรงคือการที่ไฟฟ้ากระแสสลับมีมุมเฟส
(θ)
ระหว่างเฟสกระแสไฟฟ้า
(I)
กับเฟสความต่างศักย์
(V)
ทำให้เกิดค่าที่เรียกว่า
"ตัวประกอบกำลัง
-
power factor" ซึ่งเท่ากับ
cos(θ)
เราสามารถใช้ค่ามุม
θ
นี้จำแนกอุปกรณ์ไฟฟ้าออกเป็น
๓ ประเภทคือ
(ก)
พวกมุมเฟสของกระแสและความต่างศักย์เปลี่ยนแปลงไปพร้อม
ๆ กัน หรือค่า θ
เป็นศูนย์
อุปกรณ์ในกลุ่มนี้ได้แก่พวกที่มีแต่ความต้านทานอย่างเดียว
เช่นเตาให้ความร้อน
หลอดไฟแบบมีไส้
(ข)
พวกที่มุมเฟสของกระแสจะตามหลังเฟสของความต่างศักย์
เรียกว่ามีตัวประกอบกำลังแบบตาม
(lagging
power factor) อุปกรณ์ในกลุ่มนี้ได้แก่พวกที่มีขดลวดเหนี่ยวนำ
เช่นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์
หลอดฟลูออเรสเซนต์
(ค)
พวกที่มุมเฟสของกระแสนำหน้าเฟสของความต่างศักย์
เรียกว่ามีตัวประกอบกำลังแบบนำ
(leading
power factor) ได้แก่พวกที่มีตัวเก็บประจุ
(capacitor
หรือ
condenser)
ถ้าอุปกรณ์ไฟฟ้ามีทั้งความต้านทาน
ขดลวดเหนี่ยวนำ และตัวเก็บประจุรวมกันอยู่
ค่า θ
จะขึ้นอยู่กับว่าชิ้นส่วนไหนให้ผลที่เด่นกว่ากัน
ภาพโดยรวมก็คืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้กันส่วนใหญ่ในบ้าน
อาคารพาณิชย์ และในโรงงานจะเป็นแบบ
(ก)
และ
(ข)
อุปกรณ์ไฟฟ้าหลักที่ก่อให้เกิดปัญหา
lagging
power factorเห็นจะได้แก่มอเตอร์ไฟฟ้ากับหลอดฟลูออเรสเซนต์
ตัวมอเตอร์ไฟฟ้านั้นค่อนข้างจะชัดเจนอยู่แล้ว
ส่วนตัวหลอดฟลูออเรสเซนต์นั้นตัวที่ก่อปัญหาคือตัวบัลลาสต์
บัลลาสต์แบบแกนขดลวดมีข้อดีคือมันทนดี
ไม่เสียง่าย
แต่ก็มีข้อเสียคือมีค่าตัวประกอบกำลังที่ต่ำ
(ประมาณ
0.3)
และมีการสูญเสียพลังงานค่อนข้างสูง
คิดประมาณง่าย ๆ
คือบัลลาสต์ธรรมดาสำหรับหลอด
36
W จะมีการสูญเสียพลังงานที่ตัวบัลลาสต์ประมาณ
10
W แต่ถ้าเป็นชนิด
low
loss ก็อาจจะสูญเสียพลังงานประมาณ
5
W การลดการสูญเสียที่บัลลาสต์ได้
5
W ต่อไฟ
1
ดวง
ถ้าคิดจำนวนหลอดไฟทั้งอาคารจะเห็นว่าเป็นปริมาณมาก
ดังนั้นในบางอาคารจึงได้มีการประหยัดไฟด้วยการเปลี่ยนบัลลาสต์แบบธรรมดาให้กลายเป็นชนิด
low
loss ทั้งหมด
ส่วนบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์แม้จะให้ค่าตัวประกอบกำลังที่สูงกว่า
(ที่เคยเห็นคือตั้งแต่
0.5-0.8)
และพลังงานสูญเสียต่ำกว่าแต่มีราคาสูงกว่ามากและไม่ค่อยอึดเท่าไรนัก
ผมเคยซื้อมาใช้ปรากฏว่ามันพังก่อนหลอด
ผมว่ามันเหมาะกับโคมไฟที่ต้องเปิดต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืนมากกว่า
สำหรับอาคารบ้านเรือนแต่ละหลังนั้น
คงไม่ได้มีการเปิดไฟพร้อมกันทุกดวงทั้งหลัง
ดังนั้นปัญหาที่เกิดจากค่า
power
factor ต่ำนั้นจึงไม่เด่นชัด
แต่ในส่วนอาคารสำนักงานที่มีการเปิดไฟใช้งานพร้อม
ๆ กันจำนวนมาก
หรือในโรงงานที่มีการเดินเครื่องมอเตอร์พร้อมกันจำนวนมาก
