Prof.
Trever Kletz เคยกล่าวไว้ในบทความฉบับหนึ่งในปีค.ศ.
๑๙๘๐
ว่า "ในอุตสาหกรรมเคมี
ไนโตรเจนเป็นแก๊สที่ฆ่าคนตายมากที่สุด
มากกว่าสารอื่นใด"
ความหมายของ
"แก๊สเฉื่อย"
ในอุตสาหกรรมนั้นแตกต่างไปจากความหมายในวิชาเคมี
ในวิชาเคมีนั้นเวลาพูดถึง
"แก๊สเฉื่อย"
จะหมายถึงธาตุที่อยู่หมู่สุดท้ายของตารางธาตุ
ซึ่งแทบจะไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับธาตุใด
ๆ เลย
แต่ในอุตสาหกรรมนั้นจะหมายถึงแก๊สใดก็ตามที่ไม่ทำปฏิกิริยากับ
"สารต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิต"
และ
"แก๊สเฉื่อย"
ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเคมี
ปิโตรเคมี และปิโตรเลียม
มากที่สุดเห็นจะได้แก่
"ไนโตรเจน"
ที่ใช้ในการไล่อากาศออกจากระบบ
(อันที่จริงก็เพื่อกำจัดออกซิเจน)
เพราะผลิตที่ไหนก็ได้และมีราคาถูก
ถัดลงไปก็มีอาร์กอน
(ใช้ในการเชื่อมโลหะแบบ
TIG)
และคาร์บอนไดออกไซด์
(ใช้ในการเชื่อมโลหะและทำความเย็นด้วยน้ำแข็งแห้ง)
รูปที่
๑ ผลของความเข้มข้นออกซิเจนที่ลดต่ำลงต่อร่างกายมนุษย์
ที่วารสาร Loss
Prevention Bulletin vol. 97 ปีค.ศ.
๑๙๙๑
ที่นำมาจาก Safetygram
ของบริษัท
Air
Products ที่จัดทำขึ้นในปีค.ศ.
๑๙๗๘
สาเหตุหลักที่ทำให้คนเสียชีวิตจากแก๊สเฉื่อยเหล่านี้คือการที่มันเข้าไปแทนที่อากาศจนทำให้ความเข้มข้นออกซิเจนลดต่ำลงจนทำให้คนขาดออกซิเจน
รูปที่
๑ ข้างบนเป็นข้อมูลจาก
Safetygram
ของบริษัท
Air
Products ที่จัดทำขึ้นในปีค.ศ.
๑๙๗๘
ที่วารสาร Loss
Prevention Bulletin vol. 97 ปีค.ศ.
๑๙๙๑
นำมาแสดงในบทความเรื่อง
"Safety
considerations using liquid nitrogen" โดย
J.W.
Hempseed และใน
Memoir
ฉบับนี้ก็จะนำเนื้อหาจากบทความดังกล่าวมาเล่าให้ฟัง
แต่ก่อนอื่นอยากใหัสังเกตผลของออกซิเจนที่ระดับความเข้มข้นต่าง
ๆ กันที่มีต่อมนุษย์ที่นำมาแสดงในรูปที่
๑ และ ๒ ก่อน (ข้อมูลจากบริษัทเดียวกันแต่ห่างกัน
๓๖ ปี)
รูปที่
๒ ผลของความเข้มข้นออกซิเจนที่ลดต่ำลงต่อร่างกายมนุษย์
นำมาจาก Safetygram
ของบริษัท
Air
Products เช่นกัน
ฉบับนี้จัดทำขึ้นในปีค.ศ.
