การดูดกลืนรังสีอินฟราเรดนั้นขึ้นอยู่กับว่าโมเลกุลนั้นประกอบด้วยหมู่ฟังก์ชันย่อยอะไรบ้าง
โมเลกุลที่มีหมู่ฟังก์ชันเหมือนกันจะมีการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดที่ตำแหน่งเลขคลื่น
(wave
number) เดียวกัน
ตัวอย่างเช่นในกรณีของ
aliphatic
hydrocarbon ที่ประกอบด้วยหมู่เมทิล
(methyl
-CH3) หมู่เมทิลีน
(methylene
-CH2-) เป็นหลักนั้น
จะแสดงพีคการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดที่ตำแหน่งเดียวกัน
แตกต่างกันตรงที่สัดส่วนการดูดกลืน
โมเลกุลที่ยาวกว่าก็จะมีพีคการดูดกลืนของหมู่เมทิลีนที่แรงกว่า
ตรงนี้สามารถย้อนกลับไปดูตัวอย่างได้ใน
Memoir
ปีที่
๑ ฉบับที่ ๘ วันศุกร์ที่ ๕
กันยายน ๒๕๕๑ เรื่อง "Infrared spectrum interpretation" ที่ได้ยกตัวอย่างพีคของ
aliphatic
และ
cycloaliphatic
hydrocarbons และ
polyethylene
มาเปรียบเทียบกัน
ในกรณีของสารที่มีหมู่ฟังก์ชันชนิดเดียวกัน
ในจำนวนที่เท่ากัน
เช่นกรณีของไซลีนที่มี 3
ไอโซเมอร์คือ
ortho,
meta และ
para
หรือในกรณีของโมโนโอเลฟินส์
(หรือโมโนอัลคีน)
ที่มีโครงสร้างโมเลกุลแบบ
cis-
และ
trans-
นั้น
ในการระบุว่าพีคการดูดกลืนที่วัดได้นั้นเป็นของไอโซเมอร์ตัวไหน
คงต้องมองหาพีคการดูดกลืนที่เป็นลักษณะเฉพาะของโครงสร้างนั้น
อย่างเช่นในกรณีของสารประกอบเพนทีนที่นำมาเป็นตัวอย่างในวันนี้
ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3
ไฮโซเมอร์คือ
1-pentene
ที่มีตำแหน่งพันธะ
C=C
อยู่ที่ปลายโซ่
(ทำให้เหลือหมู่
-CH3
เพียงหมู่เดียว
แต่มีหมู่ -CH2-
สองหมู่)
และ
2-pentene
ที่มีตำแหน่งพันธะ
C=C
อยู่ระหว่างอะตอม
C
ตัวที่สองและสาม
(ทำให้มีหมู่
-CH3
สองหมู่
แต่เหลือหมู่ -CH2-
เพียงแค่หมู่เดียว)
ซึ่งทำให้มีโครงสร้างได้ทั้งแบบ
cis
และ
trans
รูปร่างของโมเลกุลทั้งสามแสดงไว้ในรูปที่
๑ ข้างล่าง
รูปที่
๑ ไอโซเมอร์ทั้งสามตัวของเพนทีน
(pentene)
ตัว
1-pentene
นั้นจะมีพันธะคู่อยู่ที่ปลายโซ่
ดังนั้นจะไม่มีไอโซเมอร์แบบ
cis
และ
trans
ในขณะที่
2-pentene
นั้นมีพันธะคู่อยู่ระหว่างอะตอม
C
ตัวที่
2
และ
3
จึงมีไอโซเมอร์แบบ
cis
และ
trans
หมู่ที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดในการเทียบตำแหน่งพีค
IR
คือ
CH2
