ลักษณะภูมิประเทศของที่ราบลุ่มภาคกลางถูกกำหนดด้วยแนวเทือกเขาทางด้านทิศตะวันตก
ทิศเหนือ และทิศใต้
ซึ่งต่างวางตัวในแนวเหนือใต้
ทำให้การไหลของลำน้ำต่าง
ๆ ที่มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาเหล่านี้จึงอยู่ในแนวเหนือใต้เป็นหลัก
เพื่อที่จะให้เรือสามารถเดินทางในแนวตะวันตก-ตะวันออกได้สะดวกจึงได้มีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำที่อยู่ทางด้านตะวันตกและด้านตะวันออกเข้าด้วยกัน
โดยมีคลองดำเนินสะดวกเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำท่าจีน
คลองภาษีเจริญเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำเจ้าพระยา
ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางประกงนั้นมีคลองแสนแสบ
และคลองพระโขนงต่อเนื่องคลองประเวชบุรีรมย์เชื่อมต่อ
เส้นทางคลองเหล่านี้ทำให้เรือสามารถเดินทางล่องจากฉะเชิงเทรา
ผ่านกรุงเทพมหานคร ไปยังกาญจนบุรีได้
และได้ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่
๒
กองทัพญี่ปุ่นก็ได้มีการใช้เส้นทางน้ำนี้เป็นทางลำเลียงยุทธปัจจัยไปยังประเทศพม่าแทนเส้นทางรถไฟที่สะพานถูกทำลาย
ผมเคยนำรูปการทิ้งระเบิดประตูน้ำคลองภาษีเจริญมาให้ดูครั้งหนึ่งแล้วในบันทึกปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๒๙ วันพฤหัสบดีที่
๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เรื่อง
"ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำ ตอนที่ ๒๙ การทิ้งระเบิดประตูน้ำคลองภาษีเจริญ"
ซึ่งรูปนั้นคาดว่าเป็นรูปประตูน้ำทางฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
แต่การทิ้งระเบิดในวันที่
๑๘ เมษายน พ.ศ.
๒๔๘๘
(ค.ศ.
๑๙๔๕)
นั้นเป็นการโจมตีประตูน้ำของทั้งคลองภาษีเจริญและคลองดำเนินสะดวกรวมทั้งสิ้น
๔ ประตูในวันเดียวกัน
บังเอิญไปพบรูปการทิ้งระเบิดประตูน้ำที่เหลือของคลองทั้งสองก็เลยขอนำมาให้ดูกัน
โดยฉบับนี้จะนำส่วนของประตูระบายน้ำคลองภาษีเจริญด้านแม่น้ำท่าจีนมาให้ดูก่อน
(รูปที่
๑-๕)
โดยแต่ละภาพนั้นได้ให้รายละเอียดแหล่งที่มาและคำบรรยายภาพที่เว็บที่นำภาพมานั้นให้ไว้
ส่วนรูปที่
๖ ในหน้าสุดท้ายเป็นภาพถ่ายดาวเทียมนำมาจาก
google
map
ที่ต้องนำแผนที่มาพิจารณาด้วยก็เพื่อตรวจสอบว่าคำบรรยายภาพบางภาพนั้นถูกต้องหรือไม่
โดยเทียบเคียงกับสภาพภูมิประเทศ
(เช่นทิศทางการไหลของลำน้ำ)
ในปัจจุบัน
และในที่นี้ก็พบว่ามีภาพบางภาพนั้นเป็นภาพกลับซ้าย-ขวาด้วย
อีกสิ่งหนึ่งที่พึงสังเกตได้จากภาพคือมองไม่ค่อยเห็นเงาของวัตถุต่าง
ๆ ในภาพ
และภาพที่มองจากทิศตะวันตกไปทางตะวันออกนั้นจะเห็นวัตถุที่ตั้งฉากกับพื้น
(เช่นผนังอาคารและต้นไม้ในรูปที่
๑ และ ๒)
ที่หันหน้ามาทางทิศตะวันตกว่ามีความสว่าง
ในขณะที่ภาพที่มองจากทางทิศตะวันออกไปทางตะวันตกจะเห็นภาพวัตถุที่ตั้งฉากกับพื้น
