แผนผังกระบวนการแยกโพรพิลีน-โพรเพนที่แสดงในรูปที่
๑ และรูปที่ ๒-๕
นั้นแตกต่างกันอยู่ ในรูปที่
๑ นั้นสารผสม C3
ที่มาจากหน่วย
Depropanization
จะเข้าสู่หน่วย
drying
ก่อนเพื่อทำการกำจัดความชื้น
จากนั้นจึงเข้าสู่หอกลั่นที่มีเพียงหอเดียวเพื่อกลั่นแยกโพรพิลีนและโพรเพนออกจากกัน
ส่วนแผนผังในรูปที่ ๒-๕
นั้นกระบวนการกลั่นแยกโพรพิลีน-โพรเพนที่ประกอบด้วยหอกลั่นสองหอ
ทำงานที่ความดันต่างกัน
หอกลั่นความดันต่ำ (รูปที่
๕)
ทำหน้าที่รับสารผสม
C3
จากหน่วย
depropanizer
(ตอนที่ ๑๘)
ส่วนหอกลั่นความดันสูงจะรับแก๊สที่ควบแน่นเป็นของเหลวที่เกิดขึ้นที่หน่วย
charge
gas compression and acid wash (ตอนที่ ๙-๑๑)
และผลิตภัณฑ์ก้นหอกลั่นทั้งหอกลั่นความดันต่ำและความดันสูงจะถูกนำมรรวมกันเพื่อส่งต่อไปยังหน่วย
C3
hydrogenation เพื่อกำจัด
methyl
acetylene (รูปที่
๒ และ ๓)
ผลิตภัณฑ์โพรพิลีนจากยอดหอกลั่นความดันสูงจะถูกส่งยังไปถังเก็บต่อไป
ในเอกสารที่มีนั้นจะคำอธิบายกระบวนการอิงตามแผนผังที่แสดงในรูปที่
๑ แต่เท่าที่ทราบมานั้นโรงงานที่สร้างจริงจะอิงตามแผนผังในรูปที่
๒-๕
ดังนั้นคำอธิบายกระบวนการที่จะเล่าต่อไปจะอิงไปยังรูปที่
๑
หน่วย
propylene
drying ประกอบด้วย
fixed-bed
จำนวน
2
ตัวต่อขนานกัน
แต่ละเบดมีรอบการทำงาน 96
ชั่วโมง
(กล่าวคือทำงานดูดจับความชื้นได้นาน
96
ชั่วโมงก่อนที่สารดูดจับความชื้นจะอิ่มตัวและต้องเปลี่ยนไปใช้อีกเบดหนึ่ง)
และเนื่องจากสารผสม
C3
ที่มายังหน่วย
propylene
drying นี้มีสถานะเป็นของเหลว
ดังนั้นการไหลผ่านเบดจะเป็นการไหลจากล่างขึ้นบน
ตรงนี้ต่างจากกรณีของแก๊สไหลผ่านเบดของแข็งที่มักจะไหลจากบนลงล่าง
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการฟลูอิไดซ์
แต่ในกรณีของเหลวนั้น
การไหลจากบนลงล่างจะมีปัญหาการทำให้ของเหลวท่วมเต็ม
vessel
บรรจุเบดตัวดูดซับ
เพราะแก๊สที่อยู่ในเบดนั้นมันลอยขึ้นสวนทางกับการเคลี่อนที่ของของเหลวที่เคลื่อนที่ลงล่าง
การไหลจากล่างขึ้นบนจะแก้ปัญหานี้ได้เพราะของเหลวจะท่วมเต็มหน้าตัดเบดและดันให้แก๊สไหลไปในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของของเหลว
หน้าที่ของหน่วย
Propylene
fractionation คือทำการแยกโพรพิลีนออกเป็นผลิตภัณฑ์
polymer-grade
propylene และผลิตภัณฑ์
C3
ที่มีโพรเพน
(propane
C3H8) เป็นองค์ประกอบหลัก
ผลิตภัณฑ์ยอดหอที่เป็น
polymer-grade
propylene มีความเข้มข้นโพรพิลีนประมาณ
99.5
mol% เพื่อการนี้ต้องใช้หอกลั่นที่มีจำนวน
tray
สูงถึง
185
tray (รายละเอียดตรงนี้แตกต่างไปจากในรูปที่
๔ และ ๕ ที่มีการใช้หอกลั่นสองหอที่มีจำนวน
tray
รวมกันเกือบ
400
tray และด้วยจำนวน
tray
ในแต่ละหอที่มาก
ทำให้หอกลั่นแยกโพรเพน-โพรพิลีนมีความสูงมาก
เรียกว่าอยู่ในระดับ 100
เมตร)
ผลิตภัณฑ์ก้นหอประกอบโดยโพรเพนเป็นหลัก
โดยมีโพรพิลีน โพรพาไดอีน
(propadiene
H2C=C=CH2) และเมทิลอะเซทิลีน
(methyl
acetylene หรือ
propyne
H3CCCH) ปนอยู่ด้วย
ตามแบบในรูปที่
๑ นั้นวางแผนจะส่งผลิตภัณฑ์ก้นหอนี้ไปเป็นเชื้อเพลิงใช้ในโรงงาน
ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีหน่วยกำจัดเมทิลอะเซทิลีน
(หน่วย
C3
