ใน
Memoir
ฉบับที่แล้ว
(ตอนที่
๒)
ได้นำเรื่องการฉีกขาดของถังเก็บน้ำมันเตาที่เกิดขึ้นที่ตะเข็บรอยเชื่อมที่ก้นถังขึ้นมาพิจารณา
โดยได้ตั้งข้อสมมุติก่อนว่าถ้าเรามีข้อมูลเพียงแค่นั้น
(ในขณะเกิดเหตุ
ถังใบนั้นบรรจุอะไร
และหลังเกิดเหตุแล้ว
ถังใบนั้นเกิดความเสียหายอย่างไร)
เราสามารถที่จะตั้งสมมุติฐานใดขึ้นมาได้บ้างเพื่อทำการสอบสวนหาสาเหตุที่แท้จริง
มาฉบับนี้จะมาลองพิจารณาเรื่องการระเบิดที่เกิดขึ้นภายในถังดูบ้าง
สำหรับสารเคมีที่ไม่สามารถหรือยากที่จะสลายตัวได้ด้วยตนเองนั้น
การที่มันจะเกิดการระเบิดขึ้นมาได้จะประกอบด้วยองค์ประกอบ
๓ ส่วนด้วยกันคือ เชื้อเพลิง
สารออกซิไดซ์
(ที่พบมากที่สุดคือออกซิเจนในอากาศ)
และแหล่งพลังงาน
(ซึ่งอาจเป็น
แรงกระแทก เปลวไฟ ประกายไฟ
หรือพลังงานความร้อน)
เชื้อเพลิงเหลว
(หรือสารเคมีที่เป็นของเหลวใด
ๆ ที่ติดไฟได้)
ที่มีจุดวาบไฟ
(flash
point) สูงกว่าอุณหภูมิห้อง
จะสามารถใช้ถังเก็บแบบ cone
roof เก็บของเหลวดังกล่าวที่ความดันบรรยากาศได้
(ไม่จำเป็นต้องใช้ถังเก็บแบบ
floating
roof)
แต่ทั้งนี้จะต้องมีการป้องกันไม่ให้ถังเกิดความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงความดันภายในถัง
ที่อาจเพิ่มสูงเกินไป
(เมื่อระดับของเหลวในถังเพิ่มสูงขึ้นหรืออุณหภูมิของเหลวในถังเพิ่มสูงขึ้น)
หรือลดต่ำลงเกินไป
(เมื่อระดับของเหลวในถังลดลงหรืออุณหภูมิของเหลวในถังลดต่ำลง)
วิธีการปรกติที่ใช้กันทั่วไปคือการมีท่อระบายอากาศ
(ที่เรียกว่า
vent)
หรือทำการติดตั้ง
breather
valve (วาล์วหายใจ)
แต่ไม่ว่าจะเลือกใช้ท่อ
vent
หรือ
breather
valve ถ้าถังนั้นบรรจุของเหลวที่ติดไฟได้
อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ควรต้องมีการติดตั้งอยู่ระหว่างตัวถังเก็บกับท่อ
vent
หรือ
breather
valve ก็คือ
"flame
arrester" (ถ้าไม่รู้ว่า
breather
valve หรือ
flame
arrester หน้าตาเป็นอย่างไร
ย้อนกลับไปดูได้ที่ Memoir
ปีที่
๗ ฉบับที่ ๙๑๒ วันอาทิตย์ที่
๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ เรื่อง
"Breather
valve กับ
Flame
arrester")
รูปที่
๑ ข้อมูลการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุข้อที่
3.
- 5.
