อยากให้นิสิตทำข้อสอบไม่ได้หรือตอบผิดไหมครับ
ไม่ยากหรอกครับ เพียงแค่
(๑)
ถามอะไรที่เป็นพื้นฐาน
ที่เป็นหลักการ (ใช้ได้ดีกับข้อสอบบรรยาย)
(๒)
เอาข้อสอบข้อที่ยากสุดมาเป็นช้อ
๑.
(ใช้ได้ดีกับข้อสอบคำนวณ)
(๓)
ออกข้อสอบที่
"คล้าย"
แต่
"ไม่เหมือน"
ข้อสอบเก่าที่เฉลยไว้
(ใช้ได้ดีกับข้อสอบทั้งบรรยายและคำนวณ)
ช่วงบ่ายวันวาน
ระหว่างการสนทนากับ Post
Doc และเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ของบริษัทแห่งหนึ่ง
เกี่ยวกับปัญหาในการทำวิจัย
และหัวข้อหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาระหว่างการสนทนาคือความสามารถของผู้วิจัย/ผู้ทำการทดลองในการวิเคราะห์
"ความถูกต้องของข้อมูลดิบ"
"ข้อมูลดิบ"
ในที่นี้หมายถึงข้อมูลที่ได้มาจากการวัดของอุปกรณ์วัดโดยตรง
ไม่ว่าจะเป็นการอ่านตัวเลขจากหน้าจอ
จากขีดบอกปริมาตรของบิวเรต
สัญญาณไฟฟ้าจากเครื่องวัดต่าง
ๆ ฯลฯ โดยอาจไม่ผ่านและ/หรือผ่านการประมวลผลเบื้องต้น
(เช่น
การหักลบสัญญาณพื้นหลัง
(back
ground signal) ในกรณีที่สัญญาณพื้นหลังมีความชัดเจนและคงที่)
ก่อนการนำไปดัดแปลงต่อในขั้นสูง
(เช่น
การลบสัญญาณพื้นหลังในกรณีที่สัญญาณพื้นหลังเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาหรือไปตามช่วงที่ทำการวัด
การลบสัญญาณรบกวน (noise)
ทิ้ง
การระบุตำแหน่งและขนาดพื้นที่ของพีค
การแยกพีคที่ซ้อนทับกันอยู่
(deconvolution)
ฯลฯ)
ในการสนทนาเมื่อบ่ายวันวาน
เราต่างมีความเห็นที่ตรงกันว่า
ปัญหานี้ดูเหมือนจะหนักข้อขึ้นเรื่อย
ๆ โดยเฉพาะกับการวิเคราะห์ที่บันทึกผลด้วยคอมพิวเตอร์
และใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผล
(โดยเฉพาะการใช้ค่า
default
ในการประมวลผล)
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะเห็นข้อสรุปที่ออกมาดูดีแต่น่าสงสัย
เช่นการระบุผลต่าง ๆ
ที่มีละเอียดกว่าความละเอียดของการวัด
(resolution)
การอ่าน
noise
เป็นพีค
การลบ peak
ที่มีขนาดเล็กทิ้งไป
หรือการอ่าน base
line เป็นพีค
ฯลฯ อยู่บ่อยครั้ง
ตัวผมเองกับเจ้าหน้าที่ของบริษัทต่างก็มีประสบการณ์ที่เหมือนกันคือ
พักหลังนี้ไม่ค่อยมีใครเอาผลการวิเคราะห์มาขอให้ช่วยแปล
เพราะมักจะโดนทักกลับไปว่าข้อมูลที่เขาเอามาให้นั้นมันน่าสงสัยว่าจะไม่ถูก
(หรือผิดแบบเห็นชัด
ๆ)
นั่นหมายถึงการต้องกลับไปทำมาใหม่
หลายรายเจอแบบนี้เข้าเขาก็เลิกมาถาม
ไปหาคนอื่นดีกว่าที่ทำให้เขาได้ข้อสรุปจากข้อมูลการทดลอง
(ที่ไม่แน่ว่าจะถูกต้อง)
เพื่อที่งานเขาจะได้เสร็จ
ๆ ไปซะที
เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ววิศวกรที่ทำงานด้าน
linear
programming ของโรงกลั่นน้ำมันแห่งหนึ่งก็มาบ่นให้ผมฟังเรื่องแบบนี้เช่นกัน
คือมีปัญหาว่าวิศวกรพักหลัง
ๆ นี้ พอได้ข้อมูลมาก็จะให้โปรแกรมมันทำการประมวลผลทันที
เพื่อที่จะได้เอาผลการประมวลนั้นส่งต่อไป