hydrogenation ในรูปที่
๒ และ ๓)
ซึ่งต่างจากที่แสดงในแผนผังในรูปที่
๒-๕
ที่ออกแบบโดยวางแผนจะนำเอาโพรเพนกลับไปผลิตเป็นโพรพิลีนใหม่
ดังนั้นจึงมีการนำเอาผลิตภัณฑ์ก้นหอกลั่นแยกโพรพิลีนความดันสูง
(รูปที่
๔)
มาทำการกำจัดเมทิลอะเซทิลีนก่อนจะส่งกลับเข้าสู่กระบวนการกลั่นแยกใหม่
รูปที่
๑ แผนผังหน่วยกลั่นแยกโพรพิลีน-โพรเพน
ในแผนผังนี้แสดงหอกลั่นแยกเพียงหอกลั่นเดียวที่มีจำนวน
tray
มากถึง
185
tray ในรูปนี้หม้อต้มซ้ำที่ก้นหอกลั่นใช้น้ำร้อนที่มาจากหน่วย
quench
tower section
รูปที่
๒ แผนผังหน่วย C3
Hydrogenation ที่ใช้กำจัดเมทิลอะเซทิลีน
(หรือ
propyne)
ด้วยการใช้ปฏิกิริยาเติมไฮโดรเจน
(hydrogenation)
เพื่อเปลี่ยนเมทิลอะเซทิลีนไปเป็นโพรพิลีน
ทำนองเดียวกันกับหน่วย C2
Hydrogenation ที่ใช้ในการกำจัดอะเซทิลีนออกจากเอทิลีน
รูปที่
๓ ส่วนต่อจากแผนผังที่แสดงในรูปที่
๒
รูปที่
๔ หน่วยกลั่นแยกโพรพิลีน-โพรเพน
รูปนี้แสดงส่วนของหอกลั่นความดันสูง
(จำนวน
174
tray)
พึงสังเกตว่าหม้อต้มซ้ำที่ก้นหอกลั่นความดันสูงในรูปนี้ใช้สายที่มาจากหน่วย
C3
dehydrogenation section เป็นตัวใหัความร้อน
รูปที่
๕ หน่วยกลั่นแยกโพรพิลีน-โพรเพน
รูปนี้แสดงส่วนของหอกลั่นความดันต่ำ
(จำนวน
210
tray) หม้อต้มซ้ำที่ก้นหอกลั่นความดันต่ำในรูปนี้ใช้สายที่มาจากหน่วย
C3
refirgerant เป็นตัวให้ความร้อน
ตรงนี้คงต้องขอย้ำนิดนึงว่า
แผนผังในรูปที่ ๑
นั้นเป็นเสมือนตุ๊กตาตัวเริ่มต้นที่ใช้ในการออกแบบกระบวนการ
เพื่อให้เห็นภาพรวมคร่าว
ๆ ของกระบวนการก่อนว่ามีอะไรบ้าง
ในระหว่างขั้นตอนการออกแบบนั้นเมื่อนำเอา
ความต้องการที่แท้จริง
ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป
ความสัมพันธ์กันหน่วยผลิตอื่น
การประหยัดพลังงาน ฯลฯ
เข้ามาพิจารณาร่วม
ก็ทำให้บางหน่วยที่วางแผนไว้เริ่มต้นนั้นหายไปได้
(เช่น
propylene
drying section) และมีหน่วยบางหน่วยเพิ่มเติมเข้ามาได้
(เช่น
C3
hydrogenation และหอกลั่นที่มีจำนวน
2
หอที่นำมาเป็นตัวอย่างให้ดูนี้)
ด้วยความที่โพรเพนและโพรพิลีนมีจุดเดือดที่ต่างกันไม่มาก
(ดูตอนที่
๑๙)
ทำให้การกลั่นแยกต้องใช้หอกลั่นที่มี
tray
จำนวนมาก
และยังต้องทำงานที่ค่า
reflux
ratio สูง
ส่งผลให้มีปริมาณสารสะสมอยู่ในระบบมาก
(คือมีของเหลวค้างอยู่ตาม
tray
ต่าง
ๆ ในหอกลั่นเป็นจำนวนมาก)
และด้วยปริมาณการสะสมที่มากนี้ทำให้พฤติกรรมการตอบสนองของหอกลั่นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพารามิเตอร์การทำงานมีค่าล่าช้ามาก
(เรียกอีกอย่างว่ามี
delay
time สูง
อยู่ในระดับหลายชั่วโมงกว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงหลังจากมีการเปลี่ยนพารามิเตอร์การทำงานเช่นการปรับเปลี่ยนค่า
reflux
ration การปรับเปลี่ยนปริมาณความร้อนที่ให้กับหม้อต้มซ้ำที่ก้นหอ
เป็นต้น)
(ค่า
reflux
ratio
บ่งบอกถึงสัดส่วนปริมาณผลิตภัณฑ์ยอดหอที่ควบแน่นเป็นของเหลวที่ป้อนกลับมายังหอกลั่นใหม่
ต่อปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ดึงออกจากระบบ
ค่าที่สูงแปลว่าปริมาณที่ป้อนกลับนั้นมีมากเมื่อเทียบกับปริมาณที่ดึงออกไป)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น