Memoir
ฉบับนี้เป็นบันทึกกราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของสารประกอบอัลคิลเบนซีนจำนวน
๔ ตัวคือโทลูอีน (หรือเมทิลเบนซีน)
เอทิลเบนซีน
โพรพิลเลนซีน (หรือนอร์มัลโพรพิลเบนซีน)
และคิวมีน
(หรือไอโซโพรพิลเบนซีน)
(รูปที่
๑)
โทลูอีนนั้นเป็นสารประกอบอัลคิลเบนซีนตัวพื้นฐานที่สุด
เอทิลเบนซีนจะแตกต่างจากโทลูอีนตรงที่มีหมู่เมทิลีน
(methylene
-CH2-) เพิ่มเข้ามา
๑ หมู่
โพรพิลเบนซีนจะแตกต่างจากเอทิลเบนซีนตรงที่มีหมู่เมทิลีน
(methylene
-CH2-) เพิ่มเข้ามาอีก
๑ หมู่ รวมเป็น ๒ หมู่
ส่วนคิวมีนนั้นจะมีหมู่เมทิล
(methyl
-CH3) สองหมู่และมี
tertiary
carbon atom ๑
ตัว
มองจากแง่การดูดกลืนรังสีอินฟราเรดแล้ว
ตำแหน่งพีคการดูดกลืนรังสีของอัลคิลเบนซีนควรประกอบด้วยการดูดกลืนรังสีของส่วนที่เป็นวงแหวนเบนซีน
รวมกับการดูดกลืนรังสีของหมู่อัลคิล
พีคการดูดกลืนรังสีของหมู่อัลคิล
(โดยเฉพาะหมู่เมทิลและเมทิลีน)
และเบนซีนนั้นเคยเล่าไว้แล้วใน
Memoir
ปีที่
๑ ฉบับที่ ๘ วันศุกร์ที่ ๕
กันยายน ๒๕๕๑ เรื่อง "Infrared spectrum interpretation"
รูปที่
๑ โครงสร้างโมเลกุลของ
โทลูอีน (หรือเมทิลเบนซีน)
เอทิลเบนซีน
โพรพิลเลนซีน (หรือนอร์มัลโพรพิลเบนซีน)
และคิวมีน
(หรือไอโซโพรพิลเบนซีน)
รูปที่
๒ และ ๓ นั้นเป็นกราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดในช่วงเลขคลื่น
400-4000
cm-1 ของสารทั้ง
๔ ตัว จะเห็นว่าตำแหน่งปรากฏของพีคนั้น
(เรียกได้ว่า)
เหมือนกัน
ความแตกต่างหลักจุดหนึ่งอยู่ตรงที่การปรากฏพีคของหมู่เมทิลีน
และความแรงสัมพัทธ์ระหว่างพีคของหมู่เมทิลและเมทิลีน
และการแปลผลจะยากขึ้นไปอีกถ้าหากว่าตัวอย่างนั้นเป็นสารผสม
รูปที่
๒ กราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
(บน)
โทลูอีน
(หรือเมทิลเบนซีน)
และ
(ล่าง)
เอทิลเบนซีน
เมื่อเทียบกับเบนซีน
ในกรณีของเอทิลเบนซีนนั้นจะมีการดูดกลืนรังสีของหมู่เมทิลีน
(methylene
-CH2- เพิ่มเติมเข้ามา)
รูปที่
๓ กราฟการดูดกลืนรังสีอินฟราเรดของ
(บน)
โพรพิลเบนซีน
(หรือนอร์มัลโพรพิลเบนซีน)
และ
(ล่าง)
คิวมีน
(หรือไอโซโพรพิลเบนซีน)
ในกรณีของโพรพิลเบนซีนเมื่อเทียบกับเอทิลเบนซีนนั้น
โพรพิลเบนซีนจะมีการดูดกลืนรังสีของหมู่เมทิลีนที่มากกว่า
และในกรณีของคิวมีนเมื่อเทียบกับโทลูอีนนั้น
คิวมีนจะมีการดูดกลืนรังสีของหมู่เมทิล
(-CH3)
ที่มากกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น