ความเข้มข้นของแก๊ส
N2
ใน
He
ที่ใช้ในการวัดพื้นที่ผิวแบบ
Single
point BET จะใช้ที่ความเข้มข้น
30%
ตัวเลข
2.843
ในสมการที่
(7a)
ที่ได้จากการแทนค่าต่าง
ๆ ลงไปในสมการที่ (7)
ใน
Memoir
ปีที่
๖ ฉบับที่ ๖๙๔ วันศุกร์ที่
๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เรื่อง
"การคำนวณพื้นที่ผิวแบบ Single point BET" นั้นก็ได้มาจากการใช้
%
ความเข้มข้น
N2
ใน
He
ที่
30%
เพื่อเป็นการทบทวนจึงขอยกสมการที่
(7)
จาก
Memoir
ฉบับที่
๖๙๔ มาให้ดูกันก่อน
โดยที่แต่ละวงเล็บนั้น
(a)
คือพารามิเตอร์ปรับแก้อุณหภูมิ
Room
temp. คืออุณหภูมิห้อง
(เราป้อนแก๊สที่อุณหภูมิห้องให้กับเครื่อง)
(b)
คือพารามิเตอร์ปรับแก้ความดัน
Atm
press คือความดันแก๊สที่ให้ดูดซับซึ่งปรกติก็ทำที่ความดันบรรยากาศ
สำหรับการทดลองของเราที่ไม่ได้กระทำที่ระดับสูงจากระดับน้ำทะเลมาก
ความดันบรรยากาศก็จะเท่ากับ
760
mmHg
(c)
คือพื้นที่ต่อ
ml
ของแก๊สที่ถูกดูดซับเอาไว้
(d)
คือพารามิเตอร์ใช้สำหรับปรับแก้ความเข้มข้นของแก๊สไนโตรเจน
ความดันของไนโตรเจน
และความบริสุทธิ์ของไนโตรเจนเหลวที่ใช้
เช่น
ถ้ากระทำที่ความดันบรรยากาศก็จะใช้
Atm
press = 760 mmHg
ถ้าใช้ไนโตรเจนเหลวความบริสุทธิ์สูงก็จะใช้
P0
= 760 + 15 = 775 mmHg
และถ้า
Room
Temp. ที่ใช้คือ
22ºC
(295.2 K)
ถ้าใช้แก๊สผสม
30%
N2 ใน
He
ก็จะแทนค่า
%N2
ด้วย
30
และเมื่อแทนค่าต่าง
ๆ ลงไปในสมการที่ (7)
ก็จะได้
S
= 2.843V (7a)
ในทางปฏิบัตินั้นแม้ว่าเราจะสั่งแก๊สผสม
30%
N2 ใน
He
แต่เมื่อผู้ผลิตทำการผลิตแก๊สผสมดังกล่าวก็ต้องมีการวัดความเข้มข้นที่แท้จริงของแก๊สที่ผสมได้อีกครั้ง
ความเข้มข้นที่แท้จริงของแก๊สที่ผสมได้นี้จะรายงานไว้ใน
Certificate
of Analysis ที่ติดมากับข้างถังแก๊ส
(รูปที่
๑)
ดังนั้นในที่นี้เราจะมาดูว่าถ้าความเข้มข้นแก๊สผสมนั้นไม่ใช่
30%
แต่เป็น
29.7%
หรือ
30.3%
(คลาดเคลื่อนไป
1%
สัมพัทธ์)
จะส่งผลต่อการคำนวณอย่างไร
ถ้าใช้แก๊สผสม
29.7%
N2 ใน
He
ก็จะแทนค่า
%N2
ด้วย
30
และเมื่อแทนค่าต่าง
ๆ ลงไปในสมการที่ (7)
ก็จะได้
รูปที่
๑ Certificater
of Analysis ที่มากับถังแก๊ส
30%
N2 ใน
He
ที่แลปเราใช้อยู่ในขณะนี้สำหรับเครื่อง
ChemiSorb
2750 ที่ใช้วัดพื้นที่ผิวแบบ
Single
point BET กรอบสีเหลืองคือความเข้มข้นที่สั่งซื้อ
ส่วนกรอบสีแดงคือความเข้มข้นที่แท้จริง
ตัวเลขที่ต้องนำมาคำนวณพื้นที่ผิวคือตัวเลขในกรอบสีแดง
ดังนั้นเมื่อเปลี่ยนถังแก๊สแต่ละครั้งก็ควรต้องตรวจสอบด้วยว่าความเข้มข้นที่แท้จริงนั้นเป็นเท่าใด
ถ้าใช้แก๊สผสม
30.3%
N2 ใน
He
ก็จะแทนค่า
%N2
ด้วย
30
และเมื่อแทนค่าต่าง
ๆ ลงไปในสมการที่ (7)
ก็จะได้
S
= 2.831V (7c)
จะเห็นว่าเมื่อความเข้นข้นของแก๊ส
N2
ใน
He
นั้นเปลี่ยนแปลงไปประมาณ
1%
ตัวเลขพารามิเตอร์จะเปลี่ยนแปลงไปประมาณ
0.42%
โดยค่าสัมประสิทธิ์หน้าปริมาตร
