บันทึกช่วยจำของกลุ่มวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะออกไซด์ บันทึกความจำของวิศวกรเคมีผู้ลงมือปฏิบัติ (mo.memoir@gmail.com)
วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552
Pyrophoric substance MO Memoir : วันเสาร์ที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๑
สาร pyrophoric เป็นสารที่สามารถลุกติดไฟได้ทันทีที่สัมผัสกับอากาศ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นพวกที่มีอุณหภูมิจุดระเบิดได้ด้วยตัวเอง (autoignition temperature) ต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง นอกจากนี้สารพวกนี้ยังมักว่องไวต่อน้ำและโมเลกุลที่มีขั้ว (เช่น เมทานอล เอทานอล อะซีโทน ไดเอทิลอีเทอร์ เป็นต้น) ส่วนความว่องไวนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของสาร การเก็บรักษาหรือการทำงานใด ๆ กับสาร pyrophoric ต้องทำในบรรยากาศของแก๊สเฉื่อย ที่ใช้กันมากที่สุดคืออาร์กอน (สารบางชนิดอาจใช้แก๊สไนโตรเจนแทนได้ แต่เพื่อความปลอดภัยแล้วการใช้แก๊สอาร์กอนจะเหมาะสมมากกว่าเพราะแก๊สอาร์กอนมีความเฉื่อยมากกว่า) สาร pyrophoric บางชนิดอาจอยู่ในอากาศได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ (เช่น LiAlH4 NaH เป็นต้น) แต่ในการเก็บรักษาต้องไล่อากาศออกจากภาชนะบรรจุให้หมดด้วยการใช้แก๊สเฉื่อยเป่าไล่
ตัวอย่างของสาร pyrophoric ได้แก่
- โลหะที่เป็นผงอนุภาคเล็ก ๆ ต่าง ๆ เช่น Mg Al Ca Zr Ti ฯลฯ
- Grignard reagent (R-MgX) ที่มักปรากฏในตำราอินทรีย์เคมีที่ใช้เป็นสารมัธยันต์ในการเตรียมสารประกอบต่าง ๆ
- ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นโลหะ และตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นโลหะบนตัวรองรับต่าง ๆ (supported metal catalyst)
- ฟอสฟอรัส
- โลหะอัลคาไลน์ (เช่น Li Na K)
- สารประกอบโลหะอินทรีย์ (metalorganic compound) โดยเฉพาะพวก alkylated และ alkoxide
- ฯลฯ
สาร pyrophoric ที่มีการใช้งานกันมากในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้แก่สารประกอบตระกูลอัลคิลอะลูมิเนียมต่าง ๆ เช่น triethyl aluminium (Al(C2H5)3) trimethy aluminium (Al(CH3)3) tributyl aluminium (Al(C4H9)3) dimethyl aluminium chloride (Al(CH3)2Cl) ฯลฯ ซึ่งใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาร่วม (co-catalyst) ในการสังเคราะห์ polyolefin ต่าง ๆ (เช่น HDPE LLDPE PP PB เป็นต้น) ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาในตระกูล Ziegler-Natta สำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมนั้นสารเหล่านี้จะถูกส่งมาในรูปของสารบริสุทธิ์ที่เป็นของเหลวบรรจุมาในภาชนะโลหะในบรรยากาศไนโตรเจน การถ่ายสารพวกนี้จะใช้แรงดันของแก๊สไนโตรเจน (จะหลีกเลี่ยงการใช้ปั๊มเพราะตัวปั๊มมักมีการรั่วไหล) และเวลานำไปใช้งานก็จะทำการเจือจางด้วยตัวทำละลายไฮโดรคาร์บอนที่เหมาะสม (เช่น เฮกเซน โทลูอีน ไซลีน เป็นต้น) สารเหล่านี้ถ้าอยู่ในรูปของสารบริสุทธิ์หรือความเข้มข้นสูงแล้ว ถ้ารั่วไหลสัมผัสกับอากาศเมื่อใดจะเกิดการลุกติดไฟเกิดเป็นเปลวไฟทันที แต่ถ้าอยู่ในรูปของสารละลายจะมีความปลอดภัยสูงกว่าเพราะอาจเกิดเป็นเพียงแค่ควันเกิดขึ้นถ้าหากความเข้มข้นต่ำมาก ดังนั้นสำหรับการใช้งานในระดับห้องปฏิบัติการเคมีแล้วจึงมักจะสั่งสารเหล่านี้มาในรูปของสารละลายในตัวทำละลายไฮโดรคาร์บอนเพราะมีความปลอดภัยสูงมากกว่า แต่เวลาใช้งานก็ยังต้องทำงานในบรรยากาศของแก๊สเฉื่อย และก่อนที่จะทำการล้างภาชนะหรือนำภาชนะต่าง ๆ ที่ใช้กับสารดังกล่าวออกมานอกบรรยากาศแก๊สเฉื่อย ยังต้องมีการทำลายสารที่อาจหลงเหลือจากการใช้งานก่อนด้วยการใช้สารที่ทำปฏิกิริยากับสาร pyrophoric เหล่านี้ได้ แต่ปฏิกิริยาที่เกิดต้องไม่รุนแรงเกินไป (เพราะจะทำให้ควบคุมไม่ได้) และไม่ควรจะเฉื่อยเกินไป (เพราะทำให้อาจทำลายได้ไม่หมด)
การใช้งานสารเหล่านี้ในห้องปฏบัติการเคมีทั่วไปจะต้องใช้อุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า glove box glove box โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นตู้ปิดผนึกป้องกันการรั่วซึมของอากาศ โดยภายใน glove box จะมีการเปิดแก๊สเฉื่อย (เช่นอาร์กอน) เข้าไปตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศรั่วไหลเข้าไปข้างไหลจากรูรั่วต่าง ๆ ที่อาจมีอยู่ โดยจะให้แก๊สเฉื่อยรั่วไหลออกมาแทนทางรูรั่วนั้น การนำของเข้า-ออกจาก glove box จะต้องผ่านทางช่องทางพิเศษที่มีระบบกำจัดอากาศออกก่อนที่จะนำของเข้าไปใน glove box ได้ โครงสร้างอย่างง่ายของ glove box แสดงไว้ในรูปที่ 1 ข้างล่าง
รูปที่ 1 ภาพด้านหน้าของ glove box ทั่วไป
