เทคนิค
temperature
programmed นั้นเป็นเทคนิคหนึ่งที่เราใช้ในการวิเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยา
โดยทั่วไปจะนำตัวอย่างตัวเร่งปฏิกิริยามาบรรจุไว้ใน
sample
cell จากนั้นให้แก๊สไหลผ่านตัวอย่าง
ตามด้วยการเพิ่มอุณหภูมิให้กับตัวอย่างตามอัตราที่กำหนด
และตรวจวัดองค์ประกอบของแก๊สขาออก
เทคนิคนี้แบ่งแยกไปตามประเภทปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างตัวเร่งปฏิกิริยาและองค์ประกอบในแก๊สที่ไหลผ่าน
ในกรณีที่เราให้ตัวอย่างดูดซับแก๊สบางชนิดเอาไว้ก่อนจนอิ่มตัวที่อุณหภูมิต่ำ
จากนั้นจึงค่อยเพิ่มอุณหภูมิตัวอย่างให้สูงขึ้นด้วยอัตราที่กำหนดและตรวจวัดว่าตัวอย่างคายแก๊สที่ดูดซับเอาไว้นั้นออกมาที่อุณหภูมิเท่าใด
ในปริมาณเท่าใด เทคนิคนี้เรียกว่า
temperature
programmed desorption หรือย่อว่า
TPD
การวิเคราะห์ความแรงและปริมาณของความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็งก็นิยมใช้วิธีนี้
โดยแก๊สที่ใช้คือ NH3
จึงทำให้การวัดความเป็นกรดด้วยวิธีการนี้เรียกกันว่า
NH3-TPD
ในกรณีที่เราผ่านแก๊สที่ประกอบไปด้วยสารตั้งต้นไปบนตัวเร่งปฏิกิริยา
แล้วค่อย ๆ เพิ่มอุณหภูมิตัวเร่งปฏิกิริยาให้สูงขึ้น
พร้อมกับคอยตรวจวัดผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น
จะเรียกเทคนิคนี้ว่า temperature
programmed reaction
ถ้าเป็นการใช้ออกซิเจนไปทำปฏิกิริยากับตัวเร่งปฏิกิริยาเช่นในการเผา
coke
ก็จะเรียกเทคนิคนี้ว่า
temperature
programmed oxidation หรือ
TPO
แต่ถ้าเป็นการให้ไฮโดรเจนไปทำปฏิกิริยารีดิวซ์ตัวเร่งปฏิกิริยา
ก็จะเรียกเทคนิคนี้ว่า
temperature
programmed reduction หรือ
H2-TPR
เทคนิคการทำ
H2-TPR
เป็นเทคนิคหนึ่งที่ใช้ในการวัดความยากง่ายในการรีดิวซ์สารประกอบโลหะออกไซด์
ซึ่งอาจบ่งบอกถึงอัตรกิริยา
(interaction)
ระหว่างสารประกอบโลหะออกไซด์ที่เป็น
active
species กับตัวรองรับ
support
เช่นถ้าเรามีตัวเร่งปฏิกิริยาสองตัวที่เป็นสารประกอบโลหะออกไซด์
A
อยู่บนตัวรองรับ
S1
กับ
S2
แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิค
H2-TPR
ถ้าพบว่าการรีดิวซ์สารประกอบโลหะออกไซด์
A
บนตัวเร่งปฏิกิริยาทั้งสองเกิดที่อุณหภูมิต่างกัน
ก็มีความเป็นไปได้ที่ตัวรองรับ
S1
กับ
S2
มีอันตรกิริยา
(interaction)
กับสารประกอบโลหะออกไซด์
A
ที่แตกต่างกัน
ที่ผมใช้คำว่า
"มีความเป็นไปได้"
เพราะต้องคำนึงถึงความยากง่ายที่เกิดจากการที่ตัวรองรับ
S1
และ
S2
มีพื้นที่ผิวและรูพรุนที่มีขนาดแตกต่างกันด้วย
เพราะมันส่งผลถึงการแพร่ของ
H2
เข้าไปในรูพรุนด้วย
รูปที่
๑ แผนผังการไหลของแก๊สในการวัด