ที่ถ้าเป็นหมู่เมทิลีน
(methylene)
-CH2- อะตอม
C
นั้นจะสร้างพันธะเดี่ยวกับอะตอม
C
อื่นอีกสองอะตอม
แต่ถ้าเป็น H2C=
หรือ
terminal
vinyl (พันธะคู่ที่ตำแหน่งปลายโซ่)
อะตอม
C
ของหมู่นี้จะสร้างพันธะคู่กับอะตอม
C
อีกหนึ่งอะตอมเท่านั้น
trans
2-pentene และ
cis
2-pentene ต่างก็มีหมู่เมทิลีน
1
หมู่และหมู่เมทิล
2
หมู่
ส่วน 1-pentene
นั้นมีหมู่เมทิลีน
2
หมู่และหมู่เมทิล
1
หมู่
(หมายเหตุ
:
เพื่อเป็นการทบทวนให้กับผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกับรังสีอินฟราเรด
ในกรณีของรังสีอินฟราเรดนั้นจะใช้หน่วย
"เลขคลื่น"
หรือ
"wave
number" เป็นตัวแทนความถี่
คือเป็นจำนวนลูกคลื่นต่อระยะทาง
1
cm ดังนั้นหน่วยของเลขคลื่นจึงเป็น
cm-1
เลขคลื่นที่มากแสดงให้เห็นว่าเป็นคลื่นความถี่สูงหรือความยาวคลื่นสั้น
การวัดการดูดกลืนส่วนใหญ่จะกระทำกันในช่วงเลขคลื่น
400-4000
cm-1
และกราฟการแสดงผลจะเอาเลขคลื่นมากอยู่ทางซ้าย
เลขคลื่นน้อยอยู่ทางขวาของแกน
x)
รูปที่
๒ เปรียบเทียบ IR
spectra ของไอโซเมอร์ทั้งสามของเพนทีน
ลูกศรสีน้ำเงินตรงเลขคลื่น
(wave
number) ประมาณ
1650
cm-1 แสดงการมีอยู่ของพันธะคู่
C=C
ส่วนลูกศรสีแดงตรงเลขคลื่นระหว่าง
690
และ
900-1000
cm-1 เป็นการสั่นแบบ
out
of plane deformation ของพันธะ
olefinic
C-H (อะตอม
C
เป็นอะตอมที่สร้างพันธะคู่
C=C)
IR
spectra ของเพนทีนทั้งสามไอโซเมอร์แสดงไว้ในรูปที่
๒ กราฟนี้เอามาจาก library
ของบริษัท
Nicolet
ที่มากับเครื่อง
FT-IR
ที่ภาควิชาซื้อมาเมื่อราว
ๆ ๒๔ ปีที่แล้ว ตัวโปรแกรมนั้นทำงานบน
Windows
3.0 แต่ยังสามารถทำงานภายใต้
Windows
98 ได้
(ผมทดลองเอามาใช้กับ
XP
แล้ว
แต่ไม่สำเร็จ)
โชคดีที่ยังมีเครื่องคอมเก่า
ๆ
ที่ลงโปรแกรมดังกล่าวเอาไว้และยังใช้งานได้อยู่ก็เลยถือโอกาสจับภาพหน้าจอมาให้ดูกัน
ส่วนรูปที่ ๓-๕
เป็นคู่มือการแปลผลที่มากับโปรแกรมดังกล่าวด้วย
กราฟในรูปที่ ๒ แกนตั้งมันเป็นหน่วย
Absorbance
ดังนั้นการดูพีคต้องดูพีคหัวตั้ง
แต่รูปที่ ๓-๕
นั้นแกนตั้งมันเป็นหน่วย
%Transmittance
ดังนั้นการดูพีคจึงต้องดูเป็นพีคหัวกลับ
แต่ไม่ว่าจะเป็นพีคหัวตั้งหรือหัวกลับ
ตำแหน่งเลขคลื่นที่พีคปรากฏนั้นจะตรงกัน
ในแต่ละรูปที่นำมาแสดงนั้น
รูป (ก)
