การเรียนวิชาปฏิบัติการนั้น
ผู้เรียนควรที่จะได้เรียนรู้ด้วยว่าในการทดลองนั้น
ตัวอุปกรณ์ประกอบด้วยชิ้นส่วนอะไรบ้าง
แต่ละชิ้นส่วนทำหน้าที่อะไร
และวิธีการที่เหมาะสมในการใช้งานหรือติดตั้งชิ้นส่วนแต่ละชิ้นนั้นเป็นอย่างไร
เพื่อที่ผู้เรียนจะได้วิเคราะห์ได้ว่าตัวอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทดลองนั้นได้รับการปรับแต่งอย่างเหมาะสมกับการทดลองหรือไม่ก่อนเริ่มการทดลอง
เพราะถ้าการจัดอุปกรณ์นั้นไม่ถูกต้อง
ก็จะทำให้เกิดคำถามได้ว่าผลการทดลองที่ได้มานั้นมีค่าควรแก่การพิจารณาหรือไม่
บ่ายวันพุธที่ผ่านมามีโอกาสเดินแวะเข้าไปเยี่ยมเยียนนิสิตปี
๓ ที่กำลังเรียนวิชาปฏิบัติการอยู่
ณ ชุดอุปกรณ์ชุดหนึ่ง
(ที่บังเอิญมีนิสิตป.โท
ที่ผมเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาเขาไปช่วยทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยสอน)
ก็ได้เห็นการทำงานของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเครื่องหนึ่งที่เห็นว่ามันแปลกดี
ก็เลยถ่ายรูปมาให้ชมกัน
(รูปที่
๑)
รูปที่
๑
เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเครื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดอุปกรณ์ทดลอง
โดยทำหน้าที่ลดอุณหภูมิของเหลวที่ได้จากการควบแน่น
(ที่มีอุณหภูมิที่จุดเดือด)
ให้มีอุณหภูมิต่ำลงไปอีกก่อนไหลลงไปยังถังเก็บ
ของเหลวจะไหลในส่วนของขดท่อด้านในจากบนลงล่าง
โดยมีน้ำหล่อเย็นเข้าที่จุด
(1)
ก่อนไหลออกที่จุด
(2)
และไหลวกขึ้นไปยังจุด
(3)
ก่อนที่จะไหลลงไปตามสายยางที่ปลายลงสู่ท่อระบายน้ำที่ระดับพื้นดิน
ตอนที่ถ่ายภาพนั้น
ระดับน้ำหล่อเย็นที่อยู่ข้างในนั้นอยู่ตรงตำแหน่ง
(4)
เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเครื่องนี้วางตั้งในแนวดิ่ง
ทำหน้าที่ลดอุณหภูมิของเหลวที่ได้จากการควบแน่นไอ
(ของเหลวจะมีอุณหภูมิที่จุดเดือด)
ให้มีอุณหภูมิลดต่ำลงก่อนไหลลงสู่ถังเก็บ
ของเหลวที่ต้องการทำให้เย็นลงจะไหลจากด้านบนลงล่างด้วยแรงโน้มถ่วง
ลงมาตามขดท่อแก้วที่อยู่ภายใน
รอบนอกนั้นเป็นส่วนของน้ำหล่อเย็น
โดยน้ำหล่อเย็น (ก็คือน้ำประปาจากก๊อกน้ำ)
ไหลเข้าที่จุด
(1)
ก่อนที่จะไหลลงล่างออกทางรูทางออกที่จุด
(2)
แล้วก็ไหลวก
"ขึ้นบน"
ไปยังจุด
(3)
ก่อนไหลเข้าสู่สายยางระบายน้ำทิ้งที่ปลายสายยางนั้นอยู่ที่จุดรับน้ำทิ้งที่อยู่บนพื้น
ตอนที่ผมเห็นและถ่ายรูปนั้น
ระดับน้ำในเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนมันอยู่ที่ตำแหน่ง
(4)
เท่านั้น
ขดท่อส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปนั้นได้สัมผัสเพียงแค่น้ำหล่อเย็นที่กระเด็นกระดอนจากผนังเข้ามาเท่านั้นเอง
(ผลจากแรงดันของน้ำที่ฉีดเข้ามาที่จุด
(1)
ทำให้น้ำไหลวนและไหลลงมาตามผนัง
แทนที่จะไปดึงความร้อนออกที่ตัวขดท่อแก้ว)
แต่คำถามที่น่าสนใจกว่าก็คือ
จุด (3)
มันอยู่สูงกว่าตำแหน่ง
(4)
