เนื้อหาในบันทึกฉบับนี้เกี่ยวข้องกับบันทึกก่อนหน้านี้สองฉบับคือฉบับ
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๙๑ วันเสาร์ที่ ๑๙
ธันวาคม ๒๕๕๒ เรื่อง
"ตอบคำถามให้ชัดเจนและครอบคลุม"
และ
ปีที่
๒ ฉบับที่ ๙๒ วันจันทร์ที่
๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ เรื่อง
"ฟลูออรีนหายไปไหน"
"แทงกั๊ก"
เป็นภาษาที่มาจากการผนัน
หมายถึงการแทงสองตัวเลือก
ถ้าถูกตัวเลือกใดตัวเลือกหนึ่งก็จะได้รางวัล
ถ้านำมาเปรียบใช้กับคนก็เหมือนกับคนที่อยู่ในภาวะที่ต้องตัดสินใจเลือกสองตัวเลือก
แต่ไม่บ่งบอกชัดเจนว่าจะตัดสินใจเลือกตัวเลือกใด
ทำนองว่าถ้าตัวเลือกใดตัวเลือกหนึ่งถูกก็พร้อมที่จะกระโดดเข้าเกาะตัวเลือกนั้นเลย
(ถ้าอยากรู้เรื่องเกี่ยวกับการพนันรูปแบบต่าง
ๆ ก็ไปอ่านเองที่
http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/bet/25_4.html)
ตัวผมเองเจอพฤติกรรมเช่นนี้บ่อยครั้งเวลาตรวจข้อสอบ
โดยเฉพาะข้อสอบอัตนัยที่ให้บรรยายว่าจะเกิดเหตุการณ์ใดขึ้นระหว่างเหตุการณ์
(ก)
หรือเหตุการณ์
(ข)
จริงอยู่ที่ว่าในบางครั้งคำตอบคือทั้งเหตุการณ์
(ก)
และ
(ข)
มีสิทธิ์เกิดได้
แต่ต้องมีเงื่อนไขที่เหมาะสมที่จะทำให้เหตุการณ์นั้นเกิด
แต่ในบางครั้งมันจะเกิดได้เพียงเหตุการณ์เดียวเท่านั้น
ลองมาดูคำถามต่อไปนี้ดีกว่า
สมมุติว่ามีคำถามแบบปรนัย
๒ ข้อ ข้อละ ๑ คะแนนดังนี้
ข้อ
๑ นำเฮกเซน (C6H14)
1 ml ใส่หลอดทดลอง
จากนั้นเติมน้ำกลั่น 1
ml ลงไป
เขย่าหลอดทดลองแล้วตั้งทิ้งไว้
(ก)
เฮกเซนและน้ำจะละลายรวมกันเป็นเฟสเดียว
(ข)
เฮกเซนและน้ำไม่ละลายเข้าด้วยกัน
จะแยกชั้นกันเป็น 2
เฟส
ข้อ
๒ นำออกเทน (C8H18)
1 ml ใส่หลอดทดลอง
จากนั้นเติมน้ำกลั่น 1
ml ลงไป
เขย่าหลอดทดลองแล้วตั้งทิ้งไว้
(ก)
ออกเทนและน้ำจะละลายรวมกันเป็นเฟสเดียว
(ข)
ออกเทนและน้ำไม่ละลายเข้าด้วยกัน
จะแยกชั้นกันเป็น 2
เฟส
ถ้านักเรียนคนหนึ่งข้อที่
๑ เลือกตอบข้อ (ข)
ส่วนข้อที่
๒ เลือกตอบข้อ (ก)
คุณคิดว่าเขาจะได้คะแนนเท่าไร
การตรวจข้อสอบปรนัยนั้นมักจะเป็นการตรวจและให้คะแนนไปทีละข้อ
คำตอบของข้อหนึ่งไม่ถูกนำมาพิจารณาในการให้คะแนนคำตอบของอีกข้อหนึ่ง
ในกรณีข้างต้นนั้น ในข้อ
๑ เมื่อนักเรียนเลือกตอบข้อ
(ข)
ซึ่งเป็นคำตอบที่ถูก
เขาก็จะได้ไปแล้ว 1
คะแนน
ส่วนในข้อ ๒ ที่เขาเลือกตอบข้อ
(ก)
ที่เป็นคำตอบที่ผิด
ข้อ ๒ นี้เขาก็จะได้ 1
คะแนน
ดังนั้นจากการตอบคำถาม ๒
ข้อ เขาก็จะได้ไปเพียง 1
คะแนน
ทีนี้ถ้าลองเอาคำถามข้างบนมาถามใหม่เป็นข้อสอบแบบอัตนัยดูบ้างดังนี้
ข้อ
๓ นำหลอดทดลองมา 2
หลอด
หลอดที่หนึ่งนำเฮกเซน (C6H14)
1 ml ใส่หลอดทดลอง
