ระบบทำความเย็นชนิด
vapour
compression refrigeration system นั้น
ไอของสารทำความเย็นที่มีความดันต่ำจะถูกอัดให้มีความดันสูงขึ้น
การอัดนี้ทำให้ไอสารทำความเย็นมีอุณหภูมิสูงขึ้นตามไปด้วย
และเมื่อไอสารทำความเย็นที่ความดันสูงนี้ระบายความร้อนให้กับแหล่งรับความร้อน
(ถ้าเป็นตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศที่ใช้กันตามบ้าน
แหล่งรับความร้อนก็คืออากาศที่อยู่รอบ
ๆ แผงระบายความร้อน)
ไอสารทำความเย็นก็จะควบแน่นกลายเป็นของเหลวที่ความดันสูง
เมื่อสารทำความเย็นที่เป็นเฟสของเหลวความดันสูงถูกลดความดันลง
(เช่นด้วยการให้ขยายตัวผ่านวาล์วลดความดัน)
ของเหลวบางส่วนจะมีการระเหยกลายเป็นไอ
ทำให้อุณหภูมิของสารทำความเย็นลดลง
(และมีความดันลดต่ำลงด้วย)
ส่วนที่ว่าอุณหภูมิจะลดต่ำลงได้เท่าใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของสารทำความเย็นที่ใช้และความดันที่ลดลง
สารทำความเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำลงนี้ก็สามารถไปรับความร้อนจากแหล่งที่ต้องการลดอุณหภูมิให้ต่ำลง
ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนสภาพสารทำความเย็นจากของเหลวความดันต่ำ
กลายเป็นไอที่ความดันต่ำแทน
จากนั้นไอสารทำความเย็นที่ความดันต่ำก็จะถูกคอมเพรสเซอร์อัดให้มีความดันเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
และเข้าสู่วงรอบการทำงานใหม่
การทำให้แก๊สควบแน่นเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้องได้นั้น
แก๊สนั้นต้องมีอุณหภูมิวิกฤต
(critical
temperature หรือ
Tc)
สูงกว่าอุณหภูมิห้อง
ดังนั้นสารทำความเย็นระบบแรกที่จะนำมาใช้นั้นจึงใช้สารทำความเย็นที่เมื่ออัดให้กลายเป็นไอความดันสูงพอ
ก็สามารถใช้อากาศโอยรอบ
(หรือน้ำหล่อเย็นที่ระบายความร้อนออกสู่อากาศอีกที)
เป็นแหล่งความร้อนเพื่อควบแน่นให้มันเป็นของเหลวได้
(แบบตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศที่ใช้กันตามบ้านทั่วไป)
แต่สารทำความเย็นพวกนี้มักจะไม่สามารถทำความเย็นที่อุณหภูมิต่ำมากได้
ในทางกลับกัน
สารทำความเย็นที่ใช้ในระบบทำความเย็นที่อุณหภูมิต่ำจะไม่สามารถควบแน่นเป็นของเหลวได้ที่อุณหภูมิห้อง
แต่จะควบแน่นได้ที่อุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง
ดังนั้นในกรณีที่ต้องการการทำความเย็นที่อุณหภูมิต่ำมาก
จึงมักต้องมีระบบทำความเย็นอย่างน้อยสองระบบ
โดยระบบแรกนั้นเป็นระบบที่ใช้สารทำความเย็นที่สามารถทำให้เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้องได้