๒๐๑๔
(เพิ่งดาวน์โหลดมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว)
ข้อมูลในรูปที่
๒ กล่าวไว้ว่าที่ระดับความเข้มข้นออกซิเจน
10-12
vol% นั้นสามารถทำให้คนหมดสติได้ภายในเวลาไม่กี่นาที
และในรูปที่ ๑
นั้นกล่าวว่าที่ระดับความเข้มข้นออกซิเจนต่ำกว่า
4
vol% จะทำให้คนเข้าสู่ระดับโคม่าในเวลาเพียงแค่
๔๐ วินาที
ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ของเหลวหรือแก๊สไวไฟ
(เช่นกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี)
ก่อนที่จะนำสารไวไฟเข้าระบบ
จำเป็นต้องมีการไล่อากาศออกก่อนด้วยการใช้แก๊สไนโตรเจนบริสุทธิ์ไล่
และเมื่อต้องการซ่อมแซมอุปกรณ์
(เช่นพวก
vessel
ต่าง
ๆ)
หลังจากที่ระบายสารไวไฟออกจากระบบแล้ว
ก็ต้องไล่สารไวไฟที่หลงเหลืออยู่
(เช่นไอระเหยของของเหลว
หรือแก๊สที่ยังคงค้างอยู่ในระบบ)
ออกจากระบบให้หมดด้วยการใช้แก๊สไนโตรเจนบริสุทธิ์เข้าไปไล่
(เรียกว่าทำการ
purge
หรือ
nitrogen
purging) เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้ในระบบจะเป็นแก๊สไนโตรเจน
100%
หลังจากนั้นอาจจะค้างระบบโดยให้มีไนโตรเจนบริสุทธิ์คงค้างอยู่ข้างใน
(ถ้ายังไม่คิดจะเข้าไปข้างใน)
ไว้อย่างนั้นก่อน
หรือทำการแทนที่ไนโตรเจนด้วยอากาศ
(ถ้าคิดจะเข้าไปทำงานภายใน
vessel
นั้น)
และช่วงที่ทำให้คนเสียชีวิตมากที่สุดเห็นจะเป็นช่วงที่มีการเปิด
vessel
ทิ้งเอาไว้ก่อนทำการแทนที่ไนโตรเจนด้วยอากาศ
เพราะคนที่เข้าไปข้างในจะพบกับบรรยากาศที่เปลี่ยนจากออกซิเจน
21%
เป็น
0%
ทันที
อันที่จริงภาษาเขียนที่ใช้กันใน
Loss
Prevention Bulletin ฉบับเก่า
ๆ นั้นเป็นภาษาที่อ่านง่าย
คือต้องการให้คนทั่วไปในวงการอุตสาหกรรมอ่านรู้เรื่อง
ไม่ได้เน้นให้อ่านยากไว้ก่อนแบบที่นิยมทำกันกับบทความวิชาการในปัจจุบัน
แต่สำหรับคนที่ไม่ได้อยู่ภายในวงการอุตสาหกรรมแล้วอาจจะไม่เข้าใจว่าคำต่าง
ๆ หรือการกระทำต่าง ๆ
ที่เขากล่าวถึงนั้นหมายถึงอะไร
และนี่คือวัตถุประสงค์ของ
Memoir
ฉบับนี้ที่จะย่อยให้ฟัง
ขอเข้าเรื่องเลยก็แล้วกัน
๑.
คนงานพ่นสีหายใจจากหน้ากากหายใจที่ต่อเข้ากับท่อไนโตรเจนแทนที่จะเป็นท่ออากาศ
รอดชีวิตมาได้ด้วยการผายปอดแบบปากต่อปาก
ในโตรเจนบริสุทธิ์ผลิตจากการกลั่นแยกอากาศ
ผลิตภัณฑ์หลักที่ได้คือ
ไนโตรเจน และออกซิเจน
(โดยอาจมีอาร์กอนร่วมด้วย)
ถ้าเป็นโรงงานตั้งเป็นกลุ่มนั้น
อาจมีโรงงานกลั่นแยกอากาศโดยเฉพาะและส่งไนโตรเจนบริสุทธิ์ส่งตามท่อไปจำหน่ายยังบริษัทต่าง
ๆ ที่อยู่ล้อมรอบ
โรงงานที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยวแต่มีการใช้ไนโตรเจนมาก
ก็อาจมีการตั้งหน่วยกลั่นแยกอากาศหรือไม่ก็หน่วย
Pressure
Swing Absorption (PSA) ในการผลิตไนโตรเจนบริสุทธิ์
แต่ถ้าเป็นโรงงานที่ตั้งอยู่โดยเดี่ยวและมีการใช้ไม่มาก
