พิจารณาระบบผลิตไอน้ำระบบหนึ่งที่ประกอบด้วยปั๊มน้ำที่สูบน้ำจากถังเก็บเพื่อป้อนให้กับหม้อน้ำ
โดยหม้อน้ำผลิตไอน้ำที่ความดันคงที่
10
bar (10 kg/cm2) โดยมีกำลังการผลิตไอน้ำสูงสุด
10
t/h (ตันต่อชั่วโมง)
ดังนั้นปั๊มน้ำต้องสามารถให้อัตราการไหลสูงสุดของน้ำ
(ของเหลว)
ได้อย่างน้อย
10
m3/h ที่ความดันด้านขาเข้าวาล์วควบคุมไม่ต่ำกว่า
10
bar รูปที่
๑ ข้างล่างเป็นแผนผังอย่างง่ายของระบบดังกล่าว
ปั๊มที่ใช้กันมากที่สุดในโรงงานเห็นจะได้แก่ปั๊มหอยโข่ง
(centrifugal
pump)
ปั๊มชนิดนี้อาศัยการเพิ่มพลังงานจลน์ให้กับของเหลวที่ดูดเข้ามาและถูกเหวี่ยงออกจาก
จากนั้นของเหลวก็จะเปลี่ยนพลังงานจลน์ที่มันได้รับมาให้กลายเป็นความดันอีกทีหนึ่ง
ความดันที่สร้างได้นั้นขึ้นอยู่กับขนาดของใบพัดที่ใช้และความเร็วรอบที่หมุน
(ขึ้นกับชนิดของมอเตอร์ว่ามีกี่
pole
และใช้ไฟฟ้าความที่กี่
Hz)
การควบคุมอัตราการไหลจะใช้วาล์วควบคุมการไหลด้านขาออก
โดยต้องคำนึงถึงโอกาสที่ว่าวาล์วควบคุมนั้นจะมีโอกาสปิดสนิทหรือไม่
ถ้าคาดว่าในการทำงานนั้นมีโอกาสที่วาล์วควบคุมจะปิดสนิท
ก็ต้องมีการติดตั้ง minimum
flow line ที่เปิดค้างไว้ตลอดเวลา
(ป้อนของเหลวด้านขาออกจากปั๊มกลับไปยังถังบรรจุของเหลว)
เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีของเหลวไหลผ่านตัวปั๊มตลอดเวลาแม้ว่าวาล์วควบคุมจะปิดสนิท
(เพื่อป้องกันความเสียหายแก่ตัวปั๊มถ้าหากไม่มีของเหลวไหลผ่าน)
พฤติกรรมทั่วไปของปั๊มหอยโข่งคือจะให้ค่าความดันด้านขาออกที่สูงที่สุดเมื่ออัตราการไหลด้านขาออกมีค่าต่ำสุด
(คือเป็นศูนย์
หรือที่ค่าอัตราการไหลที่ต่ำที่สุดที่ต้องมีเพื่อป้องกันไม่ให้ปั๊มเกิดความเสียหาย)
และถ้าอัตราการไหลเพิ่มขึ้น
ความดันด้านขาออกจะลดลง
ถ้ายังนึกภาพไม่ออกก็ลองดูรูปของ
pump
performance curve ในรูปที่
๒ ได้
(ปั๊มหอยโข่งบางชนิดอาจจะเห็นว่าความดันด้านขาออกค่อนข้างคงที่หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ก่อนที่จะลดต่ำลงเมื่ออัตราการไหลสูงขึ้น
แต่พฤติกรรมเช่นนี้จะเห็นเฉพาะในช่วงอัตราการไหลที่ต่ำเท่านั้น
-
บางกราฟใช้สเกล
log
สำหรับแกนนอน
ดังนั้นแม้เส้นกราฟจะดูยาว
แต่ถ้าเทียบกับสเกลแล้วจะเห็นว่ามันเป็นช่วงการไหลแคบ
ๆ เท่านั้นเอง)
เนื้อหาที่เขียนในตอนนี้นำบทความจาก
http://www.spiraxsarco.com/Resources/Pages/Steam-Engineering-Tutorials/control-hardware-el-pn-actuation/control-valve-characteristics.aspx
