แผ่นออริฟิส
(orifice
plate)
เป็นอุปกรณ์สำคัญตัวหนึ่งที่ใช้ในการวัดอัตราการไหลของของเหลวและแก๊สในท่อ
อันที่จริงมันก็ไม่ได้วัดอัตราการไหลโดยตรงหรอก
มันทำเพียงแค่ทำให้ความดันด้านหน้าและด้านหลังแผ่นออริฟิสนั้นแตกต่างกันอันเป็นผลจากการที่ของไหลต้องไหลผ่านรูเล็ก
ๆ บนตัวแผ่นออริฟิส
ผลต่างความดันที่วัดได้นี้สามารถนำไปคำนวณหาค่าอัตราการไหลได้อีกที
(ถ้ายังไม่ทราบว่าแผ่นออริฟิสหน้าตาเป็นอย่างไร
ย้อนกลับไปดูได้ที่ Memoir
ปีที่
๙ ฉบับที่ ๑๓๒๓ วันจันทร์ที่
๓๐ มกราคม ๒๕๖๐ เรื่อง "แผ่น Orifice และหน้าแปลนแบบ Raised face")
สมการที่ใช้ในการคำนวณความสัมพันธ์ระหว่างค่าผลต่างความดันกับอัตราการไหลแผ่นแผ่นออริฟิสนี้ตั้งอยู่บนข้อสมมุติ
(ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า
Assumption)
ที่ว่าโปรไฟล์การไหลนั้นมีความสม่ำเสมอ
(จะเรียกว่าสมมาตรรอบ
ๆ แนวแกนกลางของท่อก็ได้)
และคงที่
(คือรูปแบบ
velocity
profile ไม่มีการเปลี่ยนแปลง)
หรือที่ภาษาอังกฤษเขาใช้คำว่า
"even
and well-developed" ทั้งทางด้านหน้าและด้านหลังแผ่นออริฟิส
ดังนั้นเพื่อให้สภาพการไหลก่อนและหลังแผ่นออริฟิสเป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว
จึงต้องให้ท่อด้านหน้าและด้านหลังแผ่นออริฟิสเป็นท่อตรงมีความยาวอย่างน้อยระดับหนึ่ง
และยังต้องเป็นท่อที่มีผิวราบเรียบสม่ำเสมอ
กฎเกณฑ์ที่ใช้กันทั่วไปคือ
ท่อก่อนถึงตัวแผ่นออริฟิสนั้นควรเป็นท่อตรงยาวประมาณ
10
เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ
(เพื่อให้โปรไฟล์การไหลมีความสม่ำเสมอและคงที่)
และท่อด้านหลังแผ่นออริฟิสนั้นควรเป็นท่อตรงยาว
3-5
เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ
(เพื่อป้องกันผลจาก
back
pressure ของอุปกรณ์หรือข้อต่อโค้งต่าง
ๆ อันอาจส่งผลกระทบถึงการวัดความดันด้านหลังแผ่นออริฟิส)
ไม่ใช่เรื่องผิดปรกติที่ผู้ออกแบบระบบท่อจะพบว่าในการวางท่อจากหน่วยหนึ่งไปยังอีกหน่วยหนึ่งนั้น
ไม่สามารถหาตำแหน่งช่วงท่อตรงที่มีระยะทางดังกล่าวเพื่อติดตั้งแผ่นออริฟิสได้
(เช่นการส่งของไหลจากหน่วยหนึ่งไปยังอีกหน่วยหนึ่งที่อยู่ใกล้กัน)
โดยเฉพาะท่อทางด้านขาเข้าที่ต้องการระยะทางมากกว่าด้านขาออก
วิธีการแก้ปัญหาวิธีการหนึ่งคือการลดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อช่วงที่ต้องการติดตั้งแผ่นออริฟิสให้เล็กลง
อีกวิธีการหนึ่งทำได้ด้วยการใช้อุปกรณ์บางอย่างติดตั้งเข้าไปในท่อด้านขาเข้าแผ่นออริฟิส
เพื่อทำให้โปรไฟล์การไหลมีความสม่ำเสมอและคงที่ได้ในระยะทางที่สั้นลง
อุปกรณ์ดังกล่าวมีชื่อว่า
"straightening
vane"
straightening