และใช้การทำความเย็นของสารทำความเย็นระบบแรกนี้เป็นตัวรับความร้อนจากสารทำความเย็นระบบที่สองที่ใช้งานที่อุณหภูมิต่ำกว่า
ดังเช่นในกรณีของกระบวนการผลิตเอทิลีนที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้
ระบบทำความเย็นระบบแรกใช้โพรพิลีน
(propylene
C3H6)
เป็นสารทำความเย็นให้กับระบบที่ไม่ต้องการลดอุณหภูมิให้ต่ำมาก
และใช้เป็นแหล่งรับความร้อนให้กับกระบวนการ
vapour
comression refrigeration ของระบบที่สองที่ใช้เอทิลีน
(ethylene
C2H4) เป็นสารทำความเย็น
ระบบ
propylene
refrigerant ที่ยกมาเป็นตัวอย่างในที่นี้
(รูปที่
๑-๓)
เป็นระบบความเย็นที่ระดับอุณหภูมิ
4
ระดับด้วยกันคือ
18,
-4, -23 และ
-40ºC
โพรพิลีนจะถูกอัดเพิ่มความดันด้วยคอมเพรสเซอร์
(ชนิด
4
stage) ให้มีความดันประมาณ
17.8
kg/cm2 (ความดันในเรื่องนี้เป็นความดันเกจทุกค่า
เว้นแต่จะมีระบุไว้เป็นอย่างอื่น)
ซึ่งเมื่อผ่านเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเพื่อระบายความร้อนออกแล้ว
ไอโพรพิลีนก็จะควบแน่นเป็นของเหลวที่ความดันประมาณ
16.9
kg/cm2 ที่อุณหภูมิประมาณ
43ºC
โพรพิลีนเหลวที่ความดันสูงนี้จะถูกใช้เป็นสารทำความเย็นที่อุณหภูมิ
18ºC
โดยจะถูกลดความดันลง
ณ หน่วยที่ต้องการใช้งาน
ไอสารทำความเย็นที่เกิดขึ้นจะไหลต่อไปยังถังเก็บที่ทำหน้าที่เป็น
suction
drum (ความดันที่นี่เหลือประมาณ
9
kg/cm2) ให้กับคอมเพรสเซอร์
จากนั้นคอมเพรสเซอร์ก็จะทำการดูดไอโพรพิลีนออกจากถังเก็บนี้
เพื่อนำกลับเข้าสู่วงรอบทำความเย็นใหม่อีกครั้ง
รูปที่
๑ แผนผังคร่าว ๆ
แสดงแนวความคิดการออกแบบระบบ
propylene
refrigeration (จะเรียกว่า
preliminary
ก็ได้)
ในรูปนี้แสดงถังเก็บโพรพิลีน
(ที่ทำหน้าที่เป็น
suction
drum ให้กับคอมเพรสเซอร์ด้วย)
เป็นถัง
4
ใบเรียงซ้อนกัน
แต่ในความเป็นจริง (เช่นในรูปที่
๒-๓)
ไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้น
เป็นถังแยกจากกันก็ได้
รูปที่
๒ Process
Flow Diagram (PFD) ระบบ
propylene
regfrigeration เมื่อเริ่มทำการออกแบบจริง
ในที่นี้ถังเก็บโพรพิลีน
(ที่ทำหน้าที่เป็น
suction
drum ด้วย)
เป็นถัง
4
ใบแยกจากกัน
แต่โดยหลักก็คือถังดังกล่าวควรอยู่ใกล้กับหน่วยที่ต้องการใช้สารทำความเย็น
ไม่ใช่อยู่ใกล้กับตัวคอมเพรสเซอร์
พึงสังเกตว่าคอมเพรสเซอร์ในที่นี้
(B-1501
ทางด้านล่างของรูป)
ใช้ไอน้ำความดันสูงเป็นตัวขับเคลื่อน
ไม่ได้ใช้ระบบไฟฟ้า
รูปที่
๓ ส่วนต่อของรูปที่ ๒
ที่ถังเก็บที่ทำหน้าที่รับไอโพรพิลีนอุณหภูมิ
18ºC
นี้
(V-1504
ในรูปที่
๓)
จะมีโพรพิลีนที่เป็นของเหลวอยู่ส่วนหนึ่ง
