เรื่องทั้งเรื่องก็คือทำให้แก๊สเอทิลีน
(acetylyen)
หรืออะเซทิลีน
(ethylene)
กระจายตัวออกไปได้ง่ายนั่นเอง
ผลไม้สุกหลายชนิดมันมีรสชาติหอมหวาน
เป็นที่ต้องตาต้องใจของบรรดาสัตว์เล็กต่าง
ๆ ไม่ว่าจะเป็นพวกที่โผบินได้หรือกระโดดโลดลิ่วไปตามต้นไม้ต่าง
ๆ ได้ เช่นพวกมะม่วง กล้วย
มะละกอ
ดังนั้นถ้าหากคิดจะเก็บเอาไว้กินเองหรือจะเอาไปขายยังตลาด
การที่ปล่อยให้มันสุกคาต้นก็มีความเสี่ยงที่ว่ามันจะโดนกัดกินเสียก่อน
ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกถ้าจะพบว่าจะมีการเก็บผลไม้ก่อนที่มันจะเริ่มสุกโดยเฉพาะเพื่อนำมาเก็บไว้รอการขาย
แต่ชาวสวนเขาก็มีวิธีการเร่งการสุขของผลไม้เหล่านั้นได้ด้วยวิธีการ
"บ่ม"
ตอนเด็ก
ๆ เคยเห็นคุณยายเอามะม่วงที่เปลือกยังเขียวอยู่มาเรียงใส่ในโอ่งใบเล็ก
ๆ ไปรอบ ๆ ผนังด้านใน
เว้นที่ตรงกลางไว้เพื่อวางกระถางธูป
พอเรียงเสร็จก็จุดธูปปักไว้ในโอ่งนั้นและปิดฝาโอ่ง
เช้าวันต่อมาก็เอามะม่วงในโอ่งนั้น
(ที่สุกเร็วขึ้น)
ไปขายต่อได้
เอทิลีน
(ethylene
H2CCH2) และอะเซทิลีน
(acetylene
HCCH) เป็นแก๊สที่ผลไม้นั้นผลิตขึ้นมาได้เองในปริมาณน้อย
ๆ แก๊สสองตัวนี้เป็นตัวเร่งการสุกของผลไม้
ในสภาวะที่ความเข้มข้นของแก๊สเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้น
อัตราการสุกของผลไม้ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
การจุดธูปเพื่อเร่งการสุกก็อาศัยการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของตัวธูปที่ทำให้เกิดแก๊สเหล่านี้
และการปิดฝาโอ่งก็เพื่อไม่ให้แก๊สเหล่านี้หลุดรอดไปไหน
ทำให้ความเข้มข้นของแก๊สในโอ่งเพิ่มสูงขึ้น
ผลไม้ก็เลยสุกเร็วขึ้น
แต่สำหรับชาวสวนที่ใจร้อนหน่อยก็อาจใช้วิธีไปซื้อหินแก๊ส
(หรือแก๊สก้อน)
ซึ่งก็คือแคลเซียมคาร์ไบด์
(calcium
carbide CaC2) มาวางไว้แทน
จากนั้นก็เติมน้ำลงไป
แคลเซียมคาร์ไบด์พอเจอน้ำก็จะเกิดแก๊สอะเซทิลีน
แต่ผลไม้บ่มเนี่ย
บางทีมันสุกแต่ข้างนอก
โดยเฉพาะกล้วยที่เจอได้ง่ายว่าข้างนอกเปลือกมันสีเหลืองเหมือนกับสุกมากแล้ว
แต่ข้างในยังดิบอยู่
วิธีการเก็บกล้วยโดยไม่ให้กล้วยสุกเร็วที่ผู้ใหญ่สอนต่อ
ๆ กันมาก็คืออย่าเก็บไว้ในที่อับ
ให้มันอยู่ในที่ที่มีการระบายอากาศที่ดี
หรือจะเอาไปแขวนก็ได้
วิธีการเหล่านี้มันช่วยยืดอายุได้ก็เพราะมันทำให้แก๊สอะเซทิลีนหรือเอทิลีนที่กล้วยผลิตขึ้นมานั้นกระจายตัวออกไป
ไม่สะสมอยู่รอบ ๆ ตัวกล้วย
ทำให้กล้วยสุกช้าลง
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะเห็นฉลากที่ติดมากับที่แขวนกล้วยจะบอกว่า