จากนั้นเติมน้ำกลั่น 1
ml ลงไป
เขย่าหลอดทดลองแล้วตั้งทิ้งไว้
ส่วนหลอดที่สองนำออกเทน
(C8H18)
1 ml ใส่หลอดทดลอง
จากนั้นเติมน้ำกลั่น 1
ml ลงไป
เขย่าหลอดทดลองแล้วตั้งทิ้งไว้
ของเหลวในหลอดทดลองแต่ละหลอดนั้นจะ
(ก)
ละลายรวมกันเป็นเฟสเดียว
หรือ (ข)
แยกชั้นเป็นสองเฟส
(2
คะแนน)
ถ้านักเรียนตอบมาว่า
"ในหลอดที่หนึ่งที่เป็นการผสมเฮกเซนกับน้ำนั้นจะแยกชั้นเป็นสองเฟส
ส่วนหลอดที่สองที่เป็นการผสมออกเทนกับน้ำนั้นจะละลายรวมกันเป็นเฟสเดียว"
ด้วยคำตอบเช่นนี้ถ้าเป็นคุณ
คุณจะให้คะแนนเขากี่คะแนน
สำหรับคนที่เข้าใจในวิชาเคมีและเคมีอินทรีย์
ย่อมทราบดีว่าไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวพวกอัลเคน
(alkane)
นั้นไม่ละลายเข้าเป็นเฟสเดียวกับน้ำ
และจะลอยบนผิวหน้าน้ำเนื่องจากมีความหนาแน่นที่ต่ำกว่า
ดังนั้นถ้าเป็นคนที่เข้าใจเรื่องนี้ก็จะตอบได้ทันทีว่าทั้งสองหลอดนั้นจะให้ผลที่เหมือนกันคือ
"จะแยกชั้นเป็นสองเฟส"
การตอบคำถามแบบเลือกให้หลอดหนึ่งนั้น
"แยกเป็นสองเฟส"
ส่วนอีกหลอดนั้น
"รวมเป็นเฟสเดียวกัน"
ในมุมมองของผมถือเป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบคำถามนั้น
"ไม่มีความรู้และ/หรือความเข้าใจ"
ในเรื่องดังกล่าว
ทำให้ไม่ทราบว่าคำตอบที่ถูกต้องควรจะเป็นคำตอบใด
ก็เลยใช้วิธีเลือกตอบมาทั้งสองคำตอบ
โดยหวังว่ามันต้องถูกสักคำตอบและต้องได้คะแนนอย่างน้อยครึ่งนึง
(คือ
1
คะแนน)
ผมเห็นนิสิตจำนวนไม่น้อยเตรียมการสอบโดยการท่องตำรามาเป็นบท
ๆ พอเจอคำถามทีก็ใช้วิธีเขียนลงไปเยอะ
ๆ โดยไม่สนว่าที่เขียนลงไปนั้นมันจะตรงกับคำถามหรือไม่
โดยคิดแต่เพียงว่าถ้าเขียนลงไปเยอะ
ๆ แล้วมันต้องมีโอกาสที่สิ่งที่เขียนลงไปนั้นจะตรงกับคำตอบที่ถูกต้อง
และจะต้องได้คะแนนมาบ้าง
ตัวผมเองนั้นเห็นว่าความคิดดังกล่าวเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง
เพราะเป็นการแสดงให้เห็นว่านิสิตนั้นไม่ได้เข้าใจในสิ่งที่เรียนมา
และไม่สามารถนำสิ่งที่เรียนมานั้นมาประยุกต์ใช้ได้
เขาไม่รู้ว่าเมื่อไรต้องนำความรู้เรื่องใดมาใช้
และความรู้ส่วนใดที่ไม่เกี่ยวข้อง
การตอบคำถามเช่นนี้ถ้าเป็นตัวผมเองผมจะพิจารณาไม่ให้คะแนน
ยิ่งบางรายยิ่งเขียนมากยิ่งแสดงให้เห็นเลยว่าไม่รู้เรื่อง
เพราะสิ่งที่เขียนมานั้นมันขัดแย้งกันเอง
กรณีของการตอบคำถามของข้อ
๓ ตามที่ยกตัวอย่างมานั้นก็เช่นกัน
ผมถือว่าผู้ตอบได้แสดงให้เห็นว่าเขานั้นไม่รู้/ไม่เข้าใจว่าคำตอบที่ถูกต้องคือคำตอบใด
ก็เลยใช้วิธี "ตอบคำถามแบบแทงกั๊ก"
คือการตอบมาทั้งสองตัวเลือก
ถ้าเป็นตัวผมเองผมจะให้ศูนย์คะแนน
ทีนี้ลองมาดูคำถามอีกคำถามหนึ่งคือ