(เช่นผนังอาคารในรูปที่
๓ ในกรอบสี่เหลี่ยมสีแดง)
ที่มีแต่ความมืดและมีลักษณะที่เป็นเงา
ทำให้คาดว่าภาพเหล่านี้คงจะถ่ายในช่วงบ่ายหลังเที่ยงไม่มากนัก
Memoir
ฉบับนี้ขอลงแค่ส่วนของคลองภาษีเจริญก่อน
ส่วนภาพของคลองดำเนินสะดวกนั้นก็พบว่าคำบรรยายรูปมีปัญหาอยู่เหมือนกัน
เลยต้องขอยกยอดเป็นฉบับต่อไป
รูปที่ ๑ การทิ้งระเบิดประตูน้ำคลองภาษีเจริญ รูปนี้คาดว่าเป็นมุมมองจากทางด้านแม่น้ำท่าจีนไปทางทิศตะวันออก ดังนั้นด้านซ้ายของรูปจะเป็นทิศเหนือ และด้านขวาของรูปจะเป็นทิศใต้ ตามรูปนี้จะเห็นการระเบิดเกิดขึ้นฝั่งริมคลองทางทิศเหนือ (ในกรอบสี่เหลี่ยมสีเหลือง)
รูปที่ ๑ การทิ้งระเบิดประตูน้ำคลองภาษีเจริญ รูปนี้คาดว่าเป็นมุมมองจากทางด้านแม่น้ำท่าจีนไปทางทิศตะวันออก ดังนั้นด้านซ้ายของรูปจะเป็นทิศเหนือ และด้านขวาของรูปจะเป็นทิศใต้ ตามรูปนี้จะเห็นการระเบิดเกิดขึ้นฝั่งริมคลองทางทิศเหนือ (ในกรอบสี่เหลี่ยมสีเหลือง)
ภาพจาก
http://www.awm.gov.au/view/collection/item/P02491.108/
Bangkok,
Thailand. 18 April 1945. Aerial view of the Klong Phasi Charoen canal
locks under air attack by aircraft of No. 356 (Liberator) Squadron
RAF. This canal is part of an extensive canal system in the Bangkok
area which was being used by the Japanese as an alternative
communications route. The Klong Damneum Sadauk canal was also
attacked and the damage caused by bombing to these two canals has
reduced their efficiency by approximately 80%.
รูปที่
๒ ภาพประตูน้ำคลองภาษีเจริญด้านแม่น้ำท่าจีนหลังโดนทำลาย
มุมนี้มองเห็นลำคลองทอดยาวออกไปคือทิศทางไปยังแม่น้ำเจ้าพระยา
ประตูน้ำที่โดยระเบิดทำลายอยู่ทางด้านบนของรูป
(ในกรอบสี่เหลี่ยมสีเหลือง)
ส่วนด้านล่างของรูปเป็นเรือที่จมขวางคลองอยู่
โดยเรือนี้จะไปปรากฏอยู่ทางด้านบนของรูปที่
๓-๕
ด้วย
ทำให้ใช้เป็นจุดสังเกตได้ว่าเป็นภาพที่ถ่ายมาจากบริเวณเดียวกัน
ประตูน้ำช่วงนี้ไม่มีคลองเลี่ยงทางด้านข้างเหมือนประตูน้ำคลองภาษีเจริญด้านแม่น้ำเจ้าพระยา
(ดู
Memoir
ฉบับที่
๕๒๙)
ภาพจาก
http://www.awm.gov.au/view/collection/item/SUK14264/
โดยมีคำบรรยายรูปดังนี้
Bangkok,
Thailand. 1945-04-18. Lock gates on the western canal system of
Thailand between twenty five and fifty miles from Bangkok were
destroyed at three points in a low level daylight attack by RAF
Liberator bomber aircraft of Strategic Air Force, Eastern Air
Command. Seen from one of the RAF attacking Liberator aircraft is the
Klong Phasi Charoen. Sunken shipping and debris can be seen in the
canal, while in the background are the blasted lock gates. Several
RAAF members were in the attacking force.
