ในยุคของการล่าอาณานิคมนั้น ทำเลที่ตั้งของประเทศไทยจัดได้ว่าขวางการเดินทางทางบกของอาณานิคมของชาติมหาอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางจากพม่าเข้าสู่จีน (ตัดเข้าไทยก่อนแล้วออกทางลาว จากนั้นจึงค่อยเข้าจีนตอนใต้ จะง่ายกว่าผ่านทางเหนือของพม่าเข้าจีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ที่ต้องผ่านภูมิประเทศที่เป็นภูเขาที่สูงมากกว่า) หรือระหว่างมลายูกับพม่า หรือระหว่างพม่ากับอินโดจีนฝรั่งเศส และนี่เป็นปัจจัยหนึ่งในยุคนั้นที่กดดันให้ไทยต้องมีเส้นทางรถไฟ ซึ่งข้อสรุปสุดท้ายที่ได้ก็คือทางไทยจะเป็นคนลงทุนสร้างและควบคุมทางรถไฟดังกล่าวด้วยตนเอง
รูปที่
๑ หัวรถจักรที่จอดอยู่ที่ริมคลองละอุ่น
อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง
ณ สถานที่ที่เคยเป็นจุดถ่ายสิ่งของลงเรือ
ก่อนนำส่งต่อไปให้กับกองทัพญี่ปุ่นในพม่า
ยังมีเส้นทางเส้นสั้น
ๆ อยู่เส้นหนึ่ง
ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นโครงการรถไฟโครงการแรกที่มีการขอก่อสร้างในประเทศไทย
นั่นคือเส้นทางรถไฟข้ามคอคอดกระระหว่างระนองกับชุมพร
ซึ่งจะช่วยย่นระยะการเดินทางทางเรือที่ต้องอ้อมผ่านแหลมมลายู
ในหนังสือของ Ichiro
Kakizaki
กล่าวว่าแผนการสร้างทางรถไฟเชื่อมสองฝั่งของคอคอดกระนี้มีการนำเสนอต่อรัชกาลที่
๔ โดยชาวอังกฤษผู้หนึ่งในปีค.ศ.
๑๘๕๙
(พ.ศ.
๒๔๐๒)
แต่ท้ายสุดเส้นทางนี้ก็ไม่ได้รับการก่อสร้างแต่อย่างใด
จวบจนกระทั่งช่วงกลางของสงครามโลกครั้งที่สอง
ที่กองทัพญี่ปุ่นตัดสินใจสร้างเส้นทางดังกล่าว
เพื่อเป็นทางเลือกในการขนส่งเสบียงและยุทธภัณฑ์ไปให้กับกองทัพในพม่า
นอกเหนือจากเส้นทางรถไฟที่เชื่อมต่อระหว่างไทยกับพม่าผ่านทางจังหวัดกาญจนบุรี
รูปที่
๒ ป้ายบอกข้อมูลการก่อสร้างและแนวทางรถไฟ
รูปที่
๓ บทความของ David
Baggott กล่าวว่าหัวรถจักรที่ตั้งอยู่ที่ริมคลองละอุ่น
(รูปที่
๑)
นั้น
ไม่ใช่หัวรถจักรที่ใช้ในเส้นทางดังกล่าวในเวลานั้น
แต่เป็นหัวรถจักรรุ่นเดียวกัน
หัวรถจักรที่ตั้งอยู่ปัจจุบันนั้นได้รับมาเมื่อปีค.ศ.
๑๙๔๗
(พ.ศ.
๒๔๙๐)
หรือหลังสงครามสงบไปแล้ว
๒ ปี (บทความนี้ตีพิมพ์ใน
Journal
of Kyoto Seika Universiyt No. 27)
เส้นทางสายนี้ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากนักประวัติศาสตร์เท่าใดนัก
อาจเป็นเพราะว่าไม่ได้ใช้แรงงานเชลยศึกในการสร้าง
แต่ใช้กรรมกร (ที่มีทั้งว่าจ้างและเกณฑ์)
ในการก่อสร้าง
เส้นทางรถไฟเส้นนี้เริ่มสร้างในเดือนมิถุนายน
พ.ศ.
๒๔๘๖
(ค.ศ.
๑๙๔๓)
และเสร็จเมื่อวันที่
๒๕ ธันวาคม ในปีเดียวกัน
หรือเสร็จหลังจากเส้นทางรถไฟสายมรณะที่ผ่านทางกาญจนบุรีเพียง
๒ เดือน เส้นทางรถไฟชุมพร-ระนองนี้มีความยาวทั้งสิ้น
๙๑ กิโลเมตร
สาเหตุที่ทำให้สร้างเส้นทางนี้ได้เร็วอาจเป็นเพราะสร้างขนานไปกับแนวถนนที่เชื่อมระหว่างจังหวัดชุมพรกับจังหวัดระนองที่มีอยู่แล้วในขณะนั้น
(ถนนเพชรเกษมในปัจจุบัน)
ไม่เหมือนเส้นทางกาญจนบุรีที่เป็นเส้นทางบุกเบิกใหม่ผ่านป่าเขา
สัมภาระต่าง
ๆ ที่กองทัพญี่ปุ่นขนมาทางเรือนั้น
จะนำมาขึ้นบกที่ท่าเรือชุมพร
จากนั้นจึงถ่ายสู่รถไฟเพื่อลำเลียงไปยังละอุ่น
ก่อนถ่ายลงเรืออีกครั้ง
เพื่อลำเลียงส่งต่อไปยังกองทัพในพม่า
เส้นทางสายนี้ก็เป็นเป้าหมายหนึ่งของการโจมตีทางอากาศจากสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
เรื่องนี้เคยเล่าเอาไว้ใน
Memoir
ปีที่
๖ ฉบับที่ ๗๘๕ วันเสาร์ที่
๑๒ เมษายน พ.ศ.