มาเป็นต้นแบบโดยนำมาขยายความเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้ที่ยังไม่ค่อยมีพื้นฐาน
(รวมทั้งผมเองด้วย)
มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น
โดยจะทำการคำนวณเปรียบเทียบกับตัวอย่างในหน้าเว็บดังกล่าว
และทำการคำนวณเพิ่มเติมเพื่อให้เห็นรายละเอียดต่าง
ๆ มากขึ้น
ตัวอย่างที่ยกมานี้ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ไม่มี
minimum
flow line
คือของน้ำที่จ่ายออกทางด้านขาออกของปั๊มถูกส่งตรงไปที่หม้อน้ำทั้งหมด
สมมุติว่าปั๊มที่ใช้น้ำมีค่าความดันด้านขาออกที่อัตราการไหลต่าง
ๆ ดังแสดงในตารางที่ ๑
ความดันด้านขาออกของปั๊มนี้ถือว่าเป็นความดันด้านขาเข้าของวาล์วควบคุม
โดยที่ด้านขาออกของวาล์วควบคุมนั้นถือว่ามีความดันเท่ากับความดันในหม้อน้ำคือ
10
bar ดังนั้นค่า
ΔP
คร่อมวาล์วที่อัตราการไหลใด
ๆ จึงคำนวณได้จากสมการที่
(1)
ตารางที่
๑ ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการไหลและความดันด้านขาออกของปั๊ม
อัตราการไหล
(m3/h)
|
0
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
9
|
10
|
ความดันด้านขาออกของปั๊ม
(bar)
|
15.58
|
15.54
|
15.42
|
15.23
|
14.95
|
14.58
|
14.41
|
13.61
|
13.00
|
12.31
|
11.54
|
ΔP
คร่อมวาล์ว
(bar)
|
5.58
|
5.54
|
5.42
|
5.23
|
4.95
|
4.58
|
4.41
|
3.61
|
3.00
|
2.31
|
1.54
|
สำหรับวาล์วควบคุมนั้นเรามีสมการคำนวณค่า
flow
coefficient (Kv
อันนี้ขอเป็นระบบเมตริกหน่อยนะ)
ดังนี้
สำหรับน้ำที่มีค่า
specific
gravity (SG)
= 1 สมการที่
(2)
จะลดรูปเหลือ
ในการระบุความสามารถ
(capacity)
ของวาล์วในการส่งผ่านของเหลวนั้นเพื่อคำนวณค่า
Kv
นั้นจะใช้ค่า
ΔP
คร่อมวาล์วที่
1
bar เป็นเกณฑ์เปรียบเทียบ
โดยสมมุติว่าวาล์วเปิดเต็มที่
ดังนั้นในกรณีนี้ถ้าต้องการวาล์วที่ให้น้ำไหลผ่านได้
10
m3/h ที่ค่า
ΔP
คร่อมวาล์วที่
1
bar จากสมการที่
(3)
ก็จะคำนวณได้ค่า
Kv
= 10
แต่ในความเป็นจริงนั้นวาล์วไม่ได้ทำงานโดยมีค่า
ΔP
คร่อมวาล์วเท่ากับ
1
bar เสมอไป
อย่างเช่นในกรณีของตัวอย่างที่ยกมานี้
ถ้าต้องการให้น้ำไหลผ่านวาล์วได้
10
m3/h ในขณะที่วาล์วเปิดเต็มที่
(100%
open) ซึ่งจะมีค่า
ΔP
คร่อมวาล์วเท่ากับ
1.54
bar (ตารางที่
๑)
ดังนั้นจะสามารถคำนวณค่า
Kvr
(required valve capacity) ได้จากการจัดรูปแบบสมการที่
(3)
ใหม่ดังนี้
เมื่อแทนค่า
Q
= 10 m3/h และ
ΔP
คร่อมวาล์วเท่ากับ
1.54
bar ลงไปในสมการที่
(4)