โดยทั่วไป glove box จะมีผนังใสด้านหน้าเพื่อให้มองเห็นภายใน มีช่องถุงมือสำหรับการหยิบจับสิ่งของภายในตู้ มีรูสำหรับป้อนแก๊สเฉื่อยเข้าไปในตัวตู้ มีช่องทางสำหรับนำสิ่งของเข้า-ออกจากตัวตู้โดยอาจมี 2 ช่องทางด้วยกัน คือช่องทางขนาดใหญ่สำหรับนำสิ่งของขนาดใหญ่เข้าไปในตัวตู้ (เครื่องแก้วขนาดใหญ่ เครื่องชั่ง เครื่องวัดต่าง ๆ ฯลฯ) และมีช่องทางขนาดเล็กสำหรับนำสิ่งของขนาดเล็กเข้าไปในตัวตู้ (บีกเกอร์ใบเล็ก ๆ ขวดขนาดเล็ก ขวดสารเคมีขนาดเล็ก) ช่องทางนำของเข้า-ออกนั้นจะมีประตูอยู่ 2 บานด้วยกัน คือประตูบานด้านนอกที่เชื่อมต่อกับอากาศด้านนอก และประตูบานด้านในที่เชื่อมต่อกับห้องทำงานด้านใน
การที่มีการแยกช่องทางนำของขนาดเล็ก-ใหญ่ก็เพื่อลดการปนเปื้อนของอากาศจากภายนอกเข้าไปในตัวตู้ เพราะในการนำของเข้าไปในตัวตู้นั้นจะต้องนำของนั้นใส่เข้าไปในช่องทางนำของเข้า-ออกก่อน จากนั้นจึงทำการไล่อากาศออกจากช่องทางนำของเข้าออก (ด้วยการทำสูบเอาอากาศออกและ/หรือเปล่าไล่ด้วยแก๊สเฉื่อย) และเมื่อมั่นใจว่ากำจัดอากาศออกหมดแล้วจึงเปิดประตูด้านในเพื่อนำของเข้าไปในตัวตู้ การกำจัดอากาศออกจากช่องทางนำของขนาดใหญ่เข้า-ออกจะทำได้ไม่ดีเท่ากับช่องทางนำของขนาดเล็กเข้า-ออก ถ้าใช้แต่ช่องทางนำของขนาดใหญ่เข้า-ออกก็จะทำให้เกิดการปนเปื้อนของอากาศในตัวตู้ได้ง่าย
- Fire at a glove box
เรื่องต่อไปนี้โปรดใช้ความระมัดระวังในการอ่าน จุดประสงค์ของเรื่องนี้ไม่ได้ต้องการพาดพิงหรือกล่าวโทษบุคคลใด ๆ เป็นเพียงแค่ตัวอย่างยกมาเล่าให้ฟังเป็นอุทาหรณ์เท่านั้น กรุณาอย่านำไปพาดพิงหรืออ้างอิงถึงเหตุการณ์ใด ๆ และไม่รับรองความถูกต้องใด ๆ ด้วย เนื้อเรื่องจะเป็นตัวอักษรสีดำ ที่อยู่ในกรอบสีน้ำเงินเป็นข้อมูลที่ทราบภายหลังหรือความเห็นประกอบ ตัวอักษรสีแดงเป็นประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์
ในห้องทดลองแห่งหนึ่งมีการใช้งานสารประกอบตระกูล alkyl aluminium อยู่เป็นประจำ โดยจะมาในรูปของสารละลายในตัวทำละลายไฮโดรคาร์บอน การทำงานต่าง ๆ จะกระทำใน glove box ในบรรยากาศของแก๊สอาร์กอน โดยนักเรียนได้รับคำแนะนำในการใช้งานจากครูผู้สอนว่า หลังใช้งานเสร็จแล้วให้ทำลายสาร alkyl aluminium ที่เหลืออยู่ด้วยการเติมเมทานอล (methanol - CH3OH) ลงไปอย่างช้า ๆ ถ้ายังมีสาร alkyl aluminium หลงเหลืออยู่จะเห็นเกิดควันขึ้น ก็ให้เติมเมทานอลลงไปอีกจนกว่าควันจะหมดไป และเมื่อควันหมดไปแล้วก็จะสามารถนำเอาภาชนะบรรจุและสารต่าง ๆ ออกมาจาก glove box ได้
สารประกอบเหล่านี้ทำปฏิกิริยากับน้ำและแอลกอฮอล์ได้ ปฏิกิริยากับน้ำจะรุนแรง ในขณะที่ปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์จะว่องไวน้อยกว่า และจะลดความว่องไวลงถ้าหมู่อัลคิลมีขนาดใหญ่ขึ้น ในที่นี้การใช้เมทานอลถือว่าใช้ได้ เพราะถ้าใช้แอลกอฮอล์ตัวใหญ่กว่านี้อาจใช้เวลาในการกำจัดนานมากเกินไปหรือทำลายได้ไม่หมด
อยู่มาวันหนึ่งนักเรียนได้รับมอบหมายงานจากครูผู้สอนให้ทำการทดลองโดยใช้สารตัวใหม่ที่ได้มาจากบริษัทแห่งหนึ่ง ทางบริษัทส่งสารตัวอย่างมาในรูปของสารละลายในตัวทำละลายไฮโดรคาร์บอนพร้อมกับ MSDS (Material Safety Data Sheet) มาอีก 2 แผ่น และบอกว่าจัดการเหมือน alkyl aluminium ที่ใช้อยู่เป็นประจำ
จุดที่น่าสนใจในขณะนี้คือ (1) ไม่มีใครรู้หรือสงสัยจะถามกลับไปว่าสารที่ส่งมานั้นมีความเข้มข้นเท่าใด และใช้สารใดเป็นตัวทำละลาย (2) นักเรียนรับทราบแต่ชื่อการค้าของสาร แต่ไม่ได้อ่านชื่อทางเคมีที่แท้จริงของสาร และจะว่าไปแล้วดูเหมือนว่าไม่ว่านักเรียนหรือครูผู้สอนไม่มีใครสนใจที่จะอ่าน MSDS ของสารตัวใหม่ที่ได้รับมานี้เลย - สารที่ได้รับมาใหม่เป็นสารตระกูล alkyl magnesium ซึ่งมีการระบุชื่อทางเคมีและสูตรเคมีไว้ใน MSDS ด้วย
ในระหว่างการทำงานในวันหนึ่ง เกิดอุบัติเหตุภาชนะบรรจุสารตัวใหม่หลุดมือตกแตกภายใน glove box นักเรียนจึงได้พยายามทำการเก็บกวาดด้วยการใช้กระดาษทิชชูซับสารที่หกนองพื้น และฉีดเมทานอลเพื่อทำลาย โดยทำตามขั้นตอนที่ได้เรียนมา คือฉีดเมทานอลจนกว่าจะไม่มีควันเกิดขึ้น และเมื่อสังเกตไม่เห็นการเกิดควันแล้วจึงได้นำเอากระดาษทิชชูออกทางช่องทางนำของเข้า-ออกขนาดเล็ก โดยเปิดประตูด้านในเพื่อเอากระดาษทิชชูที่ซับสารเคมีไว้ใส่เข้าไปในช่องทางนำของเข้า-ออกขนาดเล็กก่อน จากนั้นจึงทำการปิดประตูด้านใน
เมื่อทำการเปิดประตูด้านนอกเพื่อที่จะนำเอากระดาษทิชชูที่ซับสารเคมีออกไปทิ้ง ปรากฏว่าเกิดควันขึ้น นักเรียนจึงเข้าใจว่ายังทำลาย alkyl magnesium ไม่หมด จึงได้ทำการฉีดเมทานอลเข้าไปยังกระดาษทิชชูที่เห็นควันขึ้นนั้นเพื่อคาดหวังที่จะทำลายสาร alkyl magnesium ที่ยังหลงเหลืออยู่ให้หมด แต่ปรากฏว่าเกิดไฟลุกรุนแรงขึ้น นักเรียนจึงได้ทำการฉีดเมทานอลเพิ่มเติมเข้าไปอีกเพื่อหวังจะเร่งทำลาย alkyl magnesium ที่หลงเหลืออยู่ แต่ปรากฏว่าไฟก็กลับลุกไหม้รุนแรงเข้าไปอีกโดยได้ลุกลามไปไหม้บริเวณข้างเคียงที่เป็นที่ตั้งของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ
โดยปรกติสารพวกนี้เช่น alkyl aluminium นั้น เมื่อได้รับความร้อน ส่วนที่เป็นหมู่อัลคิลจะสลายตัวกลายเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนพวก 1-olefin (โอเลฟินส์ที่มีพันธะคู่อยู่ที่คาร์บอนอะตอมแรก มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอัลฟาโอเลฟินส์) ดังสมการข้างล่าง
AlR3 ---> AlR2H + H2C=CH-......