สำหรับของเหลวที่มีความดันไอไม่สูง
(พวกมีจุดเดือดสูง)
ก็มักจะเลือกใช้ท่อ
vent
ในการรักษาความดันภายในถัง
เพราะมันไม่มีอะไรมากไปกว่าการเอาท่อที่มีขนาดพอเหมาะมาติดตั้งให้โค้งงออยู่บนฝาถัง
แต่สำหรับของเหลวที่มีความดันไอสูง
(พวกมีจุดหลอมเหลวต่ำ
เช่นเอทานอล)
การติดตั้ง
breather
valve จะเหมาะสมกว่า
เพราะมันช่วยลดการรั่วไหลของไอของเหลวจากภายในถังออกสูงภายนอกถัง
และยังช่วยลดการรั่วไหลของอากาศจากภายนอกถังเข้าไปภายในถัง
(breather
valve
จะเปิดให้ไอไหลผ่านก็ต่อเมื่อความดันภายในถังมีการเปลี่ยนแปลงสูงถึงระดับหนึ่ง
ไม่เหมือนกับท่อ vent
ที่ปล่อยให้มีการไหลผ่านเข้าออกอย่างอิสระทันทีที่ความดันภายในถังและภายนอกถังแตกต่างกัน
น้ำมันเตา
(fuel
oil) กับน้ำมันดิบ
(crude
oil)
ประเภทที่มีน้ำมันหนักมากนั้นจะมีลักษณะหนึ่งที่เหมือนกันก็คือมีความหนืดสูงที่อุณหภูมิห้อง
ทำให้ยากต่อการใช้ปั๊มสูบจ่ายจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง
เพื่อที่จะทำให้ปั๊มทำการสูบจ่ายได้ง่ายขึ้นก็ต้องหาทางลดความหนืดของน้ำมันลง
วิธีการที่ใช้กันทั่วไปก็ทำโดยการให้ความร้อนแก่น้ำมันให้สูงพอ
(ของเหลวเมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้นจะมีความหนืดลดลง)
โดยให้ความร้อนแก่น้ำมันที่อยู่ในถังบรรจุ
(เพื่อให้ปั๊มสามารถสูบได้)
และระบบท่อลำเลียง
(ป้องกันไม่ให้น้ำมันแข็งตัวอุดตันระบบท่อ)
ส่วนจะให้ความร้อนด้วยวิธีใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงงานว่ามีระบบสาธารณูปโภคอะไรอยู่
(เช่นอาจเป็น
ไอน้ำ น้ำมันส่งผ่านความร้อน
ไฟฟ้า เป็นต้น)
แต่สิ่งหนึ่งที่น้ำมันดิบแตกต่างไปจากน้ำมันเตาก็คือ
น้ำมันดิบนั้นยังอาจมีไฮโดรคาร์บอนที่ระเหยง่ายละลายปนอยู่
ในขณะที่ไฮโดรคาร์บอนส่วนนี้จะหายไปหรือลดน้อยลงไปมากในน้ำมันเตา
(เพราะมันถูกกลั่นแยกออกไปแล้ว)
ดังนั้นน้ำมันดิบจึงสามารถที่จะมีความดันไอที่สูงกว่าและจุดวาบไฟที่ต่ำกว่าของน้ำมันเตาได้
ดังนั้นอย่าแปลกใจถ้าจะเห็นว่าเขาเก็บน้ำมันดิบในถังแบบ
floating
roof แต่ไม่ยักเก็บน้ำมันเตาในถังแบบ
floating
roof ด้วย
แต่ก่อนอื่นเราลองมาทบทวนศัพท์เทคนิคบางคำกันก่อน
Flash
Point (จุดวาบไฟ)
คืออุณหภูมิต่ำสุดของน้ำมันที่ทำให้เกิดไอน้ำมันเป็นปริมาณมากพอ
และเมื่อสัมผัสเปลวไฟก็จะทำให้ลุกไหม้ทันที
อุณหภูมิของจุดวาบไฟจะขึ้นอยู่กับวิธีการวัด
เช่นข้อกำหนดอุณหภูมิจุดวาบไฟของน้ำมันเตาตามมาตรฐานของกรมธุรกิจพลังงานปี
๒๕๔๗ (ฉบับที่
๒)
กำหนดไว้ที่
"ไม่ต่ำกว่า"
60ºC (กล่าวคือสูงกว่านี้ได้)
เมื่อวัดตามมาตรฐาน
ASTM
D93
Pour
Point (จุดไหลเท)
คืออุณหภูมิต่ำสุดที่น้ำมันยังเป็นของเหลวพอที่จะไหลได้
กล่าวคือถ้าเราเอาน้ำมันใส่หลอดแก้ว
แล้วแช่ให้เย็นลงเรื่อย ๆ
และคอยเอียงหลอดจากแนวตั้งให้ลงมาอยู่ในแนวนอน