ก็จะได้ค่า
Kvr
= 8.06
ค่า
Kv
นั้นเปรียบเสมือนขนาดพื้นที่หน้าตัดสำหรับให้ของเหลวไหลผ่านเมื่อวาล์วเปิดเต็มที่
ในขณะที่ Kvr
นั้นเปรียบเสมือนพื้นที่หน้าตัดสำหรับให้ของเหลวไหลผ่านที่ค่าอัตราการไหลใด
ๆ สมมุติว่าถ้าความดันคร่อมวาล์วคงที่
เมื่อวาล์วเปิดเต็มที่จะมีน้ำไหลผ่านได้
10
m3/h ถ้าต้องการให้น้ำไหลผ่านเพียง
6
m3/h ก็ต้องลดขนาดพื้นที่หน้าตัดสำหรับให้น้ำไหลลงเหลือ
60%
ถ้าวาล์วดังกล่าวมีค่า
Kv
= 8.06 (เมื่อวาล์วเปิดเต็มที่)
ดังนั้นที่อัตราการไหล
6
m3/h วาล์วก็ต้องปิดตัวลงเพื่อลดค่า
Kvr
ให้เหลือ
8.06
x (6/10) = 4.84
ในกรณีที่ค่าความดันลดคร่อมวาล์ว
(ΔP)
เปลี่ยนแปลงไปตามอัตราการไหลนั้นเราจะสามารถคำนวณค่า
Kvr
ได้โดยใช้สมการที่
(4)
ดังนั้นสำหรับกรณีตัวอย่างที่ยกมาในตารางที่
๑ นั้นเราจะสามารถคำนวณค่า
Kvr
ที่อัตราการไหลต่าง
ๆ ได้ดังแสดงในตารางที่ ๒
โดยที่ค่านี้ไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของวาล์วว่าจะเป็นวาล์วควบคุมแบบไหน
ตารางที่
๒ ความสัมพันธ์ระหว่างค่า
Kvr
และอัตราการไหล
อัตราการไหล
(m3/h)
|
0
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
9
|
10
|
ความดันด้านขาออกของปั๊ม
(bar)
|
15.58
|
15.54
|
15.42
|
15.23
|
14.95
|
14.58
|
14.41
|
13.61
|
13.00
|
12.31
|
11.54
|
ΔP
คร่อมวาล์ว
(bar)
|
5.58
|
5.54
|
5.42
|
5.23
|
4.95
|
4.58
|
4.41
|
3.61
|
3.00
|
2.31
|
1.54
|
Kvr
|
0.00*
|
0.42
|
0.86
|
1.31
|
1.80
|
2.34
|
2.95
|
3.68
|
4.62
|
5.92
|
8.06
|
หมายเหตุ
:
ที่อัตราการไหลเป็น
0
สมมุติให้วาล์วปิดสนิท
ใน
Memoir
ฉบับที่แล้ว
(วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙)
ได้เล่าไว้ว่าสำหรับวาล์วตัวหนึ่งนั้นขนาดพื้นที่หน้าตัดที่เปิดให้ของเหลวไหลผ่านได้นั้น
(ซึ่งบ่งบอกถึงค่า
Kvr)
ขึ้นอยู่กับรูปร่างของ
valve
plug และระยะการยกขึ้นลงของ
valve
plug ในกรณีของวาล์วควบคุมชนิด
linear
นั้นความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่หน้าตัดที่เปิดให้ของเหลวไหลผ่านกับระยะการยกตัวขึ้นลงของ
valve
plug มีลักษณะเป็นเส้นตรง
กล่าวคือถ้าวาล์วยกตัวสูงขึ้น
10%
พื้นที่หน้าตัดการไหลก็จะเปิดเพียงแค่
10%
ของพื้นที่ทั้งหมด
(หรือ
Kvr
= 0.10Kv
) ถ้าวาล์วยกตัวสูงขึ้น
35%
พื้นที่หน้าตัดการไหลก็จะเปิดเพียงแค่
35%
ของพื้นที่ทั้งหมด
(หรือ
Kvr
= 0.35Kv
) ถ้าวาล์วยกตัวสูงขึ้น
100%
พื้นที่หน้าตัดการไหลก็จะเปิดเพียงแค่