งานจะได้เสร็จ ๆ ไป โดยที่
"ไม่มีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับมา"
นั้นว่ามันมีข้อมูลใดที่มีพฤติกรรมน่าสงสัยปนอยู่ด้วยหรือไม่
เวลาที่ผมสอนแลปการไทเทรตกรด-เบสให้กับนิสิตปี
๒ ด้วยการใช้อินดิเคเตอร์หาจุดยุติของการไทเทรต
ผมมักจะจัดอินดิเคเตอร์ให้
๔ ชนิดที่เปลี่ยนสีในช่วง
pH
ที่แตกต่างกันโดยครอบคลุมทั้งช่วงกรดและเบส
และให้ตัวอย่างที่เป็นกรดที่แตกตัวให้โปรตอนตัวเดียว
และ/หรือตัวอย่างที่ประกอบด้วยกรด
๒ ชนิดที่มีความแรงไม่เท่ากันผสมกันอยู่
แต่ไม่ได้บอกว่าตัวอย่างไหนเป็นอะไร
เพียงแต่บอกกับนิสิตที่ทำการทดลองอยู่เสมอว่า
ให้สังเกตปริมาตรเบส (NaOH)
ที่ใช้ที่ทำให้อินดิเคเตอร์เริ่มเปลี่ยนสี
จนเปลี่ยนสีสมบูรณ์
แต่การที่ไม่ได้บังคับให้นิสิตต้องใช้อินดิเคเตอร์ทุกตัวในการไทเทรต
ผลก็คือนิสิตแทบจะทุกกลุ่ม
จะใช้อินดิเคเตอร์เพียงแค่
๑ หรือ ๒ ชนิดเท่านั้นในการทดลอง
เพื่อที่จะได้เสร็จการทำแลปเร็ว
ๆ
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ว่า
พอออกข้อสอบดังแสดงในรูปข้างล่าง
(พ.ศ.
๒๕๕๔)
นิสิตส่วนใหญ่จึงทำกันไม่ค่อยได้
อันที่จริงเรื่องการอ่านผลการทดลองการไทเทรตกรด-เบส
ก็เคยเล่าไว้บ้างแล้วใน
Memoir
ปีที่
๓ ฉบับที่ ๑๘๔ วันเสาร์ที่
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เรื่อง
"การอ่านผลการทดลองการไทเทรตกรด-เบส"
และปีที่
๔ ฉบับที่ ๓๓๖ วันอาทิตย์ที่
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เรื่อง
"การอ่านผลการทดลองการไทเทรตกรด-เบส (ตอนที่ ๒)"
ในการไทเทรตด้วยการใช้อินดิเคเตอร์หาจุดสมมูล
(equivalent
point) นั้น
คำถามแรกก็คือเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอินดิเคเตอร์ตัวที่เราใช้นั้นมันเปลี่ยนสีตรงช่วงจุดสมมูล
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราไม่รู้ว่าตัวอย่างของเราเป็นกรดอะไร
คำตอบของคำถามนี้พิจารณาได้จากปริมาตรของ
titrant
ที่ใช้ในการทำให้อินดิเคเตอร์เริ่มเปลี่ยนสีจนเปลี่ยนสีสมบูรณ์
เพราะช่วงนี้ค่า pH
จะเปลี่ยนแปลงรวดเร็วหรือค่อนข้างรวดเร็วเมื่อเทียบกับบริเวณก่อนและหลังจุดสมมูล
ในกรณีของการไทเทรตกรดแก่
(หรือกรดอ่อนที่แตกตัวได้สูงมาก)
กับเบสแก่นั้น
เราจะพบว่าปริมาตรของ titrant
ที่ใช้ในการทำให้อินดิเคเตอร์เริ่มเปลี่ยนสีจนเปลี่ยนสีสมบูรณ์นั้นน้อยมาก
และเกิดขึ้นตรงช่วงค่า pH
ประมาณ
7
(หรือมากกว่า
7
เล็กน้อยถ้าเป็นกรดอ่อนที่แตกตัวได้สูง)
แต่ถ้าตัวอย่างประกอบด้วยกรด
๒ ชนิดที่กรดตัวหนึ่งเป็นกรดที่อ่อนกว่ากรดอีกตัวหนึ่ง
จุดสมมูลของการไทเทรตกรดตัวที่แรงกว่านั้นจะอยู่ในช่วงค่า
pH
ที่เป็นกรด
(กล่าวคือน้อยกว่า
7)
ส่วนจะเห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจนหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าความสามารถในการแตกตัวของกรดตัวที่อ่อนกว่านั้นเมื่อเทียบกับกรดตัวที่แก่กว่าเป็นอย่างไร