พลังงานสูญเสียที่เกิดจากค่า
power
factor ต่ำนั้นจะสูงมาก
ดังนั้นจึงมีการออกกฎหมายควบคุมให้ต้องมีการคุมค่า
power
factor ไว้ไม่ให้ต่ำเกินไป
วิธีการที่ทำกันก็คือติดตั้งตัวเก็บประจุ
(capacitor)
เข้าไป
ซึ่งอาจเป็นการติดตั้งเข้ากับอุปกรณ์แต่ละตัวหรือติดตั้งที่ระบบจ่ายไฟฟ้าเข้าโรงงาน/อาคารสำนักงาน
ในอดีตนั้นเวลาไปเยี่ยมญาติที่ต่างจังหวัด
จะเห็นว่าที่หลอดฟลูออเรสเซนต์แต่ละดวงจะต้องมีการติดตั้งตัวเก็บประจุเอาไว้
(ไม่รู้ว่าเป็นข้อกำหนดของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในสมัยนั้นหรือเปล่า)
เพราะสมัยนั้นโรงผลิตไฟฟ้าของบ้านเรายังมีไม่มาก
การลดความสูญเสียจึงจำเป็นมาก
แต่ในปัจจุบันไม่เห็นต้องทำเช่นนั้นกันแล้ว
ในกรณีของกระไฟฟ้ากระแสตรงนั้น
เราเรียนมากันว่าพลังงาน
(P)
หน่วยเป็นวัตต์
(W)
มีค่าเท่ากับผลคูณของกระแสกับความต่างศักย์หรือ
P
= IV แต่เนื่องจากความต่างศักย์คำนวณได้จากสูตร
V
= IR ดังนั้นเราจะได้อีกสูตรสำหรับคำนวณค่าพลังงานคือ
P
= I2R
แต่สำหรับไฟฟ้ากระแสสลับนั้น
เนื่องจากทั้งกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์มีการเปลี่ยนแปลง
พลังงานไฟฟ้าที่ได้ ณ
จังหวะเวลาใด ๆ
จึงเป็นผลคูณระหว่างกระแสและความต่างศักย์ที่จังหวะเวลานั้น
ถ้าจังหวะใดที่ค่ากระแสเป็นศูนย์หรือความต่างศักย์เป็นศูนย์
(ไม่จำเป็นต้องเป็นศูนย์ทั้งสองตัวพร้อมกัน)
ค่าพลังงานไฟฟ้าที่ได้
ณ จังหวะเวลานั้นก็จะเป็นศูนย์
สำหรับกรณีที่กระแสและความต่างศักย์คงที่
ค่าพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยจะมีค่ามากที่สุดเมื่อจังหวะเวลาที่กระแสเป็นศูนย์และความต่างศักย์เป็นศูนย์เกิดขึ้นพร้อมกัน
(หรือค่ามุม
θ
เป็นศูนย์)
สูตรคำนวณค่าพลังงานไฟฟ้า
P
= IV ที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสตรงจึงใช้ไม่ได้
ในกรณีของไฟฟ้ากระแสสลับค่าพลังงานไฟฟ้าจะคำนวณได้จากสูตร
P
= IVcos(θ)
มีหน่วยเป็นวัตต์
(W)
ส่วนค่า
P
= IV นั้นจะใช้หน่วยเป็น
VA
(โวล์ต-แอมแปร์)
มักจะใช้เป็นตัวบอกขนาดของกำลังไฟฟ้าที่หม้อแปลงจ่ายให้ได้
หรือพลังงานไฟฟ้าที่อุปกรณ์ไฟฟ้าต้องการ
ในกรณีของอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับนั้น
พลังงานไฟฟ้าที่อุปกรณ์ต้องการคือ
พลังงานไฟฟ้าที่อุปกรณ์นำไปใช้งานได้จริง
และพลังงานไฟฟ้าที่อุปกรณ์รับเข้ามาและส่งคืนกลับระบบไป
ส่วนที่เราจ่ายค่าไฟฟ้าคือพลังงานที่อุปกรณ์นำไปใช้งานได้จริง
ส่วนพลังงานไฟฟ้าที่อุปกรณ์รับเข้ามาและส่งคืนกลับระบบไปนั้นถือเป็นพลังงานสูญเสียของระบบส่ง
เช่นอุปกรณ์ไฟฟ้าตัวหนึ่งมีค่า
cos(θ)
= 0.8 ถ้าอุปกรณ์ตัวนี้กินกระแส
1
A ที่
220
V พลังงานไฟฟ้าระบบจ่ายไฟฟ้าต้องจ่ายให้กับอุปกรณ์คือ
220
W (ได้จากผลคูณระหว่าง
I
กับ
V)
