เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาผมได้กล่าวถึงหนังสือ
"ประวัติเจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์
พระยาภิรมย์ภักดี และประวัติโรงเบียร์
โชคชาตาในชีวิตที่พอใจ"
ที่จัดพิมพ์ในปีพ.ศ.
๒๕๐๖
โดยในหนังสือเล่มนี้ ม.ล.
ยิ่งศักดิ์
อิศรเสนา ซึ่งเป็นบุตรชายของเจ้าพระยาวงพงษ์พิพัฒน์
เป็นผู้เขียนประวัติของเจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์
และได้มีการบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างทางรถไฟจากบริเวณวัดบวรมงคล
ผ่าน อ.บางกรวย
ไปท่าน้ำเมืองนนท์ ตรงไป
อ.บางบัวทอง
และเลยออกไปยังเขตจังหวัดปทุมธานี
ที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า
"รถไฟสายบางบัวทอง"
เนื้อหาในหนังสือนี้
(ฉบับพิมพ์ปีพ.ศ.
๒๕๐๖)
มีปรากฏอีกครั้งในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพท่านผู้หญิงเยี่ยม
จรัญสนิทวงศ์ (ม.ล.
เยี่ยม
สนิทวงศ์)
ที่จัดพิมพ์ในปีพ.ศ.
๒๕๔๑
ซึ่งเมื่อตรวจสอบดูแล้วพบว่ามีเนื้อหาเดียวกัน
เว้นแต่การสะกดชื่อตรงคำว่า
"พงษ์"
(ดู
Memoir
ปีที่
๗ ฉบับที่ ๙๓๒ วันอังคารที่
๒๗ มกราคม ๒๕๕๘ เรื่อง
"รถไฟสายบางบัวทองกับถนนจรัญสนิทวงศ์(ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำตอนที่ ๘๔)")
โดยในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพท่านผู้หญิงเยี่ยม
จรัญสนิทวงศ์ (ม.ล.
เยี่ยม
สนิทวงศ์)
นั้นระบุว่าประวัติของเจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์ที่นำมาตีพิมพ์ใหม่นี้นำมาจากหนังสือที่พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ
เจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์
(ม.ร.ว.
เย็น
อิศรเสนา)
ณ
วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่
๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๔๘๔
ประวัติรถไฟสายบางบัวทองที่เห็นมีปรากฏในอินเทอร์เน็ตนั้นมักจะเป็นในรูปแบบประวัติที่เป็นทางการ
ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเขียนตามหลักฐานราชการที่มี
หรือไม่ก็ไม่สามารถสืบต่อไปได้ว่าต้นเรื่องที่นำมาเล่านั้นมาจากไหน
(มีแต่เรื่องเล่า
แต่ไม่มีการอ้างอิงที่มาข้อมูล)
แต่สิ่งที่ปรากฏในหนังสือที่
ม.ล.
ยิ่งศักดิ์
เป็นผู้เขียนนั้นผมเห็นว่าน่าสนใจ
และก็อ่านสนุกด้วย
เพราะเป็นการเขียนแบบเล่าบรรยายให้บรรยากาศรู้สึกเหมือนกับได้นั่งฟังผู้เขียนเล่าให้ฟัง
เรื่องราวของรถไฟสายบางบัวทองที่เขียนโดยผู้เขียนที่เป็นผู้ที่ได้สัมผัสโดยตรงกับทั้งเจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์และทางรถไฟสายบางบัวทองนั้นเป็นอย่างไร
ก็ขอเชิญอ่านได้จากรูปต่าง
ๆ ที่สแกนมาให้ดูกัน
(คัดมาเฉพาะหน้าที่เกี่ยวข้องกับรถไฟสายบางบัวทอง)
หนังสือนี้ยังบันทึกไว้ว่าเจ้าพระยาวรพงษ์ก็เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟสายสั้น
ๆ ที่เริ่มจากสถานีเพชรบุรีไปยังหาดเจ้าสำราญในสมัยรัชกาลที่
๖ ด้วย (หน้า
๘๙)
ท้ายสุดคงต้องขอบันทึกไว้ว่า ในหนังสือประวัติของเจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์นั้นระบุไว้ว่า ท่านถึงแก่กรรมในวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เวลา ๒๑.๕๓ น. ตรง (หน้า ๑๒๐ ในหนังสือ) ซึ่งตรงนี้ไม่ตรงกับที่มักมีการอ้างอิงกันในอินเทอร์เน็ตว่าเป็นวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เช่นที่ http://th.wikipedia.org/wiki/เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์_(หม่อมราชวงศ์เย็น_อิศรเสนา))
ท้ายสุดคงต้องขอบันทึกไว้ว่า ในหนังสือประวัติของเจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์นั้นระบุไว้ว่า ท่านถึงแก่กรรมในวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เวลา ๒๑.๕๓ น. ตรง (หน้า ๑๒๐ ในหนังสือ) ซึ่งตรงนี้ไม่ตรงกับที่มักมีการอ้างอิงกันในอินเทอร์เน็ตว่าเป็นวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เช่นที่ http://th.wikipedia.org/wiki/เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์_(หม่อมราชวงศ์เย็น_อิศรเสนา))
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น