(ต้องเติมเข้าไปตอนเริ่มเดินเครื่องโรงงานด้วยการ
bypass
โพรพิลีนเหลวความดันสูงส่วนหนึ่งมายังถังนี้)
ดังนั้นโพรพิลีนในถังจะอยู่ในสภาวะสมดุลของโพรพิลีนสองเฟสคือ
ส่วนที่เป็นไอที่จะถูกคอมเพรสเซอร์ดูดออกไป
และส่วนที่เป็นของเหลวที่จะใช้เป็นสารทำความเย็นที่อุณหภูมิ
-4ºC
ต่อไป
โพรพิลีนเหลวจากถังเก็บโพรพิลีนอุณหภูมิ
18ºC
จะถูกใช้เป็นสารทำความเย็นที่อุณหภูมิ
-4ºC
ด้วยการลดความดันลงเหลือประมาณ
4.2
kg/cm2
ซึ่งไอโพรพิลีนที่เกิดขึ้นจะไหลต่อไปยังถังเก็บใบที่สอง
(ที่ทำหน้าที่เป็น
suction
drum ด้วย)
ถังใบที่สองนี้ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับถังใบแรกคือมีส่วนที่เป็นไออยู่ด้านบนและส่วนที่เป็นของเหลวอยู่ด้านล่าง
(อยู่ในสภาวะสมดุลระหว่างสองเฟสเช่นกัน)
โดยส่วนที่เป็นไอจะถูกคอมเพรสเซอร์ดูดกลับไป
และส่วนที่เป็นของเหลวจะถูกใช้เป็นสารทำความเย็นที่อุณหภูมิ
-23ºC
ระบบทำความเย็นที่อุณหภูมิ
-23ºC
ได้จากการลดความดันของโพรพิลีนเหลวที่อุณหภูมิ
-4ºC
จากถังเก็บใบที่สองให้ลงเหลือประมาณ
1.8
kg/cm2 และเช่นเดียวกันกับสองขั้นตอนก่อนหน้านี้
ไอโพรพิลีนที่เกิดขึ้นจะไหลต่อไปยังถังเก็บใบที่สาม
ส่วนที่เป็นไอจะถูกคอมเพรสเซอร์ดูดกลับไป
โดยส่วนที่เป็นของเหลวจะถูกใช้เป็นสารทำความเย็นที่อุณหภูมิ
-40ºC
โพรพิลีนเหลวที่อุณหภูมิ
-23ºC
นี้เมื่อถูกนำไปใช้เป็นสารทำความเย็นที่อุณหภูมิ
-40ºC
ด้วยการลดความดันลงเหลือประมาณ
0.4
kg/cm2 แล้ว
ก็จะถูกดูดกลับไปยังคอมเพรสเซอร์เลย
(อนึ่งการทำงานของคอมเพรสเซอร์นั้น
ความดันแก๊สด้านขาเข้าเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่จะป้องกันไม่ให้คอมเพรสเซอร์เกิดการ
surging
ในที่นี้แก๊สไหลอยู่ในระบบปิด
ไหลมาตามท่อมายังคอมเพรสเซอร์
ดังนั้นจึงควรต้องคำนึงด้วยว่าความดันในถังพักนั้นสูงพอ
และความยาวท่อจากถังพักมายังคอมเพรสเซอร์นั้นไม่มากเกินไป
จนทำให้ความดันแก๊สด้านขาเข้าคอมเพรสเซอร์นั้นต่ำจนทำให้เกิดการ
surging
ได้)
จากแผนผังที่นำมาแสดงเป็นตัวอย่างนั้น
มีบางประเด็นที่อยากให้สังเกตดังนี้
ประเด็นแรกที่อยากให้สังเกตก็คือมีการนำเอาไออิ่มตัวของโพรพิลีนไปใช้เป็นตัวกลางให้ความร้อนแก่
reboiler
(หม้อต้มซ้ำ)
ของหอกลั่นที่ทำงานที่อุณหภูมิต่ำ
ทำนองเดียวกับกับการใช้ไอน้ำให้ความร้อน
แต่ในที่นี้ใช้ไออิ่มตัวของโพรพิลีนแทน
ส่วนจะเอาไปใช้ที่ไหนนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
แผนผังในรูปที่ ๑
นั้นมีการนำเอาไออิ่มของโพรพิลีนที่อุณหภูมิ
18ºC
ไปใช้กับ
reboiler
