เมื่อวานมีรุ่นน้องใจดีที่เคยทำงานร่วมกัน
แต่ลาออกไปประกอบธุรกิจส่วนตัว
เปิดโอกาสให้เข้าเยี่ยมชมโรงงานของเขาพร้อมทั้งอนุญาตให้ถ่ายรูปได้โดยสะดวก
เพื่ออยากให้นำความรู้ที่ได้มาเผยแพร่แก่นิสิตที่เรียนอยู่
และคาดว่าอีกไม่นานเราก็จะเชิญเขามาบรรยายพิเศษเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานของเขา
เตรียมเคลียร์เวลาว่างและจองที่นั่งล่วงหน้าได้เลย
โดยเฉพาะคนที่อยากรู้ว่าวิศวกรเคมีมือเปื้อนที่ผ่านการทำงานมาทุกอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นการเดินสำรวจตลาด
สร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ
สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า
สร้างความเชื่อถือให้กับพนักงาน
ออกแบบอุปกรณ์โรงงาน
วางโครงการสร้างโรงงาน ฯลฯ
นั้นเขาประสบอะไรมาบ้าง
งานนี้รับรองได้ว่าสนุกแน่
ๆ
โรงงานที่เขาเปิดให้ผมเข้าไปดูนั้นเป็นโรงงานที่สร้างมาหลายปีแล้ว
ประสบกับปัญหาการดำเนินการ
ทางเขาและเพื่อนร่วมงานเพิ่งจะเข้าไปดูแลกิจการได้ประมาณ
๑ ปีเท่านั้นเอง
ดังนั้นระบบอุปกรณ์หลักต่าง
ๆ
จึงเป็นระบบที่มีอยู่เดิมตั้งแต่สร้างโรงงานและยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด
ๆ
เรื่องแรกที่ขอยกมาเล่าคือเรื่อง
"ท่อปลายตัน"
หรือ
"Dead
end pipe"
ท่อปลายตันเป็นส่วนของท่อที่ของไหล
(แก๊สหรือของเหลว)
ไม่สามารถไหลไปไหนได้
ท่อปลายตันนี้อาจเกิดขึ้นจากความจงใจในการออกแบบ
หรือเกิดขึ้นจากตำแหน่งของวาล์ว
(ปิด-เปิด)
ในระหว่างกระบวนการผลิต
รูปที่ ๑
ข้างล่างเป็นตัวอย่างหนึ่งของท่อปลายตันที่เกิดขึ้นจากความจงใจในการออกแบบคือ
pipe
manifold หรือ
pipe
header
ในโรงงานนั้นเป็นเรื่องปรกติที่จะมีระบบท่อ
(piping
system) ที่เรียกว่าเป็น
header
หรือ
manifolf
เพื่อไว้กระจายสาธารณูปโภค
(เช่น
น้ำ ไอน้ำ อากาศความดัน ฯลฯ)
ไปยังส่วนต่าง
ๆ ของโรงงาน การเดินท่อ
header
นี้จะมีการเดินท่อหลักเป็นท่อใหญ่ที่ปิดปลายข้างหนึ่งเอาไว้
(เส้นสีน้ำเงินในรูปที่
๑ (บน))
โดยการปิดปลายมักจะปิดด้วยหน้าแปลนหรือ
pipe
fitting ชนิดถอดออกได้
เพื่อไว้ทำความสะอาดหรือขยายเพิ่มเติมได้
จากนั้นก็จะต่อท่อเล็ก ๆ
ย่อยออกไปทางด้านข้าง
(เส้นสีส้มในรูปที่
๑ (บน))
เพื่อจ่ายสาธารณูปโภคไปยังบริเวณต่าง
ๆ ของโรงงานที่อยู่ใกล้เคียงกับ
header
ตัวนั้น
ระบบท่อบางระบบที่มีการเผื่อการขยายเพิ่มเติมในอนาคตก็อาจมีการเกิดส่วนที่เป็นท่อปลายตันตรงเส้นท่อด้านที่ปิดตายเอาไว้เผื่อการขยาย
อีกรูปแบบหนึ่งของการเกิดท่อปลายตันที่เกิดจากการทำงานคือการปิดวาล์ว
