แก๊สปิโตรเลียมเหลวที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า
Liquified
Petroleum Gas หรือย่อว่า
LPG
นั้น
เป็นแก๊สเชื้อเพลิงที่ประกอบด้วยโพรเพน
(propane
C3H8) และบิวเทน
(butane
C4H10) ที่สัดส่วนต่าง
ๆ
ส่วนที่ว่าจะมีโพรเพนและบิวเทนในสัดส่วนเท่าใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศที่จะนำแก๊สนั้นไปใช้
ในสถานที่ที่มีอากาศหนาวจนถึงช่วงอุณหภูมิติดลบ
ต้องใช้แก๊สที่มีสัดส่วนโพรเพนที่สูงหรือเป็นโพรเพนบริสุทธิ์
(จุดเดือดของบิวเทนอยู่ที่ประมาณ
-1ºC)
แต่สำหรับภูมิอากาศร้อนก็ต้องลดสัดส่วนของโพรเพนลง
(เพื่อไม่ให้ความดันในถังนั้นสูงเกินไป)
โดยไปเพิ่มสัดส่วนบิวเทนให้สูงขึ้นทดแทน
ในกรณีของประเทศไทยนั้น
ประกาศกรมธุรกิจพลังงานเรื่อง
"กำหนดคุณลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลว
พ.ศ.
๒๕๕๙"
กำหนดความดันไอ
ณ อุณหภูมิ 37.8ºC
ไว้ที่ไม่สูงกว่า
1380
kPa หรือ
13.8
bar ซึ่งถ้าดูค่าความดันไอในรูปที่
๑ ข้างล่าง ก็จะเห็นว่าแก๊ส
LPG
ที่ขายในบ้านเรานั้นสามารถที่จะเป็นโพรเพนบริสุทธิ์ได้
รูปที่
๑ กราฟความสัมพันธ์ระหว่างความดัน
(bar.g)
กับอุณหภูมิ
(C)
ของ
LPG
ที่สัดส่วนผสม
โพรเพน:บิวเทน
ต่าง ๆ โดยน้ำหนัก (สัดส่วน
100:0
คือโพรเพนบริสุทธิ์
สัดส่วน 0:100
คือบิวเทนบริสุทธิ์)
ในสถานที่ที่มีผู้ใช้แก๊สหลายรายนั้น
แทนที่จะใช้การตั้งถังแก๊สให้กับผู้ใช้แต่ละราย
ก็จะใช้วิธีการติดตั้งถังแก๊สเอาไว้ในบริเวณที่จัดไว้เฉพาะที่มักอยู่ภายนอกอาคาร
(ดังตัวอย่างในรูปที่
๒)
จากนั้นจึงเดินท่อจากถังแก๊สที่ตั้งอยู่ภายนอกไปยังจุดใช้แก๊สแต่ละตำแหน่ง
ความดันแก๊สจ่ายออกจากถังจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิโดยรอบถัง
สำหรับในบ้านเราที่อุณหภูมิค่อนข้างจะสูงนั้น
ไม่ค่อยจะมีปัญหาเรื่องความดันไม่สูงพอ
แต่สำหรับประเทศที่มีอากาศหนาวต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายวันนั้น
จะเกิดปัญหาความดันในถังลดต่ำลงจนไม่สามารถจ่ายแก๊สให้พอกับความต้องการได้
ตรงนี้ขอทบทวนความเข้าใจนิดนึง
แก๊สหุงต้มที่อยู่ในถังนั้นมันเป็น
"ของเหลว"
ภายใต้ความดัน
การบรรจุแก๊สลงถังก็จะบรรจุโดยที่ระดับของเหลวนั้นไม่เต็มถัง
(อาจอยู่ราว
ๆ ประมาณ 85%)
เวลาใช้งานก็จะดึงเอาส่วนที่เป็นไอที่อยู่ทางด้านบนเหนือผิวของเหลวมาใช้
(ด้วยเหตุนี้เวลาที่ใช้แก๊สหุงต้มเขาถึงบอกว่าให้วางถังในแนวตั้ง)
และเนื่องจากแก๊สในถังเป็นของเหลวภายใต้ความดัน
ดังนั้นตราบเท่าที่ภายในถังยังมีของเหลวอยู่
ความดันแก๊สในถังจึงขึ้นกับ
"อุณหภูมิ"
เท่านั้น
่ไม่ขึ้นกับปริมาณของเหลวที่มีอยู่ในถัง
รูปที่
๒ ถังแก๊สหุงต้มต่อขนานกันเพื่อจ่ายแก๊สให้กับผู้ค้าในโรงอาหาร
ในกรณีนี้จะเป็นการวางไว้นอกอาคาร
และใช้ความดันแก๊สภายในถังเป็นตัวส่งแก๊สไปยังผู้ใช้รายต่าง
ๆ
ในท้องถิ่นที่อุณหภูมิอากาศในช่วงหน้าหนาวนั้นต่ำกว่า
0ºC
ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
อาจจำเป็นต้องปรับส่วนผสมแก๊สหุงต้มให้เปลี่ยนไปตามฤดูกาล
คือถ้าเป็นหน้าหนาวก็ให้มีโพรเพนในสัดส่วนที่สูงขึ้น
แต่พอเป็นหน้าร้อนก็ลดสัดส่วนโพรเพนลง
(แต่ถ้าเป็นประเทศที่แก๊สหุงต้มประกอบด้วยโพรเพนอย่างเดียว
ก็ไม่จำเป็นต้องปรับแต่องค์ประกอบอะไร
เพียงแค่ออกแบบถังให้แข็งแรงพอที่จะรับความดันจากโพรเพนในหน้าร้อนได้อย่างปลอดภัยก็พอ)
แต่ก็อาจมีบางครั้งเหมือนกันที่อุณหภูมิอากาศลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว
และ/หรือแก๊สที่ซื้อมาตั้งแต่ตอนอากาศร้อนนั้นยังใช้ไม่หมด
ทำให้พออากาศเย็นลง
ความดันในถังแก๊สก็เลยลดต่ำลง
จนไม่สามารถจ่ายแก๊สได้ทันต่อความต้องการ
แต่ปัญหานี้ก็พอแก้ไขได้ด้วยการให้ความร้อนแก่ถังแก๊ส
เพื่อให้แก๊สในถังมีอุณหภูมิสูงขึ้น
ความดันแก๊สในถังจะได้เพิ่มขึ้น
เรื่องที่นำมาเล่าในวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับถังแก๊สหุงต้ม
ที่นำมาจาก Loss
Prevention Bulletin ฉบับที่
๒๐ ประจำเดือนเมษายน ปีค.ศ.