และถ้าเป็นภายใต้การออกซิไดซ์ที่มีการควบคุม หมู่อัลคิลก็จะกลายเป็น primary alcohol (แอลกอฮอล์ที่มีหมู่ -OH อยู่ที่ปลายโซ่) และในกรณีของสารละลายเจือจางมากเพียงพอในตัวทำละลายไฮโดรคาร์บอนนั้น ตัวทำละลายไฮโดรคาร์บอนจะช่วยดูดซับความร้อนเอาไว้ ทำให้เกิดเป็นแค่ควันโดยไม่มีการลุกติดไฟ
ในกรณีของการฉีดเมทานอล (หรือโมเลกุลที่มีขั้วเช่นน้ำ) เพื่อเข้าไปทำลายนั้น จะทำให้ส่วนที่เป็นหมู่อัลคิลของสารประกอบ alkyl aluminium (หรือ alkyl magnesium) สลายตัวกลายเป็นสารประกอบอินทรีย์และมีความร้อนคายออกมาด้วย ซึ่งถ้าเป็นในบรรยากาศของแก๊สเฉื่อยก็จะไม่เกิดการลุกติดไฟใด ๆ แต่ถ้าเป็นในอากาศแล้วล่ะก็ สารพวกนี้จะลุกติดไฟเนื่องจากปฏิกิริยากับออกซิเจนและความชื้นในอากาศจะให้ความร้อนมากพอที่จะทำให้ส่วนที่เป็นสารอินทรีย์ลุกไหม้ได้ การฉีดเมทานอลเข้าไป "ไม่ได้" เข้าไปทำลายสารเหล่านั้นเลย แต่เป็นการเพิ่มเชื้อเพลิงให้กับการเผาไหม้ เพราะเมทานอลที่ฉีดเข้าไปจะลุกติดไฟจากเปลวไฟที่เกิดจากสารประกอบ alkyl magnesium ทำปฏิกิริยากับอากาศ
ในกรณีนี้เมื่อนักเรียนฉีดเมทานอลเข้าไป จึงทำให้เกิดไฟลุกไหม้รุนแรงขึ้น
ประเด็นที่น่าสนใจอยู่ตรงนี้ คือนักเรียนได้เรียนมาว่าการกำจัดสารประกอบเหล่านี้ให้ใช้วิธีการเติมเมทานอล (ซึ่งตรงจุดนี้เข้าใจว่าทางครูผู้สอนก็รู้แบบเดียวกัน) แต่ที่สำคัญคือนักเรียน (และดูเหมือว่าจะเป็นครูผู้สอนด้วย) ไม่รู้ว่า (หรือว่าไม่ได้คาดคิดว่า) วิธีการเหล่านั้นใช้ได้เฉพาะเมื่อ "อยู่ในบรรยายกาศแก๊สเฉื่อย" เท่านั้น
แต่ก่อนที่เหตุการณ์จะลุกลามต่อไป นักเรียนอีกผู้หนึ่งก็ได้คว้าถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งมาฉีดเพื่อทำการดับไฟ ทำให้ไฟที่ไหม้อยู่ดับลง จากนั้นพักหนึ่งทางครูผู้สอนก็ได้เดินทางมาถึงที่เกิดเหตุ เมื่อพบว่าไฟที่ไหม้อยู่ได้ดับลงแล้วก็ได้จากไปโดยไม่ได้สั่งอะไร (คงเป็นเพราะคิดว่านักเรียนคงจัดการต่อกันเองได้ หรือไม่ได้สนใจอะไรก็ได้ หรือไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อไปก็ได้ ฯลฯ อันนี้ก็ไม่รู้เหมือนกัน)
สถานการณ์ในช่วงหลังจากที่เปลวไฟที่ไหม้อยู่ดับลงไปแล้วค่อนข้างจะสับสนอยู่เหมือนกัน นักเรียนส่วนหนึ่งที่มีส่วนร่วมกับสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟไหม้ยังคงตกใจอยู่ ทำอะไรไม่ถูก นักเรียนส่วนหนึ่งเข้ามาช่วยทำการดับเพลิงยังคงรอเตรียมพร้อมรับคำสั่งอยู่ว่าจะทำอะไรต่อไป นักเรียนส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มที่เข้ามามุงดูเหตุการณ์ นักเรียนส่วนหนึ่งถอยห่างออกไปจากบริเวณ (เรียกว่าหนีไปตั้งหลัก หรือเป็นพวกไม่อยากอยู่ในเหตุการณ์ก็ได้) ที่สำคัญคือในขณะนั้นขาดผู้สั่งการว่าควรจะต้องทำอะไรต่อ
โดยปรกติในการดับเพลิงนั้น แม้ว่าเราจะดับเปลวไฟลงไปแล้ว แต่ก็ยังถือว่าการดับเพลิงยังไม่สิ้นสุด ต้องมีการทำให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดเปลวเพลิงลุกไหม้ซ้ำอีกในบริเวณเดิม ถ้าเป็นเพลิงไหม้บ้านทั่วไปที่เป็นอาคารไม้ สิ่งที่มักจะทำกันคือทำการฉีดน้ำเข้าไปในปริมาณมาก ๆ ต่อเนื่องไปอีกจนกระทั่งมั่นใจว่าทั่วทั้งบริเวณเย็นตัวลงหมดแล้ว ไม่มีการลุกไหม้ซุกซ่อนอยู่บริเวณใด ถ้าเป็นเพลิงไหม้ถังเก็บน้ำมันก็ต้องมีการฉีดน้ำเลี้ยงส่วนที่เป็นโลหะเอาไว้ให้เย็นตัวลง เพราะถ้าโลหะยังร้อนอยู่และไอน้ำมันระเหยมาสัมผัส ก็จะเกิดเพลิงลุกไหม้ซ้ำใหม่ได้ ถ้าเป็นในห้องทำเก็บของหรือห้องทำงาน ก็ควรมีการรื้อหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของออกจากบริเวณนั้น เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีเชื้อเพลิงหรือเปลวไฟลุกไหม้ซุกซ่อนอยู่ตามซอกมุมที่สารดับเพลิงฉีดเข้าไปไม่ถึง
ในเหตุการณ์นี้ เพลิงที่ลุกไหม้เกิดจาก 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนที่หนึ่งคือเพลิงที่เกิดจากสารประกอบ alkyl magnesium ปนเปื้อนอยู่กับกระดาษทิชชูที่ค้างอยู่ในช่องทางนำของขนาดเล็กเข้า-ออกที่ดับลงเนื่องจากผงเคมีแห้งลงไปปกคลุม ทำให้สารเคมีไม่สัมผัสกับอากาศ ส่วนที่สองคือเพลิงที่เกิดจากเมทานอลที่ฉีดเข้าไปที่หกลงไปลุกไหม้ยังบริเวณอื่นและทำให้ชิ้นส่วนอื่นของอุปกรณ์ติดไฟไปด้วย
ในขณะนี้เพลิงไหม้ส่วนที่สอง (ที่เกิดจากเมทานอล) ไม่ได้เป็นปัญหาเท่าใด เพราะปริมาณเมทานอลที่ถูกฉีดเข้าไปมีไม่มาก และจำกัดอยู่ในบริเวณแคบ ๆ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดเพลิงไหม้ส่วนใหญ่เป็นฉนวนสายไฟที่ดับไฟด้วยตนเองเมื่อไม่มีเปลวไฟไปจ่อ ดังนั้นในส่วนนี้เมื่อทำการเก็บกวาดพื้นที่บริเวณรอบข้าง glove box ก็สามารถทำให้มั่นใจว่าจะไม่มีการลุกไหม้เกิดขึ้นเองอีก
ส่วนที่เป็นปัญหาคือส่วนแรกที่เกิดจากกระดาษทิชชูเปื้อนสารเคมีที่ยังคงค้างอยู่ที่ช่องทางนำของขนาดเล็กเข้า-ออก ซึ่งเพลิงส่วนนี้ดับลงเพราะมีผงเคมีแห้งปกคลุมอยู่ เมื่อใดก็ตามที่มีการเปิดผิวผงเคมีแห้งจนกระดาษทิชชูสัมผัสกับอากาศก็จะทำให้เพลิงลุกไหม้ขึ้นมาใหม่ได้อีก โดยทั่วไปการดับเพลิงสารประเภทนี้ถ้าเป็นในที่โล่งก็จะใช้วิธีการเปิดผิวหน้าบริเวณที่มีสารอยู่ทีละน้อย ๆ ให้ค่อย ๆ สัมผัสกับอากาศเพื่อให้สารค่อย ๆ ลุกไหม้จนหมดไป แต่ในที่นี้เนื่องจากสารค้างอยู่ที่ช่องทางนำของขนาดเล็กเข้า-ออกของตัว glove box จึงทำให้ไม่สามารถจัดการสารเคมีที่ติดค้างอยู่บนกระดาษทิชชูด้วยการทำให้เกิดการเผาไหม้ทีละน้อย ณ ช่องทางนำของขนาดเล็กเข้า-ออกได้ วิธีการที่ได้กระทำกันคือใช้ vermiculite (บังเอิญมีอยู่ในขณะนั้น แต่ก็สามารถใช้สารอื่นแทนได้เช่นทรายแห้ง - ย้ำ ต้อง "แห้ง" เท่านั้น อย่าใช้ทรายเปียกน้ำ) เทคลุมทับลงไป แล้วค่อย ๆ ตักกระดาษทิชชูที่ตกค้างอยู่บริเวณช่องทางนำของขนาดเล็กเข้า-ออกใส่ถาดโลหะ (ในขณะนี้ถ้ามีไฟลุกขึ้นก็ให้เกลี่ย vermiculite (หรือทรายแห้ง) กลบทับ หรือเทลงไปเพิ่มเติม) นำออกไปทำลายในบริเวณที่ปลอดภัย
สิ่งที่ควรบันทึกไว้ ณ ที่นี้คือในการนำกระดาษทิชชูที่เปื้อนสารเคมีออกไปทำลายนั้น เมื่อมีการเกลี่ยพื้นผิว vermiculite ที่ปกคลุมอยู่ออกเพื่อให้กระดาษทิชชูสัมผัสกับอากาศ ปรากฏว่าเกิดไฟลุกไหม้ขึ้นในถาดโลหะ เมื่อเห็นดังนั้นนักเรียนก็พยายาม "ฉีดเมทานอล" เข้าไปอีก แม้จะมีการสั่งห้ามทันทีจากครูอีกผู้หนึ่งที่ถูกตามตัวเข้ามาช่วย ซึ่งแนะให้ฉีดน้ำเข้าไปแทน จึงทำให้เกิดการโต้เถียงกันอยู่ครู่หนึ่ง กว่าจะทำความเข้าใจกันได้ว่าวิธีการใดเหมาะกับการใช้ในบรรยากาศแก๊สเฉื่อย และวิธีการใดไม่เหมาะกับการใช้ในบรรยากาศที่เป็นอากาศ ในเวลานั้นทางครูที่ถูกตามตัวมาช่วยได้แนะนำให้ใช้น้ำในปริมาณมากฉีดเข้าไปแทน เพราะการฉีดเมทานอลไม่ได้ช่วยทำลายสารดังกล่าวแต่เป็นการเพิ่มเชื้อเพลิงให้กับการเผาไหม้ การฉีดน้ำแม้ว่าจะทำให้สารเคมีทำปฏิกิริยาก็ตาม แต่สารเคมีมีอยู่ในปริมาณไม่มาก และการฉีดน้ำปริมาณมากเข้าไปจะช่วยให้ทำลายสารได้สมบูรณ์และยังช่วยระบายความร้อนออกไปอีกด้วย (แต่อย่าใช้ในกรณีที่มีสารหกเป็นจำนวนมาก เพราะอาจเกิดการระเบิดได้) ในขณะนั้นทางครูผู้สอนนักเรียนดังกล่าวก็อยู่ในเหตุการณ์ด้วย แต่ไม่ได้ให้ความเห็นอย่างใด