ถ้าพบว่าน้ำมันไหลเอียงตามหลอดได้ก็ให้ลดอุณหภูมิลงอีกจนกระทั่งถึงอุณหภูมิที่น้ำมันไม่ไหลเมื่อถือหลอดในแนวนอนนานเป็นเวลา
5
วินาที
จุดไหลเทหรือจุดเริ่มไหล
จะเป็นอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมินี้
3ºC
ข้อกำหนดอุณหภูมิจุดไหลเทของน้ำมันเตานี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมัน
โดยชนิดที่ ๑ กำหนดไว้
"ไม่สูงกว่า"
24ºC (ต่ำกว่านี้ได้)
ไปจนถึงชนิดที่
๕ ที่กำหนดไว้ "ไม่สูงกว่า"
57ºC
อุณหภูมิจุดไหลเทนี้สำคัญในการลำเลียงน้ำมันทางท่อ
ที่อุณหภูมิสูงขึ้น
น้ำมันจะมีความหนืดต่ำลง
ความต้านทานการไหลก็จะต่ำ
การส่งไปตามท่อจะทำได้ง่ายขึ้น
ปั๊มจะกินพลังงานต่ำ
แต่จะต้องไปเพิ่มพลังงานในการทำให้น้ำม้นร้อนมากขึ้น
ในทางกลับกันถ้าเราไปลดความร้อนที่จ่ายให้กับน้ำมัน
ก็จะทำให้น้ำมันมีความหนืดสูง
ความต้านทานการไหลก็จะสูง
ปั๊มจะกินพลังงานมากขึ้นในการสูบจ่าย
ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงต้องมีจุดที่สมดุลระหว่างพลังงานที่ต้องจ่ายเพื่อให้น้ำม้นร้อนกับพลังงานที่ต้องจ่ายให้กับปั๊มในการสูบจ่ายน้ำมัน
รูปที่
๑ ข้างบนเป็นข้อมูลการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ
ข้อที่ 3.
- 5. โดยข้อที่
3.
บรรยายถึงวิธีการให้ความร้อนและอุณหภูมิของน้ำมันที่อยู่ในถังเก็บ
ส่วนรูปที่ ๒ ข้างล่างเป็นข้อสังเกตข้อที่
1.
- 3. ที่ปรากฏอยู่ในเอกสารกรณีศึกษาฯ
ข้อสังเกตข้อที่ 1.
เป็นเรื่องการฉีกขาดของถังที่ได้กล่าวไปใน
Memoir
ฉบับที่แล้ว
(ตอนที่
๒)
และรูปที่
๓ เป็นรายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตา
(ฉบับที่
๒)
พ.ศ.
๒๕๔๗
ลองอ่านเองดูก่อนก็แล้วกันนะครับ
รูปที่
๒ ข้อสังเกตุข้อที่ 1.
- 3. ของเหตุการณ์ที่เกิด
เรื่องเกี่ยวการลดการระเหยของของเหลว
การเก็บของเหลวในถังเก็บความดันบรรยากาศ
และการเก็บของเหลวที่มีอุณหภูมิจุดวาบไฟต่ำหรือสูงกว่าอุณหภูมิห้องนั้นเคยเล่าไว้ก่อนหน้านี้แล้วใน
Memoir
บางฉบับดังนี้
ปีที่
๓ ฉบับที่ ๓๐๑ วันศุกร์ที่
๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เรื่อง
"การควบคุมความดันในถังความดันบรรยากาศ(Atmospherictank)"
ปีที่
๔ ฉบับที่ ๔๖๓ วันอังคารที่
๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๕ เรื่อง
"การลดการระเหยของของเหลว"
ปีที่
๗ ฉบับที่ ๙๑๒ วันพุธที่ ๓๑
ธันวาคม ๒๕๕๗ เรื่อง "Breathervalve กับFlamearrester"
ที่นี้เราลองมาดูโครงสร้างของถังตามที่ปรากฏในรายงานดูบ้าง
จะเห็นว่ามันมีช่องทางให้อากาศเข้าไปผสมกับไอน้ำมันในถังอยู่ที่เห็นได้ชัดก็
๓ ช่องทางด้วยกันคือ
ช่องทางที่
๑ ท่อ overflow
ที่อยู่ทางด้านข้างลำตัวบริเวณด้านบน
ท่อนี้มีไว้ในกรณีที่สูบน้ำมันเข้าถังจนเต็ม