H2-TPR
ของเครื่องที่ใช้ในแลปของเรา
รูปที่
๑ แสดงแผนผังการไหลของแก๊สในเครื่องที่ใช้ในแลปของเรา
แก๊สผสมระหว่าง H2
กับ
He
จะไหลเข้า
port
1 ของ
Thermal
conductivity detector (TCD)
จากนั้นจะไหลผ่านตัวเร่งปฏิกิริยาที่บรรจุอยู่ใน
sample
cell โดย
sample
cell นี้จะบรรจุอยู่ใน
funace
ที่สามารถควบคุมอัตราการเพิ่มอุณหภูมิได้
แก๊สที่ออกจาก sample
cell นั้นจะไหลผ่าน
cold
trap ที่บรรจุไนโตรเจนเหลว
(อุณหภูมิ
-196ºC)
ก่อนจะไหลเข้า
port
2 ของ
TCD
และระบายทิ้งออกไป
cold
trap นี้ทำหน้าที่ดักไอน้ำ
(ที่เกิดจาก
H2
ไปดึงออกซิเจนออกจากโลหะออกไซด์)
และแก๊สตัวอื่นที่อาจเกิดขึ้น
เช่นจากการสลายตัวเนื่องจากอุณหภูมิของสารประกอบโลหะออกไซด์เอง
โดยการคายแก๊ส O2
ออกมา
ดังนั้นแก๊สที่ผ่าน cold
trap ไปยัง
port
2 ของ
TCD
จึงควรมีแต่
H2
กับ
He
เท่านั้น
ในทางทฤษฎีแล้ว
ถ้าหาก H2
ไม่ถูกใช้ไปในระหว่างการรีดิวซ์
ความเข้มข้นของ H2
ที่เข้า
port
2 ก็จะ
"เท่ากับ"
ความเข้มข้นของ
H2
ที่เข้า
port
1 ดังนั้น
TCD
ก็ไม่ควรที่จะส่งสัญญาณใดออกมา
แต่ถ้าไฮโดรเจนถูกใช้ไปในระหว่างการรีดิวซ์
ความเข้มข้นของ H2
ที่เข้า
port
2 ก็จะ
"น้อยกว่า"
ความเข้มข้นของ
H2
ที่เข้า
port
1 ดังนั้น
TCD
ก็ไม่ควรที่จะส่งสัญญาณใดออกมา
แต่ในความเป็นจริงมันไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไปนะ
ตรงนี้ถ้ายังไม่รู้ว่า
TCD
ทำงานได้อย่างไรก็ให้ไปอ่านเรื่องเกี่ยวกับ
Thermal conductivity detector ภาค ๑ ที่เขียนไปเมื่อวันศุกร์ที่
๓๐ มกราคม พ.ศ.
๒๕๕๒
และ Thermal conductivity detector ภาค ๒ ที่เขียนไปเมื่อวันอังคารที่
๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.
๒๕๕๒
ประกอบด้วย
รูปที่
๒ H2-TPR
เส้นบน
NiMo/Al2O3
เส้นล่าง
NiMoW/Al2O3
(สำหรับ
NiMo/Al2O3
มี
Ni
2.4 wt% Mo 9.25 wt% คิดในรูปของโลหะ
พื้นที่ผิว BET
118.35 m2/g ปริมาตรรูพรุน
0.14
ml/g ขนาดรูพรุน
4.91
nm)
รูปที่
๓ H2-TPR
ของ
NiMo/Al2O3
(มี
Ni
2.4 wt% Mo 9.25 wt% คิดในรูปของโลหะ
พื้นที่ผิว BET
100.19 m2/g ปริมาตรรูพรุน
0.16
ml/g ขนาดรูพรุน
4.54
nm) การอ่านอุณหภูมิให้อ่านตามเส้นประสีแดง
เราลองมาดูตัวอย่างผลการวิเคราะห์
H2-TPR
ของตัวเร่งปฏิกิริยา
NiMo/Al2O3
ที่มีปริมาณโลหะ
Ni
และ
Mo
พื้นที่ผิวและขนาดรูพรุนใกล้เคียงกัน
และใช้ตัวรองรับตัวเดียวกัน
(ผลการทดลองของคนสองคนที่ทำวิจัยในกลุ่มเดียวกันในเวลาเดียวกัน
ต่างคนต่างเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาของตัวเอง
แต่ใช้กับปฏิกิริยาคนละแบบ)
ในการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยานั้นจะเตรียมในรูปสารประกอบโลหะออกไซด์ของ