จะเป็นตำแหน่งพีคโหมดการสั่นแบบ
stretching
(ยืด-หด)
ของพันธะ
C-H
โดยที่อะตอม
C
นั้นเป็นอะตอม
C
ของพันธะ
C=C
จากรูปที่
๓ก ๔ก และ ๕ก
จะเห็นได้ว่าตำแหน่งของพีคนี้ไม่ขึ้นอยู่กับว่าพันธะ
C=C
นั้นจะอยู่ที่ปลายโซ่หรือภายในโมเลกุล
และในกรณีที่พันธะ C=C
นั้นอยู่ภายในโมเลกุล
ตำแหน่งของพีคนี้ก็ไม่ขึ้นอยู่กับว่าโครงสร้างโมเลกุลจะเป็นแบบ
cis
หรือ
trans
รูป
(ข)
นั้นแสดงตำแหน่งพีคการดูดกลืนของหมู่เมทิล
-CH3
และหมู่เมทิลีน
-CH2-
สารอินทรีย์ตัวใดก็ตามที่มีสองหมู่นี้ก็จะปรากฏพีคการดูดกลืนที่ตำแหน่งนี้เสมอ
ส่วนจะเห็นได้ชัดมากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าสัดส่วนของหมู่ทั้งสองมีมากน้อยเท่าใด
เช่นในกรณีของพอลิเอทิลีนนั้นมีหมู่
-CH3
อยู่น้อยมากจนไม่ปรากฏพีคให้เห็น
แต่พอเป็นพอลิโพรพิลีนที่มีสัดส่วนหมู่
-CH3
และ
-CH2-
ใกล้เคียงกัน
จะแสดงพีคของหมู่ -CH3
ชัดเจนมาก
รูป
(ค)
เป็นบริเวณที่แสดงพีคการมีอยู่ของอัลคีน
(พันธะ
C=C)
ตรงบริเวณเลขคลื่น
1650
cm-1 ที่เกิดจากการสั่นแบบ
stretching
(ยืด-หด)
ของพันธะ
C=C
ในกรณีของ
pentene
ที่ยกมานี้มีจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ
ในกรณีของ 1-pentene
และ
cis
2-pentene นั้น
พีคนี้เป็นพีคเดี่ยวที่ปรากฏให้เห็นชัดเจน
(รูปที่
๓ค และ ๕ค)
แต่ในกรณีของ
trans
2-pentene นั้นกลับเป็นพีคเล็ก
ๆ สองพีค (รูปที่
๔)
รูป
(ง)
นั้นแสดงพีคการดูดกลืนของหมู่
-CH2-
(methylene) และหมู่
-CH3
(methyl) โดยทั้งสองหมู่แสดงพีคที่ตำแหน่ง
1460
cm-1 ในขณะที่หมู่
-CH3
จะแสดงพีคที่ตำแหน่ง
1380
cm-1 ด้วย
(ตรงนี้จะลองย้อนกลับไปดู
Memoir
ฉบับที่
๘ ที่กล่าวมาข้างต้น
ที่เปรียบเทียบพีคระหว่าง
n-hexane
และ
cylclohexane
ก็ได้
จะเห็นว่าในกรณีของ cyclohexane
นั้นไม่มีพีคที่ตำแหน่ง
1380
cm-1)
หมู่
-CH2-
ตรงนี้
(ที่อะตอม
C
สร้างพันธะเดี่ยวกับอะตอม
C
อื่นอีก
2
อะตอม)
เป็นคนละตัวกับหมู่
H2C=
(ที่อะตอม
C
สร้างพันธะคู่กับอะตอม
C
อื่นอีก
1
อะตอม)
นะ
ดังนั้นไม่ควรเอาพีคที่ตำแหน่งนี้เป็นตัวยืนยันว่าตรวจพบหมู่
terminal
vinyl (H2C=)
รูป
(จ)
แสดงตำแหน่งพีคที่เกิดจากการสั่นของพันธะ
C-H
โดยที่อะตอม
C
นั้นเป็นส่วนหนึ่งของพันธะ
C=C
โดยในกรณีของหมู่
H2C=
หรือ
terminal