แล้วน้ำนั้นไหลจากตำแหน่ง
(4)
"ขึ้น"
ไปยังจุด
(3)
ได้อย่างไร
ทั้ง ๆ ที่ไม่มีปั๊มช่วยดูด
ปรกติแล้วเวลาทำการทดลองที่มีการใช้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบนี้
และให้น้ำหล่อเย็นนั้นไหลหล่อเลี้ยงขดท่ออยู่ทางด้านนอก
สิ่งสำคัญคือต้องให้น้ำหล่อเย็นนั้นบรรจุเต็มที่ว่างด้านนอก
วิธีการปรกติที่ทำกันก็คือให้น้ำเข้าทางด้านล่างและไหลออกทางด้านบน
ลองสังเกตดูเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนในรูปที่
๑ นะครับ
จะเห็นว่าจุดต่อสายยางน้ำเข้า-ออกนั้นจะอยู่คนละด้านของลำตัว
ในกรณีที่จับมันวางในแนวราบ
เราก็จะให้จุดต่อน้ำเข้าหันลงล่างและจุดต่อน้ำออกหันขึ้นบน
ในกรณีที่วางเฉียงหรือวางในแนวดิ่ง
เราก็จะต่อน้ำเข้าที่จุดต่อด้านล่างและให้ไหลออกที่จุดต่อด้านบน
วิธีการเช่นนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าด้านนอกขดท่อนั้นจะจมอยู่น้ำหล่อเย็นเสมอ
ดังนั้นในกรณีของรูปที่ ๑
ถ้าสลับให้น้ำหล่อเย็นเข้าที่จุด
(2)
และไหลออกที่จุด
(1)
แทน
มันก็จะทำให้ขดท่อทั้งขดนั้นจมอยู่ในน้ำหล่อเย็นตลอดเวลา
ไม่เกิดปัญหาดังในรูป
ในกรณีของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบนี้
(ซึ่งก็คล้ายกับชนิดท่อสองชั้น
(double-pipe)
สำหรับคนที่เรียนเรื่องการออกแบบมาจะทราบว่าถ้าเป็นการไหลแบบสวนทาง
(counter
current)
จะให้ประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อนที่ดีกว่าการไหลในทิศทางเดียวกัน
(co-current
หรือไหลคู่ขนานกัน
เช่นกรณีในรูปที่ ๑
คือของเหลวที่ต้องการลดอุณหภูมินั้นไหลจากบนลงล่าง
และน้ำหล่อเย็นก็ไหลจากบนลงล่างเช่นกัน)
ดังนั้นมันก็ไม่แปลกที่จะพบเห็นการไหลแบบสวนทางเป็นเรื่องปรกติ
แต่มันก็มีบางกรณีเหมือนกันที่เราควรต้องออกแบบให้มันไหลคู่ขนานกัน
รูปที่
๒
ข้างล่างแสดงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสายร้อนและสายเย็นในเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดท่อสองชั้นที่มีการไหลแบบสวนทางและไหลแบบขนาน
(ไหลในทิศทางเดียวกัน)
โดยธรรมชาติแล้ว
อัตราการถ่ายเทความร้อนขึ้นอยู่กับผลต่างระหว่างอุณหภูมิของฝั่งร้อนและฝั่งเย็น
ถ้าผลต่างดังกล่าวมีค่าสูง
อัตราการถ่ายเทความร้อนก็จะสูง
ในกรณีของการไหลแบบสวนทางนั้น
อุณหภูมิด้านขาออกของสายร้อนนั้นจะสูงกว่าอุณหภูมิด้านขาเข้าของสายเย็นอยู่ระดับหนึ่ง
(เช่นประมาณ
10ºC)
ถ้าผลต่างอุณหภูมิตรงตำแหน่งนี้กำหนดไว้ต่ำเกินไป
จะทำให้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนมีขนาดใหญ่เกินไป
แต่ถ้ากำหนดไว้สูงเกินไปก็จะลดประสิทธิภาพการดึงพลังงานของสายร้อนกลับมาใช้ใหม่
(ในกรณีของการต้องการดึงพลังงานความร้อนกลับมาใช้เพื่อประหยัดพลังงาน)
ในกรณีของการไหลแบบขนานนั้น
อุณหภูมิด้านขาออกของสายร้อนและสายเย็นจะลู่เข้าหากัน
ดังนั้นถ้าเทียบกับการไหลแบบสวนทางกัน