vane มีลักษณะเป็นกลุ่มท่อเล็ก
ๆ ที่มีความยาวในระดับหนึ่งเกาะกลุ่มกันอยู่
ของไหลที่ไหลมาเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่นั้นจะถูกแยกเข้าช่องทางการไหลเล็ก
ๆ หลายช่องทางที่เรียงตัวขนานกัน
ตรงนี้ถ้าสมมุติให้ความหนาของผนังท่อเล็ก
ๆ นั้นมีค่าน้อย
ของไหลที่ไหลในท่อใหญ่นั้นจะมีค่า
Reynolds
no. (Re) เท่ากับ
(ρuD1)/μ
เมื่อ
ρ
คือความหนาแน่นของของไหล
u
คือความเร็วเชิงเส้นของการไหล
D1
คือเส้นผ่านศูนย์กลางของการไหลในท่อใหญ่
และ μ
คือความหนืด
แต่เมื่อของไหลดังกล่าวไหลเข้าท่อเล็ก
ค่า Re
จะลดต่ำลงเพราะเส้นผ่านศูนย์กลางของการไหลในท่อเล็ก
(D2)
มีค่าลดลงตามขนาดของท่อเล็ก
(ตรงนี้ถ้าสมมุติให้พื้นที่หน้าตัดการไหลรวมของการไหลในท่อเล็กเท่ากับพื้นที่หน้าตัดการไหลในท่อใหญ่
ความเร็วเชิงเส้นของการไหลจะไม่เปลี่ยน)
และอาจทำให้การไหลแบบปั่นป่วน
(turbulent
flow) ไม่ราบเรียบ
กลายเป็นการไหลแบบ laminar
flow ทำให้โปรไฟล์การไหลมีการจัดเรียงตัวเป็นระเบียบและสมมาตรได้ดีขึ้น
รูปที่
๑ ข้างล่างนำมาจากสิทธิบัตรประเทศสหรัฐอเมริกาเลขที่
2,688,985
ลงวันที่
๑๔ กันยายน ค.ศ.
๑๙๕๔
เรื่อง "Orifice
fitting device and straightening vane unit assembly"
เป็นรูปแสดงอุปกรณ์ที่เรียกว่า
"straightening
vane" ที่ใช้ติดตั้งภายในท่อด้านขาเข้าแผ่นออริฟิส
อุปกรณ์ตัวนี้ช่วยทำให้โปรไฟล์การไหลที่ยังไม่นิ่งนั้นมีความสม่ำเสมอและคงที่ได้ในระยะทางที่สั้นลง
การไหลของของไหล
(ทั้งของเหลวและแก๊ส
แต่ต่อไปจะขอใช้คำว่าแก๊สแทนก็แล้วกัน)
ผ่านเบดนิ่ง
(fixed-bed)
ก็เป็นการไหลที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างพื้นที่หน้าตัดการไหล
จากพื้นที่หน้าตัดใหญ่เพียงช่องทางเดียว
กลายเป็นพื้นที่หน้าตัดเล็ก
ๆ หลายช่องทาง
ส่วนลักษณะการไหลผ่านเบดนั้นขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้เป็นเบด
โดยทั่วไปจะมีอยู่ ๒
ลักษณะด้วยกันคือ
พวกที่เป็นอนุภาคก้อนของแข็ง
(อาจเป็นก้อนกลมหรือรูปทรงใด
ๆ ก็ตามแต่)
และพวกที่มีลักษณะโครงสร้างแบบโมโนลิท
(monolith)
หรือรังผึ้ง
(honeycomb)
รูปที่
๒ ตัวอย่างโมโนลิท (monolith)
ที่ใช้ในเครื่องปฏิกรณ์ในอุตสาหกรรม
ในกรณีของเบดที่บรรจุด้วยอนุภาคของแข็งนั้น
พื้นที่หน้าตัดการไหลที่แก๊สไหลผ่านได้นั้นจะลดต่ำลงมาก
ทำให้ความเร็วของแก๊สในช่วงที่ไหลผ่านเบดนั้นเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ด้วยเส้นทางการไหลที่คดเคี้ยว
ทำให้ลำแก๊สนั้นมีการพุ่งเข้าปะทะกับพื้นผิวของแข็งที่ขวางหน้าอยู่โดยตรง
ก่อนที่จะเบี่ยงเบนไปปะทะกับอนุภาคที่อยู่เคียงข้าง