100%
ของพื้นที่ทั้งหมด
(หรือ
Kvr
= 1.00Kv
)
จากข้อมูลในตารางที่
๒ นั้น ถ้าเราเลือกใช้วาล์วควบคุมที่มีรูปแบบการไหลแบบ
linear
type ที่มีค่า
Kv
= 8.06 ที่ให้อัตราการไหล
10
m3/h เมื่อวาล์วเปิดเต็มที่
(คือมีระยะการยกตัวของ
valve
plug = 100%) เราจะสามารถคำนวณระยะการยกตัวของ
valve
plug ที่อัตราการไหลต่าง
ๆ ได้จากสมการ
เช่นที่อัตราการไหล
6
m3/h valve plug จะยกตัวขึ้น
(2.95/8.06)
x (100) = 36.60% ดังนั้นเมื่อคำนวณระดับการยกตัวของ
valve
plug ที่ค่าอัตราการไหลต่าง
ๆ ก็จะได้ค่าดังแสดงในตารางที่
๓ และเมื่อนำค่า %การยกตัวของ
valve
plug ที่คำนวณได้ไปเขียนกราฟกับอัตราการไหลที่ได้
ก็จะได้กราฟดังรูปที่ ๓
ที่เรียกว่า Installation
curve
ตารางที่
๓ ความสัมพันธ์ระหว่างค่า
Kvr
อัตราการไหล
และ %การยกตัวของ
valve
plug ในกรณีของวาล์วที่มีรูปแบบการไหลแบบ
linear
และมีค่า
Kv
= 8.06
อัตราการไหล
(m3/h)
|
0
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
9
|
10
|
Kvr
|
0.00*
|
0.42
|
0.86
|
1.31
|
1.80
|
2.34
|
2.95
|
3.68
|
4.62
|
5.92
|
8.06
|
%การยกตัวของ
valve
plug
|
0.00
|
5.27
|
10.66
|
16.28
|
22.31
|
28.99
|
36.59
|
45.72
|
57.32
|
73.48
|
100.0
|
จากรูปที่
๓ จะเห็นว่าความสัมพันธ์ที่ได้นั้นมีการเบี่ยงเบนไปจากความเป็นเส้นตรง
(linearity
หรือเส้นสีส้ม)
อยู่ค่อนข้างมาก
ทีนี้เราลองมาดูกรณีของวาล์วชนิด
equal
percentage ดูบ้างที่อัตราการไหลผ่านวาล์วและระยะการยกตัวของ
valve
plug มีความสัมพันธ์ในรูปแบบ
โดยการจัดรูปแบบสมการที่
(6)
ใหม่
เราจะได้
แต่เนื่องจากอัตราการไหลผ่านวาล์วขึ้นแปรผันตรงกับค่า
Kvr
ดังนั้นเราจะได้ว่า
(Q/
Qmax)
= (Kvr/
Kv)
ซึ่งเมื่อแทนค่าลงไปในสมการที่
(6)
ก็จะได้ว่า
จากสมการที่
(8)
เราสามารถคำนวณค่า
%การยกตัวของ
valve
plug (%H) ที่ค่าอัตราการไหลต่าง
ๆ ได้ เช่นถ้าใช้วาล์วที่มีค่า
Kv
= 8.06 rangeability (τ)
= 20 และต้องการอัตราการไหล
4
m3/hr ซึ่งค่า
Kvr
ที่อัตราการไหลนี้เท่ากับ
1.80
และเมื่อแทนค่าเหล่านี้ลงไปในสมการที่
(8)
ก็จะได้
ตารางที่
๔ ความสัมพันธ์ระหว่างค่า
Kvr
อัตราการไหล
และ %การยกตัวของ
valve
plug ในกรณีของวาล์วที่มีรูปแบบการไหลแบบ
equal
percentage และมีค่า
Kv
= 8.06 โดยมีค่า
rangeability
(τ)
ต่างกัน
อัตราการไหล
(m3/h)
|
0
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
9
|
10
|
Kvr
|
0.00*
