เดือนหน้าก็จะครบรอบ
๗ ปีของเหตุการณ์ที่เกิด
เหตุการณ์อะไรหรือครับ
เชิญย้อนไปอ่านได้ที่ Memoir
ปีที่
๑ ฉบับที่ ๑๕ วันเสาร์ที่ ๒๕
ตุลาคม ๒๕๕๑ เรื่อง "Pyrophoric substance" ที่ได้รายงานเหตุการณ์เอาไว้เกือบทั้งหมด
แต่ไม่มีรูปสถานที่เกิดเหตุจริงประกอบ
มาคราวนี้จึงขอนำเอาภาพความเสียหายมาให้ดูกัน
ภาพที่ได้นำมาลงในที่นี้ผมไม่ได้เป็นคนถ่ายเอง
(อันที่ผมถ่ายไว้อยู่ไหนก็ไม่รู้
มันเป็นกล้องฟิล์ม)
แต่นิสิตปริญญาเอก
(ในขณะนั้น)
ที่อยู่ให้ห้องปฏิบัติการใกล้เคียงที่เข้าไปช่วยระงับเหตุนั้นถ่ายรูปเอาไว้หลังเหตุการณ์สงบใหม่
ๆ และได้สำเนารูปภาพดังกล่าวมาให้ผม
(นิสิตผู้นี้ตอนนี้เขาเป็นอาจารย์สอนสาขาวิศวกรรมเคมีที่สถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งในใจกลางกรุงเทพมหานคร)
เรื่องมันเริ่มจากการที่นิสิตนำเอากระดาษทิชชูที่ใช้ในการทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้งานกับสาร
pyrophoric
ชนิดหนึ่งออกจาก
glove
box สาร
pyrophoric
ตัวนี้ถ้าโดนน้ำหรือออกซิเจนจะเกิดปฏิกิริยารุนแรงลุกติดไฟได้เอง
ดังนั้นขั้นตอนปฏิบัติตามปรกตินั้นเวลาจะเอาสิ่งของใด
ๆ ที่สัมผัสกับสาร pyrophoric
ฃนิดนั้นจะต้องทำการทำลายสารดังกล่าวให้หมดสิ้นก่อน
ด้วยการทำปฏิกิริยากับเมทานอล
"ในบรรยากาศของแก๊สเฉื่อย"
แต่สิ่งที่เกิดคือการทำลายสารดังกล่าวไม่สมบูรณ์
(อาจเป็นเพราะเป็นสารที่นิสิตไม่มีประสบการณ์การใช้งานมาก่อน
รับมาจากอาจารย์ที่ปรึกษาโดยไม่มีข้อมูลเตือนใด
ๆ รู้แต่ว่าให้ทำเหมือนกับตัวที่เคยใช้อยู่
ก็เลยทำให้ไม่รู้ว่าปริมาณเมทานอลที่ต้องใช้ในการทำลายนั้นต้องใช้มากเท่าใด)
ดังพอนำเอากระดาษทิชชูดังกล่าวออกจาก
glove
box
สารที่ตกค้างอยู่จึงทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศแล้วเกิดไฟลุกไหม้
พอเห็นเหตุการณ์ดังกล่าวนิสิตจึงทำการฉีด
"เมทานอล"
เข้าไปยังกระดาษทิชชูดังกล่าวเพื่อหวังที่จะ
"ทำลาย"
สาร
pyrophoric
ที่ตกค้างอยู่บนกระดาษทิชชูและกำลังทำปฏิกิริยาลุกไหม้กับออกซิเจนในอากาศ
แต่คงลืมไปว่าวิธีการดังกล่าวใช้ได้ก็ต่อเมื่อมันอยู่
"ในบรรยากาศของแก๊สเฉื่อย"
ไม่ใช่อยู่
"ในอากาศ"
ผลก็คือมันก็เลยเกิดความเสียหายตามที่เห็นในภาพ
ผมเองก็ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับแลปนี้
เพียงแต่มีนิสิตที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับแลปนี้
แต่ต้องเข้าไปช่วยดับเพลิงให้กับนิสิตของแลปนี้
ที่กำลังจะทำให้เพลิงมันแรงกว่าเดิมมากกว่าที่จะดับ
เขาโทรตามผมให้ไปช่วยหน่อย
ส่วนเหตุการณ์อื่นเป็นยังไงบ้างนั้นก็ขอให้ย้อนไปอ่าน
memoir
ที่เขียนเอาไว้เมื่อ
๗ ปีที่แล้วก็แล้วกัน
เหตุการณ์ครั้งนั้นอาจารย์ที่ปรึกษานิสิตเขียนรายงานส่งผู้บังคับบัญชาระดับสูงขึ้นไปว่านิสิตมีการปฏิบัติในสิ่งที่อาจารย์ไม่ได้บอกให้ทำ
ซึ่งถ้าอ่านเผิน ๆ
จะเข้าใจได้ว่านิสิตทำในสิ่งที่อาจารย์ไม่ได้บอก
ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นเพราะในความเป็นจริงนั้นอาจารย์
"ไม่ได้บอกนิสิตเลย"
ว่าในการนำสารนี้มาใช้งานควรปฏิบัติอย่างไร
บอกแต่เพียงว่าทำเหมือนกับสารอื่นที่เคยทำมา
นอกเหนือจากนี้นิสิตต้องไปหาวิธีปฏิบัติเอาเอง
รูปที่
๑-๔
เป็นรูปที่ถ่ายในวันศุกร์ที่เกิดเหตุ
ส่วนรูปที่ ๕
เป็นรูปที่ถ่ายในวันจันทร์เมื่อมีช่างมาทำการตรวจสอบความเสียหาย
รูปที่
๑ สภาพที่เกิดเหตุ
ถ่ายหลังเหตุการณ์สงบชั่วคราว
ที่อยู่ข้างใต้คือปั๊มสุญญากาศ
เหนือขึ้นมาคือส่วนติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
และที่เห็นมีด้ามจับสีแดงข้างขวาคือประตูสำหรับนำของเข้า-ออกตัว
glove
box ตัวที่อยู่ทางมุมล่างขวาของภาพคือเครื่อง
voltage
stabilizer
รูปที่
๒ (บนและล่าง)
ความเสียหายจากเพลิงไหม้ของแผงควบคุม
รูปที่
๓
ปั๊มสุญญากาศที่ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้ที่เกิดจากเมทานอล
และมีการใช้เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งฉีด
รูปที่
๔ (บน)
ด้านบนที่เป็นที่ตั้งจอมอนิเตอร์ได้รับความเสียหายจากความร้อน
(ล่าง)
ประตูของช่องสำหรับนำของเข้า-ออกตัว
glove
box
รูปที่
๕ (บนและล่าง)
ถ่ายเมื่อวันจันทร์ที่
๒๒ กันยายน ๒๕๕๑
ช่างและนิสิตป.เอกช่วยกันเปิดฝาแผงควบคุมออกมาเพื่อตรวจสอบความเสียหายข้างใน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น