การจัดการกับสารเคมีที่อยู่นอก glove box เสร็จสิ้นในเย็นวันที่เกิดเพลิงไหม้ แต่ปัญหายังไม่จบ เพราะในขณะนี้ glove box สูญเสียระบบควบคุมทั้งหมด (ซึ่งเป็นระบบไฟฟ้า) จากไฟไหม้ รวมทั้งระบบป้อนแก๊สอาร์กอนเข้าไปในตัว glove box ด้วย ซึ่งความดันของแก็สอาร์กอนในตัวตู้ลดลงตลอดเวลา และถ้าเท่ากับความดันบรรยากาศเมื่อใดก็จะทำให้ออกซิเจนรั่วเข้าไปในตู้ glove box ได้ นอกจากนี้ยังมีของที่หกตกค้างอยู่ใน glove box ที่ยังไม่ได้รับการกำจัด ซึ่งสารที่หกอยู่ใน glove box นั้นไม่ได้หกค้างอยู่บนพื้นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงส่วนที่ไปเปียกก้นภาชนะและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่วางอยู่ใน glove box ด้วย ซึ่งต้องมีการกำจัดสารเหล่านี้ออกให้หมด แต่เนื่องจากช่องทางนำของขนาดเล็กเข้า-ออกได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้ จึงได้มีการแนะนำให้ใช้ช่องทางนำของขนาดใหญ่เข้า-ออกแทน แต่ก็ได้รับทราบว่าช่องทางนำของขนาดใหญ่เข้า-ออก "เสีย" มาตั้งนานแล้วโดยไม่มีใครทราบว่าเสียด้วยสาเหตุใด และเสียตั้งแต่เมื่อใด เพราะมีการบอกต่อ ๆ กันมาว่ามันเสีย จากนั้นก็เลยไม่มีใครสนใจ รู้แต่เพียงว่าฉันไม่ได้ใช้มันก็เลยไม่ได้สนใจว่ามันจะเป็นอย่างไร ใครต้องการจะใช้ก็รับบทเป็นผู้ดำเนินการซ่อมเองก็แล้วกัน :
ในหลายประเทศ (เช่นในสหรัฐอเมริกาหรือแม้แต่ในประเทศไทยเองก็ตาม) เมื่อเกิดอุบัติเหตุก็มักจะพยายามปกปิดความผิดหรือปัดความรับผิดชอบไปยังผู้ปฏิบัติงาน แต่บางประเทศเช่นในสหราชอาณาจักรจะมีกฎหมายระบุว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องมีการรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดและสอบสวนว่าทำผิดพลาดไว้อย่างไร เพื่อไม่ให้ผู้อื่นทำผิดซ้ำรอยเดิมอีก การพยายามปกปิดถือว่ามีความผิด การสอบสวนนั้นจะครอบคลุมตั้งแต่การปฏิบัติงาน การออกแบบ การฝึกอบรม การจัดการ และวัฒนธรรมขององค์กรด้วย
เคยถามผู้ที่ทำงานอยู่ในโรงงานที่มีป้ายขึ้นหน้าโรงงานว่า "เราทำงานมาแล้ว ... ชั่วโมง โดยที่ยังไม่เกิดอุบัติเหตุ เป้าหมายคือ ... ชั่วโมง" โดยถามว่า ถามจริง ๆ เหอะ ถ้ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจะกล้ารายงานไหม ปรากฏว่าคำตอบที่ได้รับคือถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นก็มักไม่กล้ารายงาน จะปกปิดได้ถ้าสามารถกระทำได้ เพราะต้องการให้บรรลุเป้าหมายชั่วโมงการทำงานที่ทางหน่วยงานตั้งเอาไว้ โดยหน่วยงานมักตั้งรางวัลล่อใจเอาไว้ถ้าสามารถทำชั่วโมงทำงานได้ตามเป้า ถ้าทำไม่ได้ก็อดได้รางวัล ดังนั้นถ้าเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นและมีการรายงาน ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุนอกจากจะเจ็บตัวจากอุบัติเหตุแล้ว ยังโดนเพื่อนร่วมงานช่วยกันรุมยำอีกด้วยในฐานะที่เป็นตัวที่ทำให้หน่วยงานอดได้รับรางวัล เรียกว่าซวยทั้งขึ้นทั้งล่อง
ป้ายกำกับ:
ไฟไหม้,
ไฟไหม้แลป,
ไฟไหม้ห้องทดลอง,
อุบัติเหตุ,
pyrophoric
ตัวเร่งปฏิกิริยาและการทดสอบ
- การกำจัดสีเมทิลีนบลู
- การคำนวณพื้นที่ผิวแบบ Single point BET
- การคำนวณพื้นที่ผิวแบบ Single point BET ตอนที่ ๒ ผลกระทบจากความเข้มข้นไนโตรเจนที่ใช้
- การจำแนกตำแหน่งที่เป็นกรด Brönsted และ Lewis บนพื้นผิวของแข็งด้วยเทคนิค Infrared spectroscopy และ Adsorbed probe molecules
- การจำแนกตำแหน่งที่เป็นเบส Brönsted และ Lewis บนพื้นผิวของแข็งด้วยเทคนิค Infrared spectroscopy และ Adsorbed probe molecules
- การใช้ข้อต่อสามทางผสมแก๊ส
- การใช้ Avicel PH-101 เป็น catalyst support
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๑ ขั้นตอนของการเกิดปฏิกิริยาบนตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๒ การดูดซับบนพื้นผิวของแข็ง
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๓ แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของ Freundlich
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๔ แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของ Langmuir
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๕ แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของ Temkin
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๖ แบบจำลองไอโซเทอมการดูดซับของ BET
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๗ ตัวอย่างไอโซเทอมการดูดซับของ BET
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๘ ตัวอย่างไอโซเทอมการดูดซับของ BET (๒)
- การดูดซับบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๙ ตัวอย่างไอโซเทอมการดูดซับของ BET (๓)
- การเตรียมตัวอย่างตัวเร่งปฏิกิริยาแบบผงให้เป็นแผ่นบาง
- การทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยา - ผลแตกต่างหรือไม่แตกต่าง
- การทำปฏิกิริยา ๓ เฟสใน stirred reactor
- การบรรจุ inert material ใน fixed-bed
- การปรับ WHSV
- การปั่นกวนของแข็งให้แขวนลอยในของเหลว ตอนที่ ๑ ผลของความหนาแน่นที่แตกต่าง
- การปั่นกวนของแข็งให้แขวนลอยในของเหลว ตอนที่ ๒ ขนาดของ magnetic bar กับเส้นผ่านศูนย์กลางภาชนะ
- การปั่นกวนของแข็งให้แขวนลอยในของเหลว ตอนที่ ๓ ผลของรูปร่างภาชนะ
- การผสมแก๊สอัตราการไหลต่ำเข้ากับแก๊สอัตราการไหลสูง
- การระบุชนิดโลหะออกไซด์
- การลาก smooth line เชื่อมจุด
- การเลือกค่า WHSV (Weight Hourly Space Velocity) สำหรับการทดลอง
- การวัดความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง (อีกครั้ง)
- การวัดปริมาณตำแหน่งที่เป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็งด้วย GC
- การวัดปริมาณตำแหน่งที่เป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็งด้วย GC (๒)
- การวัดพื้นที่ผิว BET
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๑)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๒)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๓)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๔)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๕)
- การวิเคราะห์ความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง ด้วยเทคนิคการดูดซับ Probe molecule (๖)
- การไหลผ่าน Straightening vane และโมโนลิท (Monolith)
- เก็บตกจากการประชุมวิชาการ ๒๕๕๗ ตอนที่ ๑
- เก็บตกจากการประชุมวิชาการ ๒๕๕๗ ตอนที่ ๒
- ข้อควรระวังเมื่อใช้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง
- ข้อพึงระวังในการแปลผลการทดลอง
- ค่า signal to noise ratio ที่ต่ำที่สุด
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๑ Volcano principle
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๒ แบบจำลอง Langmuir
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๓ แบบจำลอง Langmuir-Hinshelwood
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๔ แบบจำลอง Eley-Rideal
- จลนศาสตร์การเกิดปฏิกิริยาบนพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ ตอนที่ ๕ แบบจำลอง REDOX
- ตอบคำถามเรื่องการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยา
- ตัวเลขมันสวย แต่เชื่อไม่ได้
- ตัวเลขไม่ได้ผิดหรอก คุณเข้าใจนิยามไม่สมบูรณ์ต่างหาก
- ตัวไหนดีกว่ากัน (Catalyst)
- แต่ละจุดควรต่างกันเท่าใด
- ท่อแก๊สระบบ acetylene hydrogenation
- น้ำหนักหายได้อย่างไร
- ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจนและการแทนที่ไฮโดรเจนของอะเซทิลีน
- ปฏิกิริยาอันดับ 1 หรือปฏิกิริยาอันดับ 2
- ปฏิกิริยาเอกพันธ์และปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ในเบดนิ่ง
- ปั๊มสูบไนโตรเจนเหลวจากถังเก็บ
- ผลของแก๊สเฉื่อยต่อการเกิดปฏิกิริยา
- เผาในเตาแบบไหนดี (Calcination)
- พลังงานกระตุ้นกับปฏิกิริยาคายความร้อนในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง
- เมื่อแก๊สรั่วที่ rotameter
- เมื่อพีคออกซิเจนของระบบ DeNOx หายไป
- เมื่อเส้น Desorption isotherm ต่ำกว่าเส้น Adsorption isotherm
- เมื่อ base line เครื่อง chemisorb ไม่นิ่ง
- เมื่อ Mass Flow Controller คุมการไหลไม่ได้
- เรื่องของสุญญากาศกับ XPS
- สแกนกี่รอบดี
- สมดุลความร้อนรอบ Laboratory scale fixed-bed reactor
- สรุปการประชุมวันพฤหัสบดีที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๓
- เส้น Cu Kα มี ๒ เส้น
- เห็นอะไรไม่สมเหตุสมผลไหมครับ
- อย่าลืมดูแกน Y
- อย่าให้ค่า R-squared (Coefficient of Determination) หลอกคุณได้
- อุณหภูมิกับการไหลของแก๊สผ่าน fixed-bed
- อุณหภูมิและการดูดซับ
- BET Adsorption-Desorption Isotherm Type I และ Type IV
- ChemiSorb 2750 : การเตรียมตัวอย่างเพื่อการวัดพื้นที่ผิว BET
- ChemiSorb 2750 : การวัดพื้นที่ผิวแบบ Single point BET
- ChemiSorb 2750 : ผลของอัตราการไหลต่อความแรงสัญญาณ
- Distribution functions
- Electron Spin Resonance (ESR)
- GHSV หรือ WHSV
- Ion-induced reduction ขณะทำการวิเคราะห์ด้วย XPS
- MO ตอบคำถาม การทดลอง gas phase reaction ใน fixed-bed
- MO ตอบคำถาม การวัดความเป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็ง
- Monolayer หรือความหนาเพียงชั้นอะตอมเดียว
- NH3-TPD - การลาก base line
- NH3-TPD - การลาก base line (๒)
- NH3-TPD - การไล่น้ำและการวาดกราฟข้อมูล
- NH3-TPD ตอน ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ ๑
- NH3-TPD ตอน ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ ๒
- Physisorption isotherms Type I และ Type IV
- Scherrer's equation
- Scherrer's equation (ตอนที่ 2)
- Scherrer's equation (ตอนที่ ๓)
- Scherrer's equation (ตอนที่ ๔)
- Supported metal catalyst และ Supported metal oxide catalyst
- Temperature programmed reduction ด้วยไฮโดรเจน (H2-TPR)
- Temperature programmed reduction ด้วยไฮโดรเจน (H2-TPR) ภาค ๒
- UV-Vis - peak fitting
- XPS ตอน การแยกพีค Mo และ W
- XPS ตอน จำนวนรอบการสแกน
- XRD - peak fitting
คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรมเคมี
- การแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์สามัญปัญหาเงื่อนไขค่าเริ่มต้นด้วยระเบียบวิธี Bogacki-Shampine และ Predictor-Evaluator-Corrector-Evaluator (PECE)
- การแก้ปัญหาสมการอนุพันธ์สามัญ ด้วย ODE solvers ของ GNU Octave ตอนที่ ๑
- การแก้ปัญหาสมการอนุพันธ์สามัญ ด้วย ODE solvers ของ GNU Octave ตอนที่ ๒
- การแก้ปัญหาสมการอนุพันธ์สามัญ ด้วย ODE solvers ของ GNU Octave ตอนที่ ๓
- การแก้สมการเชิงอนุพันธ์สามัญด้วยการใช้ Integrating factor
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๐)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๑)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๒)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๑๓)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๒)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๓)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๔)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๕)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๖)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๗)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๘)
- การแก้สมการอนุพันธ์ด้วยฟังก์ชันพหุนาม (๙)
- การคำนวณค่าฟังก์ชันพหุนาม
- การปรับเรียบ (Smoothing) ข้อมูล (ตอนที่ ๑)
- การปรับเรียบ (Smoothing) ข้อมูล (ตอนที่ ๒)
- การปรับเรียบ (Smoothing) ข้อมูล (ตอนที่ ๓)
- การหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร x และ y
- ข้อพึงระวังในการใช้ฟังก์ชันพหุนามในการประมาณค่าในช่วง
- ข้อพึงระวังในการใช้ฟังก์ชันพหุนามในการประมาณค่าในช่วง (๒)
- ข้อพึงระวังในการใช้ฟังก์ชันพหุนามในการประมาณค่าในช่วง (๒) (pdf)
- ข้อพึงระวังในการใช้ฟังก์ชันพหุนามในการประมาณค่าในช่วง (๓)
- ข้อสอบเก่าชุดที่ ๑
- ข้อสอบเก่าชุดที่ ๒
- ค่าคลาดเคลื่อน (error)
- จำนวนที่น้อยที่สุดที่เมื่อบวกกับ 1 แล้วได้ผลลัพธ์ไม่ใช่ 1
- ใช่ว่าคอมพิวเตอร์จะคิดเลขถูกเสมอไป
- ตัวเลขที่เท่ากันแต่ไม่เท่ากัน
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วยระเบียบวิธีนิวตัน-ราฟสัน
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วยระเบียบวิธี Müller และ Inverse quadratic interpolation
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วยระเบียบวิธี successive iteration
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วยระเบียบวิธี successive iteration (pdf)
- ตัวอย่างการแก้ปัญหา สมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วย Function fzero ของ GNU Octave
- ตัวอย่างการคำนวณหาพื้นที่ใต้กราฟ ด้วยระเบียบวิธี Gaussian quadrature
- ตัวอย่างการคำนวณหาพื้นที่ใต้กราฟ ด้วยระเบียบวิธี Gaussian quadrature (pdf)
- ตัวอย่างผลของรูปแบบสมการต่อคำตอบของ ODE-IVP
- ตัวอย่างเพิ่มเติมบทที่ ๑
- ตัวอย่างเพิ่มเติมบทที่ ๒
- ตัวอย่างเพิ่มเติมบทที่ ๓
- ตัวอย่างเพิ่มเติมบทที่ ๔