vinyl นั้นจะปรากฏพีคสองพีคตรงเลขคลื่น
990
และ
910
cm-1 ที่เป็นการสั่นแบบ
out
of plane deformation ของพันธะ
C-H
ของหมู่
H2C=
(รูปที่
๓จ)
ในกรณีของโครงสร้างแบบ
trans
นั้นจะปรากฏพีคเดี่ยวคตรงเลขคลื่น
965
cm-1 (รูปที่
๔จ)
และในกรณีของโครงสร้างแบบ
cis
นั้นจะปรากฏพีคเดี่ยวเช่นกัน
แต่ขยับไปไกลไปตรงเลขคลื่น
690
cm-1 (รูปที่
๕จ)
รูปที่
๓ก IR
spectrum ของ
1-pentene
ช่วงเลขคลื่น
3075-3100
cm-1 แสดงตำแหน่งการดูดกลืนของการสั่นแบบ
stretching
ของพันธะ
olefinic
C-H เนื่องจากสารตัวนี้มีหมู่
-CH3
เพียงหมู่เดียว
(ที่ดูดกลืนรังสีที่ตำแหน่งช่วงคลื่นประมาณ
2960
cm-1) จึงทำให้การปรากฏของพีคนี้เด่นชัดกว่ากรณีของ
2-pentene
(ดูรูปที่
๔ก และ ๕ก)
รูปที่
๓ข IR
spectrum ของ
1-pentene
ตำแหน่งการดูดกลืนช่วงเลขคลื่น
2950-2750
cm-1 นี้เป็นของหมู่เมทิล
-CH3
และเมทิลีน
-CH2-
รูปที่
๓ค IR
spectrum ของ
1-pentene
ตำแหน่งบริเวณเลขคลื่น
1650
cm-1 นี้แสดงการมีอยู่ของพันธะ
C=C
ถ้าเทียบกับ
2-pentene
แล้วจะเห็นว่าพีค
ณ ตำแหน่งนี้ไม่ขึ้นกับตำแหน่งพันธะ
C=C
และโครงสร้างแบบ
cis
หรือ
trans
รูปที่
๓ง IR
spectrum ของ
1-pentene
ช่วงเลขคลื่นประมาณ
1460
cm-1 นี้เป็นลักษณะร่วมกันของหมู่
-CH3
และ
-CH2-
(methylene group นะ
ไม่ใช่หมู่ H2C=
นะ
อย่าไปสับสน)
ในขณะที่เลขคลื่นประมาณ
1380
cm-1 เป็นลักษณะของหมู่
-CH3
เท่านั้น
รูปที่
๓จ IR
spectrum ของ
1-pentene
ตรงเลขคลื่น
990
และ
910
cm-1 เป็นการดูดกลืนเนื่องจากการสั่นแบบ
out
of plane deformation ของพันธะ
C-H
ของหมู่
H2C=
หรือ
terminal
vinyl ดังนั้นการระบุว่ามีหมู่
terminal
vinyl ควรต้องดูการดูดกลืนคลื่นแสงที่ความยาวคลื่นบริเวณนี้
ไม่ใช่ที่ 1460
cm-1
รูปที่
๔ก IR
spectrum ของ
trans
2-pentene ช่วงเลขคลื่น
3075-3100
cm-1 ที่แสดงตำแหน่งการดูดกลืนของการสั่นแบบ
stretching
ของพันธะ
olefinic
C-H เช่นเดียวกับกรณีของ
1-pentene
รูปที่
๔ข IR
spectrum ของ
trans
2-pentene ในกรณีที่โมเลกุลมีขนาดใหญ่ขึ้น
สัดส่วนของหมู่เมทิลีนจะสูงขึ้น
จนอาจทำให้พีคการดูดกลืนของหมู่เมทิลปรากฏเป็นเพียงแค่ไหล่
(shoulder)
เท่านั้นเอง
รูปที่
๔ค IR
spectrum ของ
trans
2-pentene ตำแหน่งบริเวณเลขคลื่น