๑๙๗๘
(พ.ศ.
๒๕๒๑)
ในหัวข้อเรื่อง
"Hazard
of gas cylinder" (รูปที่
๓)
รูปที่
๓ ถัง LPG
ได้รับความร้อนจากฮีทเตอร์ไฟฟ้า
แต่วาล์วขาออกถูกปิดเอาไว้
ทำให้ความดันในถังเพิ่มขึ้นจนถังระเบิด
อุบัติเหตุเกิดขึ้นเมื่อมีการให้ความร้อนแก่ถังแก๊สด้วยฮีทเตอร์ไฟฟ้า
แต่ด้วยความผิดพลาดทำให้ถังแก๊สนั้นปิดอยู่
ทำให้ความดันแก๊สในถังเพิ่มสูงขึ้นจนถังระเบิดและทำให้มีผู้เสียชีวิต
๑ ราย (ถ้าถังนั้นเปิดอยู่
แก๊สที่ระเหยออกมาก็จะถูกดึงออกไปใช้งาน
แก๊สจะไม่สะสมในถัง
ทำให้ความดันในถังไม่เพิ่มขึ้นมาก)
การให้ความร้อนแก่พื้นผิวโลหะใด
ๆ ด้วยการใช้ขดลวดไฟฟ้านั้นแตกต่างไปจากการใช้สารตัวกลาง
(เช่น
น้ำ น้ำมัน ไอน้ำ หรืออากาศ)
ให้ความร้อน
เมื่อเราใช้สารตัวกลางที่มีอุณภูมิสูงในการถ่ายเทความร้อนให้กับพื้นผิวโลหะ
พื้นผิวโลหะนั้นจะมีอุณหภูมิไม่สูงเกินอุณหภูมิของสารตัวกลางที่เป็นตัวจ่ายความร้อน
(ลองนึกภาพง่าย
ๆ ถ้าคุณใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิ
100ºC
ในการทำให้เหล็กร้อน
เหล็กชิ้นนั้นจะไม่มีทางที่จะมีอุณหภูมิสูงเกินกว่า
100ºC)
แต่การใช้ขดลวดไฟฟ้าให้ความร้อนนั้นแตกต่างกัน
เพราะถ้าหากผิวโลหะนั้นไม่มีตัวกลางที่จะดึงเอาความร้อนออกจากผิวโลหะ
ผิวโลหะนั้นก็จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นได้เรื่อย
ๆ จนกระทั่งไม่สามารถทนต่อความดันภายในได้
กรณีของเหตุการณ์ที่ยกมานี้
ความร้อนจากฮีทเตอร์ไฟฟ้านั้นจ่ายให้กับถังโดยตรง
(คงมีการสัมผัสกับโดยตรงระหว่างฮีทเตอร์กับถังแก๊ส)
การระเบิดของถังคงเป็นผลที่เกิดจากความดันภายในถังที่เพิ่มสูงขึ้นประกอบกับความแข็งแรงของถังนั้นลดต่ำลงอันเป็นผลจากอุณหภูมิเนื้อโลหะที่สูงขึ้น
ในกรณีนี้วิธีการที่ปลอดภัยกว่าคือการให้ความร้อนแก่อากาศก่อน
จากนั้นจึงค่อยให้อากาศร้อนนั้นถ่ายเทความร้อนให้กับถังอีกทีหนึ่ง
แต่ถังนี้ต้องทำการคำนวณยืนยันก่อนด้วยว่า
ถ้าหากเกิดกรณีที่ถังแก๊สปิดอยู่แต่ยังปล่อยให้อากาศร้อนนั้นไหลผ่านถัง
ความดันในถังต้องไม่สูงเกินความดันที่ปลอดภัยในการทำงานด้วย
ในบทความบอกว่าไม่ควรใช้น้ำร้อนหรือไอน้ำหรือของเหลวถ่ายเทความร้อน
เพื่อให้ความร้อนแก่ถังโดยที่มีการสัมผัสโดยตรงเพราะจะทำให้ถังขึ้นสนิมได้
แต่ไม่ได้กล่าวถึงกรณีที่ถ้าหากตัวกลางเหล่านั้นไหลวนอยู่ในท่อที่พันรอบถังอยู่
จะทำได้หรือไม่
แต่ถ้าจะให้ปลอดภัยก็น่าจะเป็นการให้ความร้อนแก่อากาศก่อน
จากนั้นจึงค่อยให้อากาศร้อนนั้นถ่ายเทความร้อนให้แก่ถังอีกที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น