ตัวอย่างเช่น drain
valve ที่เป็นวาล์วสำหรับระบายของเหลว
(หรือในบางกรณีจะเป็นความดันตกค้าง)
ออกจากระบบท่อ
เป็นเรื่องปรกติที่ระบบท่อในโรงงานจะมีการติดตั้ง
drain
valve
เพราะเมื่อประกอบท่อเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ต้องมีการทดสอบความสามารถในการรับความดัน
และวิธีการทดสอบที่นิยมใช้กันคือการทำ
hydraulic
test ที่ทำโดยการเติมน้ำเข้าไปให้เต็มระบบท่อ
จากนั้นจึงอัดความดันให้สูงถึงความดันที่ต้องการทดสอบ
ถ้าท่อนั้นรับความดันดังกล่าวได้โดยไม่มีการรั่วไหลก็ถือว่าผ่านการทดสอบ
จากนั้นก็จะทำการระบายน้ำที่เติมเข้าไปในระบบท่อทิ้ง
ซึ่งก็ต้องระบายออกทาง
drain
valve ที่ติดตั้งเอาไว้เพื่อการนี้โดยเฉพาะเพียงอย่างเดียว
(คือไม่มีการใช้งานในระหว่างการทำงานตามปรกติ)
เรื่องเกี่ยวกับการติดตั้ง
drain
valve นี้เคยเล่าเอาไว้แล้วใน
Memoir
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๔๙๒ วันจันทร์ที่
๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๕ เรื่อง "Drainอยู่ล่างVentอยู่บน"
drain
valve อีกแบบหนึ่งที่มีการใช้งานบ่อยครั้งกว่าคือ
drain
valve
ที่ติดตั้งเพื่อระบายของเหลวและ/หรือความดันตกค้างออกจากระบบท่อก่อนทำการถอดอุปกรณ์
ตัวอย่างของอุปกรณ์ที่มักมีการถอดซ่อมแซม/ตรวจสอบเป็นประจำคือวาล์วควบคุมอัตราการไหลหรือที่เราเรียกว่า
control
valve รูปที่
๒ ข้างล่างเป็นตัวอย่างหนึ่งของระบบท่อของวาล์วควบคุมอัตราการไหล
โดยมีส่วนที่เป็นท่อปลายตันเกิดขึ้นจากการปิด
drain
valve
เรื่องระบบ
piping
สำหรับวาล์วควบคุมอัตราการไหลหรือ
control
valve เคยกล่าวเอาไว้ใน
Memoir
ก่อนหน้านี้สองฉบับคือ
ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖๖ วันอังคารที่
๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เรื่อง
"ฝึกงานภาคฤดูร้อน๒๕๕๓ ตอนที่ ๑๐ สรุปคำถาม"
และ
ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๖๗ วันพฤหัสบดีที่
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เรื่อง "การปิดcontrolvalve"
drain
valve
ด้านขาออกของวาล์วควบคุมการไหลนี้อาจไม่จำเป็นถ้าหากสารในระบบท่อนั้นเป็นของเหลวและไม่เป็นสารอันตราย
(เช่นน้ำ)
หรือเป็นท่อขนาดเล็ก
ทั้งนี้เพราะถ้าปริมาตรของท่อระหว่างวาล์วควบคุมการไหล
(1)
และ
block
valve (2) นั้นมีค่าน้อย
ทันทีที่คลายข้อต่อออกให้ของเหลวรั่วออกมาความดันก็จะลดต่ำลงทันทีโดยไม่มีการฉีดพ่นของเหลว
รูปที่
๒ ตัวอย่างระบบท่อรอบวาล์วควบคุมอัตราการไหล