แต่ตัวอุปกรณ์จะผลิตพลังงานได้เพียง
176
W (ผลคูณระหว่าง
I
กับ
V
และ
cos(θ)
ส่วนที่เหลืออีก
44
W เป็นส่วนที่ต้องส่งคือระบบจ่ายไฟฟ้ากลับไป
แต่พลังงานความร้อน
(หน่วยเป็นวัตต์)
ที่เกิดขึ้นจากความต้านทานของตัวนำไฟฟ้าในระบบไฟฟ้ากระแสสลับนั้นยังเป็นไปตามสูตร
P
= I2R อยู่
(แปรผันตามกระแสกำลังสอง)
จากสูตร
P
= IVcos(θ)
จะเห็นว่าสำหรับอุปกรณ์ที่กินพลังงานไฟฟ้าเท่ากัน
อุปกรณ์ตัวที่มีค่าตัวประกอบกำลังสูงกว่าจะใช้กระแสไฟฟ้าต่ำกว่า
และเมื่อปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้ลดต่ำลง
จะทำให้ความสูญเสียพลังงานไปเป็นความร้อน
(คำนวณได้จากสูตร
P
= I2R) ลดต่ำลงไปด้วย
นอกจากนี้เมื่อความต้องการกระแสไฟฟ้าลดต่ำลงยังทำให้สามารถใช้สายไฟฟ้าที่มีขนาดพื้นที่หน้าตัดเล็กลงได้ด้วย
ถือได้ว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายไฟ
(พลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นนี้
ทางผู้ใช้ไฟเป็นคนจ่ายค่าไฟในส่วนนี้ด้วย)
ด้วยเหตุนี้สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังไฟฟ้ามาก
จึงมักเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องการความต่างศักย์ที่สูงขึ้น
เพราะจะไปลดความต้องการกระแสไฟฟ้าให้น้อยลง
การสูญเสียไปเป็นพลังงานความร้อนจากความต้านทานภายในอุปกรณ์
(คำนวณจากสูตร
P
= I2R) ก็จะลดต่ำลงไปได้
เช่นมอเตอร์ที่มีแรงม้าสูงขึ้น
จึงมักเป็นมอเตอร์ 3
เฟสใช้ไฟ
380
V แทนที่จะเป็นมอเตอร์เฟสเดียวใช้ไฟ
220
V เพราะความต่างศักย์ของไฟฟ้า
3
เฟสที่สูงกว่าทำให้การใช้กระแสไฟฟ้าลดลง
และยังเป็นการกระจายปริมาณกระแสไฟฟ้าดังกล่าวออกไปยังสายไฟฟ้า
3
เส้น
(เฟสละเส้น)
แทนที่จะรวมกันอยู่ในสายไฟเส้นใหญ่เส้นเดียวเช่นในกรณีของไฟฟ้าเฟสเดียว
จากประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยพบเจอนั้น
ปัจจัยภายนอกที่เกิดจากระบบจ่ายไฟฟ้าที่สามารถทำให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเพลิงไหม้ได้มีอยู่
๒ ปัจจัยคือ "ไฟตก"
และ
"ไฟดับ"
"ไฟตก"
ในที่นี้คือเหตุการณ์ที่ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่มีอยู่ในระบบนั้นลดต่ำลงกว่าปรกติ
คือในสายไฟฟ้ายังมีไฟฟ้าไหลอยู่
แต่แทนที่จะมีความต่างศักย์
220
V กลับลดต่ำลงกว่า
220
V ส่วนสาเหตุจะเกิดจากอะไรบ้างนั้นผมก็ไม่รู้เหมือนกัน
รู้แต่ว่าเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าในระบบสูงเกินกว่ากำลังที่ระบบจ่ายไฟฟ้า
(เช่นโรงไฟฟ้าหรือหม้อแปลง)
จะจ่ายให้ได้
ก็จะเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ขึ้นได้
ถ้าเป็นอุปกรณ์พวกที่ใช้ขดลวดความร้อนหรือความต้านทาน
เช่นหลอดไส้ เวลาเกิดไฟตกจะพบว่าหลอดนั้นจุดติด
คือเห็นไส้หลอดลุกส่องสว่าง
แต่ความสว่างที่ได้จะต่ำผิดปรกติ