เพราะถ้าไม่ยอมให้น้ำมันไหลล้นออกมา
ความดันในถังก็จะสูงจนทำให้ถังเกิดความเสียหายได้
แต่ท่อนี้ก็เป็นช่องเปิดที่ยอมให้อากาศไหลเข้าเมื่อระดับน้ำมันในถังสูงขึ้น
และให้ไอน้ำมันไหลออกเมื่อระดับน้ำมันในถังเพิ่มขึ้น
ช่องทางที่
๒ ท่อ vent
ที่อยู่บนส่วนบนสุดของหลังคาถัง
(แบบ
cone
roof)
หน้าที่หลักของท่อนี้คือยอมให้อากาศไหลเข้าเมื่อระดับน้ำมันในถังสูงขึ้น
และให้ไอน้ำมันไหลออกเมื่อระดับน้ำมันในถังเพิ่มขึ้น
ช่องทางที่
๓
รูสำหรับให้ลวดสลิงของลูกลอยที่ว้ดระดับน้ำมันในถังนั้นลอดผ่านหลังคาถัง
ในรายงานไม่ได้มีการกล่าวถึงการมีอยู่ของอุปกรณ์ใด
ๆ ที่สามารถทำหน้าที่ป้องกันและ/หรือจำกัด
การรั่วไหลเข้า/ออก
ของอากาศ/ไอน้ำมันในถัง
(เช่นพวก
floating
roof, breather valve, flame arrester และ
check
valve เป็นต้น)
ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงว่าเหนือผิวของเหลวในถังนั้นมีอากาศผสมรวมอยู่กับไอน้ำมันที่ระเหยขึ้นมา
ตามความรู้ที่มีนั้นลักษณะของถังน้ำมันที่ปรากฏในรายงานนั้นเหมือนกับว่ามันออกแบบมาเพื่อการกักเก็บของเหลวที่ไม่ติดไฟ
(มันไม่มีการติดตั้ง
flame
arrester)
หรือของเหลวที่ติดไฟได้แต่อุณหภูมิของเหลวในถังเก็บนั้นต่ำกว่าอุณหภูมิจุดวาบไฟของของเหลวนั้น
(เช่นถังเก็บน้ำมันดีเซลที่อุณหภูมิห้อง
น้ำมันดีเซลมาตรฐานบ้านเราปี
๒๕๕๖ กำหนดอุณหภูมิจุดไหลเทที่ไม่เกินกว่า
10ºC
และจุดวาบไฟที่ไม่ต่ำกว่า
52ºC)
รูปที่
๓ รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันเตา
(ฉบับที่
๒)
พ.ศ.
๒๕๔๗
จะเห็นว่าตรงรายการที่ ๔
จุดวาบไฟนั้น ข้อกำหนดใช้คำว่า
"ไม่ต่ำกว่า"
การระเบิดที่เกิดขึ้นภายในถังนั้นแสดงว่าต้องมีเชื้อเพลิงกับอากาศผสมกันในสัดส่วนที่พอเหมาะ
และก็รอเวลาที่จะมีแหล่งพลังงานสักแหล่งมาจุดระเบิดให้กับส่วนผสมนี้
ดังนั้นเราจะมาลองพิจารณากันก่อนว่าการเกิดส่วนผสมที่พอเหมาะระหว่างเชื้อเพลิงกับอากาศในถังนั้นเกิดได้หรือไม่
และเกิดจากสาเหตุใด
แม้ว่าถังเก็บของเหลวที่ความดันบรรยากาศจะมีช่องทางเชื่อมต่อกับอากาศภายนอกเพื่อรักษาความดันภายในถัง
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอากาศจากภายนอกจะไหลเข้าไปในถังได้ง่ายเสมอไป
เพราะมันขึ้นอยู่กับ
"ความดันไอ"
ของของเหลวในถังด้วย
ถังบรรจุของเหลวที่มีความดันไอสูงที่อุณหภูมิห้อง
มีแนวโน้มที่ไอของเหลวจะระเหยออกจากถังมากกว่าที่อากาศจากภายนอกจะไหลเข้าถัง
(โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นถังที่วางกลางแจ้ง
ได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง)
และแม้ว่าจะมีการสูบของเหลวออกจากถังก็ตาม
แต่ความดันไอที่สูงนั้นก็จะช่วยไม่ให้ความดันเหนือผิวของเหลวในถังลดต่ำลงจนกระทั่งอากาศจากภายนอกไหลเข้ามาในถังได้ง่าย
เว้นแต่จะมีเหตุการณ์ที่ทำให้ความดันไอในถังลดลง