การไหลแบบคู่ขนานจะทำให้อุณหภูมิด้านขาออกของสายร้อนนั้นสูงกว่ากรณีของการไหลแบบสวนทาง
แต่จุดเด่นของการไหลแบบคู่ขนานก็คืออุณหภูมิของสายร้อนนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็วมากในช่วงแรก
ทำให้เหมาะกับระบบที่ต้องการลดอุณหภูมิของสายร้อนให้ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว
(ตัวอย่างงานที่ต้องการลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็วได้แก่การหยุดปฏิกิริยาไม่ให้ดำเนินไปข้างหน้ามากเกินไป)
รูปที่
๒ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสายร้อนและสายเย็นในกรณีของการไหลแบบ
(ซ้าย)
สวนทาง
และ (ขวา)
ขนาน
ในกรณีของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนที่วางในแนวดิ่งเช่นในรูปที่
๑ ถ้าให้น้ำหล่อเย็นนั้นเข้าทางด้านล่างและออกทางด้านบน
ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องขดท่อไม่จมอยู่ในน้ำหล่อเย็น
แต่ถ้าต้องการให้น้ำหล่อเย็นเข้าทางด้านบนและออกทางด้านล่าง
เราก็สามารถทำให้ขดท่อทั้งขดจมอยู่ในน้ำหล่อเย็นได้ด้วยการยกระดับท่อทางออกนั้นให้สูงอย่างน้อยก็เท่ากับระดับความสูงของท่อขาเข้าด้วยการทำเป็น
U-Loop
และที่ตำแหน่งบนสุดของ
U-Loop
ก็ให้มีท่อเปิดออกสู่บรรยากาศ
(รูปที่
๓)
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปรากฏการณ์
"กาลักน้ำ
(syphon)"
รายละเอียดเพิ่มเติมของเรื่องนี้สามารถอ่านได้ใน
Memoir
ปีที่
๕ ฉบับที่ ๕๖๒ วันเสาร์ที่
๑๒ มกราคม ๒๕๕๖ เรื่อง "Liquid seal และ water seal ตอนที่ ๒ การรักษาระดับของเหลวและรักษาความดัน"
กรณีของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนในรูปที่
๑ ในช่วงแรกที่เปิดน้ำเข้าไป
น้ำจะเข้าไปจนท่วมขดท่อไว้ทั้งหมด
แต่เมื่อน้ำเริ่มล้นออกทางสายยางที่ตำแหน่ง
(3)
และไหล
"เต็ม"
สายยางที่ต่อจากตำแหน่ง
(3)
ลงไปยังจุดรับน้ำทิ้งที่อยู่ด้านล่าง
ก็จะเกิดปรากฏการณ์กาลักน้ำ
ทำให้น้ำไหลจากตำแหน่ง (4)
ขึ้นไปยังจุด
(3)
ก่อนไหลลงล่างได้เอง
ในกรณีนี้เนื่องจากปลายสายยางบนพื้นอยู่ต่ำกว่าระดับเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนมาก
จึงทำให้อัตราการไหลออกนั้นค่อนข้างสูงจนทำให้น้ำไหลเข้านั้นชดเชยไม่ทัน
การแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุด
(โดยไม่ต้องทำท่อ
vent
แบบในรูปที่
๓)
คือไปยกปลายสายด้านปล่อยลงท่อให้สูงขึ้นก็จะทำให้น้ำค้างอยู่เต็มตัวเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนได้เอง
รูปที่
๓ การป้องกันการเกิดปรากฏการณ์กาลักน้ำใน
U-Loop
ทำได้ด้วยการมีท่อ
vent
ที่เปิดออกสู่บรรยากาศดังรูปซ้าย
(การที่ปลายท่อ
vent
มันคว่ำลงก็เพื่อไม่ให้มีน้ำฝนหรือสิ่งสกปรกใด
ๆ เข้าไปสะสมในท่อ vent)
หรือในกรณีของห้องปฏิบัติการที่ยกตัวอย่างมา
ก็ทำได้ด้วยการหาท่อ PVC
ท่อใหญ่กว่าสายยางมาสักท่อ
จับวางท่อ PVC