Ni
และ
Mo
บน
Al2O3
ก่อน
จากนั้นจึงนำไปรีดิวซ์เพื่อเปลี่ยนให้เป็นโลหะ
Ni
และ
Mo
การทำ
H2-TPR
ก็เพื่อหาว่าต้องใช้อุณหภูมิเท่าใดในการรีดิวซ์สารประกอบโลหะออกไซด์ของ
Ni
และ
Mo
ในการวิเคราะห์นี้เพิ่มอุณหภูมิจากอุณหภูมิห้องด้วยอัตรา
10ºC/min
จนถึง
800ºC
และคงไว้ที่อุณหภูมิดังกล่าว
ผลของคนแรกที่นำมาแสดงในรูปที่
๒ นั้นให้แกน x
เป็นอุณหภูมิ
ส่วนแกน y
เป็นสัญญาณ
ซึ่งผมว่ามันเป็นการรายงานผลที่ไม่ค่อยดีนัก
เพราะอุณหภูมินั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เป็นเชิงเส้น
มันอาจหยุดนิ่งได้ในขณะที่สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลง
วิธีการเขียนที่ดีกว่าที่เคยกล่าวไว้คือให้แกนนอนเป็นเวลา
และมีแกนตั้งสองแกน
แกนหนึ่งเป็นอุณหภูมิและอีกแกนหนึ่งเป็นสัญญาณ
ดังผลของคนที่สองที่แสดงในรูปที่
๓
ซึ่งไม่ทำให้เกิดปัญหาในการรายงานผลเมื่อเราคงอุณหภูมิให้คงที่เป็นช่วงเวลาหนึ่ง
สิ่งที่น่าสนใจคือคนแรก
(รูปที่
๒)
นั้นบอกว่าจากการทำ
H2-TPR
พบพีคเพียงแค่
2
พีคตรงอุณหภูมิที่แสดงไว้ในรูป
พ้นจากนั้นไปแม้เส้นสัญญาณมีการไต่สูงขึ้นไปอีก
เขาก็ไม่นำมาพิจารณา
ส่วนคนที่สอง (รูปที่
๓)
นั้นก็แสดงพีค
2
พีคตรงตำแหน่งเดียวกัน
และรูปร่างเส้นสัญญาณ TPR
ก็เหมือน
ๆ กัน คือมีการเคลื่อนตัวสูงขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
แต่สิ่งหนึ่งที่แตกต่างกันคือคนที่สองกลับบอกว่ามี
"พีคที่
3"
อยู่ที่อุณหภูมิ
800ºC
โดยมีการอ้างบทความยืนยันด้วย
เมื่อเจอแบบนี้เข้า
เราควรเชื่อใครดีล่ะ
มีคนถูกเพียงแค่คนเดียว
หรือถูกทั้งคู่ หรือผิดทั้งคู่
แต่ก่อนอื่นเราลองมาทบทวนกันก่อนว่า
TCD
จะให้สัญญาณที่แสดงการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ในกรณีใดบ้าง
TCD
ทำงานโดยอาศัยความสามารถของแก๊สในการดึงความร้อนออกจากขดลวดความร้อน
2
ขดเปรียบเทียบกัน
สัญญาณที่ TCD
ส่งออกมาคือสัญญาณความแตกต่างระหว่างความสามารถในการดึงความร้อนจากขดลวด
2
ขดของแก๊สที่ไหลผ่าน
ในการทำงานนั้นจะให้ขดลวดหนึ่งเป็นขดลวดอ้างอิง
(ref)
ส่วนอีกขดลวดหนึ่งเป็นตัววัด
สัญญาณความแตกต่างระหว่างความสามารถในการดึงความร้อนจากขดลวดนี้ขึ้นอยู่กับ
(ก)
องค์ประกอบของแก๊สที่ไหลผ่านแต่ละ
port
ของ
detector
(ข)
อัตราการไหลของแก๊สที่ไหลผ่านแต่ละ
port
ของ
detctor
(ค)
อุณหภูมิของแก๊สที่ไหลผ่านแต่ละ
port
ของ
detector
ในกรณีของอุปกรณ์ตามแผนผังในรูปที่
๑ นั้น เนื่องจากแก๊สที่ไหลเข้า
port
1 กับ
port
2 เป็นแก๊สในท่อเดียวกัน
และ port
1 กับ
port
2 ก็อยู่ใน
heating
block เดียวกัน