ก็มักจะใช้วิธีซื้อมาในรูปของแก๊สไนโตรเจนเหลวมาบรรจุในถังเก็บ
เวลาใช้งานก็ค่อยระเหยแก๊สไนโตรเหลวนี้ให้กลายเป็นแก๊สส่งไปตามท่อไปยังหน่วยต่าง
ๆ ในโรงงานต่อไป
ในโรงงานมักจะมีการวางระบบท่อสาธารณูปโภคกระจายไปตามแหล่งต่าง
ๆ ที่คาดว่ามีความจำเป็นต้องใช้
(แบบเดียวกันกับการติดตั้งปลั๊กไฟในอาคาร)
โดยมีจุดสำหรับเชื่อมต่อสายยางที่มีวาล์วปิดเปิด
(แบบเดียวกับก๊อกน้ำ)
ท่อสาธารณูปโภคหลักที่เห็นกันทั่วไปก็ได้แก่
ท่อไอน้ำ ท่ออากาศ และท่อไนโตรเจน
ไนโตรเจนใช้สำหรับการไล่สารไวไฟออกจากระบบ
ส่วนอากาศก็ใช้สำหรับการไล่ไนโตรเจนออกจากระบบ
ใช้กับเครื่องช่วยหายใจ
และใช้ขับเคลื่อนอุปกรณ์ช่าง
(เช่นพวก
สว่าน)
ในบริเวณที่ไม่สามารถใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าแบบธรรมดาทั่วไปได้
และมันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะพบว่าบริเวณสำหรับเชื่อมต่อสายยางของท่อสาธารณูปโภคแบบนี้จะอยู่รวมกันเสมอ
การป้องกันการต่อสายยางเข้าผิดท่อ
(เช่นในกรณีของตัวอย่างนี้คือแทนที่จะต่อเข้ากับท่ออากาศหายใจ
ดันไปต่อเข้ากับท่อไนโตรเจนแทน)
อาจทำได้ด้วยการใช้สีท่อให้แตกต่างกัน
แต่นั่นก็ไม่ได้รับประกันเสมอไปว่าจะไม่มีการต่อผิดพลาด
วิธีการที่ดีกว่าคือการกำหนดชนิด
"ข้อต่อ"
(เช่นพวก
quick
coupling) สำหรับท่อสาธารณูปโภคแต่ละชนิดให้แตกต่างกันไปเลย
เช่นอาจใช้ ขนาดและ/หรือชนิด
ที่แตกต่างกัน
๒.
มีผู้เสียชีวิตสองรายในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในอังกฤษ
ในขณะที่ทำให้ท่อแข็งตัวด้วยไนโตรเจนเหลวในระหว่างการซ่อมบำรุง
อ่านแล้วงงไหมครับ
ว่าเขาทำอะไรกัน
ทำไมต้องมีการทำท่อแช่แข็ง
โดยทั่วไปเวลาที่ต้องการซ่อมระบบท่อ
ก็มักจะต้องเริ่มด้วยการปิดวาล์วที่ปลายท่อด้านต่าง
ๆ แต่สำหรับท่อขนาดเล็ก
ของที่ไหลอยู่ข้างในท่อนั้นไม่ได้เป็นสารอันตราย
และไม่มีวาล์วที่จะปิดเฉพาะท่อนี้
(เช่นระบบท่ออาจมีวาล์วตัวเดียวที่ท่อหลักที่ควบคุมการจ่ายไปยังหน่วยต่าง
ๆ ถ้าปิดวาล์วตัวนี้จะปิดการไหลไปยังทุกหน่วย
แต่ในการซ่อมบำรุงนั้นต้องการที่จะหยุดการไหลไปที่หน่วยใดหน่วยหนึ่งเท่านั้น
โดยไม่ต้องการรบกวนการทำงานของหน่วยอื่น
เทคนิคหนึ่งที่สามารถทำได้ก็คือการทำให้ของเหลวในท่อนั้นเย็นจนแข็งตัวจนปิดกั้นการไหล
จากนั้นจึงค่อยทำการซ่อมบำรุง
แต่ทั้งนี้ต้องระวังเรื่องอุณหภูมิที่โลหะที่ใช้ทำท่อสามารถทนได้ด้วย
เพราะที่อุณหภูมิต่ำมาก
โลหะเองจะเปราะจากอาจแตกเนื่องจากการกระแทกหรือความดันภายในได้
บทความให้ข้อมูลไว้เพียง
๓ บรรทัด
แต่คาดว่าคงเกิดจากการที่ใช้ไนโตรเจนเหลวในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทไม่ดี
และไนโตรเจนเหลวกลายเป็นไอปริมาณมากอย่างรวดเร็ว
แทนที่อากาศจนทำให้ผู้ปฏิบัติงานขาดอากาศเสียชีวิต
๓.
