สิ่งที่เราเรียนกันมาและพบเห็นกันทั่วไปคือ
ในกรณีของกรดที่แตกตัวให้โปรตอนได้มากกว่า
๑ ตัวนั้น
ค่าคงที่ของการแตกตัวครั้งแรกจะมากกว่าของครั้งที่
๒ และค่าคงที่ของการแตกตัวครั้งที่
๒ จะมากกว่าของครั้งที่ ๓
และเป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ
(ถ้าหากกรดนั้นยังมีโปรตอนให้แตกตัวมากกว่า
๓ ตัว)
พูดอีกอย่างก็คือกรดที่เกิดจากการแตกตัวให้โปรตอนครั้งที่สองจะเป็นกรดที่อ่อนกว่ากรดที่แตกตัวให้โปรตอนครั้งแรก
(เช่น
H2SO4
เป็นกรดที่แก่กว่า
HSO4-
และ
H3PO4
เป็นกรดที่แก่กว่า
H2PO4-)
ประเด็นที่น่าในใจก็คือ
ถ้าเราเอากรดที่แตกตัวให้โปรตอนได้มากกว่า
๑ ตัวมาทำการไทเทรต
เช่นในกรณีของกรดที่แตกตัวให้โปรตอนได้
๒ ตัว กราฟการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ของสารละลายกรดเมื่อหยดสารละลายเบสลงไปเรื่อย
ๆ จะมีลักษณะเช่นไร
สิ่งที่เราพอจะคาดการณ์ได้ก็คือ
จุดสมมูลของการไทเทรตโปรตอนตัวแรกนั้นจะอยู่ในช่วงค่า
pH
ที่เป็นกรด
(คือน้อยกว่า
7)
อันเป็นผลจากโปรตอนที่เกิดจากการแตกตัวครั้งที่สองนั้นจ่ายมาให้
และจุดสมมูลของการไทเทรตโปรตอนตัวที่สองนั้นจะอยู่ในช่วงค่าพีเอชไม่ต่ำกว่า
7
(เพราะมันเป็นกรดอ่อน)
ส่วนการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ตรงจุดสมมูลของโปรตอนแต่ละตัวจะเห็นเด่นชัดแค่ไหนนั้น
ขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างค่าคงที่ในการแตกตัวของโปรตอนทั้งสองตัว
เพื่อให้เห็นภาพจะขอยกตัวอย่างสมมุติกรณีของกรดที่แตกตัวให้โปรตอนได้สองตัว
โดยการแตกตัวครั้งแรกมีค่า
Ka1
= 1 ส่วนการแตกตัวครั้งที่สองมีค่า
Ka2
ตั้งแต่
10-3
ถึง
10-8
ผลการคำนวณการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
และอัตราการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
(d(pH)/dV) แสดงไว้ในรูปที่
๑
จากรูปจะเห็นได้ว่าถ้าหากการแตกตัวครั้งที่สองนั้นเกิดได้ดีมาก
จะมองไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ของการไทเทรตโปรตอนตัวแรก
(กรณีของกรด
H2SO4
ก็เป็นเช่นนี้)
การเปลี่ยนแปลงค่า
pH
จะเห็นชัดเจนเมื่อทำการไทเทรตโปรตอนตัวที่สอง
ในทางกลับกันถ้าค่าคงที่ของการแตกตัวครั้งที่สองนั้นต่ำมาก
จะมองไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ของการไทเทรตโปรตอนตัวที่สองได้ชัดเจน
การเปลี่ยนแปลงค่า pH
ที่ชัดเจนจะเห็นในช่วงของการไทเทรตโปรตอนตัวแรก
และเกิดในช่วงค่า pH
ที่เป็นกรด
การที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ที่ชัดเจนทั้งของการไทเทรตโปรตอนตัวแรกและโปรตอนตัวที่สองจะเกิดขึ้นเมื่อค่าคงที่ของการแตกตัวนั้นแตกต่างกันในช่วงที่พอเหมาะ
กล่าวคือไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป
ดังเช่นในกรณีของกรด H3PO4
ที่เห็นเด่นชัดสองครั้ง
คือของโปรตอนตัวแรกและตัวที่สอง
(ตัวที่สามไม่เห็น
เมื่อไทเทรตด้วยสารละลาย
NaOH
เข้มข้น0.1
M)
กราฟแสดงค่าอัตราการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ก็มีลักษณะทำนองเดียวกัน
คือจะไม่เห็นพีคแรกหรือเห็นไม่ชัดเจนและเห็นแต่พีคที่สองถ้าหากการแตกตัวครั้งที่สองนั้นเกิดได้ดี
ในทางกลับกันจะเห็นพีคแรกเด่นชัดแต่เห็นพีคที่สองไม่ชัดเจนในกรณีที่การแตกตัวครั้งที่สองนั้นแย่กว่าการแตกตัวครั้งแรกมาก
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว
หวังว่าคงจะไม่คิดจำเป็นสูตรสำเร็จอีกต่อไปว่า
กราฟการไทเทรตกรดที่ให้โปรตอนได้สองตัว
ต้องมองเห็นการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
สองครั้ง
รูปที่
๑ ผลการคำนวณ (บน)
การเปลี่ยนแปลงค่า
pH
(ล่าง)
ค่าอัตราการเปลี่ยนแปลงค่า
pH
ของกรดที่แตกตัวให้โปรตอนได้
๒ ตัว โดยสมมุติให้ค่า
คงที่ของการแตกตัวให้โปรตอนตัวแรก
Ka1
= 1 และมีค่า
Ka2
ที่แตกต่างกัน
ความเข้มข้นของกรดเริ่มต้น
0.1
M ปริมาตร
30
ml ไทเทรตด้วยเบสแก่ที่ให้โปรตอนได้ตัวเดียวเข้มข้น
0.1
M โปรแกรมที่ใช้คำนวณเป็นไฟล์
spread
sheet ของ
OpenOffice
ดาวน์โหลดได้ที่
https://terpconnect.umd.edu/~toh/models/Titration.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น