การวัดปริมาณ
(amount)
และความแรง
(strength)
ของตำแหน่งที่เป็นกรดบนพื้นผิวของแข็งด้วยเทคนิคการคายซับแอมโมเนียที่เรียกกันในวงการว่า
NH3-TPD
(ammonia temperature programmed desorption) นั้น
ดูเผิน ๆ ก็เป็นเทคนิคที่เรียบง่าย
ไม่น่าจะมีความยุ่งยากอะไร
แต่ถ้าจะตรวจสอบกันจริง ๆ
แล้วก็ไม่ยากที่จะพบว่าผลการวิเคราะห์จำนวนไม่น้อยที่มีการรายงานกันนั้นเต็มไปด้วยข้อสงสัยว่าถูกต้องหรือไม่
โดยเฉพาะการวิเคราะห์ที่วัดปริมาณ
NH3
ที่พื้นผิวคายออกมาโดยใช้ตัวตรวจวัดชนิด
TCD
(Thermal conductivity detector)
ไม่ว่าจะเป็นการหาปริมาณด้วยการคำนวณหาพื้นที่ใต้พีค
หรือการเปรียบเทียบความแรงด้วยการดูจากตำแหน่งเกิดพีค
รูปที่
๑ ภาพรวมของผลการทดลอง
ที่ใช้ตัวอย่างเดิมทำซ้ำ
3
ครั้ง
ที่อุณหภูมิสูงสุดต่างกันคือประมาณ
280,
420 และ
520ºC
TCD
จัดว่าเป็นตัวตรวจวัดที่
sensitive
ต่อการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างของแก๊สที่ไหลผ่านตัว
TCD
ไม่ว่าจะเป็น
องค์ประกอบ อัตราการไหล
และอุณหภูมิ
โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลและอุณหภูมิของแก๊สที่ไหลผ่านนี่เอง
ที่เป็นตัวปัญหาทำให้ตัว
TCD
ส่งสัญญาณออกมาเสมือนว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบ
ในระหว่างที่เราเพิ่มอุณหภูมิตัวอย่างให้สูงขึ้นนั้น
แก๊สด้านขาเข้าตัวอย่างจะมีความดันสูงขึ้น
ทำให้อัตราการไหลด้านขาเข้าลดต่ำลง
(ถ้าคุมการไหลด้วยการใช้ความดันด้านขาเข้าเพียงอย่างเดียว)
ส่วนอัตราการไหลของแก๊สด้านขาออกนั้นจะคงเดิม
แต่จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจากได้รับความร้อนจาก
furnace
ดังนั้นถ้าตัว
TCD
เองไม่มีระบบที่คอยควบคุมอัตราการไหลและอุณหภูมิให้คงที่ตลอดการวิเคราะห์
จะทำให้เส้น base
line ของสัญญาณจาก
TCD
มีการเคลื่อนตัว
เพื่อที่จะแสดงให้เห็นปัญหาดังกล่าว
จึงได้ทำการทดลองเลียนแบบการวัด
NH3-TPD
แต่ไม่มีการให้ตัวอย่างดูดซับ
NH3
ทำเพียงแค่ให้แก๊ส
He
ไหลผ่าน
แล้วปรับเปลี่ยนอุณหภูมิตัวอย่างให้สูงขึ้น
สลับกับลดต่ำลง
เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเส้น
base
line ที่ออกมารูปร่างเหมือนพีคคายซับ
NH3
ทั้ง
ๆ ที่ในความเป็นจริงนั้นไม่ใช่
รูปที่
๒ การทดลองครั้งแรกที่เพิ่มอุณหภูมิตัวอย่างจาก
120ºC
ด้วยอัตรา
10ºC
ไปถึง
280ºC
จากนั้นคงอุณหภูมิตัวอย่างไว้ที่
280ºC
นาน
1
ฃั่วโมง
ก่อนลดอุณหภูมิลงเหลือ
120ºC
ใหม่
จะเห็นว่าเส้น base
line (เส้นสีส้มทั้งหมดที่เห็น)
มีการไต่สูงขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
ก่อนวกกลับลงเมื่ออุณหภูมิตัวอย่างเพิ่มขึ้นสูงสุดและคงที่
ทำให้เหมือนกับว่ามี peak
เกิดขึ้นที่ตำแหน่งอุณหภูมิสูงสุด
ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ให้ตัวอย่างนั้นดูดซับแก๊ส