รูปที่ ๓ ภาพประตูน้ำคลองภาษีเจริญหลังถูกทำลาย รูปนี้เป็นมุมมองไปยังแม่น้ำท่าจีน (ทิศตะวันตก) ดังนั้นด้านซ้ายของรูปจะเป็นทิศใต้ และด้านขวาของรูปจะเป็นทิศเหนือ กรอบสี่เหลี่ยมสีเขียวคาดว่าเป็นบริเวณที่เกิดการระเบิดที่แสดงในรูปที่ ๑ และขอให้สังเกตอาคารในกรอบสีเหลือง และทิศทางความโค้งของแม่น้ำ (ตรงลูกศรสีเหลืองชี้) ซึ่งเมื่อเทียบกับแผนที่ในรูปที่ ๖ แล้วจะเห็นว่าเป็นมุมมองที่ตรงกับสภาพของจริง
ภาพจาก
http://www.awm.gov.au/view/collection/item/P02491.109/
โดยมีคำบรรยายรูปดังนี้
Bangkok,
Thailand. 18 April 1945. Aerial view of the Klong Phasi Charoen canal
locks which were attacked by aircraft of No. 356 (Liberator) Squadron
RAF. As a result of the attack, one set of lock gates was destroyed,
another probably damaged and a number of rivercraft destroyed. The
Klong Damneum Sadauk canal, which was also attacked on the same day,
are part of a large waterways system in the Bangkok area being used
by the Japanese as an alternative communications route and the bomb
damage caused by the air attacks has reduced their efficiency by
approximately 80%.
รูปที่ ๔ ภาพประตูน้ำคลองภาษีเจริญด้านแม่น้ำท่าจีนหลังโดนทำลายด้วยการทิ้งระเบิด ภาพนี้เป็นการมองย้อนออกไปทางแม่น้ำท่าจีนที่เห็นอยู่ทางด้านบนของภาพ ถ้าพิจารณารูปนี้เทียบกับรูปที่ ๓ จะเห็นว่าแนวโค้งของแม่น้ำตรงข้ามกับอยู่ และตำแหน่งอาคารในกรอบสี่เหลี่ยมสีเหลืองก็อยู่คนละฟากกัน เมื่อเทียบกับแผนที่ปัจจุบันในรูปที่ ๖ แล้วทำให้สงสัยว่าภาพนี้เป็นภาพที่กลับด้านซ้าย-ขวา
รูปที่ ๔ ภาพประตูน้ำคลองภาษีเจริญด้านแม่น้ำท่าจีนหลังโดนทำลายด้วยการทิ้งระเบิด ภาพนี้เป็นการมองย้อนออกไปทางแม่น้ำท่าจีนที่เห็นอยู่ทางด้านบนของภาพ ถ้าพิจารณารูปนี้เทียบกับรูปที่ ๓ จะเห็นว่าแนวโค้งของแม่น้ำตรงข้ามกับอยู่ และตำแหน่งอาคารในกรอบสี่เหลี่ยมสีเหลืองก็อยู่คนละฟากกัน เมื่อเทียบกับแผนที่ปัจจุบันในรูปที่ ๖ แล้วทำให้สงสัยว่าภาพนี้เป็นภาพที่กลับด้านซ้าย-ขวา
ภาพจาก
http://www.awm.gov.au/view/collection/item/SUK14265/
โดยมีคำบรรยายรูปดังนี้
Bangkok,
Thailand. 1945-04-18. Lock gates on the western canal system of
Thailand between twenty five and fifty miles from Bangkok were
destroyed at three points in a low level daylight attack by RAF
Liberator bomber aircraft of Strategic Air Force, Eastern Air
Command. From one of the RAF attacking Liberator aircraft can be seen
the destroyed lock gates on the Klong Phasi Charoen. Sunken shipping
and debris block the entrance to the gates. Several RAAF members were
in the attacking force.
รูปที่ ๕ เป็นรูปกลับซ้าย-ขวาของรูปที่ ๔ จะเห็นว่าเมื่อกลับภาพซ้าย-ขวาแล้ว ทิศทางการไหลของแม่น้ำจะตรงกับทิศทางจริง และตำแหน่งอาคารจะเหมือนกับของภาพที่ ๓
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น