เช่นอุณหภูมิของเหลวในถังลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อถังที่ตากแดดร้อนจัดเจอกับฝนตกหนักต่อเนื่อง
หรือการเติมของเหลวที่มีความดันไอต่ำกว่าผสมเข้าไปในถังนั้น
(เช่นการเติมน้ำมันดีเซลเข้าไปในถังที่เคยบรรจุน้ำมันเบนซิน
ไอน้ำมันเบนซินจะละลายเข้ามาในน้ำมันดีเซล
ทำให้ความดันไอของน้ำมันภายในถังลดลง)
ดังนั้นในกรณีของถังที่บรรจุของเหลวความดันไอสูง
จะมีโอกาสสูงกว่าที่ปริมาณอากาศในถังนั้นจะน้อยเกินกว่าที่จะทำให้เกิดส่วนผสมที่ระเบิดได้
ในทางกลับกัน
ถังบรรจุของเหลวที่มึความดันไอต่ำ
มีแนวโน้มที่อากาศจะไหลเข้าสู่ภายในถังได้ง่ายเมื่อความดันภายในถังลดลง
(ไม่ว่าจะเป็นจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิหรือการลดระดับของของเหลวภายในถัง)
ถังน้ำมันเตาที่น้ำมันในถังมีอุณหภูมิไม่สูงจะอยู่ในกรณีนี้
ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่าในถังน้ำมันที่เกิดการระเบิดนั้นสามารถมีอากาศอยู่ได้
แต่สิ่งหนึ่งที่อยากจะนำมาพิจารณากันก็คือทำไปความดันไอของน้ำมันในถังจึงสูงมากพอจนทำให้ไอผสมระหว่างน้ำมันกับอากาศนั้นอยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะที่สามารถระเบิดได้
ข้อมูลการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุนั้นกล่าวว่ามีการอุ่นน้ำมันในถังให้ร้อนที่อุณหภูมิ
70-80ºC
ซึ่งตรงนี้ก็ควรต้องนำมาพิจารณาว่าอุณหภูมิดังกล่าวสูงกว่าอุณหภูมิจุดวาบไฟหรือไม่
และของเหลวที่อยู่ทางด้านบนของถังมีอุณหภูมิเดียวกันด้วยหรือเปล่า
เพราะในถังนั้นมันไม่มีระบบการผสมน้ำมันให้เป็นเนื้อเดียวกัน
และก็ไม่มีรายละเอียดด้วยว่าการวางท่อให้ความร้อนแก่น้ำมันนั้นวางได้กระจายตลอดทั่วพื้นที่หน้าตัดของถังหรือไม่
หรืออยู่เฉพาะบริเวณท่อต่อออกจากถังเข้าปั๊ม
อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นประเด็นน่าคิดก็คือถ้าหากน้ำมันภายในถังทั้งถังนั้นร้อนจนมีอุณหภูมิ
70-80ºC
อุณหภูมิของฝาถังจะมีค่าเท่าใด
และปลอดภัยพอที่จะให้คนงานขึ้นไปทำงานบนฝาถังหรือไม่
ตรงจุดนี้ผมคิดว่าอุณหภูมิของฝาถังคงจะไม่สูงมาก
ถ้าจะร้อนก็คงร้อนเพราะตากแดด
ไม่ใช่ร้อนจากน้ำมันที่อยู่ในถัง
เพราะน้ำมันในถังอาจจะมีไม่มากเท่าไร
(ในเอกสารกรณีศึกษาฯ
ไมได้กล่าวถึงปริมาณน้ำมันในถังก่อนเกิดเหตุ
แต่กล่าวว่าในขณะก่อนเกิดเหตุนั้นมีรถบรรทุกน้ำมันมารอเติมน้ำมันให้กับถังอยู่)
ตรงนี้ถ้าเรามาพิจารณาสภาพของน้ำมันในถังเก็บก่อนการระเบิด
โดยส่วนตัวเห็นว่ามีข้อสังเกตดังนี้
๑.
ข้อมูลแจ้งว่าน้ำมันในถังมีอุณหภูมิประมาณ
60-80ºC
๒.
ข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของน้ำมันเตากำหนดไว้ว่าอุณหภูมิจุดวาบไฟต้อง
"ไม่ต่ำกว่า"
60ºC (รูปที่
๓)
๓.
จากข้อ
๑.
และ
๒.
