การทำหน้าที่ของ
plug
valve ก็คล้ายกลับ
ball
valve เพียงแต่
plug
valve นั้นใช้ตัว
plug
ที่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกที่เรียวสอบลงล่างเล็กน้อย
(เพื่อให้ง่ายในการประกอบและการสัมผัสแนบ)
การประกอบตัว
plug
เข้ากับตัววาล์วจึงทำจากทางด้านบน
(ด้านที่ตั้งฉากกับทิศทางการไหล)
แล้วใช้ชิ้นส่วนที่เรียกว่า
top
cap กดให้ตัว
plug
นั้นอยู่ในตำแหน่ง
(ตัว
valve
body มีชิ้นส่วนเดียว
-
ดูรูปที่
๑ และ ๒ ประกอบ)
ในขณะที่
ball
valve นั้นใช้ลูกบอลกลม
จึงต้องทำให้ตัว valve
body เป็นชิ้นส่วนสองชิ้นประกบเข้าด้วยกันเพื่อที่จะได้ทำการติดตั้งตัว
ball
ได้
ใน
Memoir
ปีที่
๑๐ ฉบับที่ ๑๔๘๙ วันอาทิตย์ที่
๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๐ เรื่อง
"อุบัติเหตุจากโครงสร้างวาล์ว"
นั้น
เรื่องแรกที่เล่าไปคือการอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นระหว่างการถอด
gear
box ออกจาก
plug
valve แต่ช่างนั้นขันนอตผิดตัว
ทำให้ตัว plug
หลุดออกมาจากตัววาล์ว
ตามด้วยการรั่วไหลของแก๊ส
เรื่องที่นำมาเล่าในวันนี้ก็เป็นการเกิดอุบัติเหตุแบบเดียวกัน
ต่างกันที่เกิดต่างกันกว่า
๔๐ ปี (สี่สิบปี)
รูปที่
๑ ภาพตัดขวางโครงสร้างของ
plug
valve จะเห็นว่าตัว
plug
จะถูกสอดเข้ามาจากทางด้านบน
จากนั้นจึงทำการกดตัว plug
ให้อยู่ในตำแหน่งด้วยชิ้นส่วนที่เรียกว่า
Top
cap แล้วใช้นอต
(Top
cap fasterners) ขันยึดตัว
Top
cap เข้ากับ
valve
body (ภาพจากเอกสารคู่มือการติดตั้ง
ใช้งาน และซ่อมบำรุง ของบริษัท
Flowserve)
เนื้อหาที่นำมาเล่าในวันนี้มาจากเอกสาร
Safety
Bulletin เรื่อง
Key
Lessons from the ExxpnMobil Baton Rouge Refinery Isobutan Release and
Fire ที่จัดทำและเผยแพร่โดย
U.S.
Chemical Safety and Hazard Investigation Board (หรือย่อว่า
CSB)
เป็นเหตุการณ์ที่เกิดที่โรงกลั่นน้ำมัน
Baton
Rouge refinery ประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน
ค.ศ.
๒๐๑๖
(พ.ศ.