เกิดการระเบิดขึ้นในโรงงานผลิตแคปหมู
(ในบทความใช้คำว่า
pork
scratching) ที่ใช้ไนโตรเจนเหลวในการทำให้หนังหมู
(pork
rind) แข็งตัวก่อนนำไปป่นละเอียดเพื่อนำไปผลิตแคปหมู
วิธีการทำให้วัสดุที่มีความเหนียว
นุ่ม กลายเป็นผงได้นั้นทำได้ด้วยการแช่แข็งวัสดุดังกล่าวก่อน
จากนั้นจึงค่อยทำการบดหรือป่นให้เป็นผง
ไนโตรเจนเหลวมีจุดเดือดที่ต่ำกว่าจุดเดือดของออกซิเจน
ที่บริเวณผนังภายนอกของท่อหรือภาชนะบรรจุไนโตรเจนเหลวที่ไม่มีการหุ้มฉนวน
ออกซิเจนในอากาศจะควบแน่นออกมาจากอากาศก่อน
ทำให้ในบริเวณดังกล่าวมีความเข้มข้นออกซิเจนสูงผิดปรกติ
และถ้าบริเวณดังกล่าวมีสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิงที่ติดไฟได้
ก็จะเกิดการลุกติดไฟหรือการระเบิดได้ง่ายขึ้นจากการมีออกซิเจนความเข้มข้นสูงในบริเวณดังกล่าว
การเกิดอันตรายจากการระเบิดจะเกิดได้ง่ายขึ้นถ้าบริเวณที่เกิดการควบแน่นของออกซิเจนนั้นเป็นบริเวณจำกัด
(confined
space) ทำให้ความเข้มข้นออกซิเจนเพิ่มสูงขึ้นมากได้ในบริเวณดังกล่าว
กรณีตัวอย่างนี้เป็นกรณีที่เกิดขึ้นในโรงงานแปรรูปเนื้อหมู
(หรือจะเรียกเนื้อสุกรก็ตามแต่)
ในปีค.ศ.
๑๙๗๙
ที่ทำการแช่แข็งหนังหมูด้วยการใช้ไนโตรเจนเหลว
จากนั้นจะนำหนังหมู (pork
rind) ไปป่นละเอียดเพื่อนำไปผลิตเป็นแคปหมู
(pork
scratching) ต่อไป
ในวันที่เกิดเหตุนั้นมีความล่าช้าเกิดขึ้นก่อนเริ่มขั้นตอนการป่นละเอียด
ทำให้เกิดการควบแน่นของอากาศบนหนังหมูที่เย็นจัดที่อยู่ในเครื่องป่น
(กล่าวคือพื้นผิวหนังหมูมีออกซิเจนเข้มข้นมากเป็นพิเศษ)
และเมื่อเดินเครื่องป่นหนังหมู
การเสียดสีที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง
ส่งผลให้พนักงานเสียชีวิต
๒ ราย
ฉบับนี้คงทักทายกันแค่นี้ก่อน
ชื่อบทความก็ขึ้นไว้แล้วว่าเป็น
"ตอนที่
๑"
ก็บ่งเป็นนัยอยู่แล้วว่ายังมีตอนต่อไปอีก
แต่จะมีอีกกี่ตอนก็บอกไม่ได้เหมือนกัน
เพราะข้อมูลในเอกสารที่มีอยู่ในมือก็มีหลากหลายเรื่องเช่นกัน
แล้วจะค่อยย่อยออกเป็นเรื่องสั้น
ๆ พร้อมคำอธิบายเพิ่มเติม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น