(นำมาจาก
Memoir
ฉบับที่
๑๖๗)
ในกรณีนี้ในระหว่างการทำงานปรกติ
(5)
drain valve จะถูกปิดเอาไว้
ทำให้ตรงบริเวณนี้มีลักษณะเป็นท่อปลายตัน
ที่วันนี้ยกเอาเรื่องท่อปลายตันขึ้นมาก็เพราะถ้าหากไม่ระมัดระวัง
มันอาจเกิดปัญหาขึ้นได้
ทั้งในรูปแบบที่เกิดขึ้นทันทีทันใด
และแบบรอเวลาที่จะเกิด
ท่อปลายตันที่แนวทางตันนั้นอยู่ในแนวเดียวกับเส้นทางการไหลหลักนั้น
(เช่นในรูปที่
๑)
อาจเกิดความเสียหายจากการกระแทกของของไหล
(ปรกติก็มักเป็นของเหลว)
ที่ไหลเข้ามาอย่างรวดเร็วกระทันหันได้
เช่นในกรณีของท่อไอน้ำเมื่อเริ่มเปิดระบบไอน้ำจากระบบท่อที่เย็น
ไอน้ำที่ควบแน่นจะกลายเป็นของเหลวไหลปนไปกับไอน้ำในระบบท่อด้วยแรงดันของไอน้ำ
พอมาถึงทางแยกออกด้านข้าง
ส่วนที่เป็นไอน้ำจะไหลออกไปทางด้านข้างได้
แต่ส่วนที่เป็นของเหลวจะไม่เลี้ยวออกด้านข้างตาม
แต่จะพุ่งตรงไปข้างหน้า
พอถึงส่วนที่เป็นข้องอหรือท่อปลายตัน
ก็จะกระแทกกับกับข้อต่อท่อบริเวณนั้นอย่างแรง
เกิดเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า
"Water
hammer" หรือ
"ค้อนน้ำ"
รู้ได้จากการที่มีเสียงดังเกิดขึ้น
และถ้าการกระแทกนั้นรุนแรงหรือเกิดขึ้นเป็นประจำก็จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ระบบท่อได้
ถ้าอยากรู้ว่าค้อนน้ำเสียงมันดังอย่างไรก็ให้เอาค้อนไปทุบท่อประปาที่เป็นเหล็กดู
เสียงมันดังแบบเดียวกัน
นอกจากนี้ตรงตำแหน่งที่เป็นท่อปลายตันนั้นอาจเป็นจุดที่ทำให้เกิดการสะสมของสิ่งที่ไม่ควรจะสะสมในระบบท่อ
เพราะสิ่งที่สะสมนั้นอาจทำให้ท่อเกิดการผุกร่อนจนทะลุได้
สิ่งที่สะสมนั้นอาจเป็นของแข็งที่แก๊ส/ของเหลวในท่อพัดพามา
(เช่นท่อน้ำดิบ
อาจพัดพาตะกอนมา)
หรือเป็นของเหลวที่ปนมากับแก๊ส
(เช่นน้ำที่เกิดจากการควบแน่นของไอนน้ำ
และไหลร่วมมากับไอน้ำ)
หรือเฟสของเหลวที่ไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน
(เช่นน้ำที่ปนมากับน้ำมัน)
รูปที่
๓ ข้างล่างเป็นระบบท่อของวาล์วควบคุมการไหลของท่อไอน้ำ
ในระบบนี้เขาวางแนวการไหลผ่านวาล์วควบคุมนั้นให้เป็นเส้นตรง
ส่วนเส้นทาง by-pass
นั้นเขาวางอ้อมลงมาทางด้านล่างของวาล์วควบคุม
รูปที่
๓ ระบบท่อรอบวาล์วควบคุมการไหลของไอน้ำของโรงงานแห่งหนึ่ง
ระบบท่อนี้วางท่อ by-pass
ไว้ด้านล่าง
ทำให้ไอน้ำที่ควบแน่น (steam
condensate) สะสมในส่วนของท่อ
by-pass
ได้
และไม่มีการติดตั้ง drain
valve
สำหรับระบายของเหลวหรือแก๊สที่ติดค้างอยู่ในระบบก่อนทำการถอดวาล์วควบคุมการไหลออกด้วย
ส่วนที่เขาวางวาล์วควบคุมคว่ำหัวลงก็เพราะไม่ต้องการให้มันยื่นขึ้นไปเกะกะทางด้านบน