ถ้าเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ก็จะพบว่าไม่สามารถเปิดให้ติดได้
(ยกเว้นว่าใช้บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์
จะพบว่ามันจุดติดได้
เพราะมันรองรับไฟตกได้ดีกว่าพวกบัลลาสต์แกนขดลวด)
แต่ถ้าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้มอเตอร์
เช่น พัดลม เราจะพบว่ามันหมุนช้าลง
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์เป็นองค์ประกอบ
(เช่น
พัดลม คอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศและตู้เย็น)
จะมีปัญหามากเวลาที่ไฟตก
เช่นในกรณีของตู้เย็นนั้น
ความต้องการการใช้พลังงานในการอัดสารทำความเย็นยังคงเท่าเดิมแม้ว่าจะมีปัญหาไฟตกเกิดขึ้น
สิ่งที่มอเตอร์จะทำก็คือดึงกระแสเข้ามาชดเชย
(V
ลดลงก็ต้องดึง
I
เข้ามาชดเชยเพื่อให้ได้
P
เท่าเดิม)
ผลที่ตามมาคือตัวขดลวดจะร้อนขึ้น
(ความร้อนแปรผันตามปริมาณกระแสยกกำลัง
2)
โดยอาจจะเริ่มจากมอเตอร์ไหม้ก่อน
(เกิดจากน้ำยาที่เคลือบลวดทองแดงเอาไว้เสื่อมสภาพจากความร้อน)
และอาจลามไปถึงวัสดุที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้นด้วย
ถ้าวัสดุนั้นลุกติดไฟได้ก็มีโอกาสที่จะเกิดไฟไหม้ขึ้น
ด้วยเหตุนี้เวลาที่เกิดเหตุการณ์ไฟตกเขาจึงมักบอกให้รีบถอดปลั๊กตู้เย็นและปิดแอร์
เชื่อว่าพอได้ยินว่าเหตุการณ์
"ไฟดับ"
สามารถทำให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเพลิงไหม้ได้หลายคนคงแปลกใจไม่น้อย
ถ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟเฟสเดียวเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟดับอุปกรณ์ก็จะหยุดการทำงาน
เป็นเหมือนกับการที่เราไปปิดเครื่องมัน
ที่มันจะมีปัญหาคือการที่ไฟดับ
"เพียงบางเฟส"
และเรามีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้า
3
เฟส
(เช่นมอเตอร์และคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ของอาคาร)
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้า
3
เฟสนี้แม้ว่าไฟจะขาดหายไปบางเฟส
อุปกรณ์ก็จะยังคงทำงานต่อไป
โดยจะไปดึง "กระแสเพิ่มเติม"
จากเฟสที่ยังมีไฟฟ้าอยู่
ปัญหามันเกิดตรงนี้แหละ
เช่นไฟฟ้าดับไป 1
เฟส
มอเตอร์ก็จะดึงกระแสเพิ่มจาก
2
เฟสที่เหลือ
ทำให้ขดลวดและสายไฟของเฟสที่เหลืออีกสองเฟสร้อนขึ้น
โดยปรกติตัวมอเตอร์เองมันก็จะทนได้ในระดับหนึ่ง
ประมาณว่าให้เวลารู้ตัวและปิดอุปกรณ์ได้ทันเวลา
แต่ไม่ได้หมายความว่าสามารถปล่อยให้มันทำงานได้ต่อไปเรื่อย
ๆ เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นกับอาคาร
๔ ของคณะเรา
ที่แต่ละชั้นมีเครื่องปรับอากาศส่วนกลางขนาดใหญ่
๔ เครื่องสำหรับแต่ละมุมของอาคาร
เครื่อปรับอากาศเหล่านี้ใช้ไฟฟ้า
3
เฟส
มีวันหนึ่งไฟฟ้าหายไป 1
เฟส
ไฟแสงสว่างก็มีติดบ้างไม่ติดบ้าง
