จะว่าไปแล้ว
Memoir
ฉบับนี้เป็นตอนต่อเนื่องของฉบับที่
๗๘๓ วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ เมษายน
๒๕๕๗ เรื่อง
"การทิ้งระเบิดเส้นทางรถไฟที่จังหวัดชุมพร(ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำตอนที่๖๑)"
โดยเป็นภาพที่นำมาจากเอกสารที่มีการตีพิมพ์ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่
๒
รูปที่ ๑ การทิ้งระเบิดสถานีรถไฟบริเวณบ้านนาเนียนในวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ คำบรรยายรูปเป็นของรูปนี้และรูปที่ ๒ ที่อยู่ในหน้าถัดไป
รูปที่
๑-๙
นำมาจากเอกสาร 10th
Air Force Report, Eastern Air Command number 31 ฉบับวันที่
30
March 1945 ส่วนรูปที่ ๑๐ นำมาจากเอกสาร 10th
Air Force Report, Eastern Air Command number 40 ฉบับวันที่
1
June 1945
รูปที่
๒ คำบรรยายรูปนี้อยู่ในรูปที่
๑ หลุมกลม ๆ ที่เห็นคือหลุมระเบิดก่อนหน้า
จะเห็นว่ารูปนี้และรูปที่
๙ ใน Memoir
ฉบับก่อนหน้า
(วันพฤหัสบดีที่
๑๐ เมษายน ๒๕๔๗)
นั้นเป็นรูปเดียวกัน
แต่มันกลับหัวอยู่
ผมถึงได้กล่าวไว้ใน Memoir
ฉบับก่อนหน้านี้ว่าให้ระวังในการนำคำบรรยายรูปมาใช้
เส้นทางรถไฟสายคอคอดกระ
(ชุมพร-ระนอง)
นี้
ถ้าสนใจสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ในหนังสือ
"ทางรถไฟสายใต้ในเงาอาทิตย์อุทัย
-
The southern railways in the shadow of the rising sun" เขียนโดย
ดร.
พวงทิพย์
เกียรติสหกุล
เป็นหนังสือในโครงการตำราและหนังสือ
คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ที่ผมมีอยู่เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่
๑ พ.ศ.
๒๕๕๔
หนังสือเล่มนี้จะมีข้อมูลเอกสารทางราชการของฝ่ายไทย
ข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจในรูปชุดนี้คือมีการระบุว่ามีการนำเอาระเบิดนำวิถี
(ชนิดบังคับวิทยุ)
ที่เรียกว่า
Azon
bomb มาใช้ในการทำลายสะพานด้วย
(รูปที่
๘)
อันที่จริง
Memoir
ฉบับนี้เขียนเอาไว้ตั้งแต่เมื่อวานแล้ว
แต่บังเอิญมีข่าวคุณหลามเข้ามาขอแทรก
ดูเหมือนจะได้รับการตอบรับอย่างดีด้วย
เพราะเพียงแค่ไม่ถึง ๒๔
ชั่วโมงก็ติดอันดับ ๑ ใน ๑๐
ของบทความที่ได้รับความนิยมในรอบสัปดาห์เลย
ก็เลยยกยอดบันทึกนี้มาวันนี้แทน
ก่อนที่คนเขียนจะหายหน้าไปเที่ยวสงกรานต์
ก็ขอในเล่นน้ำกันให้สนุกในวันสงกรานต์กันทุกคนก็แล้วกัน
รูปที่
๓ รูปนี้บอกว่าเป็นเครื่องบินของฝูงบินไหน
เสียดายที่ไม่ได้บอกว่าในรูปนั้นเป็นการโจมตีที่ใด
แต่ดูจากสภาพเส้นทาง
(ตรงกลุ่มหมอกควันที่อยู่ท้ายเครื่องบิน)
ทำให้คาดว่าน่าจะเป็นบริเวณบ้านนาเนียนอยู่
"Liberator"
ในที่นี้คือเครื่องบินทิ้งระเบิด
B-24
(เครื่องบินรบของสหรัฐนอกจากจะมีชื่อเป็นรหัสแล้ว
ยังมีชื่อเรียกขานอีก)
รูปที่
๔ การทิ้งระเบิดคลังสินค้าบริเวณบ้านนาเนียน
ซึ่งเป็นจุดกองสัมภาระก่อนการนำขึ้นรถไฟเพื่อการลำเลียงไปยังจังหวัดระนอง
คำบรรยายที่เห็นเป็นคำบรรยายของรูปที่
๔ และรูปที่ ๕ ในหน้าถัดไป
รูปที่
๖ การทิ้งระเบิดสะพานรถไฟทางด้านใต้ของชุมพร
(ดูแผนที่ในรูปที่
๙)
รูปที่
๗ การทิ้งระเบิดสะพานรถไฟที่บ้านท่าข้าม
แต่บ้านเรามีบ้าน "ท่าข้าม"
อยู่หลายที่
ก็เลยไม่รู้เหมือนกันว่าบ้านท่าข้ามในที่นี้เป็นที่จังหวัดไหน
แต่ตรงนี้คิดว่าเป็นที่สุราษฏร์ธานี
(ดู
Memoir
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๐๒ วันศุกร์ที่
๗ กันยายน ๒๕๕๕ เรื่อง
"ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำตอนที่ ๒๔ การทิ้งระเบิดสะพานข้ามแม่น้ำทางรถไฟสายใต้"
รูปที่
๘ การทิ้งระเบิดทำลายถนนและสะพานรถไฟ
ณ บ้านลำเลียง จังหวัดระนอง
ที่น่าสนใจคือมีการระบุว่าใช้
"Azon
bomb" (ตรงที่ขีดเส้นใต้สีแดง)
ในการทำลายสะพาน
Wikipedia
ให้รายละเอียดของ
Azon
bomb ว่าเป็นระเบิดชนิดมีครีบหาง
บังคับทิศทางได้ด้วยวิทยุ
หรือก็คือระเบิดนำวิถีนั่นเอง
และฝูงบินที่ ๔๙๓ เป็นผู้นำมาใช้
(ดูรายละเอียดเกี่ยวกับ
Azon
bomb เพิ่มเติมได้ที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Azon)
รูปที่ ๙ ข้อความบรรยายปฏิบัติการการทิ้งระเบิดในประเทศไทย
รูปที่ ๙ ข้อความบรรยายปฏิบัติการการทิ้งระเบิดในประเทศไทย
รูปที่
๑๐ แผนที่นำมาจากเอกสาร
10th
Air Force Report, Eastern Air Command number 40 ฉบับวันที่
1
June 1945 ฉบับเต็มเคยนำมาลงไว้ใน
Memoir
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๐๒ วันศุกร์ที่
๗ กันยายน ๒๕๕๕ เรื่อง
"ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำ
ตอนที่ ๒๔ การทิ้งระเบิดสะพานข้ามแม่น้ำทางรถไฟสายใต้"
สะพานที่บ้านท่าข้ามคือสะพานที่แผนที่ระบุว่า
SURASDNANI
T.F. 27/5/45
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น