ถ้ากรดตัวที่อ่อนกว่านั้นแตกตัวได้ใกล้เคียงกับกรดตัวที่แก่กว่า
เราก็จะไม่เห็นการเปลี่ยนค่า
pH
ที่จุดสมมูลในของการไทเทรตโปรตอนตัวแรก
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ
H2SO4
กับ
HSO4-
ที่เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ที่เด่นชัดเพียงครั้งเดียวคือตอนไทเทรต
HSO4-
ในกรณีที่กรดที่อ่อนกว่านั้นมีความสามารถในการแตกตัวต่างจากกรดตัวที่แก่กว่ามากพอ
เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
บริเวณจุดสมมูลที่ชัดเจน
(เมื่อเทียบกับบริเวณก่อนและหลังจุดสมมูล)
ที่จุดสมมูลของการไทเทรตโปรตอนตัวแรกและตัวที่สอง
โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกจะเป็นของกรดตัวที่แก่กว่า
และจะเกิดในช่วงค่า pH
น้อยกว่า
7
การเปลี่ยนแปลงครั้งที่สองจะเป็นของกรดตัวที่อ่อนกว่า
และจะเกิดในช่วงค่า pH
มากกว่า
7
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในกรณีนี้คือสารละลายกรด
H3PO4
(ที่เห็นการเปลี่ยนแปลง
pH
ที่ชัดเจนของการไทเทรตโปรตอนสองตัวแรกเมื่อไทเทรตด้วยสารละลาย
NaOH)
แต่ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นแบบ
"กระทันหัน"
คำว่า
"กระทันหัน"
ในที่นี้หมายถึงปริมาณ
titrant
ที่ต้องใช้ในการทำให้อินดิเคเตอร์เปลี่ยนสีสมบูรณ์
สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ทำการไทเทรตกรดแก่-เบสแก่คงเห็นแล้วว่า
ที่บริเวณจุดยุติ (end
point) ของการไทเทรตนั้น
จะใช้ titrant
เพียงแค่ครึ่งหยดหรือไม่ถึง
1
หยด
(ในการทำให้อินดิเคเตอร์เปลี่ยนสีสมบูรณ์
(ประมาณคร่าว
ๆ ได้ว่า 15-20
หยดจะเท่ากับ
1
ml ดังนั้นครึ่งหยดก็จะมีปริมาตรประมาร
0.05
ml) และความแตกต่างระหว่างปริมาตร
titrant
ที่จุดสมมูลของการไทเทรตและที่จุดยุติเรียกว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาตรของเหลว
1
หยด
ถ้ากรดตัวที่อ่อนกว่านั้นแตกตัวได้ค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับกรดตัวที่แก่กว่า
เราจะพบว่าการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ที่สุดสมมูลของการไทเทรตกรดตัวที่แก่กว่านั้นจะไม่กระโดดขึ้นกระทันหัน
แต่ก็ยังเป็นบริเวณที่กราฟมีค่า
pH
เปลี่ยนแปลงเร็วกว่าบริเวณก่อนและหลังอย่างเห็นได้ชัด
โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังคงเกิดในช่วงค่า
pH
น้อยกว่า
7
ส่วนจุดสมมูลของการไทเทรตกรดตัวที่อ่อนกว่านั้นจะเห็นการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ได้ชัดเจนกว่า
โดยเกิดในช่วงค่า pH
มากกว่า
7
แต่ค่อนมาทาง
7
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของกรณีนี้ได้แก่สารละลายผสมระหว่าง
HCl
กับ
CH3COOH
