แบบทดสอบนี้
ใครจะลองเอาไปใช้ในการสอบก็ไม่หวงนะครับ
เพียงแต่ควรต้องระวังในการแปลผลหน่อยแค่นั้นเอง
เพราะประสบการณ์ของแต่ละคนนั้นขึ้นอยู่กับท้องถิ่นที่เขาอยู่อาศัยและศึกษามา
ครั้งนี้เป็นครั้งที่สามที่ผมทดลองให้นิสิตลองทำโดยไม่ต้องเขียนชื่อ-สกุลหรือเลขประจำตัวลงในกระดาษ
ครั้งแรกนั้นลองกับนิสิตปริญญาตรีปี
๒ ครั้งที่สองก็ทดลองกับนิสิตปริญญาโทปี
๒ เมื่อเริ่มเปิดภาคการศึกษาต้นเมื่อสิงหาคมที่ผ่านมา
ครั้งนี้เป็นการทดลองกับนิสิตปริญญาโทปี
๑ เมื่อวาน (๔๐
คนเศษ)
ซึ่งผลส่วนใหญ่ออกมามาในทำนองเดียวกันทั้งสามครั้ง
ดังบางตัวอย่างที่นำมาให้ดูในวันนี้
(ผลการทดสอบครั้งแรกเคยเอามาลงไว้ใน
blog
เมื่อวันพฤหัสบดีที่
๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๐ เรื่อง
"วาดรูปต้นสับปะรดที่มีผลสับปะรดติดอยู่")
การที่คนที่เรียนในเมืองใหญ่
เติบโตในเมืองใหญ่
ได้รู้จักอะไรต่อมิอะไรที่คนที่มาจากเมืองที่เล็กกว่า
หรือไม่ได้เติบโตในเมืองใหญ่
นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่มาจากเมืองใหญ่นั้นฉลาดหรือรู้ดีกว่า
เพราะมันก็มีสิ่งต่าง ๆ
อีกมากมากเช่นกัน
ที่คนที่เติบโตเมืองใหญ่
เรียนหนังสือในเมืองใหญ่
กลับไม่รู้จัก ทั้ง ๆ
ที่สิ่งนั้นเป็นเรื่องที่รู้กันอยู่ทั่วไปในระหว่างหมู่คนที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในตัวเมือง
ดังนั้นการแปลความหมายของการวัดผลจึงสำคัญตรงที่ว่า
เรากำลังวัดผลในเรื่องอะไร
เพื่อวัตถุประสงค์อะไร
เพื่อวัดความฉลาด
หรือเพียงเพื่อให้เราทราบว่าคนที่เรากำลังมีปฏิสัมพันธ์ด้วยนั้นเขามีพื้นฐานอย่างไร
การเรียนนั้นมันไม่ได้จำกัดอยู่แค่การต้องมาเรียนในห้องเรียนเพื่อให้
"รู้"
ตามที่ครูสอน
การได้เดินทางออกไปหาประสบการณ์ข้างนอก
(จะเป็นนอกท้องถิ่น
นอกเส้นทางการเดินทางที่ใช้เป็นประจำ
ฯลฯ)
มันก็เป็นการเรียนได้เหมือนกัน
โดยเป็นการออกไปเรียนด้วยตนเองเพื่อให้รู้ว่าโลกข้างนอกมันยังมีอะไรอีกเยอะแยะไปหมดที่เรายัง
"ไม่รู้"
การเรียนเช่นนี้มันไม่จำเป็นต้องไปเรียนยัง
"จุดหมายปลายทาง"
ของการเดินทางเท่านั้น
"สองข้างทางระหว่างเส้นทางเดินทาง"
มันก็มีอะไรให้ได้เรียนรู้อยู่เหมือนกัน
เรามีงานวิจัยจำนวนไม่น้อยที่เกี่ยวข้องกับการนำเอาผลิตผลทางการเกษตรหรือของเหลือใช้จากผลิตผลทางการเกษตรมาใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง
ๆ โดยเฉพาะการแปรรูปเป็นพลังงานเชื้อเพลิงเหลว
(รวมทั้งการนำไปผลิตเป็นแก๊สไฮโดรเจนเพื่อใช้กับเซลล์เชื้อเพลิง)
โดยที่ไม่ได้ลงไปเรียนรู้ว่าวัตถุดิบที่จะนำมาใช้นั้นมันมีที่มาที่ไปอย่างไร
การผลิตหรือการดึงมันออกจากการใช้งานดั้งเดิมนั้นจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจอย่างไร
รวมไปทั้งความสม่ำเสมอเพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบตลอดทั้งปี
ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คืองานวิจัยที่ไม่สามารถนำมาใช้งานได้จริงเพราะความไม่คุ้มค่าในการได้มาซึ่งวัตถุดิบและต้นทุนการผลิต
ทั้ง ๆ
ที่ในความเป็นจริงแล้วมันยังมีทางเลือกอื่นที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้สูงกว่ามาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น