ปลั๊กไฟบางปลั๊กก็มีไฟบางปลั๊กก็ไม่มี
ผู้ที่ทำงานอยู่ในอาคารก็ไม่รู้ว่าควรต้องทำอย่างไร
กว่าช่างประจำอาคารจะทราบเรื่องและไล่ปิดเครื่องปรับอากาศได้ก็ปรากฏว่าเกิดความเสียหายไปหลายเครื่องแล้ว
จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ผ่านมานั้น
เหตุการณ์ที่ทำให้เกือบเกิดเพลิงไหม้ในแลปมักจะมีสาเหตุมาจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ถูกวิธี
(จะโดยไม่รู้หรือไม่สนใจก็ตามแต่)
มากกว่าที่จะเกิดจากไฟฟ้าที่จ่ายมามีความบกพร่อง
ปัญหาที่เกิดจากไฟฟ้าที่จ่ายมามีความบกพร่องมักทำให้อุปกรณ์เสียหายมากกว่าที่จะทำให้เกิดเพลิงไหม้
เพราะเรามักรู้ว่ามีไฟฟ้ามีปัญหาก่อนเกิดเพลิงไหม้
ไม่เหมือนกับการใช้ไม่ถูกวิธี
ซึ่งจะมารู้ก็ตอนกำลังจะหรือได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นแล้ว
เรื่องการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ถูกวิธีนี้เคยเล่าเอาไว้เมื่อเกือบ
๕ ปีที่แล้วตั้งแต่ตอนกลุ่มเราเริ่มออก
Memoir
ลองไปอ่านย้อนหลังดูได้จาก
Memoir
ปีที่
๑ ฉบับที่ ๓ วันศุกร์ที่ ๑๑
กรกฎาคม ๒๕๕๑ เรื่อง
"นานาสาระเรื่องไฟฟ้ากำลัง วางเพลิงแลปไม่ใช่เรื่องยาก"
ดูเอาเองก็แล้วกัน
บริเวณจุดสัมผัสระหว่างขาปลั๊กตัวผู้และขั้วโลหะที่อยู่ในปลั๊กตัวเมียเป็นตำแหน่งที่มีโอกาสที่จะมีความต้านทานไฟฟ้าสูง
ขึ้นอยู่กับการสัมผัสกันระหว่างขาปลั๊กตัวผู้และขั้วโลหะที่อยู่ในปลั๊กตัวเมีย
ถ้ามีการสัมผัสกันดี
กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้สะดวก
ก็จะไม่มีปัญหาอะไร
แต่ถ้าสัมผัสกันไม่ดี
เช่นปลั๊กหลวม มีการสัมผัสกันเพียงบางจุด
จะทำให้ตัวโลหะนำไฟฟ้าเกิดความร้อนสูง
จนทำให้พลาสติกที่เป็นโครงสร้างของตัวปลั๊กหลอมเหลวหรือไหม้ได้
(ขึ้นกับชนิดพลาสติกที่ใช้ทำ
ดูรูปที่ ๑ ข้างล่าง)
และถ้าความร้อนนั้นสูงจนกระทั่งทำให้ฉนวนหุ้มสายไฟหลอมหรือไหม้จนสายไฟสัมผัสกันโดยตรง
ก็จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรขึ้นได้
ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว
การต่อไฟฟ้าเข้ากับอุปกรณ์ที่กินกระแสสูงจึงควรใช้การต่อถาวรผ่าน
circuit
breaker จะดีกว่าใช้การเสียบปลั๊ก
รูปที่
1
เต้ารับชนิด
3
ขา
(มีสายดิน)
(1) รอยไหม้ที่เกิดจากการเสียบปลั๊กไม่แน่น
(2)
(3) รูสำหรับเสียบปลั๊กชนิดขาแบน
พึงสังเกตว่าความยาวของรู
2
และ
3
ไม่เท่ากัน
เพราะปลั๊กตัวผู้แบบสองขาแบนบางชนิดออกแบบมาให้ขาสองข้างกว้างไม่เท่ากันอยู่
ดังนั้นถ้าเสียบไม่ลงให้ลองสลับข้างเสียบดู
รูปนี้นำมาจาก Memoir
ปีที่
๑ ฉบับที่ ๓ ที่กล่าวถึงข้างบน
หวังว่าเมื่ออ่านเรื่องนี้จนหมดแล้ว
พวกคุณคงมีพื้นฐานความเข้าใจเรื่องไฟฟ้ากำลังก่อนที่จะเข้าสู่เรื่องต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น