ของหอ
deethanizer
แต่ในรูปที่
๓ นั้นนำไปใช้กับ reboiler
ของหอ
low
pressure propylene fractionation
ประเด็นที่สอง
รูปที่ ๑ นั้นเป็นแผนผังคร่าว
ๆ เบื้องต้นของระบบ
แต่ตอนออกแบบจริงแล้วมันมีอีกหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องทำให้แผนผังเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเยอะมากได้เช่นในรูปที่
๒ และ ๓
นอกจากนี้พึงเตือนสติไว้นิดนึงว่าระดับทำความเย็นที่จะทำนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นระดับ
18,
-4, -23 และ
-40ºC
ดังที่กล่าวมาข้างต้น
(ตัวเลขจากแผนผังในรูปที่
๒ และ ๓)
อาจเป็นระดับ
18,
3, -23 และ
-40ºC
ก็ได้
(ตัวเลขในรูปที่
๑)
และไม่จำเป็นต้องมี
4
ระดับดังที่กล่าวมาก็ได้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบแต่ละกรณีไป
ประเด็นที่สามคือการเลือกใช้ไอน้ำเป็นตัวขับเคลื่อนคอมเพรสเซอร์ที่ใช้อัดไอโพรพิลีน
อุปกรณ์ส่วนใหญ่ในโรงงานนั้นจะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อน
แต่ก็มีบ้างเหมือนกันที่เลือกใช้อากาศความดัน
(เช่นปั๊มสารเคมีขนาดเล็ก
หรือปั๊มถ่ายของเหลวจาก-ไปยังรถบรรทุก
ที่ใช้ใน hazardous
area) หรือใช้ไอน้ำเป็นตัวขับเคลื่อน
ข้อเสียอย่างหนึ่งของการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนก็คือถ้าหากเกิดปัญหาไฟฟ้าดับ
แม้จะเพียงแค่เสี้ยววินาทีก็ตาม
อุปกรณ์จะหยุดการทำงานทันทีและจะไม่กลับมาทำงานอีกแม้ว่าไฟฟ้าจะกลับคืนมา
(เรื่องนี้เป็นเรื่องปรกติเพราะเพื่อความปลอดภัยของระบบ
เขาจึงออกแบบระบบไว้อย่างนั้นคือถ้าไฟฟ้าดับเมื่อใด
สวิตช์จะเปลี่ยนมาอยู่ในตำแหน่งตัดวงจรและค้างอยู่ในตำแหน่งนั้น)
ยิ่งเป็นการรับซื้อไฟฟ้าจากแหล่งภายนอกด้วย
ทำให้มีความเสี่ยงที่ไฟฟ้าจะขาดไปเมื่อใดก็ได้โดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า
ในกรณีเช่นนี้การใช้ไอน้ำเป็นตัวขับเคลื่อนก็เป็นทางเลือกหนึ่ง
โดยเฉพาะกับอุปกรณ์ที่เป็นหัวใจของกระบวนการผลิต
(เช่นคอมเพรสเซอร์ที่ใช้ในการเพิ่มความดันให้กับอีเทน)
หรือเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย
(เช่นคอมเพรสเซอร์ของระบบทำความเย็น)
เพราะแม้ว่าระบบไอน้ำมีปัญหา
แต่ความดันไอน้ำที่ค้างอยู่ในระบบก็ยังสามารถทำให้อุปกรณ์ทำงานต่อไปได้
หรือไม่ก็ใช้การมีระบบผลิตไอน้ำสองระบบขึ้นไปที่ทำงานแยกจากกันและเดินคู่ขนานกัน
ตอนที่
๒๑ ก็คงจบเพียงแค่นี้
เหลืออีกเพียงแค่ ๒ หรือ ๓
ตอนก็จะจบเนื้อหาบทความชุดนี้แล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น