ยังคงเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์เมื่อวันพุธเมื่อวาน
เห็นแล้วก็พูดอะไรไม่ออกไปเหมือนกัน
ไม่รู้ว่าปล่อยให้เป็นอย่างนั้นมาตั้งนานได้อย่างไร
ทั้ง ๆ ที่การแก้ปัญหามันก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร
เหตุเกิดตอนที่ผมไปนั่งดูรุ่นพี่สอนรุ่นน้องใช้เครื่อง
ChemiSorb
2750 ในการวัดพื้นที่ผิวแบบ
Single
point BET โดยเริ่มจากขั้นตอนการเปิดเครื่อง
พอถึงขั้นตอนการเปิด carrier
gas และปรับให้ได้อัตราการไหลที่ต้องการนั้น
ก็มีการบอกรุ่นน้องว่าให้ระวังหน่อยเวลาหมุน
เพราะปุ่มหมุนมัน "หลวม"
มีอุปกรณ์หลากหลายชนิดที่มีปุ่มสำหรับหมุน
ปุ่มดังกล่าวจะยึดติดเข้ากับแกนหมุนของตัวปรับหลัก
และเนื่องจากตัวแกนหมุนมักจะมีขนาดเล็กและไม่มีพื้นที่สำหรับการทำเครื่องหมายใด
ๆ จึงต้องมีการติดตั้งปุ่มหมุน
(ที่อาจมีการทำเครื่องหมายบนตัวปุ่ม)
และนำไปสวมบนแกนหมุนนั้น
ที่สำคัญคือต้องให้ตัวปุ่มหมุนจับกับแกนหมุน
เพื่อที่เวลาที่หมุนปุ่ม
ตัวแกนจะได้หมุนตามไปด้วย
วิธีการทำให้ตัวปุ่มหมุนจับยึดกับแกนหมุนก็มีหลายวิธี
ขึ้นอยู่กับว่าแกนหมุนนั้นมีรูปร่างพื้นที่หน้าตัดอย่างไร
เช่นถ้าแกนมีพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ก็ทำปุ่มหมุนให้มีรูเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ถ้าแกนมีพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปเฟือง
ก็ทำรูของปุ่มหมุนให้มีร่องที่สอดรับกับร่องบนตัวแกน
แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ใช้แกนที่มีพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปวงกลม
ที่มีการปาดผิวด้านหนึ่งหรือบางบริเวณให้มีลักษณะเป็นพื้นผิวแบนราบ
(ดูรูปที่
๑)
ส่วนตัวปุ่มหมุนเองนั้นก็อาจมีรู
(ที่ไม่กลม)
ที่สอดรับกับรูปร่างของตัวแกน
(รูปที่
๑ ซ้าย)
แต่ก็มีให้เห็นอยู่เป็นประจำเหมือนกันที่ขึ้นรูปให้รูของปุ่มหมุนนั้นเป็นรูกลม
แต่จะมีการเจาะรูสำหรับใส่นอตในแนวที่ตั้งฉากกับแกนหมุน
เวลายึดปุ่มหมุนเข้ากับตัวแกนก็ต้องวางปุ่มหมุนให้ตำแหน่งของนอตนั้นตรงกับบริเวณที่เป็นผิวแบนราบ
จากนั้นก็ขันนอตกดลงไปบนตำแหน่งนั้น
(รูปที่
๑ ขวา)
ในรูปแบบหลังนี้ถ้าหากตำแหน่งที่ขันนอตนั้นเป็นส่วนผิวโค้ง
จะทำให้ขันนอตได้ไม่แน่น
พอหมุนตัวปุ่มหมุน
นอตก็จะลื่นไถลไปบนพื้นผิวแกนหมุน
ทำให้แกนหมุนไม่หมุนไปพร้อมกับตัวปุ่มหมุนหรือไม่ก็ไม่หมุนตามไปด้วยเลย
การแก้ปัญหามันก็ไม่ยากเย็นอะไร
ก็แค่ดูว่าแกนหมุนนั้นมีการปาดพื้นผิวตรงด้านไหนให้แบนราบ
จากนั้นก็วางปุ่มหมุนโดยให้ตำแหน่งนอตนั้นอยู่ตรงกับพื้นผิวแบนราบนั้น
แล้วก็ขันนอตให้แน่นก็สิ้นเรื่อง