การไหลในรูปแบบนี้ทำให้ส่วนของอนุภาคที่มีลำแก๊สพุ่งเข้าปะทะโดยตรงนั้นมีความหนาของชั้นฟิลม์ห่อหุ้มต่ำหรือไม่มี
ถ้าเป็นเบดตัวเร่งปฏิกิริยาจะทำให้สารตั้งต้นที่อยู่ในแก๊สนั้นเข้าถึงพื้นผิวของตัวเร่งปฏิกิริยา
(รวมทั้งรูพรุนภายใน)
ได้ง่าย
(รูปที่
๓(ก)
และ
๓(ข))
จุดเด่นของโครงสร้างโมโนลิทเมื่อเทียบกับเบดอนุภาคของแข็งคือการที่มีพื้นที่เปิดสำหรับให้แก๊สไหลผ่านมากกว่า
เมื่อเทียบกับเบดที่มีความสูงเท่ากัน
ความดันลดคร่อมเบดโมโนลิทนั้นจะต่ำกว่า
ด้วยลักษณะโครงสร้างของโมโนลิทนั้นพื้นที่หน้าตัดการไหลจะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับความหนาของผนังรูพรุนของโมโนลิท
และด้วยการวางตัวของผนังที่ขนานไปกับทิศทางการไหล
จึงทำให้รูปแบบการไหลผ่านช่องทางการไหลของโมโนลิท
"ตัวแรกสุด"
นั้นคล้ายคลึงกับการไหลผ่าน
straightening
vane ที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้
โดยจะเกิดเป็นชั้นฟิล์มของแก๊สอยู่บนผิวรอบ
ๆ ผนังช่องทางการไหลของโมโนลิท
(รูปที่
๓(ค))
และความหนาของชั้นฟิล์มนี้ขึ้นอยู่กับอัตราการไหลของแก๊สที่ไหลผ่าน
โดยในขณะที่แก๊สไหลเข้าช่องทางการไหลของโมโนลิทนั้น
แม้ว่าความเร็วในการไหลจะเพิ่มขึ้นบ้างอันเป็นผลจากพื้นที่หน้าตัดการไหลที่ลดลง
(เนื่องจากผนังโมโนลิทมีความหนา)
แต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของช่องทางการไหลก็ลดต่ำลงมาก
ดังนั้นจึงไม่น่าจะแปลกที่จะมีโอกาสเกิดชั้นฟิล์มบนพื้นผิวหนังโมโนลิทเนื่องจากมีโอกาสที่การไหลจะกลายเป็นแบบ
laminar
flow สูง
รูปที่
๓ แบบจำลองอย่างง่ายของลักษณะโปรไฟล์การไหลของของไหล
(ก)
ที่เข้ามากระทบอนุภาค
(ข)
ผ่านเบดอนุภาคของแข็ง
(ค)
ในช่องทางการไหลของโมโนลิท
(ง)
โมโนลิทหลายชิ้นที่วางเรียงซ้อนโดยมีแนวช่องทางการไหลเรียงตรงกัน
และ (จ)
ชั้นโมโนลิทหลายชั้นที่วางเรึยงซ้อนโดยมีแนวช่องทางการไหลเหลื่อมซ้อนกัน
ลักษณะการไหลผ่านโมโนลิทตัวที่อยู่บนสุด
(หรือหน้าสุด)
ที่เป็นแบบนี้แหละครับที่ทำให้เกิดปัญหาเวลาที่ใครสักคนทำการทดลองกับเครื่องปฏิกรณ์เล็ก
ๆ
ในห้องปฏิบัติการที่มักจะบรรจุโมโนลิทได้เพียงขั้นเดียวหรือไม่กี่ชั้น
สิ่งที่พบคือเมื่อทำการทดลองเปรียบเทียบระหว่างการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นผง
และตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นผงที่เคลือบบนผิวโมโนลิท
เมื่อคิดเปรียบเทียบที่น้ำหนักตัวเร่งปฏิกิริยาเท่ากัน
(คือไม่คิดรวมน้ำหนักโมโนลิท)
จะพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาในรูปแบบผงนั้นทำปฏิกิริยาได้ดีกว่ามาก
ทั้งนี้เพราะแต่ละโมเลกุลสารตั้งต้นที่อยู่ในเฟสแก๊สที่ไหลผ่านเบดของแข็งนั้นมีโอกาสสูงที่จะพุ่งเข้ากระทบพื้นผิวตัวเร่งปฏิกิริยา