NH3
เอาไว้เลย
ในการทดลองนี้ใช้
TiO2
(anatase P-25) เริ่มต้นด้วยการบรรจุตัวอย่าง
0.1
g ลงใน
sample
tube จากนั้นทำการให้ความร้อนแก่ตัวอย่างที่
200ºC
นาน
2
ชั่วโมงในแก๊สฮีเลียม
จากนั้นลดอุณหภูมิตัวอย่างลงเหลือ
120ºC
ก่อนเพิ่มอุณหภูมิด้วยอัตรา
10ºC
ไปถึง
280ºC
และคงไว้ที่อุณหภูมิดังกล่าวเป็นเวลา
1
ชั่วโมง
จากนั้นลดอุณหภูมิตัวอย่างลงเหลือ
120ºC
(จบรอบที่หนึ่ง)
จากนั้นทำการทดลองต่อ
(เริ่มรอบที่สอง)
โดยยังคงใช้ตัวอย่างเดิม
โดยเพิ่มอุณหภูมิด้วยอัตรา
10ºC
ไปจนถึง
420ºC
และคงไว้ที่อุณหภูมิดังกล่าวเป็นเวลา
1
ชั่วโมง
จากนั้นลดอุณหภูมิตัวอย่างลงเหลือ
120ºC
(จบรอบที่สอง)
และทำซ้ำอีกครั้ง
(เริ่มรอบที่สาม)
โดยยังคงใช้ตัวอย่างเดิม
โดยเพิ่มอุณหภูมิด้วยอัตรา
10ºC
แต่ครั้งสุดท้ายนี้สูงไปจนถึง
520ºC
และคงไว้ที่อุณหภูมิดังกล่าวเป็นเวลา
1
ชั่วโมง
จากนั้นลดอุณหภูมิตัวอย่างลงเหลือ
120ºC
(จบรอบที่สาม)
ภาพรวมของผลการทดลอง
(อุณหภูมิและสัญญาณจาก
TCD
ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลา)
แสดงไว้ในรูปที่
๑ ส่วนรูปที่ ๒-๔
เป็นภาพขยายผลการทดลองของ
รอบที่หนึ่ง รองที่สอง
และรอบที่สาม ตามลำดับ
รูปที่
๓ การทดลองรอบที่สองที่เพิ่มอุณหภูมิตัวอย่างจาก
120ºC
ด้วยอัตรา
10ºC
ไปจนถึง
420ºC
และคงไว้ที่อุณหภูมิดังกล่าวเป็นเวลา
1
ชั่วโมง
จากนั้นลดอุณหภูมิตัวอย่างลงเหลือ
120ºC
จะเห็นว่าเส้น
base
line มีลักษณะวกขึ้น-ลงเสมือนกับว่ามีพีคคายซับสองพีค
(ซึ่งในความเป็นจริงคือ
base
line) โดยจุดวกกลับจุดแรก
(เมื่อเพิ่มอุณหภูมิจนสูงถึง
420ºC
และรักษาให้คงที่)
จะย้ายตามตำแหน่งอุณหภูมิสูงสุดที่ทำการทดลอง
รูปที่
๔ การทดลองรอบที่สามที่เพิ่มอุณหภูมิตัวอย่างจาก
120ºC
ด้วยอัตรา
10ºC
ไปจนถึง
520ºC
และคงไว้ที่อุณหภูมิดังกล่าวเป็นเวลา
1
ชั่วโมง
จากนั้นลดอุณหภูมิตัวอย่างลงเหลือ
120ºC
จะเห็นว่าเส้น
base
line มีลักษณะวกขึ้น-ลงเสมือนกับว่ามีพีคคายซับสองพีค
(ซึ่งในความเป็นจริงคือ
base
line) ดังเช่นรูปที่
๒ และ ๓ โดยจุดวกกลับจุดแรก
(เมื่อเพิ่มอุณหภูมิจนสูงถึง
520ºC
และรักษาให้คงที่)
จะย้ายไปที่อุณหภูมิประมาณ
520ºC
จากทั้งสี่รูปจะเห็นชัดนะครับว่า
แม้ว่าในการทดลองจะผ่านเพียงแค่แก๊ส
He
เท่านั้นให้ไหลผ่านตัวอย่าง
แต่เมื่ออุณหภูมิของตัวอย่างเปลี่ยนไป
เส้น base
line ก็เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปด้วย
จนมีรูปร่างเหมือนกับว่าเป็นพีคที่เกิดจากการคายซับ
และที่สำคัญคือมันยากที่จะทำซ้ำเดิม
เว้นแต่ว่าจะมีการควบคุมอัตรการไหลและอุณหภูมิของแก๊สที่ไหลผ่าน
TCD
ให้คงที่ตลอดเวลาที่ทำการวิเคราะห์
ต้องขอขอบคุณนิสิตปริญญาโทรหัส
๕๘ ในที่ปรึกษาทุกคนที่ช่วยทำการทดลองนี้ให้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น