๒๕๕๗
เรื่อง "การทิ้งระเบิดเส้นทางรถไฟไปจังหวัดระนอง(ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำตอนที่ ๖๒)"
รูปที่
๔ (บน)
ภาพด้านหน้าของหัวรถจักร
รูปที่
๕ ภาพมองจากด้านหลัง
ละอุ่นเป็นอำเภอเล็ก
ๆ ของจังหวัดระนอง ถ้าขับรถมาจากชุมพร
ก่อนถึงตัวเมืองระนองประมาณ
๒๐ กิโลเมตร พอข้ามคลองละอุ่น
จะมีทางแยกซ้ายมือคือถนนสาย
๔๐๙๑ เข้าไปอีกประมาณ ๑๐
กิโลเมตรก็จะถึงตัวอำเภอ
ทางเข้าจุดที่เคยเป็นปลายทางรถไฟนั้นจะอยู่ทางซ้ายมือ
ก่อนข้ามสะพานข้ามคลอง
เลี้ยวเข้าไปไม่ไกลก็จะไปพบกับหัวรถจักรจอดนิ่งอยู่หัวหนึ่ง
ในเดือนพฤษภาคมที่ผมไปนั้น
มีหลังคาคลุมแล้ว (รูปที่
๑)
แต่ก่อนหน้านี้ก็จอดตากแดดตากฝนไปวัน
ๆ (รูปที่
๓)
รูปที่
๖ ภาพจากด้านหลังอีกฟากหนึ่งของหัวรถจักร
รูปที่
๘ ภาพจากบทความของ David
Baggott กล่าวว่าเป็นภาพวาดการลำเลียงสิ่งของจากรถไฟลงเรือ
ณ บริเวณท่าเทียบเรือในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ในภาพนี้แนวเส้นทางรถไฟอยู่ทางด้านขวาของรูป
ที่เห็นเป็นเนินเขาด้านบนคือเขาฝาชี
รูปที่
๙ คลองละอุ่น
น่าจะเป็นบริเวณเดียวกับภาพวาดในรูปที่
๘ สะพานที่เห็นอยู่ไกล ๆ
คือสะพานข้ามคลองของถนนเพชรเกษม
ซึ่งในขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการขยายถนนและก่อสร้างสะพานใหม่
รูปที่
๑๐ ฝั่งตรงข้ามกับสถานีรถไฟ
ที่ตั้งอำเภอละอุ่นอยู่ทางฟากนั้น
ในช่วงท้ายสงคราม
ในขณะที่กองทัพญี่ปุ่นกำลังถอยร่นอยู่ในพม่านั้น
กองทัพญี่ปุ่นเกรงว่าอังกฤษอาจใช้เส้นทางรถไฟดังกล่าวในการลำเลียงพลข้ามคอคอดกระมายังฟากอ่าวไทยได้
ซึ่งจะเป็นการตัดการเชื่อมต่อระหว่างกองทัพญี่ปุ่นในประเทศไทยและในมลายู
ประกอบกับเส้นทางดังกล่าวได้รับความเสียหายจากการโจมตีทางอากาศ
จึงได้เริ่มดำเนินการรื้อถอนเส้นทางดังกล่าว
แต่สงครามก็ยุติก่อนการรื้อถอนจะสิ้นสุด
อายุการใช้งานของเส้นทางรถไฟสายนี้จึงมีเพียงแค่
๑ ปีกับอีก ๖ เดือนเท่านั้นเอง
หัวรถจักรที่จอดอยู่
ณ ปัจจุบันนี้ถูกยกมาตั้งเมื่อใดก็ไม่รู้เหมือนกัน
แต่ไม่น่าจะแล่นมาเองจากชุมพร
เพราะในเวลาที่ได้หัวรถจักรนี้มานั้น
เส้นทางดังกล่าวได้ถูกรื้อทิ้งไปแล้ว
(รูปที่
๓)
สภาพหัวรถจักรนั้นก็ชำรุดทรุดโทรมเหมือนกับไม่เคยได้รับการดูแล
ถ้าดูเทียบรูปที่ ๓
ที่ไม่รู้เหมือนกันว่าถ่ายมาเมื่อใด
ยังมีคำว่า ร.ฟ.ท.
ปรากฏให้เห็นอยู่
แต่ตอนนี้มันหายไปแล้ว
เหลือแต่ตัวเลข 962
ที่ยังปรากฏให้เห็น
สภาพภายในก็พุพังไปตามกาลเวลา
ท้ายสุดนี้ก็ต้องขอแสดงความยินดีกับมหาบัณฑิตทั้ง
๔ คนที่เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในช่วงบ่ายวันนี้
และ Memoir
ฉบับนี้ก็จะเป็นฉบับสุดท้ายที่จัดส่งให้ทางอีเมล์กับทั้ง
๔ คน ก็ขอให้ทุกคนประสบแต่ความสุขในชีวิต
ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน
และเป็นที่รักของคนทั่วไป
ก็แล้วกัน
เอกสารประกอบการเขียน
๑.
Ichiro Kakizaki, "Rails of the Kingdom : The History of Thai
Railways", White Lotus, 2012.
๒.
พวงทิพย์
เกียรติสหกุล,
"ทางรถไฟสายใต้ในเงาอาทิตย์อุทัย",
หนังสือในโครงการตำราและหนังสือคณะอักษรศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร,
พิมพ์ครั้งที่
๑ ปีพ.ศ.
๒๕๕๔.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น