- ทบทวนเรื่องการคูณเมทริกซ์
- ทบทวนเรื่อง Taylor's series
- ทศนิยมลงท้ายด้วยเลข 5 จะปัดขึ้นหรือปัดลง
- บทที่ ๑ การคำนวณตัวเลขในระบบทศนิยม
- บทที่ ๒ การแก้ปัญหาระบบสมการพีชคณิตเชิงเส้น
- บทที่ ๓ การแก้ปัญหาระบบสมการพีชคณิตไม่เชิงเส้น
- บทที่ ๔ การประมาณค่าในช่วง
- บทที่ ๕ การหาค่าอนุพันธ์
- บทที่ ๖ การหาค่าอินทิกรัล
- บทที่ ๗ การแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ ระบบสมการปัญหาเงื่อนไขค่าเริ่มต้น
- บทที่ ๘ การแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ ระบบสมการปัญหาเงื่อนไขค่าขอบเขต
- บทที่ ๙ การแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์ย่อย
- ปฏิกิริยาคายความร้อนใน CSTR (ตอนที่ ๑)
- ปฏิกิริยาคายความร้อนใน CSTR (ตอนที่ ๒)
- เปรียบเทียบการแก้ปัญหาสมการพีชคณิตไม่เชิงเส้นด้วย solver ของ GNU Octave
- เปรียบเทียบการแก้ Stiff equation ด้วยระเบียบวิธี Runge-Kutta และ Adam-Bashforth
- เปรียบเทียบระเบียบวิธี Runge-Kutta
- เปรียบเทียบ Gauss elimination ที่มีและไม่มีการทำ Pivoting
- เปรียบเทียบ Gauss elimination ที่มีและไม่มีการทำ Pivoting (Spreadsheet)
- ฟังก์ชันแกมมา (Gamma function) และ ฟังก์ชันเบสเซล (Bessel function)
- เมื่อ 1 ไม่เท่ากับ 0.1 x 10
- ระเบียบวิธี Implicit Euler และ Crank-Nicholson กับ Stiff equation
- เลขฐาน ๑๐ เลขฐาน ๒ จำนวนเต็ม จำนวนจริง
- Distribution functions
- LU decomposition ร่วมกับ Iterative improvement
- LU decomposition ร่วมกับ Iterative improvement (pdf)
- LU decomposition ร่วมกับ Iterative improvement (Spreadsheet)
- Machine precision กับ Machine accuracy
เคมีสำหรับวิศวกรเคมี
- กรด-เบส : อ่อน-แก่
- กรด-เบส : อะไรควรอยู่ในบิวเรต
- กราฟการไทเทรตกรดกำมะถัน (H2SO4)
- กราฟการไทเทรตกรดกำมะถัน (H2SO4) ตอนที่ ๒
- กราฟการไทเทรตกรดที่ให้โปรตอนได้ ๒ ตัว
- กราฟการไทเทรตกรดที่ให้โปรตอนได้ ๓ ตัว
- กราฟการไทเทรตกรดไฮโปคลอรัส (HOCl)
- กราฟอุณหภูมิการกลั่นของน้ำมันเบนซิน (Gasoline distillation curve)
- กลิ่นกับอันตรายของสารเคมี
- การกำจัดสีเมทิลีนบลู
- การเกิดปฏิกิริยาเคมี
- การเจือจางไฮโดรคาร์บอนในน้ำ
- การใช้ pH probe
- การใช้ Tetraethyl lead นอกเหนือไปจากการเพิ่มเลขออกเทน
- การดูดกลืนคลื่นแสงของแก้ว Pyrex และ Duran
- การดูดกลืนแสงสีแดง
- การเตรียมสารละลายด้วยขวดวัดปริมาตร
- การเตรียมหมู่เอมีนและปฏิกิริยาของหมู่เอมีน (การสังเคราะห์ฟีนิลบิวตาโซน)
- การทำน้ำให้บริสุทธิ์สำหรับห้องปฏิบัติการ
- การทำปฏิกิริยาของโพรพิลีนออกไซด์ (1,2-Propylene oxide) ตอนที่ ๑
- การทำปฏิกิริยาของโพรพิลีนออกไซด์ (1,2-Propylene oxide) ตอนที่ ๒
- การทำปฏิกิริยาของหมู่ Epoxide ในโครงสร้าง Graphene oxide
- การทำปฏิกิริยาต่อเนื่องของผลิตภัณฑ์
- การเทของเหลวใส่บิวเรต
- การน๊อคของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน และสารเพิ่มเลขออกเทนของน้ำมัน
- การเปลี่ยนพลาสติกเป็นน้ำมัน
- การเปลี่ยนเอทานอล (Ethanol) ไปเป็นอะเซทัลดีไฮด์ (Acetaldehyde)
- การเรียกชื่อสารเคมี
- การลดการระเหยของของเหลว
- การละลายของแก๊สในเฮกเซน (Ethylene polymerisation)
- การละลายเข้าด้วยกันของโมเลกุลมีขั้ว-ไม่มีขั้ว
- การวัดความเป็นกรดบนพื้นผิวของแข็ง (อีกครั้ง)
- การวัดปริมาณ-ความแรงของตำแหน่งที่เป็นกรดบนพื้นผิว
- การวัดปริมาณตำแหน่งที่เป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็งด้วย GC
- การวัดปริมาตรของเหลว
- การหาความเข้มข้นสารละลายมาตรฐานกรด
- การหาจุดสมมูลของการไทเทรตจากกราฟการไทเทรต
- การอ่านผลการทดลองการไทเทรตกรด-เบส
- การอ่านผลการทดลองการไทเทรตกรด-เบส (ตอนที่ ๒)
- การอ่านผลการทดลองการไทเทรตกรด-เบส (ตอนที่ ๓)
- แก๊สมัสตาร์ดกับกลิ่นทุเรียน
- ข้อควรระวังเมื่อใช้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง
- คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับงานเคมีวิเคราะห์
- ความกระด้าง (Hardness) ของน้ำกับปริมาณของแข็งทั้งหมด ที่ละลายอยู่ (Total Dissolved Solid - TDS)
- ความดันกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
- ความเป็นกรดของหมู่ไฮดรอกซิล (Hydroxyl group) ตอนที่ ๑
- ความเป็นกรดของหมู่ไฮดรอกซิล (Hydroxyl group) ตอนที่ ๒
- ความเป็นกรดของอัลฟาไฮโดรเจนอะตอม (alpha-Hydrogen atom) ตอน กรดบาร์บิทูริก (Barbituric acid)
- ความเป็นกรดของอัลฟาไฮโดรเจนอะตอม (alpha-Hydrogen atoms)
- ความเป็นขั้วบวกของอะตอม C และการทำปฏิกิริยาของอีพิคลอโรไฮดริน (epichlorohydrin)
- ความเป็นไอออนิก (Percentage ionic character)
- ความสัมพันธ์ระหว่างสีกับชนิดและปริมาณธาตุ
- ความสำคัญของเคมีวิเคราะห์และเคมีอินทรีย์ในงานวิศวกรรมเคมี
- ความเห็นที่ไม่ลงรอยกับโดเรมี่
- ค้างที่ปลายปิเปตไม่เท่ากัน
- คำตอบของ Cubic equation of state
- จากกลีเซอรอล (glycerol) ไปเป็นอีพิคลอโรไฮดริน (epichlorohydrin)
- จากเบนซาลดีไฮด์ (Benzaldehyde) ไปเป็นกรดเบนซิลิก (Benzilic acid)
- จากโอเลฟินส์ถึงพอลิอีเทอร์ (From olefins to polyethers)
- จาก Acetone เป็น Pinacolone
- จาก Alkanes ไปเป็น Aramids
- จาก Aniline ไปเป็น Methyl orange
- จาก Benzene ไปเป็น Butter yellow
- จาก Hexane ไปเป็น Nylon
- จาก Toluene และ m-Xylene ไปเป็นยาชา
- ดำหรือขาว
- ตกค้างเพราะเปียกพื้นผิว
- ตอบคำถามแบบแทงกั๊ก
- ตอบคำถามให้ชัดเจนและครอบคลุม
- ตำราสอนการใช้ปิเปตเมื่อ ๓๓ ปีที่แล้ว
- ไตรเอทานอลเอมีน (Triethanolamine)
- ถ่านแก๊ส หินแก๊ส แก๊สก้อน
- ทอดไข่เจียวให้อร่อยต้องใช้น้ำมันหมู
- ทำไมน้ำกระด้างจึงมีฟอง
- ที่แขวนกล้วย
- เท่ากับเท่าไร
- โทลูอีน (Toluene)
- ไทโอนีลคลอไรด์ (Thionyl chloride)
- นานาสาระเคมีวิเคราะห์
- น้ำด่าง น้ำอัลคาไลน์ น้ำดื่ม
- น้ำดื่ม (คิดสักนิดก่อนกดแชร์ เรื่องที่ ๑๑)
- น้ำตาลทราย ซูคราโลส และยาคุมกำเนิดสำหรับผู้ชาย
- น้ำบริสุทธิ์ (Purified water)
- ไนโตรเจนเป็นแก๊สเฉื่อยหรือไม่
- บีกเกอร์ 250 ml
- แบบทดสอบก่อนเริ่มเรียนวิชาเคมีสำหรับนิสิตวิศวกรรมเคมี
- ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจนและการแทนที่ไฮโดรเจนของอะเซทิลีน (Hydrogenation and replacement of acetylenic hydrogen)
- ปฏิกิริยาการผลิต Vinyl chloride
- ปฏิกิริยาการออกซิไดซ์
- ปฏิกิริยา alpha halogenation และการสังเคราะห์ tertiary amine
- ปฏิกิริยา ammoxidation หมู่เมทิลที่เกาะอยู่กับวงแหวนเบนซีน
- ปฏิกิริยา Benzene alkylation
- ปฏิกิริยา Dehydroxylation
- ปฏิกิริยา Electrophilic substitution ของ m-Xylene
- ปฏิกิริยา Nucleophilic substitution ของสารประกอบ Organic halides