ในขณะที่ถ้าเป็นโมโนลิท
โมเลกุลของสารตั้งต้นในเฟสแก๊สจำนวนไม่น้อยจะวิ่งผ่านช่องทางการไหลของโมโนลิทออกไปตรง
ๆ โดยไม่แพร่เข้าหาตัวเร่งปฏิกิริยาที่อยู่บนผนังโมโนลิท
ส่วนหนึ่งเป็นผลของการเกิด
laminar
flow ในช่องทางการไหลของโมโนลิทที่ทำให้การแพร่ในแนวรัศมี
(ทิศทางตั้งฉากกับทิศทางการไหล)
นั้นต่ำมาก
แม้ว่าจะมีการทดลองที่ใช้โมโนลิทหลายชิ้นวางซ้อนกัน
แต่เครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้กันทั่วไปในห้องปฏิบัติการนั้นมักจะมีขนาดเล็ก
ทำให้การวางเรียงซ้อนชิ้นโมโนลิทนั้นทำได้ไม่มาก
และมักจะเป็นการวางเรียงแถวเดี่ยวต่อเนื่องกัน
ตรงนี้จะมีประเด็นเรื่องวิธีการวางชิ้นโมโนลิทเรียงซ้อนกันเข้ามาเกี่ยวข้อง
เคยพบกรณีของการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้ชิ้นโมโนลิท
รูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์เล็ก
ๆ (ได้จากการตัดแท่งโมโนลิทชิ้นใหญ่แบบในรูปที่
๒ ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ)
วางเรียงแถวเดี่ยวซ้อนกันเพื่อให้น้ำหนักผงอนุภาคตัวเร่งปฏิกิริยาที่เคลือบอยู่บนผิวโมโนลิทนั้นเท่ากับเมื่อใช้ในรูปที่แต่ผง
แต่เมื่อนำชิ้นโมโนลิทหลายชิ้นมาวางเรียงซ้อนกันปรากฏว่าช่องทางการไหลของแต่ละชิ้นนั้นเรียงตัวตรงแนวกัน
ทำให้แก๊สที่ไหลผ่านชิ้นโมโนลิทหลายชิ้นนั้นไหลตรงออกไปโดยไม่มีการเบี่ยงทิศทาง
พฤติกรรมการไหลจึงเหมือนกับการไหลผ่านชิ้นโมโนลิทเพียงชิ้นเดียว
(รูปที่
๓(ง))
จึงไม่แปลกที่จะเห็นค่า
conversion
นั้นต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาในรูปที่เป็นผง
แต่ถ้าเป็นเครื่องปฏิกรณ์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมนั้น
ชิ้นโมโนลิทแต่ละชิ้นมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดเครื่องปฏิกรณ์
มีการวางเรียงโมโนลิทซ้อนกันหลายชั้น
และผลของการเรียงซ้อนกันนั้นทำให้ช่องทางการไหลของโมโนลิทแต่ละชั้นเหลื่อมกันอยู่
ดังนั้นเมื่อแก๊สไหลออกจากโมโนลิทชั้นบนเข้าสู่ชั้นล่าง
แก๊สดังกล่าวจะไหลเบี่ยงออกข้างเข้าปะทะกับผนังของโมโนลิท
การผสมกันในแนวรัศมีจึงเกิดได้ดีกว่า
พฤติกรรมการทำปฏิกิริยาจึงมีรูปแบบทำนองเดียวกับเบดนิ่งที่บรรจุอนุภาคของแข็ง
(รูปที่
๔)
รูปที่
๔
แบบจำลองอย่างง่ายแสดงให้เห็นภาพลักษณะการไหลของแก๊สที่ไหลผ่านช่องทางการไหลของโมโนลิทหลายชิ้นที่วางเรียงซ้อนกันโดยวางเหลื่อมกัน
การวางเหลื่อมกันนั้นทำให้เกิดการไหลปั่นป่วนในช่องทางการไหลของโมโนลิทตัวที่อยู่ถัดไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น