พึงสังเกตว่า block
valve เขาจะวางหันออกข้างเพื่อให้ยืนหมุนได้ง่าย
ส่วนวาวล์ by-pass
ที่อยู่ต่ำกว่านั้นจะวางตั้งขึ้นบนก็เพื่อให้ยืนหมุนได้ง่ายเช่นกัน
การควบแน่นของไอน้ำในระบบท่อไอน้ำเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงในการออกแบบท่อ
ดังนั้นการวางท่อไอน้ำ
(โดยเฉพาะไออิ่มตัวหรือ
saturated
steam) จึงต้องคำนึงถึงการระบายน้ำที่เกิดจากการควบแน่นของไอน้ำ
(ชื่อเต็มก็คือ
steam
condensate แต่ถ้าคุยกันเรื่องไอน้ำอยู่เขามักเรียกว่า
condensate
เฉย
ๆ)
ออกจากระบบท่อไอน้ำด้วยการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า
"Steam
trap" ตัว
steam
trap
นี้จะระบายน้ำที่เกิดจากการควบแน่นของไอน้ำออกมาโดยปิดกั้นไม่ให้ไอน้ำรั่วไหลออกมา
ดังนั้นอย่าแปลกใจถ้าพบว่าการวางท่อไอน้ำในแนวราบนั้นจะวางให้ท่อมีการลาดเอียงเพื่อให้น้ำที่เกิดจากการควบแน่นนั้นไหลลงตามแรงโน้มถ่วงไปยังท่อ
drain
ที่มี
steam
trap ติดตั้งอยู่
น้ำที่เกิดจากไอน้ำที่ควบแน่นในระบบท่อไอน้ำ
ถ้าหากไปสะสมอยู่ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของท่อเป็นเวลานาน
และถ้าน้ำที่ใช้ในการผลิตไอน้ำนั้นมีแร่ธาตุปะปนอยู่และแร่ธาตุเหล่านี้หลุดติดมากับไอน้ำ
(มากับหยดของเหลวที่ถูกพัดพามากับไอน้ำที่เดือดขึ้นมาจากน้ำ)
ปะปนมาด้วย
มีโอกาสที่แร่ธาตุที่ปะปนมานั้นเกิดการสะสมจนมีความเข้มข้นสูงขึ้นจนอาจกัดท่อให้ทะลุได้
รูปที่ ๔ ระบบท่อของวาล์วควบคุมการไหลอีกตัวหนึ่งที่วางท่อ by-pass ไว้ทางด้านบน การวางรูปแบบนี้ช่วยลดโอกาสที่จะเกิดการสะสมของสิ่งปนเปื้อนในส่วนท่อ by-pass แต่ระบบนี้ก็ไม่มีการติดตั้ง drain valve ทางด้านขาออกของวาล์วควบคุม ทั้ง block valve และวาล์ว by-pass ของระบบนี้เป็นวาล์วปีกผีเสื้อ (butterfly valve) ทั้งหมด
สนิมเหล็กก็เป็นสิ่งหนึ่งที่อาจสะสมได้ตรงบริเวณท่อปลายตัน
ท่อเหล็กกล้านั้นมักจะมีสนิม
(เหล็กออกไซด์)
อยู่บนผิวเหล็กทั้งทางด้านนอกและด้านใน
การกำจัดสนิมออกจากผิวด้านในของท่อทำได้ด้วยการผ่านไอน้ำเข้าไปในท่อดังกล่าว
ความร้อนของไอน้ำจะทำให้ทั้งท่อเหล็กและสนิมเกิดการขยายตัว
แต่เนื่องจากตัวท่อเหล็กและสนิมขยายตัวด้วยอัตราที่แตกต่างกันจึงทำให้สนิมเหล็กนั้นหลุดร่อนออกจากผิวด้านในของท่อ
สนิมเหล็กที่หลุดร่อนออกมานี้ต้องถูกชะล้างออกจากระบบท่อก่อนที่จะผ่านสารอื่น
(ที่ท่อนั้นต้องทำหน้าที่ลำเลียงสารนั้น)
เข้าไปในท่อดังกล่าว
และถ้าระบบท่อนั้นมีส่วนที่เป็นท่อปลายตัน
สนิมเหล็กที่หลุดออกมาก็จะไปสะสมอยู่