การแขวนกล้วยจะช่วยยืดอายุการเก็บกล้วยไว้แต่
แต่ทั้งนี้ยังขึ้นกับปัจจัยด้านสภาพอากาศด้วย
นั่นก็เป็นเพราะการแขวน
(แทนที่จะวาง)
มันช่วยทำให้แก๊สอะเซทิลีนหรือเอทิลีนที่กล้วยผลิตขึ้นนั้นกระจายตัวออกไปได้ง่ายขึ้นเท่านั้นเอง
และถ้ามีลมอ่อน ๆ พัดโชยมาด้วย
มันก็ช่วยทำให้แก๊สสองตัวนั้นกระจายออกไปได้มากขึ้น
อากาศที่เย็นก็ช่วยให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาลดลง
ในฉลากจึงบอกว่าผลที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย
อันที่จริงฉลากเขาเขียนมาเป็นภาษาญี่ปุ่น
ผมเองอ่านไม่ออกหรอกครับ
แต่ลูกสาวคนโตที่เขาจับฉลากปีใหม่กับเพื่อนที่จับได้ที่แขวนกล้วยอันนี้มา
เขาอ่านออก ก็เลยแปลให้ผมฟัง
เรื่องยืดอายุผลไม้เพื่อการส่งออกเนี่ยว
(คือทำอย่างไรก็ได้ให้มันสุกช้าลงโดยไม่ทำให้เสียรสชาติ)
เป็นงานท้าทายงานหนึ่ง
เพราะปัจจุบันที่ผลไม้ส่งออกมีราคาแพงก็เพราะมันต้องส่งทางเครื่องบิน
จะให้เอาไปแช่แข็งก่อนเพื่อขายเป็นผลไม้สดมันก็ไม่ไหว
แต่ถึงกระนั้นก็ตามแม้ว่าจะขนส่งทางอากาศ
ก็ยังต้องคำนึงถึงช่วงเวลานับตั้งแต่การบรรจุลงบรรจุภัณฑ์ก่อนขนไปยังสนามบินต้นทาง
และการขนจากสนามบินปลายทาง
(รวมทั้งเวลาที่ต้องผ่านด่านศุลกากร)
ไปยังร้านค้าจัดจำหน่าย
ที่รวมกันแล้วจะกินเวลามากกว่าช่วงที่อยู่บนเครื่องบินเสียอีก
ทำให้เมื่อผลไม้ไปถึงร้านค้าแล้วเหลือเวลาไม่นานนักที่จะวางขายได้
(ก่อนที่มันจะสุกงอมจนเน่า)
วิธีการหนึ่งที่เห็นเขาทำกันเพื่อชะลอเวลาการสุกก็คือ
ใช่กล่องที่มีรูข้างกล่อง
(เพื่อให้แก๊สที่ผลไม้ผลิตขึ้นนั้นระบายออกมาได้)
และพยายามระบายอากาศในตู้ที่บรรจุกล่องผลไม้เหล่านั้นเพื่อไม่ให้มีการสะสมของแก๊ส
งานวิจัยที่พยายามจัดการกับแก๊สเจ้าปัญหาสองตัวนี้ในการขนส่งก็มีทั้ง
การหาสารดูดซับแก๊สสองตัวนี้
และก็เคยเห็นการพยายามพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อทำการออกซิไดซ์แก๊สสองตัวนี้ให้กลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ
(ที่อุณหภูมิห้อง)
แล้วนำไปติดตั้งในตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ขนส่ง
ซึ่งนั่นหมายถึงการต้องมีการไหลเวียนอากาศในตู้บรรจุเพื่อให้มันไหลผ่านตัวดูดซับหรือตัวเร่งปฏิกิริยา
ซึ่งก็หมายถึงการที่ตู้คอนเทนเนอร์ใบนั้นต้องมีระบบจ่ายพลังงานที่สามารถทำงานได้ตลอดเวลา
เริ่มตั้งแต่การขนส่งทางรถจากต้นทาง
ไปจนถึงจุดหมายปลายทางด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น