ดังนั้นสิ่งที่มักจะคาดหวังคืออัตราการไหลและอุณหภูมิของแก๊สที่ไหลผ่าน
port
1 กับ
port
2 นั้นควรจะเหมือนกัน
ความแตกต่างเดียวที่น่าจะเกิดก็คือถ้าตัวอย่างถูกรีดิวซ์ด้วย
H2
แก๊สที่ไหลผ่าน
port
2 ควรจะมีปริมาณ
H2
น้อยกว่าของแก๊สที่ไหลผ่าน
port
1 ดังนั้นสัญญาณที่เห็นจึงควรเป็นสัญญาณที่เกิดจาก
H2
หายไปในการรีดิวซ์เท่านั้น
แต่ในทางปฏิบัติมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น
ตัว
cold
trap ที่ใช้ไนโตรเจนเหลวเป็นตัวดักไอน้ำนั้นทำหน้าที่เป็นเสมือน
buffer
tank แก๊สที่ไหลเข้ามายัง
cold
trap ไม่ว่าจะมีอุณหภูมิเท่าใด
(ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่
furnace)
หรือมีอัตราการไหลที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มากนัก
(ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่
furnace
เช่นกัน)
เมื่อผ่าน
cold
trap แล้วจะกลายเป็นแก๊สที่มีอุณหภูมิเดียวกันและอัตราการไหลเดียวกัน
ดังนั้นปัจจัยที่จะทำให้ความสามารถในการดึงความร้อนออกจากขดลวดที่
port
2 จึงเหลือเพียงแค่ปัจจัยเดียว
คือความเข้มข้น H2
ในแก๊สนั้นลดลง
(ตรงนี้อยู่บนข้อสมมุติที่ว่าปริมาณ
H2
ที่หายไปในการรีดิวซ์นั้นไม่ส่งผลต่ออัตราการไหลโดยปริมาตร)
ตัวที่เป็นปัญหาคือแก๊สที่ไหลเข้าทาง
port
1 ในเส้นทางนี้แก๊สต้องไหลผ่านเบดตัวเร่งปฏิกิริยาที่บรรจุอยู่ใน
furnace
เมื่ออุณหภูมิของ
furnace
เพิ่มสูงขึ้น
อุณหภูมิของแก๊สที่ไหลผ่านเบดก็เพิ่มสูงตามไปด้วย
และเมื่อแก๊สร้อนขึ้นความหนืดของแก๊สก็จะเพิ่มขึ้นตาม
ทำให้แก๊สไหลผ่านยากขึ้น
เกิดการสะสมทางด้านขาเข้าเบด
ทำให้ความดันด้านขาเข้าเบดเพิ่มสูงขึ้น
ความเร็วแก๊สที่ไหลผ่าน
port
1 จะลดลง
(แต่ความดันแก๊สที่ไหลผ่านจะเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นถ้ามาวัดตอนด้านขาออกจากเบดก็จะเห็นว่าอัตราการไหลโดยปริมาตรนั้นไม่เปลี่ยนแปลง)
เมื่อความเร็วแก๊สที่ไหลผ่าน
port
1 ลดลง
ก็ทำให้ TCD
ส่งสัญญาณออกมาแม้ว่าองค์ประกอบของแก๊สที่ผ่าน
port
1 และ
2
นั้นเหมือนกัน
ตรงนี้สังเกตได้จากรูปที่
๓ ที่จะเห็นว่าเมื่อเริ่มทำการเพิ่มอุณหภูมิ
furnace
เส้นสัญญาณ
TCD
เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
คำถามก็คือเมื่อเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นไปเรื่อย
ๆ แนวเส้น base
line เป็นอย่างไร
ในรูปที่ ๓ ถ้าเราพิจารณาว่าแนวเส้น
base
line คือแนวเส้นประสีม่วง
(A-C)
ก็จะมีแค่
peak
1 และ
peak
2 แต่ถ้าพิจารณาว่าแนวเส้น
base
line คือแนวเส้นประสีน้ำเงิน
(A-B)
ก็จะนับ
peak
3 เพิ่มอีกพีคหนึ่งด้วย
ตรงนี้เราสามารถทดสอบยืนยันว่าสิ่งที่ดูเหมือนว่าเป็น