|
0.42
|
0.86
|
1.31
|
1.80
|
2.34
|
2.95
|
3.68
|
4.62
|
5.92
|
8.06
|
%การยกตัวของ
valve
plug (τ=20)
|
0.00
|
1.76
|
25.27
|
39.40
|
49.92
|
58.66
|
66.44
|
73.87
|
81.41
|
89.71
|
99.99
|
%การยกตัวของ
valve
plug (τ=50)
|
0.00
|
24.77
|
42.77
|
53.59
|
61.65
|
68.35
|
74.30
|
79.99
|
85.77
|
92.12
|
99.99
|
%การยกตัวของ
valve
plug (τ=100)
|
0.00
|
36.10
|
51.38
|
60.58
|
67.42
|
73.11
|
78.17
|
83.00
|
87.91
|
93.31
|
100.0
|
หมายเหตุ
:
ที่อัตราการไหลเป็น
0
สมมุติให้วาล์วปิดสนิท
ตารางที่
๔ เป็นผลการคำนวณในกรณีที่ใช้วาล์วที่มีค่า
Kv
= 8.06 และมีค่า
rangeability
(τ)
= 20, 50 และ100
ซึ่งเมื่อนำผลการคำนวณที่ได้เป็นเขียนเป็นกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง
%การยกตัวของ
valve
plug ที่คำนวณได้กับอัตราการไหลที่ได้
(installation
curve) ก็จะได้กราฟดังแสดงในรูปที่
๔ ข้างล่าง
จากรูปที่
๔ จะเห็นว่าถ้าเลือกใช้วาล์วชนิด
equal
percentage ที่มีค่า
rangeability
(τ)
ที่เหมาะสมกับระบบ
(ในตัวอย่างที่ยกมาคือ
τ
= 20) จะได้กราฟความสัมพันธ์ระหว่าง
%การยกตัวของ
valve
plug และค่าอัตราการไหล
ใกล้เคียงเส้นตรง (หรือมี
linearity)
มากกว่าการใช้วาล์วชนิด
linear
ในทางปฏิบัตินั้นผู้ผลิตวาล์วไม่ได้ผลิตวาล์วที่มีค่า
Kv
ตามความต้องการของผู้ใช้งานทุกค่า
แต่จะผลิตวาล์วที่มีค่า
Kv
เป็นช่วง
ๆ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปรกติที่จะพบว่าจะต้องเลือกใช้วาล์วที่มีค่า
Kv
สูงกว่าค่าที่คำนวณได้
(คือวาล์วไม่จำเป็นต้องเปิดเต็มที่ที่อัตราการไหลสูงสุดที่ต้องการ)
นอกจากนี้การเผื่อขนาดให้ใหญ่กว่าความต้องการแท้จริงยังมีประโยชน์ถ้าหากเกิดความจำเป็นที่ต้องการอัตราการไหลที่สูงขึ้นในอนาคต
เพราะจะยังสามารถใช้ capacity
ที่เผื่อเอาไว้ของวาล์วโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนวาล์วใหม่
วาล์วที่มีค่า Kv
= 8.06
แต่เรื่องเกี่ยวที่ข้องกับสมการคณิตศาสตร์มักจะชวนให้ปวดหัว
ไม่สนุกกับการอ่านยาว ๆ
ดังนั้นแม้ว่าเรื่องนี้จะยังไม่จบแต่ก็ต้องขอยกยอดไปในฉบับต่อไปเพราะลากยาวมาถึง
๖ หน้าแล้ว
ซึ่งเราจะมาดูกันว่าเมื่อมันไม่มีวาล์วที่มีค่า
Kv
= 8.06 ทำให้ต้องใช้วาล์วที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไปอีกนั้น
จะส่งผลต่อการควบคุมอัตราการไหลอย่างไรบ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น