- ประโยชน์ของ Nitric oxide ในทางการแพทย์
- ปัญหาการสร้าง calibration curve ของ ICP
- ปัญหาการหาความเข้มข้นสารละลายกรด
- ปัญหาของไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัว
- โป้ง ชี้ กลาง นาง ก้อย
- ผลของค่าพีเอชต่อสีของสารละลายเปอร์แมงกาเนต
- ผลของอุณหภูมิต่อการแทนที่ตำแหน่งที่ 2 บนวงแหวนเบนซีน
- ฝึกงานภาคฤดูร้อน ๒๕๕๓ ตอนที่ ๑ อธิบายศัพท์
- พีคเหมือนกันก็แปลว่ามีหมู่ฟังก์ชันเหมือนกัน
- ฟลูออรีนหายไปไหน
- ฟอสฟอรัสออกซีคลอไรด์ (Phosphorus Oxychloride)
- ฟีนอล แอซีโทน แอสไพริน พาราเซตามอล สิว โรคหัวใจ และงู
- มุมมองที่ถูกจำกัด
- เมทานอลกับเจลล้างมือ
- เมื่อคิดในรูปของ ...
- เมื่อตำรายังพลาดได้ (Free radical polymerisation)
- เมื่อน้ำเพิ่มปริมาตรเองได้
- เมื่อหมู่คาร์บอนิล (carbonyl) ทำปฏิกิริยากันเอง
- รังสีเอ็กซ์
- เรื่องของสไตรีน (คิดสักนิดก่อนกด Share เรื่องที่ ๑)
- แลปการไทเทรตกรด-เบส ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา ๒๕๖๐
- ศัพท์เทคนิค-เคมีวิเคราะห์
- สรุปคำถาม-ตอบการสอบวันศุกร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๒
- สีหายไม่ได้หมายความว่าสารหาย
- เสถียรภาพของอนุมูลอิสระ (๑)
- เสถียรภาพของอนุมูลอิสระ (๒)
- เสถียรภาพของอนุมูลอิสระ (๓)
- หมู่ทำให้เกิดสี (chromophore) และหมู่เร่งสี (auxochrome)
- หลอกด้วยข้อสอบเก่า
- อะเซทิลีน กลีเซอรีน และไทออล
- อะโรมาติก : การผลิต การใช้ประโยชน์ และปัญหา
- อัลคิลเอมีน (Alkyl amines) และ อัลคิลอัลคานอลเอมีน (Alkyl alkanolamines)
- อีเทอร์กับการเกิดสารประกอบเปอร์ออกไซด์
- อุณหภูมิ อัตราการเกิดปฏิกิริยา สมดุลเคมี
- เอา 2,2-dimethylbutane (neohexane) ไปทำอะไรดี
- เอาเบนซีนกับเอทานอลไปทำอะไรดี
- เอา isopentane ไปทำอะไรดี
- เอา maleic anhydride ไปทำอะไรดี
- เอา pentane ไปทำอะไรดี
- ไอโซเมอร์ (Isomer)
- ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์กับพอลิโพรพิลีน
- Acentric factor
- Aldol condensation กับ Cannizzaro reaction
- Aldol condesation ระหว่าง Benzaldehyde กับ Acetone
- A-Level เคมี ปี ๖๖ ข้อพอลิเอทิลีน
- Beilstein test กับเตาแก๊สที่บ้าน
- Benzaldehyde กับปฏิกิริยา Nitroaldol
- BOD และ COD
- BOD หรือ DO
- Carbocation - การเกิดและเสถียรภาพ
- Carbocation - การทำปฏิกิริยา
- Carbocation ตอนที่ ๓ การจำแนกประเภท-เสถียรภาพ
- Chloropicrin (Trichloronitromethane)
- Compressibility factor กับ Joule-Thomson effect
- Conjugated double bonds กับ Aromaticity
- Cubic centimetre กับ Specific gravity
- Dehydration, Esterification และ Friedle-Crafts Acylation
- Electrophilic addition ของอัลคีน
- Electrophilic addition ของอัลคีน (๒)
- Electrophilic addition ของ conjugated diene
- Electrophilic substitution ตำแหน่งที่ 1 บนวงแหวนเบนซีน
- Electrophilic substitution ตำแหน่งที่ 2 บนวงแหวนเบนซีน ตอน ผลของอุณหภูมิการทำปฏิกิริยา
- Electrophilic substitution ตำแหน่งที่ 3 บนวงแหวนเบนซีน
- Electrophilic substitution ตำแหน่งที่ 3 บนวงแหวนเบนซีน ตอน การสังเคราะห์ 2,4-Dinitrophenol
- Esterification of hydroxyl group
- Gibbs Free Energy กับการเกิดปฏิกิริยาและการดูดซับ
- Halogenation ของ alkane
- Halogenation ของ alkane (๒)
- HCl ก่อน ตามด้วย H2SO4 แล้วจึงเป็น HNO3
- I2 ในสารละลาย KI กับไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว
- Infrared spectrum interpretation
- Interferometer
- IR spectra ของโทลูอีน (Toluene) เอทิลเบนซีน (Ethylbenzene) โพรพิลเบนซีน (Propylbenzene) และคิวมีน (Cumene)
- IR spectra ของเบนซีน (Benzene) และไซลีน (Xylenes)
- IR spectra ของเพนทีน (Pentenes)
- Kjeldahl nitrogen determination method
- Malayan emergency, สงครามเวียดนาม, Seveso และหัวหิน
- MO ตอบคำถาม การวัดความเป็นกรด-เบสบนพื้นผิวของแข็ง
- Nucleophile กับ Electrophile
- PAT2 เคมี ปี ๖๕ ข้อการไทเทรตกรดเบส
- Peng-Robinson Equation of State
- Phenol, Ether และ Dioxin
- Phospharic acid กับ Anhydrous phosphoric acid และ Potassium dioxide
- pH Probe
- Picric acid (2,4,6-Trinitrophenol) และ Chloropicrin
- PV diagram กับการอัดแก๊ส
- Pyrophoric substance
- Reactions of hydroxyl group
- Reactions of hydroxyl group (ตอนที่ ๒)
- Redlich-Kwong Equation of State
- Redlich-Kwong Equation of State (ตอนที่ ๒)
- Soave-Redlich-Kwong Equation of State
- Standard x-ray powder diffraction pattern ของ TiO2
- Sulphur monochloride และ Sulphur dichloride
- Thermal cracking - Thermal decomposition
- Thiols, Thioethers และ Dimethyl thioether
- Van der Waals' Equation of State
- Vulcanisation
ประสบการณ์ Gas chromatograph/Chromatogram
- 6 Port sampling valve
- กระดาษความร้อน (thermal paper) มี ๒ หน้า
- การแก้ปัญหา packing ในคอลัมน์ GC อัดตัวแน่น
- การฉีดแก๊สเข้า GC ด้วยวาล์วเก็บตัวอย่าง
- การฉีดตัวอย่างที่เป็นของเหลวด้วย syringe
- การฉีด GC
- การใช้ syringe ฉีดตัวอย่างที่เป็นแก๊ส
- การดึงเศษท่อทองแดงที่หักคา tube fitting ออก
- การตั้งอุณหภูมิคอลัมน์ GC
- การติดตั้ง Integrator ให้กับ GC-8A เพื่อวัด CO2
- การเตรียมคอลัมน์ GC ก่อนการใช้งาน
- การปรับความสูงพีค GC
- การวัดปริมาณไฮโดรเจนด้วย GC-TCD
- ข้อสังเกตเกี่ยวกับ FPD (ตอนที่ ๒)
- ข้อสังเกตเกี่ยวกับ FPD (Flame Photometric Detector)
- โครมาโทกราฟแยกสารได้อย่างไร
- ชนิดคอลัมน์ GC
- ตรวจโครมาโทแกรม ก่อนอ่านต้วเลข
- ตัวอย่างการแยกพีค GC ที่ไม่เหมาะสม
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๑
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๒
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๓
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๔
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๕
- ทำความรู้จักกับ Chromatogram ตอนที่ ๖
- ทำไมพีคจึงลากหาง
- ผลกระทบของน้ำที่มีต่อการวัดคาร์บอนไดออกไซด์ ตอนที่ ๑
- ผลกระทบของน้ำที่มีต่อการวัดคาร์บอนไดออกไซด์ ตอนที่ ๒
- ผลกระทบของน้ำที่มีต่อการวัดคาร์บอนไดออกไซด์ ตอนที่ ๓
- พีคที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับ packing ในคอลัมน์ GC
- พีคประหลาดจากการใช้อากาศน้อยไปหน่อย
- มันไม่เท่ากันนะ
- เมื่อความแรงของพีค GC ลดลง
- เมื่อจุดไฟ FID ไม่ได้
- เมื่อพีค GC หายไป
- เมื่อพีค GC ออกมาผิดเวลา
- เมื่อพีค GC ออกมาผิดเวลา(อีกแล้ว)