สามารถคิดได้ว่าน้ำมันเตาที่อยู่ในถังก่อนการระเบิดนั้น
"ไม่จำเป็น"
ต้องเป็นน้ำมันเตาที่มีอุณหภูมิจุดวาบไฟอยู่ในช่วง
70-80ºC
ก็ได้
ทางที่ดีควรมีการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังด้วยว่า
น้ำมันเตาที่นำมาบรรจุในถังใบนั้นมีการตรวจสอบคุณสมบัติจุดวาบไฟหรือไม่
(ไม่ว่าจะโดยผู้ซื้อหรือผู้ขาย)
และอุณหภูมิจุดวาบไฟที่แท้จรีงของน้ำมันที่เกิดเหตุระเบิดนั้นเป็นเท่าใด
เอกสารกรณีศึกษาฯ
ไม่ได้มีการกล่าวถึงว่าได้มีการตรวจสอบว่าอุณหภูมิจุดวาบไฟของน้ำมันที่อยู่ในถังที่เกิดการระเบิดนั้นมีค่าเท่าใด
แต่กล่าวว่าอุณหภูมิจุดวาบไฟ
(flash
point) ของน้ำมันนั้น
"เท่ากับ"
60ºC
ซึ่งตรงนี้ทำให้เกิดประเด็นคำถามได้ว่าคำว่า
"เท่ากับ"
ที่ปรากฏในรายงานนั้นเป็นค่าที่ได้มาจากการวัดจริง
หรือเป็นการแปลข้อความที่เขียนไว้ในข้อกำหนดไม่ถูกต้อง เพราะตัวเลข
"60ºC"
นี้มันไปเท่ากับตัวเลขในข้อกำหนดที่ใช้คำว่าต้อง
"ไม่ต่ำกว่า"
60ºC ซึ่งหมายถึงอุณหภูมิใด
ๆ ก็ได้ที่สูงกว่า 60ºC
ซึ่งสามารถสูงกว่าอุณหภูมิที่ใช้ในการกักเก็บก็ได้
แต่ถึงแม้ตัวเลขจะไม่ตรงกัน
และแม้ว่าจะไม่ระบุไว้ว่ามีการทำการวัดจริง
ผู้อ่านที่ทำการตรวจสอบข้อมูลเทียบกับข้อกำหนดก็จะแปลผลไปในทางที่ว่าตัวเลขดังกล่าวมาจากการวัดจริงได้
มาถึงประเด็นนี้ก็อาจมีข้อโต้แย้งว่า
"การระเบิดมันเกิดขึ้นในถัง
ก็แสดงว่าอุณหภูมิของน้ำมันในถังต้องสูงกว่าอุณหภูมิจุดวาบไฟ"
แต่ผมคิดว่าถ้าเรามองใหม่ว่า
"การระเบิดเกิดขึ้นในถัง
แสดงว่าส่วนผสมของน้ำมันกับอากาศในถังนั้นอยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะ"
เราก็อาจมองเห็นประเด็นอื่น
ๆ ที่เป็นไปได้และ/หรือควรตรวจสอบเพิ่มเติม
เช่น
(ก)
น้ำมันในถังในขณะที่เกิดการระเบิดนั้นมีอุณหภูมิจุดวาบไฟที่
"สูงกว่า"
60ºC แต่
"ต่ำกว่า"
80ºC
ทำให้มีไอน้ำมันระเหยออกมาในปริมาณมากพอที่จะผสมกับอากาศกลายเป็นส่วนผสมที่สามารถระเบิดได้
(ข)
น้ำมันในถังในขณะที่เกิดการระเบิดนั้นมีอุณหภูมิจุดวาบไฟที่
"สูงกว่า"
อุณหภูมิที่ใช้การกักเก็บ
(มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนด)
แต่ว่าก่อนหน้านั้นเคยมีการบรรจุน้ำมัน
(หรือมีสารเคมีอื่นใด)
ที่มีจุดวาบไฟต่ำเข้าไปในถังนั้น
ทำให้มีไอน้ำมัน
(จากน้ำมันหรือสารเคมีอื่นที่มีจุดวาบไฟต่ำ)
หลงเหลืออยู่เหนือผิวน้ำมันในถังมากผิดปรกติ
ผมเห็นว่าประเด็นเรื่องอุณหภูมิจุดวาบไฟของของเหลวที่เก็บอยู่ในถังเก็บความดันบรรยากาศ (atmospheric
tank)
กับอุณหภูมิของเหลวที่อยู่ในถังเก็บความดันบรรยากาศนั้นเป็นประเด็นหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณา
เพราะมันจะช่วยให้ปัดข้อโต้แย้งใด
ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
อีกจุดหนึ่งที่ผมสงสัยว่าทำไมจึงมีปรากฎในรายงานกรณีศึกษาฯ
ก็คือข้อสังเกตข้อ 3.