๒๕๕๙)
ที่เกิดการรั่วไหลของไอโซบิวเทน
(Isobutane
H3C-CH(CH3)-CH3) จาก
plug
valve ที่เกิดจากการที่ผู้ปฏิบัติงานนั้นต้องการถอด
gear
box ออก
แต่ขันนอตผิดตัว ทำให้ตัว
plug
หลุดออกจากวาล์ว
ตามด้วยการรั่วไหลของไอโซบิวเทนก่อนเกิดการจุดระเบิด
(สามรถดาวน์โหลดเอกสารนี้และดูคลิปวิดิโอจำลองเหตุการณ์ได้ที่
www.csb.gov
เลือกหัวข้อ
Investigations
แล้วเลือกหัวข้อย่อย
Completed
investigation)
รูปที่
๒ ภาพตัดขวางอีกมุมหนึ่งของโครงสร้าง
plug
valve (ภาพจากเอกสารคู่มือการติดตั้ง
ใช้งาน และซ่อมบำรุง ของบริษัท
Flowserve
ที่เลือกภาพจากบริษัทนี้เพราะมีการกล่าวถึงอยู่ในเอกสารของ
CSBที่เล่าเรื่องเหตุการณ์นี้)
หมายเลข
1
คือนอตที่ใช้ยึด
top
cap หมายเลข
2
คือตัว
top
cap หมายเลข
3
คือส่วนหัวของ
plug
ที่สามารถใช้ประแจจับเพื่อหมุนหรือใช้
gear
box สวมเพื่อหมุนเปิด-ปิด
เหตุการณ์เริ่มจากการที่ผู้ปฏิบัติงานนั้นต้องการเดินเครื่องปั๊มไอโซบิวเทนสำรองแทนตัวหลัก
ในการนี้จึงต้องมีการเปิดวาล์วด้านขาเข้าปั๊มตัวสำรอง
วาล์วตัวนี้เป็น plug
valve ที่ใช้
gear
box หมุนปิด-เปิด
จากการหมุน hand
wheel ของ
gear
box พบว่าสามารถหมุน
hand
wheel ได้
แต่ตัว plug
ไม่หมุนตาม
ผู้ปฏิบัติงานจึงสรุปว่า
gear
box มีปัญหา
เลยทำการถอด gear
box ออกเพื่อที่จะใช้ประแจจับที่ส่วนหัวของตัว
plug
(ที่โผล่ออกมานอกตัววาล์วข้างบน
-
ดูรูปที่
๒)
โดยหลังจากที่ถอดนอตออกมาหมดแล้วและเคลื่อนย้าย
gear
box ออกไปแล้ว
ก็ยังไม่มีปัญหาอะไร
แต่เมื่อใช้ประแจขันบิดตัว
plug
ตัว
plug
ก็หลุดจากวาล์วทันที
ทำให้เกิดการรั่วไหลของไอโซบิวเทน
และตามด้วยการระเบิดในอีก
๓๐ วินาทีต่อมา
รูปที่
๓ ภาพด้านขวาคือวิธีการถอด
gear
box ออกจากวาล์วที่ถูกต้องสำหรับวาล์วตัวที่เกิดอุบัติเหตุ
แต่ผู้ปฏิบัติงานไปถอดนอตตามรูปด้านซ้าย
(รูปจากเอกสารเผยแพร่ของ
CSB)
รูปที่
๔ ในหน้าถัดไปเป็นรูปแบบการติดตั้ง
support
bracket สำหรับติดตั้ง
gear
box
โดยรูปซ้ายนั้นเป็นแบบเก่าที่เปิดโอกาสให้ทำผิดพลาดได้ด้วยการไปถอดนอตตัวที่ยึด
support
bracket เข้ากับตัววาล์ว
(ดังรูปที่
๓ ซ้าย)
แทนที่จะถอดนอตตัวที่ยึด
gear
box เข้ากับ
support
bracket (ดังรูปที่
๓ ขวา)
ส่วนรูปซ้ายนั้นเป็นรูปแบบที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้ว
คือย้ายตำแหน่งติดตั้ง
support
bracket ไปที่หน้าแปลนของตัววาล์วแทน
รูปที่
๔ วิธีการการติดตั้ง gear
box รูปขวาเป็นแบบที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขโดยทำการยึด
support
bracket (ที่เป็นที่ติดตั้งตัว
gear
box) เข้าที่หน้าแปลนของ
valve
body ดังนั้นการถอด
support
bracket จะไม่ไปยุ่งอะไรกับตัว
top
cap ส่วนรูปซ้ายเป็นแบบเก่า
(ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ)
ที่ใช้นอตที่เป็นตัวยึด
top
cap เข้ากับ
valve
body (ที่ในรูปเขียนว่า
pressure
retaining bolts) นั้นเป็นตัวยึด
support
bracket เอาไว้ด้วย