นั้นวางตั้งแล้วก็เอาปลายสายยางเสียบเข้าให้มันคาอยู่ที่ปากท่อด้านบนดังรูปขวา
จะได้ไม่มีปัญหาน้ำตกกระเด็นกระจายไปทั่วพื้น
วันนี้ขอปิดท้ายฉบับนี้ข้อความที่ได้รับจากทาง
messenger
จากวิศวกรรายหนึ่งที่ทำงานอยู่ที่มาบตาพุด
ก็ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่ช่วยส่งกำลังใจมาให้ในการเขียน
blog
นี้ต่อไปเรื่อย
ๆ ครับ
เพิ่มเติม
หลังจากที่ได้นำเรื่องนี้ขึ้น
blog
แล้วก็มีการทักทายเข้ามาทาง
facebook
โดยคุณ
Loofy
Tew (วิศวกรเคมีท่านหนึ่งที่เคยเป็นทั้ง
Plant
operation engineer และ
Technical
design engineer) ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเข้ามา
ทางผมเห็นว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์
เลยขอนำข้อมูลที่ได้มานำมาเผยแพร่ไว้ที่นี้
เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นด้วยครับ
(ข้อความสีน้ำเงินในเครื่องหมายคำพูดข้างล่างครับ
ผมมีการจัดลำดับบรรทัดนิดนึงและหมายเหตุเพิ่มเติมนิดหน่อย
เพื่อให้คนที่กำลังศึกษาอยู่อ่านเข้าใจง่ายขึ้นครับ)
"ผมเพิ่มเติมเรื่อง
ประโยชน์ของ Co
current design ของ
Heat
exchange อีกข้อครับ
อย่างแรกเหมือนที่อ.เขียนเลย
คือ เหมาะกับระบบที่ต้องการลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว
เช่น Quenching
ส่วนอย่างที่สอง
คือ Material
selection
สำหรับ
Process
ที่อุณหภูมิหลัก
800°C
ขึ้นไป
material
จะแพงแบบก้าวกระโดด
ซึ่ง Co-current
ช่วยตรงนี้ได้
เพราะ Inlet
hot side จะเจอกับ
Inlet
cold side ซึ่งทำให้
tube
metal temp ต่ำกว่าเจอ
outlet
cold side มาก(๑)
เมื่อคิดเชิง
Economic
แล้ว
LMTD(๒)
ที่ต่ำลง
ทำให้ Required
heat transfer area มากขึ้น
แต่ถ้าแลกกับการไม่ต้อง
Upgrade
material ก็ค่อนข้างคุ้มมาก
สำหรับหลายๆ Process
ครับ"
หมายเหตุ
(๑)
ลองดูในรูปที่
๒ นะครับ สมมุติว่าอุณหภูมิขาเข้าสายร้อนคือ
400ºC
อุณหภูมิขาเข้าสายเย็นคือ
200ºC
ถ้าเราให้สองสายนี้สวนทางกัน
อุณหภูมิด้านขาออกของสายร้อนจะลดลงเหลือ
(สมมุตินะครับ)
220ºC
ส่วนอุณหภูมิขาออกของสายเย็นก็จะเป็น
(สมมุติเช่นกันนะครับ)
380ºC
ดังนั้นอุณหภูมิโลหะด้านที่สายร้อนไหลเข้าและสายเย็นไหลออกนั้นจะอยู่ระหว่าง
400-380ºC
แต่ถ้าเป็นการไหลคู่ขนานกัน
อุณหภูมิโลหะด้านที่สายร้อนไหลเข้าและสายเย็นไหลเข้าจะอยู่ระหว่าง
200-400ºC
ซึ่งแน่นอนว่าจะต่ำกว่า
380ºC
(๒)
LMTD ย่อมาจากชื่อเต็ม
"Logarithmic
mean temperature difference" แต่มักอ่านกันย่อ
ๆ ว่า "Log
Mean Temperature Difference"
เป็นค่าเฉลี่ยผลต่างอุณหภูมิระหว่างฝั่งร้อนและฝั่งเย็น
ค่านี้ใช้กันมากในการออกแบบเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
โดยที่ LMTD
= (ΔTA
- ΔTB)/ln(ΔTA/ΔTB)
โดยที่
ΔTA
คือผลต่างอุณหภูมิที่ปลายด้าน
A
และ
ΔTB
คือผลต่างอุณหภูมิที่ปลายข้าง
B
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น