V
นั้นจะเพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มข้นไนโตรเจนลดลง
แต่ปริมาตรแก๊สที่ตัวอย่างดูดซับเอาไว้ได้
V
ก็จะลดลงเมื่อความเข้มข้นไนโตรเจนลดลง
(ปริมาตรแก๊สที่ตัวอย่างดูดซับไว้ได้นั้นจะมีค่าต่ำที่ค่า
P/P0
มีค่าต่ำ
ตรงนี้ลองย้อนกลับไปดูตัวอย่างกราฟ
adsorption/desorption
ได้ใน
Memoir
ปีที่
๖ ฉบับที่ ๗๐๓ วันศุกร์ที่
๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เรื่อง
"การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๗ ตัวอย่างไอโซเทอมการดูดซับของ BET"
ทีนี้ลองมาทดสอบดูว่าเมื่อใช้แก๊สต่างกัน
ตัวเลขที่เราต้องใช้ปรับค่าที่วัดได้นั้นจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
สมมุติว่าเราใช้แก๊ส
N2
เข้มข้น
30.0%
ใน
He
เมื่อฉีดแก๊สดังกล่าว
1
ml ตอนทำ
calibration
แล้วได้ค่า
2.27
ดังนั้นตัวเลขที่ต้องเอาไปคูณกับค่าที่ได้จากการวัดตัวอย่างคือ
(2.843/2.27)
= 1.252 แต่ถ้าใช้แก๊ส
N2
เข้มข้น
30.3%
ใน
He
เมื่อฉีดแก๊สดังกล่าว
1
ml ตอนทำ
calibration
แล้วได้ค่า
2.27
เหมือนกัน
ตัวเลขที่ต้องเอาไปคูณกับค่าที่ได้จากการวัดตัวอย่างคือ
(2.831/2.27)
= 1.247 จะเห็นว่าต่างกันอยู่เล็กน้อย
แต่ถ้าปัดตัวเลขให้เหลือทศนิยมสองตำแหน่งก็จะได้
1.25
เหมือนกัน
อีกประเด็นหนึ่งที่ควรต้องขอกล่าวไว้ที่นี้คือผลของอัตราการไหลต่อความแรงสัญญาณที่เคยกล่าวไว้ใน
Memoir
ปีที่
๖ ฉบับที่ ๖๕๘ วันพฤหัสบดีที่
๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๖ เรื่อง
"ChemiSorb 2750 : ผลของอัตราการไหลต่อความแรงสัญญาณ"
แสดงให้เห็นว่าอัตราการไหลของแก๊สนั้นส่งผลกระทบต่อค่าที่วัดได้ค่อนข้างมาก
และเนื่องจากระหว่างการ
calibrate
กับการวัดนั้นต้องมีการปิดแก๊สและเปิดใหม่
ดังนั้นสิ่งสำคัญคือต้องมั่นใจว่าอัตราการไหลของแก๊สทั้งสองครั้งนั้นเหมือนกัน
สิ่งที่ผมกังวลคือสเกลของ
rotameter
นั้นมันไม่
linear
ดังนั้นในการวัดจึงอาจต้องปรับให้ระดับลูกลอยอยู่ที่ตำแหน่งที่อ่านค่าได้ง่าย
เช่นให้ขอบล่างลูกลอยแตะเส้น
หรือขอบบนลูกลอยแตะบนเส้นบอกค่าอัตราการไหลดังแสดงในรูปที่
๒ หรือไม่ก็ถ่ายรูปเอาไว้เปรียบเทียบ
เพื่อที่จะได้ผลการวัดที่ถูกต้อง
รูปที่
๒ เนื่องจากสเกลของ Rotameter
ของเครื่อง
ChemiSorb
2750 ไม่ได้มีลักษณะเป็น
linear
ดังนั้นอาจใช้วิธีวางตำแหน่งลูกลอยให้อยู่
ณ ค่าอัตราการไหลที่สังเกตได้ง่าย
แทนที่จะให้ลอยอยู่ระหว่างขีดสองขีด
เพื่อให้การปรับอัตราการไหลแต่ละครั้งได้ค่าอัตราการไหลเดิมเสมอ
ต้องบอกว่าวันพุธนี้เป็นวันที่ค่อนข้างจะวุ่นวายวันหนึ่ง
นอกจากเรื่องนี้แล้วยังมีปัญหาที่ได้แก้ไขไปอีก
๒ เรื่องทั้ง ๆ ที่ปัญหาดังกล่าวมันแก้ได้ง่าย
ๆ แต่ทำไมถึงได้ไม่มีใครสนใจที่จะแก้ไขก็ไม่รู้เหมือนกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น