มาถึงจุดนี้แล้ว
ลองมาพิจารณาโจทย์ในรูปข้างล่างดูหน่อยไหมครับ
เป็นข้อสอบที่สอบไปเมื่อบ่ายวันวาน
จากที่บรรยายมาข้างต้นและจากข้อมูลที่ให้ในตาราง
เชื่อว่าหลายคนคงจะมองเห็นว่า
(ก)
มีการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ที่ชัดเจนสองตำแหน่ง
(ตรงอินดิเคเตอร์ชนิดที่
2
และ
5)
(ข)
ปริมาตรเบสที่ใช้เมื่อวัดจากเริ่มการไทเทรตไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ที่ชัดเจนครั้งแรก
(ตรงอินดิเคเตอร์ชนิดที่
2
ที่เปลี่ยนสีในช่วงกรด)
เท่ากับปริมาตรเบสที่ใช้นับจากการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ที่ชัดเจนครั้งแรกไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ที่ชัดเจนครั้งที่
2
(ตรงอินดิเคเตอร์ชนิดที่
5
ที่เปลี่ยนสีในช่วงเบส)
อันที่จริงผมเอาข้อสอบในรูปแรกมาเฉลยให้นิสิตดูก่อน
เพื่อเป็นตัวอย่างให้รู้จักหัดคิดวิเคราะห์ข้อมูล
ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่พอเอาข้อสอบในรูปที่สองที่
"คล้าย"
กับข้อสอบในรูปแรกมาออก
จึงพบคำตอบออกมาในทำนองเดียวกับที่ได้เฉลยไว้
แต่ข้อสอบในรูปหลังนี้มัน
"ไม่เหมือน"
กับข้อสอบในรูปแรกตรงที่
"ปริมาตร"
titrant ที่ต้องใช้ในการทำให้อินดิเคเตอร์เปลี่ยนสีสมบูรณ์
โจทย์ที่ให้มานั้นบอกว่าใช้เพียง
0.05
ml เท่านั้น
ไม่ว่าจะเป็นการไทเทรตโปรตอนตัวแรกหรือโปรตอนตัวที่สอง
ซึ่งลักษณะนี้เป็นพฤติกรรมของการไทเทรตกรดแก่-เบสแก่
และในการไทเทรตกรดแก่-เบสแก่นั้น
แม้ว่าตัวอย่างจะเป็นกรดแก่มากกว่า
1
ชนิดผสมกันอยู่
(เช่น
HCl
+ HNO3) การเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ก็จะเกิดขึ้นอย่างกระทันหันที่ตำแหน่งเดียวเท่านั้น
คือที่ค่า pH
ประมาณ
7
ดังนั้นข้อมูลในตารางของรูปที่สองนั้นจึงมีข้อสงสัยว่าไม่น่าจะถูกต้อง
(หรือข้อมูลไม่มีความถูกต้องเพียงพอ)
จึงยังไม่มีค่าพอที่จะนำมาแปลผล
ถ้าเป็นการทำงานในชีวิตจริงก็ต้องกลับไปทำการวิเคราะห์มาใหม่
การศึกษาของเรามักจะสอนผู้เรียนให้สามารถทำการแก้โจทย์ที่ได้รับมานั้นให้เสร็จสิ้นโดยเร็วครับ
โดยแทบไม่มีการยสอนให้พิจารณาข้อมูลที่โจทย์ให้มา
(หรือตัวคำถามเอง)
นั้นมันมีค่าต่อการหาคำตอบหรือไม่
และในชีวิตการสอบนั้นก็มักจะทำให้ผู้เข้าสอบคิดว่าคำตอบของคำถามนั้นมันต้องมีเพียงคำตอบเดียว
แต่จะว่าไปแล้วบางครั้งสภาพแวดล้อมมันก็ส่งผลต่อคำตอบที่ควรจะเป็นของคำถามนั้นคืออะไร
กรณีหลังนี้ผมก็มักจะนำมาสอนนิสิตในชั่วโมงแรกของการเรียนวิชาเคมีวิเคราะห์
ถ้าสงสัยว่ามันเกี่ยวกับอะไร
ก็สามารถย้อนกลับไปดูได้ใน
Memoir
ปีที่
๑ ฉบับที่ ๑๒ วันพฤหัสบดีที่
๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ เรื่อง
"เท่ากับเท่าไร"
เรื่องในนั้นก็เป็นข้อสอบเก่าเหมือนกันครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น