ในกรณีนี้การถอด gear
box ต้องไปถอดนอตสองตัวที่อยู่ข้างบน
(ที่ลูกศรเส้นประสีแดงชี้)
ซึ่งจะไม่เกิดปัญหาอะไร
แต่ถ้ามาถอด pressure
retaining bolts จะทำให้ทั้ง
top
cap และตัว
plug
หลุดออกมาเนื่องจากความดันภายในท่อได้
(รูปจากเอกสารเผยแพร่ของ
CSB)
ที่น่าสนใจก็คือการสอบสวนพบว่า
plug
valve ที่ใช้อยู่ในโรงงานนั้น
97%
เป็นแบบรูปที่
๔ ทางด้านซ้าย (คือได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้ว)
มีเพียง
3%
เท่านั้นที่ยังคงเป็นแบบรูปที่
๔ ทางด้านขวา
(คือมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้)
และทางบริษัทผู้ผลิตวาล์วที่จัดจำหน่ายให้กับโรงงานแห่งนี้
(รวมทั้งวาล์วตัวที่เกิดอุบัติเหตุ)
ก็ได้ทำการปรับปรุงการออกแบบวาล์วที่ผลิตขึ้นมาใหม่โดยย้ายรูสำหรับติดตั้ง
support
bracket ไปไว้ที่หน้าแปลน
(ดังตัวอย่างในรูปที่
๕)
ตั้งแต่ปีค.ศ.
๑๙๘๔
หรือ ๓๒ ปีก่อนหน้าที่จะเกิดอุบัติเหตุที่โรงงานแห่งนี้
เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นการตกค้างของอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นตามการออกแบบดั้งเดิมที่ยังคงใช้งานอยู่ในโรงงาน
ที่ต่อมาพบว่าเปิดโอกาสให้ทำผิดพลาดได้
และก็ได้รับการแก้ไขปรับปรุงไปแล้ว
แต่ของเดิมที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงก็ยังคงมีตกค้างในระบบ
แม้ว่าเวลาจะผ่านมากว่า
๓๐ ปีแล้วก็ตาม
ถ้าใครอยากทราบรายละเอียดมากกว่านี้ก็ขอแนะนำให้ไปดาวน์โหลดเอกสารของ
CSB
ดังกล่าวตาม
URL
ที่ได้ให้ไว้
(หรือดูคลิปวิดิโอประกอบด้วยก็ดีครับ
แต่เป็นภาษาอังกฤษนะ)
แม้เวลาจะแตกต่างกันกว่า
๔๐ ปี แต่อุบัติเหตุรูปแบบเดิม
ๆ ก็ยังสามารถเกิดซ้ำได้
ดังนั้นการศึกษาสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีตจึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อที่จะได้ไม่ทำผิดพลาดซ้ำอีก
แม้ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานหลายสิบปีแล้วก็ตาม
การเผยแพร่ความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้น
เพื่อไม่ให้ผู้อื่นกระทำผิดเช่นเดียวกันอีก
จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรพึงกระทำ
รูปที่
๕ plug
valve ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข
โดยทำรูสำหรับยึด support
bracket ของ
gear
box ไว้ที่หน้าแปลน
(ตรงลูกศรสีเหลืองชี้)
(รูปจากเอกสารเผยแพร่ของ
CSB)
ที่วงกลมสีแดงไว้ในรูปด้านซ้ายคือ
pressure
retaining bolts ที่ถ้าถอดนอตเหล่านี้ก็จะทำให้ถอดตัว
plug
ออกมาได้ (รูปจากเอกสารเผยแพร่ของ
CSB)
รูปที่
๖ ภาพจากกล้องวงจรปิดลำดับเหตุการณ์การเกิดระเบิด
จะเห็นว่าในเวลาเพียง ๒๐
วินาทีเศษ
แก๊สสามารถกระจายตัวออกไปได้เป็นบริเวณกว้างจนไปพบแหล่งจุดระเบิดที่อยู่ห่างออกไป
(ที่มุมล่างขวาของภาพที่เวลา
๒๗ วินาที จะเห็นเป็นสีเหลือง
แสดงว่ามีการลุกไหม้เกิดขึ้นแล้ว)
(รูปจากเอกสารเผยแพร่ของ
CSB)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น