เขียนเรื่องคนอื่นมาเยอะแล้ว
มาวันนี้ขอเขียนเรื่องตัวเองบ้าง
จะเรียกว่าอัตชีวประวัติก็คงจะได้
จำได้ว่าตอนเรียนอนุบาลนั้น
ตอนเช้าเดินออกจากบ้านที่ตรอกข้าวเม่าออกมากับคุณแม่
มาขึ้นรถตุ๊ก ๆ คันเล็ก ๆ
ตรงหน้าร้านบ้านเนินการค้า
เพื่อมาข้ามเรือที่ท่าวังหลังข้างศิริราช
จากนั้นจึงค่อยนั่งรถเมล์มายังโรงเรียนอนุบาลที่อยู่ในซอยเล็ก
ๆ ของถนนสามเสนใกล้กับสะพานกรุงธน
ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนเป็นป่าช้าฝรั่ง
ที่รู้ก็เพราะตอนนั้นช่วงหนึ่งต้องเดินผ่านป่าช้านั้นเป็นประจำ
(เส้นทางสีเหลืองในรูปข้างล่าง)
ช่วงนั้นน่าจะเป็นตอนเรียนอนุบาล
๒ พี่ชายที่เรียนป.
๑
อยู่ในโรงเรียนที่อยู่อีกฟากของป่าช้าฝรั่งนั้นจะเดินมารับผมที่โรงเรียนอนุบาลเป็นประจำ
พาผมเดินตัดผ่านป่าช้าฝรั่งนั้นไปรอคุณแม่มารับในโรงเรียนพี่ชาย
(นึกดูแล้วก็แปลก
ที่สมัยนั้นเด็กสังคมปลอดภัยขนาดให้เด็กป.
๑
พาเด็กอนุบาลเดินออกนอกโรงเรียนได้ด้วยตนเอง
ไม่เหมือนสมัยนี้)
ประตูด้านที่เปิดเข้าโรงเรียนพี่ชายผมนั้นเป็นประตูเล็ก
ๆ ธรรมดา (อยู่ข้างตึกแม่พระ
ซึ่งตอนนี้ตึกนี้ก็ไม่มีแล้ว)
ตรงนั้นจะมีหลุมฝังศพที่ฝังไว้ใต้ดิน
มีแผ่นหินป้ายชื่อบอกว่าฝังใครเอาไว้
ผมเองบางวันก็เดินผ่านหน้าแผ่นหินป้ายชื่อนั้น
บางวันก็เดินผ่านด้านหลังแผ่นหินป้ายชื่อนั้น
ตอนนั้นก็นึกสงสัยเหมือนกันว่าศพที่เขาฝังนั้นฝังอยู่ทางด้านหน้าหรือทางด้านหลังของแผ่นหิน
สมุดพกสมัยเรียนโรงเรียนอนุบาลนั้นก็ยังคงอยู่
(คุณพ่อกับคุณแม่เก็บไว้ให้)
แต่ได้รับความเสียหายเล็กน้อยจากน้ำท่วมเมื่อปี
๒๕๕๔ (มันไม่จมน้ำ
แต่ระดับน้ำท่วมที่สูง
ทำให้กระดาษชื้น)
มาวันนี้พอจะนึกได้ก็เลยถือโอกาสเอามาสแกนเก็บเอาไว้ก่อนที่มันจะเปื่อยลงไปอีก
ตัวสมุดพกเองมีความสูงประมาณ
๗ นิ้ว (เล็กกว่าความกว้างของกระดาษ
A4
เล็กน้อย)
พับทบอยู่
๓ ชั้น
ผมเรียนอนุบาลที่โรงเรียนนี้ในปีการศึกษา
๒๕๑๓ และ ๒๕๑๔ ตอนนั้นธนบุรียังเป็นจังหวัดหนึ่ง
ยังไม่ถูกยุบรวมเข้ากับกรุงเทพ
แต่ละปีการศึกษามีการเรียนกัน
๓ ภาค คือภาคต้น ภาคกลาง
และภาคปลาย ไม่ใช่ ๒
ภาคการศึกษาเหมือนในปัจจุบัน
ปัจจุบันโรงเรียนอนุบาลดังกล่าวปิดไปแล้ว
(เข้าใจว่าที่ตั้งของโรงเรียนนั้น
ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นโรงเรียนอนุบาลชื่ออื่น)
แต่ไปเปิดสาขาที่อื่นอีกหลายแห่งแทนและขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมาก
ผมลองค้นประวัติโรงเรียนดังกล่าวจากหน้าเว็บไซต์ของโรงเรียน
(http://www.thampirak.ac.th/index.php)
ก็พบว่าโรงเรียนดังกล่าวตั้งขึ้นในปีพ.ศ.
๒๕๑๓
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น