อาคารตึกทำงานหลังเก่ามันมีปัญหาเรื่องโครงสร้างหลังคา
คือฝนตกแล้วน้ำฝนระบายไม่ได้
ทำให้น้ำล้นทะลักตรงช่องว่างระหว่างแผ่นกระเบื้องมุงหลังคากับคาน
(เอาไว้วันหลังจะมาอธิบายว่าทำไมโครงสร้างมันถึงมีปัญหา)
ทางหน่วยงานก็เลยแก้ปัญหาด้วยการสร้างหลังคาใหม่ขึ้นมาครอบทับหลังคาเดิม
วิธีการของเขาก็คือใช้โครงเหล็กทำโครงหลังคาใหม่
ชิ้นส่วนคานชิ้นใหญ่ที่เป็นโครงหลักก็ทำการเชื่อมเหล็กกันข้างล่างก่อน
ก่อนที่จะใช้รถเครนยกขึ้นไปประกอบบนดาดฟ้า
จากนั้นจึงค่อยไปทำการเชื่อมต่อชิ้นส่วนย่อยบนดาดฟ้าอีกที
ระดับหลังคาใหม่ก็อยู่สูงจากระดับหลังคาเดิมราว
ๆ สองเมตรได้
เหตุที่มันต้องยกสูงก็เพราะต้องให้สูงเหนือขอบผนังชั้นดาดฟ้าเพื่อให้น้ำฝนไม่ไหลลงชั้นดาดฟ้า
และเพื่อให้สูงกว่าปากปล่องระบายแก๊สจากตู้ควันของห้องปฏิบัติการต่าง
ๆ
บ่ายวันวานขณะยืนดูคนงานกำลังทำงานจากดาดฟ้าตึกข้าง
ๆ
ก็เห็นช่างเชื่อมที่ทำหน้าที่เชื่อมโครงย่อยต่อเข้ากับโครงเหล็กหลัก
และก็มีช่างทาสีที่ทำหน้าที่ขัดทำความสะอาดรอยเชื่อมด้วยการขัดรอยไหม้ออก
(เกิดจากสีเดิมที่ได้รับความร้อนจากการเชื่อม)
และทาสีใหม่ทับลงไป
ช่างทาสีก็คือคงเสื้อม่วงในรูปที่
๑ ข้างล่างนั่นแหละครับ
เห็นท่าเขาในรูปแล้วพอจะบอกได้ไหมครับว่าเขากำลังทำอะไรอยู่
รูปที่
๑ ลองเดาดูก่อนไหมครับว่า
คนงานที่สวมเสื้อสีม่วง
(ช่างทาสี)
นั้นกำลังทำอะไรอยู่
อีกคนที่อยู่ในรูปนั้นคือช่างเชื่อม
ที่ทำหน้าที่เชื่อมโครงเหล็กเส้น
ตอนแรกช่างทาสีเขานั่งทำงานอยู่ที่ตำแหน่ง
(1)
(ดูรูปที่
๒)
พอเสร็จงานตรงนั้นเขาก็จะย้ายไปทำงานตรงตำแหน่งรอยเชื่อมใหม่ตรงที่ช่างเชื่อมนั่งอยู่
วิธีการเคลื่อนย้ายของเขาก็คือค่อย
ๆ ไต่จากตำแหน่ง (1)
ไปยังตำแหน่ง
(2)
ก่อน
ตรงนี้คานมันใหญ่หน่อย
ไต่ไปได้สบาย แต่จากตำแหน่ง
(2)
มายังตำแหน่งที่ช่างเชื่อมอยู่คานมันมีขนาดเล็ก
มันไต่ไม่ได้
เขาก็เลยต้องใช้วิธีตามที่เห็นในรูปนั่นแหละครับ
คือเอาขายันไว้ที่คานตัวล่าง
และแขนยันไว้ที่คานตัวบน
แล้วค่อย ๆ ไต่จากตำแหน่ง
(2)
มาทางขวามายังช่างเชื่อม
ในที่นี้ผมขอเรียกท่อนเหล็ก
I-beam
ตัวใหญ่ที่วางอยู่บนเสาเหล็กนั้นที่ทำหน้าที่เป็น
"จันทัน"
(ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า
rafter")
ว่าเป็นคานตัวใหญ่
และท่อนเหล็กรูปตัว C
ที่วางพาดระหว่างจันทันว่าคานตัวเล็กแทนคำว่า
"แป"
(ที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า
purlin)"
นะครับ
ด้วยเกรงว่าถ้าใช้คำว่า
"จันทัน"
กับ
"แป"
จะทำให้คนที่ไม่ได้ทำงานโยธาไม่รู้จัก
กระเบื้องหลังคาที่อยู่ข้างล่างมันรับน้ำหนักไม่ได้
จะไปตั้งนั่งร้านหรือวางบันไดพาดก็คงไม่ได้
ทั้งช่างเชื่อมช่างทาสีก็เลยต้องจำเป็นต้องเล่นกายกรรม
ตรงตำแหน่งที่ไม่มีคานตัวใหญ่ก็ต้องใช้วิธีเอาเหล็กรูปตัว
C
อีกท่อนไปวางพาด
เพื่อที่จะให้มีพื้นที่พอนั่งทำงานได้
นี่แหละครับชีวิตการทำงานของแรงงานก่อสร้างในบ้านเรา
รูปที่
๒ ตอนแรกเขานั้นทาสีอยู่ที่ตำแหน่ง
1
จากนั้นก็ค่อย
ๆ ไต่ตามคานมายังตำแหน่ง 2
แล้วค่อยย้ายมายังตำแหน่งที่ช่างเชื่อมอยู่
(ตามลูกศร)
ด้วยวิธีการที่เห็นในภาพนั่นแหละครับ
ส่วนรูปที่
๓
ที่อยู่ในหน้าถัดไปก็เป็นการทำงานของช่างทาสีอีกคนหนึ่งที่ทำงานในช่วงเวลาเดียวกัน
แต่อยู่ที่อีกฟากหนึ่งของโครงหลังคาตรงบริเวณขอบอาคาร
ในหลายประเทศนั้น
ไม่เพียงแต่นายจ้างต้องจัดให้มีอุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน
แต่นายจ้างยังต้องมีการ
"บังคับ"
ให้ใช้และมีการตรวจสอบว่ามีการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยเหล่านั้นจริงด้วย
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่ผู้ปฏิบัติงาน
รูปที่
๓
อีกรายหนึ่งที่นั่งทาสีรอยเชื่อมอยู่ที่อีกฟากหนึ่งของโครงหลังคาที่อยู่ตรงขอบอาคาร
จากรูปนี้พอจะเดาออกไหมครับ
ว่าการทำงานในสถานที่เช่นนี้ในภาพนี้มันไม่มีอะไรทั้ง
ๆ ที่มันควรจะต้องมี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น