ณ บริเวณดังกล่าวได้
จากประสบการณ์ของตนเองที่ผ่านมาพบว่าคนที่ทำงานไม่เป็นหรือไม่เคยสัมผัสกับการทำงานจริง
แต่เก่งในการนำเสนอผลงานที่อาจไม่มีอะไรเลยหรือนำเอาผลงานของคนอื่นมาแสดง
โดยสามารถทำให้เจ้านายชื่นชมได้ก็มีโอกาสเลื่อนตำแหน่งในหน้าที่การงานได้
แต่นั่นหมายความว่าต้องเจอกับเจ้านายที่ชอบลูกน้องแบบ
"ขุนพลพลอยพยัก"
(ซึ่งหาไม่ยากซะด้วย)
แต่ก็ยังไม่พบว่าบุคคลที่มีพฤติกรรมการทำงานดังกล่าวจะเป็นที่ชื่นชอบของผู้ใต้บังคับบัญชาหรือเพื่อนร่วมงานเท่าใดนัก
งานวิศวกรเป็นงานที่ต้องพบปะกับบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงกว่า
(ผู้บังคับบัญชา)
และที่ต่ำกว่า
(ผู้ใต้บังคับบัญชา)
สิ่งที่เห็นว่ามีปัญหาเป็นประจำคือทำอย่างไรจึงจะได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากผู้ใต้บังคับบัญชา
ที่อาจมีทั้งอายุที่มากกว่าและประสบการณ์การทำงานที่นานกว่า
และมีพื้นเพทางสังคมที่แตกต่างกัน
การทำตัวอย่างไรให้ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากผู้ใต้บังคับบัญชานั้นผมไม่เคยเห็นว่ามันมีสูตรสำเร็จ
แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ต้องมีก่อนก็คือความเข้าใจในเรื่องความเชื่อของผู้ใต้บังคับบัญชา
บางรายนั้นจะใช้วิธีการที่ค่อยเป็นค่อยไป
ใช้การเรียนรู้ การฝึกอบรม
และการแสดงให้เห็น
เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชานั้นเปลี่ยนความเชื่อด้วยตัวเขาเองโดยไม่ให้เขารู้สึกว่าที่ผ่านมานั้นเขาเชื่อในสิ่งที่ผิด
แต่สำหรับบางเรื่องที่แม้ว่าผู้บังคับบัญชาจะไม่เชื่อถือ
แต่ถ้าเห็นว่าความเชื่อดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การทำงาน
แต่สามารถส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ใต้บังคับบัญชาได้
การให้การสนับสนุน
(จะโดยตรงหรือโดยอ้อม)
หรือเพียงแค่ไม่เข้าไปกีดขวางหรือให้ความคุ้มครอง
ก็สามารถทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความรู้สึกในทางบวกต่อผู้บังคับบัญชาได้
รูปที่ ๕ เทอร์โมคับเปิลที่วัดอุณหภูมิยอดหอกลั่น อุณหภูมิยอดหอกลั่นนี้เป็นตัวกำหนดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่กลั่นได้
แล้ว
๓ ย่อหน้าข้างบนมันเกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องท่อปลายตันเหรอ
คำตอบคือไม่เกี่ยวข้องอะไรเลย
เพียงแต่ระหว่างเดินเยี่ยมชมหอกลั่น
ก็ไปพบสิ่งหนึ่งเข้า
สิ่งนี้คืออะไรก็แสดงไว้ในรูปที่
๕ ข้างบนแล้ว :)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น