ข้อ
๔ นำหลอดทดลองมา ๒ หลอด
หลอดแรกใส่โทลูอีน (C6H5-CH3)
ลงไป
1
ml จากนั้นเติมสารละลาย
I2
ใน
CCl4
ลงไป
3
หยด
หลอดที่สองใส่ไซลีน (C6H4(CH3)2)
ลงไป
1
ml จากนั้นเติมสารละลาย
I2
ใน
CCl4
ลงไป
3
หยด
(ก)
ถ้าตั้งหลอดทดลองทั้งสองในที่ร่ม
จะเกิดปฏิกิริยาใดบ้าง
ผลิตภัณฑ์ที่ได้คืออะไร
(ข)
ถ้านำหลอดทดลองทั้งสองไปตากแดด
จะเกิดปฏิกิริยาใดบ้าง
ผลิตภัณฑ์ที่ได้คืออะไร
สำหรับผู้ที่เข้าใจพื้นฐานเคมีอินทรีย์จะรู้ดีว่า
การแทนที่อะตอม H
ที่วงแหวนเบนซีนนั้นยากกว่าการแทนที่อะตอม
H
ของพันธะ
C-H
ของหมู่ไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวมาก
ในกรณีการแทนที่อะตอม H
ของพันธะ
C-H
ของหมู่ไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวด้วยอะตอมฮาโลเจนนั้น
ปฏิกิริยาจะไม่เกิดในที่ร่ม
แต่จะเกิดได้ถ้ามีแสงแดดหรือความร้อนช่วย
แต่คำว่า
"ฮาโลเจน"
ที่กล่าวกันในหนังสือเคมีอินทรีย์ในส่วนปฏิกิริยา
halogenation
ของ
alkane
นั้นก็ทำให้คนเข้าใจผิดไม่น้อยเหมือนกัน
เพราะมันทำให้คนคิดว่ามันคือธาตุฮาโลเจนทั้งหมู่คือ
F
Cl Br และ
I
แต่ในความเป็นจริงนั้นมันจำกัดเฉพาะ
Cl
กับ
Br
เท่านั้น
F
มีความว่องไวสูงมาก
ในขณะที่ I
ไม่ทำปฏิกิริยา
(ดูบันทึกฉบับที่
๙๒)
ในกรณีของสารประกอบอัลคิลเบนซีนนั้น
ถ้านำมาทำปฏิกิริยา halogenation
เช่นด้วยการหยดสารละลาย
Br2
ใน
CCl4
ลงไป
ปฏิกิริยาจะไม่เกิดในที่ร่ม
แต่เมื่อนำไปตากแดดจะเกิดปฏิกิริยาเห็นสีของ
Br2
หายไป
โดยอะตอม Br
จะเข้าไปแทนที่อะตอม
H
ของหมู่
-CH3
ไม่ได้เข้าไปแทนที่อะตอม
H
ที่เกาะกับวงแหวนเบนซีน
แต่ถ้าเป็นสารละลาย
I2
ใน
CCl4
นั้นจะไม่เกิดการฟอกสีใด
ๆ ไม่ว่าจะตั้งในที่ร่มหรือตากแดด
เพราะ I2
ไม่มีความว่องไวสูงพอที่จะเข้าไปแทนที่อะตอม
H
ของพันธะ
C-H
(แต่มันแทรกเข้าไปที่พันธะ
C=C
ได้)
ดังนั้นในกรณีของคำถามข้อ
๔ นั้น คำตอบที่ถูกต้องคือไม่เกิดปฏิกิริยาทั้งสองหลอด
ไม่ว่าจะตั้งในที่ร่มหรือตากแดด
(อันนี้ก่อนหน้านี้สมัยที่ยังเรียนแลปเคมีอินทรีย์กันอยู่
ผมก็ได้ให้นิสิตทดสอบด้วยตัวเองมาแล้ว)
ทีนี้ถ้ามีนิสิตตอบคำถามมาทำนองเช่น
-
ถ้าตั้งในที่ร่มไม่เกิดปฏิกิริยาทั้งสองหลอด
แต่ถ้านำไปตากแดดจะเกิดปฏิกิริยาฟอกสีทั้งสองหลอด
-
หลอดที่ใส่โทลูอีนจะไม่เกิดปฏิกิริยาใด
ๆ ไม่ว่าตั้งในที่ร่มหรือตากแดด
ส่วนหลอดที่ใส่ไซลีนจะเกิดการฟอกสี
-
ฯลฯ
ถ้าคุณเป็นอาจารย์
คุณจะให้คะแนนเขาสักกี่คะแนน
และคุณคิดว่าผู้ที่ตอบคำถามทำนองข้างต้นนั้นมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวมากน้อยอย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น