รูปที่
๑ ตัวอย่างการยึดปุ่มจับเข้ากับแกนหมุน
โดยตัวแกนหมุนมีการปาดผิวด้านหนึ่งให้แบนราบ
รูปซ้ายเป็นรูปแบบที่รูของตัวปุ่มจับนั้นขึ้นรูปมารับพอดีกับรูปร่างของแกนหมุน
ส่วนรูปขวาเป็นรูปแบบที่รูปุ่มจับนั้นเป็นรูกลม
และใช้นอตขันยึดตัวปุ่มจับเข้ากับแกนหมุน
การแก้ไขเมื่อวานก็กระทำเพียงแค่นั้น
ผมก็บอกให้เขาไปหาประแจหกเหลี่ยมตัวเล็ก
ๆ มาให้
(เพราะนอตของปุ่มที่เป็นปัญหามันเป็นหัวแบบหลุมหกเหลี่ยม
(รูปที่
๒ บน)
แต่เขากลับไปได้ไขควงตัวเล็ก
ๆ มาแทน
ซึ่งก็พอจะแก้ขัดไปได้แต่มันไม่สามารถขันให้ยึดติดแน่นได้
จากนั้นก็วางปุ่มโดยให้ตัวนอตนั้นอยู่ตรงกับพื้นผิวแบนราบของแกนหมุน
แล้วก็ขันนอตลงไป
มันก็กลับมาใช้ได้เหมือนเดิม
รูปที่
๒ (บน)
แกนหมุนของปุ่มนี้จะมีการทำผิวแบนไว้ด้านหนึ่ง
ตรงลูกศรสีแดง (ล่าง)
เวลาวางปุ่มก็ให้ตัวนอต
(ในวงกลมเหลือ)
อยู่ตรงกับผิวแบนของตัวแกน
จากนั้นก็ทำการขันแน่นเข้าไป
ผมไม่รู้ว่าปุ่มดังกล่าวมันหลวมคลอนมาตั้งแต่เมื่อใด
แต่คิดว่าคงจะนานแล้วเหมือนกัน
เพราะมีการสอนต่อ ๆ
กันมาว่าเวลาหมุนปุ่มนี้ให้ระวังด้วย
แต่ก็ไม่มีใครคิดจะแก้ไขอะไร
ผมเองก็เพิ่งจะทราบเรื่องเอาเมื่อวาน
ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในห้องทดลองระดับชั้น
ป.ถม
(ประถมศึกษา)
ก็ต้องถือว่าเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนที่ไม่ดูแลเครื่องมือให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย
แต่นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องทดลองระดับ
ป.โท
ป.เอก
(ปริญญาโท
ปริญญาเอก)
ที่นิสิตที่ต้องการวิเคราะห์นั้นเป็นผู้ลงมือใช้เครื่องเอง
ก็คงต้องบอกว่าแต่ละคนที่ใช้เครื่องนั้นก็คิดแต่เพียงจะ
"ใช้"
มันเท่านั้น
คงไม่ได้คิดที่จะ "ดูแลรักษา"
ด้วย
รูปที่
๓ ข้างล่างผมถ่ายมาจากเครื่อง
ChemiSorb
2750 อีกเครื่องหนึ่งที่ตั้งอยู่ข้าง
ๆ
ดูเหมือนว่าเครื่องนี้เขาก็มีปัญหาเรื่องปุ่มหมุนหลุดจากแกนหมุนเช่นเดียวกัน
เพียงแต่เขาใช้วิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างออกไป
ดูเอาเองก็แล้วกัน
รูปที่
๓
รูปนี้คงไม่ต้องการคำอธิบายใด
ๆ เป็นปุ่มของเครื่องรุ่นเดียวกันแต่เป็นอีกเครื่องหนึ่ง
หมายเหตุ : หลังจากนำเรื่องนี้ขึ้น blog ได้สักชั่วโมง พอเดินกลับไปดูใหม่ปรากฎว่าปุ่มหมุนกลับมาติดเรียบร้อยเหมือนเดิม และสติกเกอร์ในรูปถูกลอกหายไปแล้ว :)
หมายเหตุ : หลังจากนำเรื่องนี้ขึ้น blog ได้สักชั่วโมง พอเดินกลับไปดูใหม่ปรากฎว่าปุ่มหมุนกลับมาติดเรียบร้อยเหมือนเดิม และสติกเกอร์ในรูปถูกลอกหายไปแล้ว :)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น