1650
cm-1 นี้แสดงการมีอยู่ของพันธะ
C=C
ถ้าเทียบกับ
1-pentene
หรือ
cis
2-pentene แล้วจะเห็นว่าพีคของ
trans
2-pentene นี้เป็นพีคเล็ก
ๆ ที่ไม่เด่นชัด และยังแยกออกเป็นสองพีค
รูปที่
๔ง IR
spectrum ของ
trans
2-pentene ช่วงเลขคลื่นประมาณ
1460
cm-1 เป็นลักษณะร่วมกันของหมู่
-CH3
และ
-CH2-
ในขณะที่เลขคลื่นประมาณ
1380
cm-1 เป็นลักษณะของหมู่
-CH3
เท่านั้น
รูปที่
๔จ IR
spectrum ของ
trans
2-pentene ช่วงเลขคลื่นประมาณ
965
cm-1 ที่เกิดจากการดูดกลืนคลื่นแสงของพันธะ
C-H
ของโครงสร้างแบบ
trans
ของโอเลฟินส์
ดังนั้นการมองหาว่าสารตัวอย่างมีโมเลกุลโอเลฟินส์ที่มีโครงสร้างแบบ
trans
หรือเปล่า
จึงควรมองหาพีคที่ตำแหน่งนี้
รูปที่
๕ก IR
spectrum ของ
cis
2-pentene ช่วงเลขคลื่น
3075-3100
cm-1 แสดงตำแหน่งการดูดกลืนของการสั่นแบบ
stretching
ของพันธะ
olefinic
C-H เนื่องจากทั้ง
cis
และ
trans
2-pentene นี้มีหมู่
-CH3
สองหมู่
(ที่ดูดกลืนรังสีที่ตำแหน่งช่วงคลื่นประมาณ
2960
cm-1 ใกล้กัน)
จึงทำให้การปรากฏของพีคนี้ไม่เด่นชัดเหมือนกรณีของ
1-pentene
(รูปที่
๓ก)
รูปที่
๔ข IR
spectrum ของ
cis
2-pentene ตำแหน่งการดูดกลืนช่วงเลขคลื่น
2950-2750
cm-1 นี้เป็นของหมู่เมทิล
-CH3
และเมทิลีน
-CH2-
รูปที่
๕ค IR
spectrum ของ
cis
2-pentene ตำแหน่งบริเวณเลขคลื่น
1650
cm-1 นี้แสดงการมีอยู่ของพันธะ
C=C
ของอัลคีน
ในกรณีของ cis
2-pentene นี้แม้ว่าจะเด่นกว่าของ
trans
2-pentene (รูปที่
๔ค)
แต่ก็ยังไม่เทียบเท่ากับของ
1-pentene
(รูปที่
๓ค)
รูปที่
๕ง IR
spectrum ของ
ciss
2-pentene ช่วงเลขคลื่นประมาณ
1460
cm-1 เป็นลักษณะร่วมกันของหมู่
-CH3
และ
-CH2-
ในขณะที่เลขคลื่นประมาณ
1380
cm-1 เป็นลักษณะของหมู่
-CH3
เท่านั้น
รูปที่
๕จ IR
spectrum ของ
cis
2-pentene ช่วงเลขคลื่นประมาณ
690
cm-1 ที่เกิดจากการดูดกลืนคลื่นแสงของพันธะ
C-H
ของโครงสร้างแบบ
cis
ของโอเลฟินส์
ดังนั้นการมองหาว่าสารตัวอย่างมีโมเลกุลโอเลฟินส์ที่มีโครงสร้างแบบ
cis
หรือเปล่า
จึงควรมองหาพีคที่ตำแหน่งนี้
เมื่อเทียบกับกรณีของหมู่
terminal
vinyl และโครงสร้างแบบ
trans
แล้ว
จะเห็นว่าพีคมีการขยับมาทางเลขคลี่นที่ต่ำลงมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น