- เมื่อเพิ่มความดันอากาศให้กับ FID ไม่ได้
- เมื่อ GC ถ่านหมด
- เมื่อ GC มีพีคประหลาด
- ลากให้ผ่านหรือไม่ให้ผ่าน
- สัญญาณจาก carrier gas รั่วผ่าน septum
- สารพัดปัญหา GC
- สิ่งปนเปื้อนในน้ำ DI
- สิ่งปนเปื้อนในน้ำ DI (ตอนที่ ๒)
- Chromatograph principles and practices
- Flame Ionisation Detector
- GC-2014 ECD & PDD ตอนที่ ๗ ข้อสังเกตเกี่ยวกับ ECD (Electron Capture Detector)
- GC detector
- GC - peak fitting ตอนที่ ๑ การหาพื้นที่พีคที่เหลื่อมทับ
- GC principle
- LC detector
- LC principle
- MO ตอบคำถาม การแยกพีค GC ด้วยโปรแกรม fityk
- MO ตอบคำถาม สารพัดปัญหาโครมาโทแกรม
- Relative Response Factors (RRF) ของสารอินทรีย์ กับ Flame Ionisation Detector (FID)
- Thermal Conductivity Detector
- Thermal Conductivity Detector ภาค 2
สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items - DUI)
- การก่อการร้ายด้วยแก๊สซาริน (Sarin) ในรถไฟใต้ดินกรุงโตเกียว MO Memoir : Friday 6 September 2567
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๐ ฟังก์ชันเข้ารหัสรีโมทเครื่องปรับอากาศ
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๑ License key
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๒ สารเคมี (Chemicals)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๓ ไม่ตรงตามตัวอักษร (สารเคมี)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๔ ไม่ตรงตามตัวอักษร (Heat exchanger)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๕ Sony PlayStation
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๖ เส้นใยคาร์บอน (Carbon fibre)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๗ The Red Team : Centrifugal separator
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๘ The Blue Team : Spray drying equipment
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑๙ เครื่องสลายนิ่วในไตด้วยคลื่นกระแทก (Lithotripter)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๑ ตัวเก็บประจุ (Capacitor)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒๐ เรซินแลกเปลี่ยนไอออน (Ion-exchange resin)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒๑ ไม่ตรงตามตัวอักษร (Aluminium tube)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒๒ เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า (Defibrillator)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒๓ เครื่องยนต์ดีเซล
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๒ เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๓ เครื่องแปลงความถี่ไฟฟ้า (Frequency Changer)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๔ อุปกรณ์เข้ารหัส (Encoding Device)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๕ Insulated Gate Bipolar Transistor (IGBT)
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๖ Toshiba-Kongsberg Incident
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๗ รายงานผลการทดสอบอุปกรณ์
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๘ Drawing อุปกรณ์
- การวินิจฉัยการเข้าข่ายสินค้าที่ใช้ได้สองทาง ตัวอย่างที่ ๙ ซอร์ฟแวร์ควบคุมการทำงานอุปกรณ์
- เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนสำหรับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์
- แคลเซียม, แมกนีเซียม และบิสมัท กับการผลิตอาวุธทำลายล้างสูง
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๑
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๑๐
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๒
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๓
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๔
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๕
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๖
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๗
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๘
- สินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Dual-Use Items : DUI) ตอนที่ ๙
API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๐)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๑)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๒)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๓)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๔)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๑๕)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๒)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๓)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๔)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๕)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๖)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๗)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๘)
- API 2000 Venting Atmospheric and Low-Pressure Storage Tanks (ตอนที่ ๙)
โน๊ตเพลง
- "กำลังใจ" และ "ถึงเพื่อน"
- "ใกล้รุ่ง" และ "อาทิตย์อับแสง"
- "คนดีไม่มีวันตาย" "หนึ่งในร้อย (A Major) และ "น้ำตาแสงใต้ (A Major)"
- "ความฝันอันสูงสุด" และ "ยามเย็น"
- "จงรัก" และ "ความรักไม่รู้จบ"
- "ฉันยังคอย" และ "ดุจบิดามารดร"
- "ชาวดง" และ "ชุมนุมลูกเสือไทย"
- "ตัดใจไม่ลง" และ "ลาสาวแม่กลอง"
- "เติมใจให้กัน" และ "HOME"
- "แต่ปางก่อน" "ความรักไม่รู้จบ" "ไฟเสน่หา" และ "แสนรัก"
- "ทะเลใจ" "วิมานดิน" และ "เพียงแค่ใจเรารักกัน"
- "ที่สุดของหัวใจ" "รักล้นใจ" และ "รักในซีเมเจอร์"
- "ธรณีกรรแสง" และ "Blowin' in the wind"
- "นางฟ้าจำแลง" "อุษาสวาท" และ "หนี้รัก"
- "แผ่นดินของเรา" และ "แสงเทียน"
- "พรปีใหม่" และ "สายฝน"
- "พี่ชายที่แสนดี" "หลับตา" และ "หากรู้สักนิด"
- เพลงของโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- "มหาจุฬาลงกรณ์" "ยูงทอง" และ "ลาภูพิงค์"
- "ยังจำไว้" "บทเรียนสอนใจ" และ "ความในใจ"
- "ร่มจามจุรี" และ "เงาไม้"
- "ลมหนาว" และ "ชะตาชีวิต"
- "ลองรัก" และ "วอลซ์นาวี"
- "ลาแล้วจามจุรี"
- "วันเวลา" และ "โลกทั้งใบให้นายคนเดียว"
- "วิหคเหินลม" และ "พรานทะเล"
- "สายชล" และ "เธอ"
- "สายใย" และ "ความรัก"
- "สายลม" และ "ไกลกังวล"
- "สายลมเหนือ" และ "เดียวดายกลางสายลม"
- "หน้าที่ทหารเรือ" และ "ทหารพระนเรศวร"
- "หนึ่งในร้อย" และ "น้ำตาแสงใต้"
- "หากันจนเจอ" และ "ลมหายใจของกันและกัน"