peak
ที่
3
นั้นเป็นพีคจริงหรือไม่
ทำได้โดยทดลองเปลี่ยนอุณหภูมิสุดท้าย
เช่นเปลี่ยนเป็น 750ºC
หรือ
850ºC
ถ้าพบว่าตำแหน่ง
peak
ที่
3
นี้เปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิสุดท้าย
ก็แสดงว่าสิ่งที่เห็นว่าเหมือนพีคนั้นไม่ใช่พีคที่เกิดจาก
H2
ถูกใช้ไปในปฏิกิริยารีดิวซ์
แต่เป็นสิ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
จากที่เคยเจอมานั้นเมื่ออุณหภูมิของ
furnace
เพิ่มจนถึงค่าที่กำหนด
แล้วเราสั่งให้อุณหภูมิ
furnace
คงอยู่ที่อุณหภูมินั้นหรือตัดความร้อนออกเพื่อให้
furnace
เย็นตัวลง
เส้นสัญญาณ TCD
ที่กำลังไต่ขึ้นไปจะตกลง
ดังนั้นสิ่งที่แสดงว่าเป็น
peak
3 ในรูปที่
๓ นั้นอันที่จริงมันเป็นพีคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
ไม่ใช่พีคที่เกิดจากการที่
H2
ไปรีดิวซ์สารประกอบโลหะออกไซด์
เพราะในความเป็นจริงนั้นอุณหภูมิของแก๊สที่ไหลผ่านตัวอย่างนั้นจะตามหลังอุณหภูมิของ
furnace
อยู่
ดังนั้นแม้ว่าอุณหภูมิ
furnace
จะเพิ่มขึ้นถึงค่าที่กำหนดแล้ว
(และคงอยู่ที่ค่านั้น)
อุณหภูมิของแก๊สก็ยังคงไต่ขึ้นอยู่จนกว่าจะเข้าที่ที่อุณหภูมิ
furnace
ที่กำหนดไว้
ณ จุดนี้ระบบก็จะเข้าสู่สภาวะคงตัวที่สภาวะใหม่
สัญญาณที่ TCD
ส่งออกมาก็จะ
(ประมาณได้ว่า)
ไม่มีการเปลี่ยนแปลงและเป็นเส้นที่ขนานแกน
x
ไป
ดังนั้นโดยส่วนตัวแล้วผมเห็นว่า
peak
3 ที่คนที่สองระบุนั้นมันไม่ใช่
peak
H2-TPR
ถ้าเขาจะเอาบทความมายืนยันผมก็ว่าบทความนั้นก็ผิดด้วย
(เว้นแต่เขามีการทดสอบให้เห็นดังที่ผมกล่าวมาข้างต้น)
ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะกับ
H2-TPR
เท่านั้น
แต่ยังพบเสมอเวลาทำ NH3-TPD
ด้วย
แต่พีค NH3-TPD
นั้นเราสามารถทดสอบยืนยันได้ด้วยการวัดปริมาณ
NH3
ที่ตัวอย่างสามารถดูดซับเอาไว้ได้ก่อน
แล้วเปรียบเทียบว่าต้องมีพีคที่เกิดจากการคายซับกี่พีคจึงจะได้ปริมาณ
NH3
ที่คายออกมานั้นเท่ากับปริมาณ
NH3
ที่ตัวอย่างสามารถดูดซับเอาไว้ได้
นอกจากนี้ถ้าจะยืนยันว่า
peak
3 ในรูปที่
๓ นั้นเป็นพีคที่เกิดจาก
H2
หายไป
ก็ต้องหาคำอธิบายมาด้วยว่าทำไม
peak
3 นี้ถึงได้กว้างใหญ่นัก
คือเริ่มจากจุด A
(ก่อนการเกิด
peak
1 และ
peak
2 อีก)
ไปจนถึงจุด
B
ผลที่ผมเอามาให้ดูนั้นมาจากงานของคนสองคนที่สำเร็จการศึกษาในภาคการศึกษาเดียวกัน
สอบห่างกันไม่เท่าใด
แต่ละรายนั้นมีกรรมการสอบทั้งหมด
๕ คน โดยซ้ำกันถึง ๔ คน
ก็ยังปรากฏว่าผลการวิเคราะห์ผลการทดลองของคนสองคนที่ออกมาเหมือนกัน
แต่แปลผลแตกต่างกันนั้น
สามารถหลุดรอดตากรรมการถึง
๔ คนได้ (ผมไม่ได้เป็นกรรมการสอบนะ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น