ที่ใช้คำว่า
"ถังน้ำมันเตาถังนี้
"หากมี"
การเปิดฝาช่องคนลง
(Manhole)"
การเขียนเช่นนี้แสดงว่าผู้เขียนไม่สามารถยืนยันได้ว่า
"มี"
การเปิดช่องคนลงจริง
แต่กำลังมองหาว่าทำอย่างไรจึงจะหาคำอธิบายได้ว่าเปลวไฟที่เกิดขึ้นภายนอกถังนั้นเข้าไปจุดระเบิดไอน้ำมันในถังได้อย่างไร
ซึ่งอันที่จริงมันไม่จำเป็นที่ต้องดึงเอาฝาช่องคนลงมาเกี่ยวข้องด้วยเลย
เพราะถ้าไอน้ำมันที่อยู่เหนือผิวของเหลวในถังนั้นมีส่วนผสมที่พอเหมาะอยู่แล้ว
อุณหภูมิภายในถังก็สูงพอที่จะทำให้ไอผสมในถังไหลออกตามรูต่าง
ๆ ได้แล้ว ซึ่งรวมทั้งรูร้อยลวดสลิงของลูกลอยด้วย
ประกายไฟที่เกิดจากการเชื่อมโลหะตรงบริเวณรูให้ลวดสลิงร้อยผ่านก็สามารถจุดไอระเหยที่ออกมาจากถัง
และทำให้เกิดเปลวไฟวิ่งย้อนกลับเข้าไปจุดไอผสมที่อยู่เหนือผิวของเหลวในถังได้
แต่ทั้งนี้ต้องมีหลักฐานแสดงว่า
ทันทีที่ลงมือเชื่อมโลหะ
ก็เกิดการระเบิดขึ้นทันที
แต่ถ้ามีการเชื่อมโลหะไปสักพักนึง
แล้วจึงค่อยเกิดการระเบิด
นั่นก็เป็นเรื่องที่ต้องนำมาพิจารณากันใหม่
เพราะในการเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้านั้นจะมีขั้วไฟฟ้าสองขั้ว
ขั้วหนึ่งอยู่ที่ช่างเชื่อมคือต่อเข้ากับลวดเชื่อม
และอีกขั้วหนึ่งต่อเข้ากับชิ้นงานที่จะทำการเชื่อม
และจุดหลังนี้ก็เป็นจุดที่อาจเกิดประกายไฟฟ้าได้เช่นกันถ้าหากต่อเอาไว้ไม่แน่นหนา
แต่ก็ไม่มีการกล่าวถึงว่าจุดหลังนี้ต่อเข้ากับถังน้ำมันตรงไหน
-
เรื่องการตรวจวัดแก๊ส
portable
gas detector
ที่ใช้สำหรับตรวจวัดแก๊สติดไฟได้นั้นเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่มีประจำอยู่ในโรงกลั่นน้ำมันและโรงปิโตรเคมีต่าง
ๆ ที่กระบวนการผลิตเต็มไปด้วยสารที่ติดไฟได้
และผู้ปฏิบัติงานในโรงงานดังกล่าวมักจะได้รับการฝึกอบรมให้ทำการตรวจวัดการรั่วไหลของแก๊สติดไฟได้ก่อนที่จะลงมือทำการซ่อมบำรุงใด
ๆ
ในกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นโรงงานปูนซิเมนต์
ซึ่งกระบวนการผลิตนั้นเกี่ยวข้องกับสารที่ไม่ติดไฟและไม่เกิดการระเบิด
สิ่งเดียวที่ติดไฟได้เห็นจะเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้ในการเผาปูน
ตรงนี้ทำให้เกิดประเด็นคำถามได้ว่า
การที่ไม่มีการตรวจวัดไอระเหยของน้ำมันก่อนการซ่อมบำรุงนั้นเป็นเพราะเหตุใด
เช่น
(ก)
ทางโรงงานไม่เคยคิดว่าต้องทำ
ไม่มีการจัดหาอุปกรณ์ตรวจวัด
เพราะไม่ได้มองว่าถังเก็บเชื้อเพลิงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิต
(ข)
ทางโรงงานคิดว่าต้องทำ
มีการจัดหาอุปกรณ์ตรวจวัด
แต่ทางผู้ปฏิบัติงานกลับไม่ทราบว่าต้องทำ
(เช่นมีการอบรมแต่ไม่ได้เข้ารับการอบรม
หรือไม่เคยมีการจัดการอบรม)
(ค)
ทางโรงงานคิดว่าต้องทำ
มีการจัดหาอุปกรณ์ตรวจวัด
มีการจัดการอบรม
แต่ผู้ปฏิบัติงานกลับคิดว่าคงไม่เป็นไร
ถ้าเป็นข้อ
(ค)
ปัญหาก็จะอยู่ที่ผู้ปฏิบัติงาน
แต่ถ้าเป็นข้อ (ก)
และ
(ข)
ปัญหาก็จะไปอยู่ที่การจัดการของโรงงาน
ในการเข้าไปทำการซ่อมบำรุงใด
ๆ
ทางฝ่ายผลิตของโรงงานจะต้องเป็นผู้ทำการเคลียร์พื้นที่และอุปกรณ์ต่าง
ๆ ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย
เช่นการป้องกันบริเวณที่ไม่เกี่ยวข้องไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการซ่อมบำรุง
เช่นการสร้างรั้วป้องกัน
การทำให้บริเวณที่จะทำการซ่อมบำรุงนั้นปราศจากสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือทำให้หลงเหลือน้อยที่สุด
และจะต้องมั่นใจว่าฝ่ายซ่อมบำรุง
(ซึ่งอาจเป็นบุคคลภายนอก)
ที่เข้ามาทำงานนั้นรู้ถึงอันตรายของสารเคมีที่อาจมีตกค้างอยู่ในอุปกรณ์ที่จะเข้ามาซ่อมบำรุงด้วย
(ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเป็นพิษหรือความไวไฟ)
และการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความร้อนที่เรียกว่า
hot
work (โดยเฉพาะการเชื่อม)
กับระบบที่มีสารไวไฟ
จำเป็นต้องได้รับการใส่ใจเป็นพิเศษ
ในต่างประเทศมีการรายงานถึงการระเบิดจากการซ่อมถังน้ำมันเตาที่แม้ว่าจะมีการระบายน้ำมันออกจากถังและล้างทำความสะอาดถังไปแล้ว
และแม้จะมีการใช้ gas
detector ตรวจสอบการมีอยู่ของไอน้ำมันก่อนลงมือซ่อมแล้วก็ตาม
แต่ก็ตรวจไม่พบ
เพราะน้ำมันเตาระเหยได้น้อย
แต่พอชิ้นงานโลหะได้รับความร้อนจากการเชื่อม
ไอน้ำมันจึงระเหยออกมามากขึ้นจนเกิดการระเบิดหลังจากทำการเชื่อมไปได้พักนึง
วัตถุประสงค์ของการเขียนเรื่องนี้ก็เพื่อใช้เป็นตัวอย่างการพิจารณาหาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ
ซึ่งควรที่จะเริ่มจากการพิจารณาสิ่งที่เกิดโดยวางความคิดให้เป็นกลางก่อน
(กล่าวคืออย่างเพิ่งโอนเอียงว่ามันเกิดจากอะไร)
จากนั้นจึงค่อยตั้งสมมุติฐานว่าเพื่อจะให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น
มันอาจมีเหตุการณ์อะไรเกิดก่อนหน้าได้บ้าง
ที่สามารถนำไปสู่เหตุการณ์สุดท้ายเดียวกัน
จากนั้นจึงค่อยนำหลักฐานต่าง
ๆ
ที่มีอยู่มาพิจารณาตัดสมมุติฐานที่ไม่สอดรับกับหลักฐานที่มีอยู่ออกไป
นอกจากนี้ยังมีเรื่องหนึ่งที่ปรากฏในข่าว
แต่ไม่ทราบว่ามีการตรวจสอบในระหว่างการสอบสวนหรือไม่ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุหรือไม่
คือรายงานที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์มติชน
(รูปที่
๓ ในตอนที่ ๑)
ที่พนักงานขับรถขนส่งน้ำมันกล่าวถึงวาล์วถังน้ำมันเตาที่เสีย
และได้ยินเสียงฟู่จากวาล์วดังกล่าวก่อนที่จะเกิดการระเบิด
เรื่องนี้คงจบลงที่ตอนที่
๓ นี้ (เว้นแต่นึกออกว่าจะเขียนอะไรเพิ่มเติมอีก)
จากนั้นจะหายหน้าหายตาไปสักอาทิตย์
ก่อนจะกลับมาเขียนใหม่ปลายสัปดาห์หน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น